วัดเวียงมนมงคลพนาราม เป็นวัดที่มีตำนานเวียงกาหลง ซึ่งเป็นเมืองโบราณของ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
วัดเวียงมนมงคลพนาราม เป็นวัดที่มีตำนานเวียงกาหลง ซึ่งเป็นเมืองโบราณของ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
บ้านสัน หมู่ 3 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
บ้านสัน หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เป็นหมู่บ้านที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์ไทยวน (คนเมือง) ซึ่งเป็นชาติพันธุ์ล้านนาดั้งเดิมที่ตั้งของหมู่บ้านสัน เดิมเป็นสถานที่ศรัทธาบ้านเฟือยไฮ ซึ่งในบริเวณที่ตั้งของหมู่บ้านสันถือได้ว่าเป็นบริเวณยุทธศาสตร์การก่อตั้งเมืองตามแบบฐานบรรพบุรุษนั้นยึดเอาวิธีคิดคือสถานที่ก่อตั้งเมืองหรือหมู่บ้านจะต้องให้ด้านใดด้านหนึ่งของหมู่บ้านติดกับแม่น้ำแล้วด้านหลังติดกับภูเขา ซึ่งเปรียบเสมือนเขาพระเมร ตามความเชื่อในการสร้างเมือง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการสร้างเมืองเฟือยไฮในยุคดังกล่าวนั้น จึงส่งผลให้มีราษฎรในพื้นที่ต่างๆ ม้ง อีสาน ภาคใต้ ได้อพยพมาอาศัยในพื้นที่ตั้งของบ้านสัน เพราะติดกับเมืองเฟือยไฮ ซึ่งปัจจุบันยังคงมีโบราณสถานและโบราณวัตถุหลงเหลืออยู่ เช่น บริเวณดอยเวียงมน (ที่ตั้งวัดเวียงมนมงคลพนารา ปัจจุบันโบราณวัตถุหลงเหลืออยู่ เช่น คูเมืองล้อมรอบทั้งสี่ทิศ)
ตามหลักฐานการก่อตั้งหมู่บ้านสันอย่างเป็นทางการที่พอจะพิสูจน์ได้เป็นหลักฐานบุคลลและเอกสารนั้น ระบุไว้ว่าหมู่บ้านสันก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2430 โดยเริ่มต้นจากการเข้ามาจับจอง พื้นที่ทำกินในยุคสมัยก่อนและเริ่มมีจำนวนประชากรมากขึ้น ซึ่งเดิมที่หมู่บ้านสันเป็นหมู่บ้านบริวารของหมู่บ้านหนองยาว ตำบลเวียง และในปี พ.ศ.2457 ได้มีการก่อตั้งตำบลบ้านโป่งขึ้น โดยกระทรวงมหาดไทยได้แยกมาจากตำบลป่างิ้วและได้มีการเรียงลำดับความสำคัญกับเมืองโบราณเฟือยไฮ เป็นอันดับแรก หมู่ที่ 1 บ้านเฟือยไฮ หมู่ที่ 2 บ้านโป่งเทวี และหมู่ที่ 3 บ้านสัน นับแต่นั้นเป็นต้นมา
รายละเอียดผู้นำหมู่บ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน)
1. นายปัน อโนขัติ ปี พ.ศ. 2457-2474 รวม 17 ปี
2. นายติ๊บ สมตา ปี พ.ศ. 2474-2484 รวม 10 ปี
3. นายมูล เติมประคา ปี พ.ศ. 2484-2489 รวม 5 ปี
4. นายอ้าย ตาวงค์ ปี พ.ศ. 2489-2499 รวม 10 ปี
5. นายเหลา มหาวรรณ ปี พ.ศ. 2499-2515 รวม 16 ปี (ดำรงตำแหน่งกำนันตำบลบ้านโป่ง ปี พ.ศ. 2515-2524 รวม 9 ปี)
6. นายบุญเลิศ ดีโก๋ ปี พ.ศ. 2524-2533 รวม 9 ปี
7. นายอินตา สุริยะชัยญา ปี พ.ศ. 2533-2547 รวม 14 ปี
8. นายประกิต กัลยานกุล ปี พ.ศ. 2547-2551 รวม 4 ปี
9. นายเฉลิม บรรจงการ ปี พ.ศ. 2554-2557 รวม 6 ปี
