
เครื่องปั้นดินเผา น้ำพุร้อน
บ้านโป่งเทวี หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เดิมหมู่บ้านโป่งเทวี ตั้งเมื่อ พ.ศ.2430 มีอายุประมาณ 131 ปี โดยราษฎรกลุ่มแรกที่อพยพมาจากหมู่บ้านเฟือยไฮ หมู่ที่ 1 ครั้งแรกมาอาศัยอยู่แบบชั่วคราวโดยมาทำไร่นาและเลี้ยงสัตว์ เพราะบ้านเฟือยไฮเป็นสภาพพื้นที่ลุ่มติกับแม่น้ำลาว หน้าฝนมักจะมีน้ำท่วมขังการสัญจรไปมาก็ลำบาก
ในเวลาต่อมามีปราชญ์ชาวบ้านมองว่าพื้นที่แห่งนี้มีสภาพป่าหนาแน่นดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ดีมาก เหมาะสำหรับการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ จึงได้ชักชวนกันมาถางป่าเพื่อจับจองพื้นที่และเริ่มปลูกสร้างบ้านเรือนขึ้นแบบถาวรหลังจากนั้นจึงได้ติดตามกันมาเรื่อย ๆ จึงทำให้เกิดหมู่บ้านเล็ก ๆ ขึ้น ต่อมาเมื่อข่าวนี้เป็นที่เลื่องลือไปไกลประกอบกับทางจังหวัดเชียงใหม่เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงแห้งแล้งฟ้าฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล จึงมีราษฎรอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นเครือญาติได้อพยพมาจากอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ มาสมทบอีกกลุ่มหนึ่ง ที่มาของชื่อหมู่บ้านแห่งนี้เป็นเพราะว่าในหมู่บ้านนี้มีโป่งหรือดินเค็มและมีน้ำพุร้อนขึ้นตามธรรมชาติ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของชื่อหมู่บ้านหน้าแล้งจะมีฝูงสัตว์ป่า เช่น เก้ง,กวาง,ตลอดจนถึงวัวควายมากินโป่งเป็นประจำ จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านตามแหล่งธรรมชาตินี้ว่า บ้านโป่ง ส่วนคำว่า เทวี คงจะมาเติมเอาทีหลังเป็นโป่งเทวี จนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันที่โป่งแห่งนี้ได้พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอเวียงป่าเป้าอีกแห่งหนึ่ง โดยชื่อว่าน้ำพุร้อนทุ่งทวีอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง บ้านโป่งเทวีอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง บ้านโป่งทวีปัจจุบันแยกเป็นเขตการปกครองเป็นสองหมู่บ้านคือหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 5
- ทิศเหนือ จด บ้านโป่ง หมู่ที่ 5 ตำบลโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า
- ทิศใต้ จด บ้านดงพระพร หมู่ที่ 14 ตำบลป่างิ้ว อำเภอเวียงป่าเป้า
- ทิศตะวันออก จด บ้านเฟือยไฮ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า
- ทิศตะวันตก จด บ้านป่าตึงหลวง หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า
จำนวนครัวเรือน 278 ครัวเรือน จำนวนประชากร รวมทั้งสิ้น 767 คน แบ่งเป็นชาย 379 คน หญิง 388 คน
ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนชาติพันธุ์ไทยวน (คนเมือง) นับถือศาสนาพุทธและมีประชากรส่วนน้อยที่อพยพมาจากอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 2559 เป็นชาติพันธุ์ไทยใหญ่ ประมาณ 26 หลังคาเรือง ประชากร ชาย 42 คน หญิง 38 คน โดยการปกครองจะมีหัวหน้าและอสม.หมู่ดูแลการปกครองภายใต้การปกครองผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทางชาติพันธุ์ไทยวน (คนเมือง) ก็มีกิจกรรมร่วมกันกับโรงเรียน การนับถือศาสนาพุทธมี เด็กไทใหญ่ เยาวชน เข้าศึกษาโรงเรียนบ้านโป่ง