10. นายประดิษฐ์ ธิจิตตัง ปี พ.ศ. 2558-ปัจจุบัน
บ้านสัน หมวด 12 (บ้านม้ง)
ปี พ.ศ.2541 การอพยพตั้งถิ่นฐานของชุมชนชาติพันธุ์ม้ง เดิมตั้งอยู่ดอยหมอก ตำบลสันสลี อำเภอเวียงป่าเป้า เขตอุทยานและต้นน้ำ ท่างป่าไม้เห็นว่าเขตที่อยู่มีความเสี่ยงภัยต่อธรรมชาติต้นน้ำและสารเคมีปนเปื้น มีจำนวนประชากร 20 ครอบครัว เป็นชุมชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ดอยหมอก
เริ่มแรกทางป่าไม้ได้จัดสรรที่ดินทำกินที่ผาจ้อ จังหวัดลำปาง แต่จัดสรรให้มีสภาพไม่เหมาะสมและห่างไกลจากไกลอำเภอเวียงป่าเป้า และญาติพี่น้องชนเผ่าม้ง ทางชุมชนสันหลวงจึงจัดสรรที่สาธารณะประโยชน์ของหมู่บ้านให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ ประมาณ 12 ไร่ แรกเริ่มเข้ามาอยู่ประมาณ 4 ครอบครัว จากโป่งนก 4 ครอบครอบครัว จากนั้นมีเข้ามาเพิ่มเติมบางส่วน และแยกครอบครัว 22 ครอบครัว 125 คน ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพ ปลูกข้าวโพด ปลูกข้าว ปลูกมันสำประหลัง โดยพื้นที่ทำกินไม่ได้รับการจัดสรรจึงเช่าเพื่อทำกิน และบางครอบครัวประกอบอาชีพขายดอกกุหลาบ ที่เคยทำมาแต่ดั้งเดิม และเลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ วัว ในหมู่บ้านบริเวณโดยรอบ
การดำรงชีวิตของชุมชนสร้างบ้านแบบถาวรก่อด้วยบล็อกคอนกรีต ชั้นเดี่ยว/สองชั้น มีระบบน้ำประปาและไฟฟ้า ถนนเข้าถึงหมู่บ้านโดยได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง โดยชุมชนมีน้ำบาดาลและระบบส่งน้ำของหมู่บ้านเองมีความสะอาด ซึ่งระบบจำหน่วยไฟฟ้ามีหม้อแปลงแยกจากหมู่บ้านสันหลวง
ที่ตั้ง หรือ อาณาเขต
- ทิศเหนือ จด บ้านหนองยาว หมู่ที่ 4 ตำบลเวียง อำเภอเวียงป่าเป้า บ้านหนองยาวพัฒนา หมู่ที่ 12 ตำบลเวียง อำเภอเวียงป่าเป้า
- ทิศใต้ จด บ้านสันต๋อ หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า บ้านป่าเหมือด หมู่ที่ 5 ตำบลป่างิ้ว อำเภอเวียงป่าเป้า
- ทิศตะวันออก จด เขตอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง
- ทิศตะวันตก จด บ้านเฟือยไฮ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้ากั้นระหว่างแม่น้ำลาว
สถานที่สำคัญ
อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำนา เป็นอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตร การประมง เลี้ยงปลา เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน เหมาะที่จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยด้านฝั่งทางทิศใต้ มีวัดเวียงมนมงคลพนาราม ที่ประชาชนร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา และใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติกิจกรรมประเพณีวัฒนธรรม เช่น ประเพณียี่เป็ง ประเพณีสงกรานต์ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ประเพณีสลากภัณฑ์ ซึ่งประชาชนมีความศรัทธา เดินทางมากราบขอพร (องค์หลวงพ่อโตทันใจ) และมากราบไหว้พระธาตุเจดีย์ศรีพาโชค
จำนวนประชากร ชาย 307 คน หญิง 316 คน รวมทั้งสิ้น 623 คน จำนวนครัวเรือน 115 ครัวเรือน
ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์ไทยวน (คนเมือง) ส่วนน้อยอาศัยอยู่บริเวณรอบชายเขาของหมู่บ้านชาติพันธุ์ม้ง จำนวน 50 คน 20 หลังคาเรือน และชาติพันธุ์ไทยอีสาน จำนวน 40 คน 6 หลังเรือน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยมีวัดเวียงมนพนาราม ในการประกอบพิธีทางศาสนา และวันสำคัญของหมู่บ้าน และชาติพันธุ์ม้งมาร่วมกิจกรรรมที่วัดเวียงมนพนารามเดียวกัน และนับถือผีบรรพบุรุษ ในงานประเพณีหมู่บ้านทุกคนในหมู่บ้านมาร่วมกิจกรรมเป็นประจำ
ไทยวน, ม้งสภาพทางเศรษฐกิจของชุมชน
ชุมชนประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก นาปีและนาปลัง ร้อยละ 80% ของหมู่บ้าน
- กลุ่มข้าวโพด
- กลุ่มยางพารา
- กลุ่มลำไย
- กลุ่มกระท่อม
- กลุ่มสตรีเย็บผ้า
- กลุ่มจักสาน
- กลุ่มออมทรัพย์พัฒนากองทุน
- กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน
- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
- กลุ่มพัฒนาสตรี
พิธีกรรมของหมู่บ้าน
การแต่งงาน จะมีผู้นำทางพิธีกรรมแต่งงาน การขอขมาบรรพบุรุษผี การทำบุญหลุมศพของญาตผู้ใหญ่ การนำหัวหมู่หรือไก่ ไหว้บรรพบุรุษ โดยจะมีผู้ประกอบทางพิธี เป็นเวลา 2 วัน โดย 1 วันไปบ้านเจ้าสาว และอีก 1 วันไปบ้านเจ้าบ่าว
งานเลี้ยงผีหมู่บ้าน พื้นที่กำหนดปลายปี แก้บนโดยได้หมูหรือแล้วแต่
การลงผี เจ็บป่วยไม่สบาย ขอลงผีรักษา
ปีใหม่ ไข่ต้มสุก และไก่ ให้เรียกขวัญตัวแทนเงินทองสัตว์
การรักษาพยาบาล ประชาชนจะรักษาสุขภาพ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านป่าง และโรงพยาบาลอำเภอเวียงป่าเป้า หรือคลิกนิค อ.ส.ม.หมู่บ้าน ดูแบสุขภาพ การป้องกัน การคัดกรอง หมอผี
งานศพ พิธีกรรมหมอแคลนส่งวิญาณ,พ่อครัว,หมอผี/พ่ออาจารย์ โดยใช้ไม้ไผ่ผ่าซีก/ครึ่ง ประมาณ 1 คืบ/3 นิ้ว เพื่อแสดงสัญลักษณ์สื่อถึงผู้ตาย และมีเหล้า ไก่ หมู่ ประมาณ 5 ตัว วัว (ตัว) ศพใช้วิธีการผังที่บางงิ่วหว่าน ตำบลวังแก้ว อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง
พิธีกรรมทำบุญขึ้นบ้านใหม่ จะประกอบพิธี 1 วัน มีพระสงฆ์มาสวดที่บ้านใหม่ 1 รูป และมีหมอผีค้ำเสาบ้านเสาเรือนล้างสิ่งไม่ดีออกจากบ้านเรือน
1.นางพิระฏา อิโนขัติ เกิดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2504 อายุ 62 ปี
- ปี พ.ศ. 2511 เข้าเรียนโรงเรียนบ้านสัน จบการศึกษา ป.4 ปี พ.ศ.2515
- ปี พ.ศ.2515 เรียน กศน. เวียงป่าเป้า จบการศึกษา ป.6