ไทยวน, ไทใหญ่กลุ่มเครื่องปั้นดินเผา
นางจันทร์ทา กาวิโรจน์ (เดิมไชยะ)/ยายจันทร์ทา ผู้สืบทอดจากบรรพบุรุษเครื่องปั้นดินเผาจากบิดา เดิมบิดาย้ายมาจากอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เข้าเริ่มทำงานกับบิดาเครื่องปันดินเผาที่บ้าน อายุ 17 ปี ปัจจุบันอายุ 72 ปี เกิดเมื่อปี 2495 เป็นบุคคลจัดตั้งกลุ่มเครื่องปั้นดินเผา ปี พ.ศ. 2533 เดิมประกอบอาชีพเครื่องปั้นดินเผาในครัวเรือน ยังไม่มีการจัดตั้งกลุ่ม ในปี พ.ศ. 2533 มีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาของหมู่บ้าน โดยวัตถุดิบส่วนมากได้มาจากดินในหมู่บ้าน เป็นบุคคลที่มีความรู้และความสามารถเครื่องปั้นดินเผาอยู่เดิมอยู่แล้ว ปัจจุบันมีแรงงาน 15 คน เป็นแรงงานในหมู่บ้าน
การบริหารจัดการกลุ่มเครื่องปั้นดินเผามีการพัฒนาหมู่บ้านโดยการเป็นการส่งเสริมคนในหมู่บ้านให้มีอาชีพและรายได้ ผลิตภัณฑ์จะทำตามรายการที่ลูกค้าสั่งซื้อ แต่ถ้าไม่มีการสั่งซื้อผลิตสินค้า ทางกลุ่มจะออกแบบผลิตภัณฑ์และจะออกขายตามท้องตลาดของอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย และจังหวัดพะเยา ลำปาง เชียงใหม่ โดยส่วนมากสินค้ามีการผลิตและขั้นตอนการทำมีความประณีต แข็งแรง คุณภาพที่ดีเป็นที่ต้องการของลูกค้า ซึ่งได้มาจากดั่งเดิมของบรรพบุรุษมีความชำนาญทางด้านเครื่องปั้นดินเผาที่มีคุณภาพ ลูก ๆ มีการสืบทอดการปั้นดินเผาสู่รุ่นต่อกันไปจนสามารถ ขายประชาสัมพันธ์การตลาด ทางเฟส ไลน์ เว็บต่าง ๆ ทั้งขายส่งและขายปลีกในหมู่บ้าน ราคาซื้อขายตามเศรษฐกิจชุมชน
กลุ่มกาละแม
กลุ่มปศุสัตว์พัฒนาบ้านโป่งเทวี
กลุ่มเยาวชนบ้านโป่งเทวี
กลุ่มสตรีสหกรณ์บ้านโป่งเทวี
กลุ่มออมทรัพย์ทอผ้า
กลุ่มพันธุ์ข้าวชุมชน
กลุ่มตัดเย็บผ้า/กลุ่มอาชีพออมทรัพย์ทอผ้า
- นางอรชร สุขสำราญ หมู่ที่ 2
- นายเอื่อม รักชาต หมู่ที่ 2
- นายจันทร์แก้ว สิริคำ หมู่ที่ 5
- นายแจ่มจันทร์ ผานุเต๋จ๊ะ หมู่ที่ 5
- นางดารา จันทร์คะนาเขต หมู่ที่ 5
- นางฟองจันทร์ วงค์คำดี หมู่ที่ 5
นายบุญมา ยานะเรือง ปราชญ์ชาวบ้านบ้านโป่งเทวี หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนแหล่งท่องเที่ยวโป่งเทวี ในการขอที่ดินให้เป็นของหมู่บ้าน โดยได้รับการบริจาคประชาชนและญาติ ตลอดจนเส้นทาง โดยคำแนะนำของนายอำเภอเวียงป่าเป้า นายเนติ อนิรุตธนานล
- พ.ศ. 2553 เรียกร้องค่าตอบแทนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในการดำรงตำแหน่ง ปี 2538 ณ กรุงเทพมหานคร โดยหน่วยงานกำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน ทั่วประเทศร่วมกันขอค่าตอบแทน โดยมีกำนันอินหวัน ปังเงิน เป็นประธานชมรมของจังหวัดเชียงราย และได้ค่าตอบแทน ปี 2551 เป็นเงินค่าตอบแทนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 10,000 บาท และขั้นเงินเดือนตอบแทน
- พ.ศ. 2503 จบปีการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4
- พ.ศ. 2504 ประกอบอาชีพอาชีพเลี้ยงควายช่วยบิดามารดา ทำนา ทำไร่
- พ.ศ. 2515 แต่งงานกับนางศรีลัย ยะนะเรือง ประกอบอาชีพทำนา
- พ.ศ. 2516 มีบุตรคนแรก ชื่อจ่าสิบตรีมงคล ยานะเรือง
- พ.ศ. 2528 มีบุตรคนที่สอง ชื่อนางสาวกรรณิกา ยานะเรือง
- พ.ศ. 2533 ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 และได้รับเลือกเป็นกำนัน ตำบลบ้านโป่ง