- ปี พ.ศ. 2540 เข้าทำงานเป็นครูพี่เลี้ยง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเฟือยไฮ จนถึง ปี พ.ศ.2547 และ อสม. ประจำหมู่บ้าน
- ปี พ.ศ. 2547 ได้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิก อบต.บ้านโป่ง และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิก อบต.บ้านโป่ง เป็นระยะเวลา 18 ปี ในระหว่างเป็นสมาชิก อบต.บ้านโป่ง ประกอบอาชีพเสริมจัดรายการวิทยุสถานีชุมคลื่น FM 90
- ปี 2565-66 ปัจจุบันประกอบอาชีพทางการเกษตร เกตรกรหลักสวนยางพาราและกระท่อม และที่เปิดบริการเป็นฐานการรับรู้ปลูกผักอินทรีย์ ให้กับชุมชน ได้รับรางวัล อสม.ดีเด่น สาขาป้องกันไข้เลือดออกของจังหวัดเชียงราย
1. ทุนทางกายภาพ หมู่บ้านสัน พื้นที่ของหมู่บ้านสันมีพื้นที่ป่าที่ใช้ประโยชน์รวมกันในพื้นที่ป่าใช้สอยอยู่ 439.01 ไร่ และพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 5,000 ไร่
คุณค่า/ประโยชน์ แหล่งกำเนิดต้นน้ำลำด้วยต่างๆ เช่น ห้วยน้ำนา เป็นต้น และพื้นที่ป่าชุมชนในการใช้ประโยชน์จากป่า
ผู้มีบทบาท
- คณะกรรมการหมู่บ้าน
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง
- ที่ว่าการอำเภอเวียงป่าเป้า
2. ทุนเศรษฐกิจ พื้นที่เกษตรเพาะปลูก439 ไร่ ประชากรมีรายได้เฉลี่ย 54,000 บาทต่อคนต่อครัวเรือน สามารถทำนาได้ปีละ 2 ครั้งต่อปี โดยในการปลูกข้าวเฉลี่ยมีรายได้ประมาณ 10,000 บาท/ไร่ มีต้นทุนในการผลิตประมาณ 2,700 บาท/ไร่ การปลูกข้า;โพดรายได้ประมาณ 6,000 บาท/ไร่
คุณค่า/ ประโยชน์
- การประกอบอาชีพทำนา เช่น นาปี นาปัง
- การประกอบอาชีพทำสวน เช่น มะม่วง ลำไย ยางพารา ข้าวโพด
- การประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย หมู ไก่
ผู้มีบทบาท
- คณะกรรมการธนาคารข้าว
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง
- ที่ว่าการอำเภอเวียงป่าเป้า
ช่องทางเข้าถึง คณะกรรมการหมู่บ้านสัน
3. ทุนทางสังคม/เครือข่าย การออมทรัพย์ ในชุมชนมีครัวเรือนที่เป็นสมาชิกกองทุนต่างๆ จำนวน 115 ครัวเรือน อาจเป็นสมาชิกหลายกลุ่ม ได้แก่ ออมทรัพย์หมู่บ้านสัน กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน (เงินล้าน กลุ่ม กขคจ. บ้านสัน กลุ่มออมทรัพย์แม่บ้านเกษตรกร และประกอบอาชีพประกันชีวิต)
- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
- กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน
- กลุ่มอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี
- กลุ่มออมทรัพย์พัฒนากองทุน
- กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์
- กลุ่ม กขคจ (เงินจัดสรรจากรัฐบาล)
- กองทุนหมู่บ้านเงินจัดสรรจากรัฐบาล
คุณค่า/ ประโยชน์ การรวมกลุ่มของชุมชนในหมู่บ้าน เพื่อเป็นกองทุนในหมู่บ้านในการบริหารงบประมาณงบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐการสนับสนุนต่างๆ เพื่อการหมุนเวียนงบประมาณใช้จ่ายให้เกิดความคุ้มค่าของงบประมาณ และคงเหลืองบประมาณไว้เพื่อดำเนินงานต่อไป
ผู้มีบทบาท
- คณะกรรมการหมู่บ้าน
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง
- ที่ว่าการอำเภอเวียงป่าเป้า
ช่องทางเข้าถึง คณะกรรมการหมู่บ้านสัน
ชุมชนในหมู่บ้านเฟือยไฮ เป็นชนชาติพันธุ์ไทยวน (คนเมือง) ใช้ภาษาล้านนาเมืองเป็นภาษาพูดและเขียน ปัญหาในปัจจุบันภาษาเขียนได้มีการนำมาใช้น้อย ไม่ได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจึงสูญหายไปกับวัฒนธรรมสมัยใหม่ เด็กนักเรียน นักศึกษา เยาวชน ในหมู่บ้านรุ่นใหม่จะพูดได้แต่ไม่สามรถอ่านหรือเขียนได้
- การประชาสัมพันธ์ การขยายผลิตภัณฑ์ของชุมชน กลุ่มดอกกุหลาบ ขิง มะม่วง ลำไย มันสับปะหลัง ข้าว ข้าวโพด
- ครอบครัวทุกครัวเรือนมีทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนทุกคน ไม่มีปัญหาทางทะเบียน นอกจาไปสมรสกับบุคคลภายนอกบ้านและแยกมาอยู่พื้นที่มีบัตรพื้นที่สูง เป็นส่วนน้อยประมาณ 3 คน
- ขาดการส่งเสริมการแสดงของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง การแสดงการเป่าแคน (ใช้ในพิธีส่งวิญญาณ)
- ที่ผังศพของหมู่บ้านยังไม่มีการได้รับจัดสรรที่ดินสำหรับการฝังศพของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง
- การจัดสรรที่ดินทำกินของหมู่บ้านชุมชนต้องหาซื้อหรือเช่าที่ทำกิน เพราะพื้นที่อยู่อาศัยมีการจับจองโดยส่วนมาก ไม่สามารถขยายพื้นที่ป่าในหมู่บ้าน
วัดเวียงมนมงคลพนาราม ตั้งอยู่เลขที่ 228 บ้านสัน หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เป็นวัดที่มีตำนานเวียงกาหลง ซึ่งเป็นเมืองโบราณของอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ซึ่งทั้งหมดมี 7 เวียง คือ เวียงกาหลง เวียงป่าเป้า เวียงมน เวียงฮ้อ ดงเวียง เวียงบวกขอน เวียงจอมผ่อ ซึ่งถือได้ว่าทั้ง 7 เวียงเป็นเมืองสมัยโบราณ
บริเวณโดยรอบของวัดเวียงมนมงคลพนาราม จะมีคูเมืองโบราณล้อมรอบ และภายในวัดมีจุดน่าสนใจหลายจุด นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาเที่ยวชมได้ เช่น หอระฆังรูปทรงแบบลาวที่เก่าแก่ หลวงพ่อโตทันใจ ไอ้ไข่ แมลงสี่หูห้าตา และมี สกายวอล์ค ที่กำลังเปิดใหม่เป็นจุดชมวิว โดยมีไฮไลท์เป็นทะเลหมอกยามเช้า ช่วงเวลาประมาณ 06.00 น – 07.00 น และแสงสีทองจากพระอาทิตย์ที่สาดลอดผ่านหมอกบางๆ ทำให้ภาพที่ปรากฏเบื้องหน้าสวยงาม
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. หนังสือเรียนอักษรธัมม์ล้านนา. เข้าถึงได้จาก: https://www.culture.cmru.ac.th/
เชียงรายโฟกัส. (2566). วัดเวียงมนพมงคลพนาราม. (ออนไลน์). https://www.chiangraifocus.com/