- พ.ศ. 2535 ศึกษาต่อ กศน. อำเภอเวียงป่าเป้า จบ ม.3
- พ.ศ. 2550 ได้กำนันแหนบทองคำ ของตำบลบ้านโป่ง
1. ทุนทางกายภาพ
หมู่บ้านโป่งทวี หมู่ 2 ทรัพยากรพื้นที่ทำกินและอยู่อาศัย 6,969 ไร่
- ดิน เป็นแหล่งเพาะปลูกพื้นที่ไร่ สวนของประชาชน
- แหล่งน้ำ เป็นแหล่งกักเก็บน้ำสำหรับเพาะปลูกของเกษตรกร
- ป่าชุมชน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร
- แร่ธาตุ ทรัพย์ในดินที่ก่อนให้เกิดรายได้แก่ประชาชน เช่น ทรายกระจก
คุณค่า/ประโยชน์ แหล่งกำเนิดต้นน้ำลำด้วยต่างๆ เช่น ห้วยน้ำนา เป็นต้น และพื้นที่ป่าชุมชนในการใช้ประโยชน์จากป่า
ผู้มีบทบาท
- คณะกรรมการหมู่บ้าน
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง
- ที่ว่าการอำเภอเวียงป่าเป้า
ช่องทางเข้าถึง คณะกรรมการหมู่บ้านโป่งทวี
2. ทุนออมทรัพย์หมู่บ้าน
กลุ่มออมทรัพย์/สวัสดิการ/กองทุน 6 กลุ่ม ในชุมชนมีครัวเรือนที่เป็นสมาชิกกองทุนต่าง ๆ จำนวน 278 ครัวเรือน อาจเป็นสมาชิกหลายกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการผลิตบ้านโป่งทวี กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน โป่งทวี หมู่ที่ 2 กลุ่มเครื่องปั้นดินเผา กลุ่มเยาวชนบ้านโป่งเทวี กลุ่มสตรีสหกรณ์บ้านโป่งเทวี กลุ่มออมทรัพย์ทอผ้า
คุณค่า/ประโยชน์ การรวมกลุ่มของชุมชนในหมู่บ้าน เพื่อเป็นกองทุนในหมู่บ้านในการบริหารงบประมาณงบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐการสนับสนุนต่าง ๆ เพื่อการหมุนเวียนงบประมาณใช้จ่ายให้เกิดความคุ้มค่าของบประมาณ และคงเหลืองบประมาณไว้เพื่อดำเนินงานต่อไป
ผู้มีบทบาท
- คณะกรรมการหมู่บ้าน
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง
- ที่ว่าการอำเภอเวียงป่าเป้า
ช่องทางเข้าถึง คณะกรรมการหมู่บ้านโป่งทวี
ชุมชนในหมู่บ้านโป่งเทวี หมู่ที่ 2 เป็นชนชาติพันธุ์ไทยวน (คนเมือง) ใช้ภาษาล้านนา เป็นภาษาพูดและเขียน ขณะเดียวกันพบปัญหา ในปัจจุบันภาษาเขียนมีการนำมาใช้น้อย ไม่ได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจึงสูญหายไปกับวัฒนธรรมสมัยใหม่ เด็กนักเรียน นักศึกษา เยาวชน ในหมู่บ้านรุ่นใหม่จะพูดได้แต่ไม่สามารถอ่านหรือเขียนได้
- ปัญหาหนี้สิน ปัญหาการเกษตร ปัญหาด้านสังคม ปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาด้านสาธารณูปโภคโครงสร้างพื้นฐาน ปัญหาด้านการจัดสวัสดิการหมู่บ้าน ปัญหาด้านการมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย ปัญหาด้านพัฒนาเศรษฐกิจและวิสาหกิจชุมชน ปัญหาด้านการฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณี
- การพัฒนาถนนในพื้นที่ให้มีการสัญจรสะดวกมากยิ่งขึ้น (ทางเดินบ้านไทใหญ่เป็นดินลูกรัง
- การพัฒนาหอชุมชนหมู่บ้าน ให้เป็นหอประชุมขนานใหญ่ รองรับประชากรจำนวนสมาชิกในหมู่บ้านทั้งสองหมู่บ้าน หมู่ 2 และหมู่ 5 และการส่งเสริมอาชีพทอผ้าของชุมชนให้พื้นที่การทออย่างสะดวกและงานต่อการทำงาน
- การดำเนินชีวิตของประชาชนในปัจจุบันมีแนวโน้มมีความฟุ่มเฟือยมากขึ้น เนื่องจากมีพฤติกรรมเรียนแบบการบริโภควัตถุนิยมมากเกินไป
- แหล่งศึกษาเรียนรู้ เครื่องปั้นดินเผา เดิมของชุมชนที่อพยพจากอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความชำนาญในด้านการปั้น และมีคุณภาพจากบ้านโป่ง
- แหล่งท่องเที่ยวโป่งน้ำร้อน