วัฒนธรรมมอญรามัญ วัดดอนกระเบื้อง จุดศูนย์รวมชุมชน ที่มีอายุเก่าแก่สืบมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2
ด้วยทำเลที่ตั้งของชุมชนเป็นที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง จึงเรียกว่า "ดอน" ประกอบกับบริเวณวัดดอนกระเบื้อง ถูกค้นพบกระเบื้องดินเผาโบราณที่แตกหักจมอยู่ใต้ดินเป็นจำนวนมาก ด้วยมีเหตุว่าชาวมอญที่ได้อพยพมาตั้งหลักแหล่งมีอาชีพปั้นหม้อ-ไห กระเบื้อง และพบหลักฐานพอเชื่อได้ว่า ดินที่ขุดมาใช้ปั้นนั้น ขุดมาจากดินที่อยู่ในหนองน้ำลึก ซึ่งมีชื่อในปัจจุบันว่า "หนองหูช้าง" (ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดดอนกระเบื้อง ประมาณ 1 กิโลเมตร)
วัฒนธรรมมอญรามัญ วัดดอนกระเบื้อง จุดศูนย์รวมชุมชน ที่มีอายุเก่าแก่สืบมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2
เริ่มแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าพระยามอญสองคน มีนามว่า เจ้าพระยารามัญวงค์ (พระยาบําเรอภักดี) กับเจ้าพระยามหาโยธา(พระยาเจ่ง) เข้าเฝ้าและทรงมีพระบรมราชานุญาตให้เจ้าพระยาทั้งสองกับบริวารที่อพยพมาจากพม่า ได้รับพระราชทานแหล่งที่ทำมาหาเลี้ยงชีพได้ตามอัธยาศัย พระยามอญทั้งสองพร้อมกับหัวหน้าพระยามอญอีกห้าคน รวมเป็นพระยามอญ 7 คน พร้อมบริวารจึงล่องแพมาตามลําน้ำแม่กลอง และได้พักอาศัยทำมาหาเลี้ยงชีพตามริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ตั้งแต่อำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธารามตลอดสองฝั่งแม่น้ำ และชนชาวมอญอพยพเหล่านั้นได้เลือกภูมิประเทศที่เป็นศูนย์รวมชาวมอญไว้ได้แห่งหนึ่งคือ "บ้านคงคา" ปัจจุบันคือ "วัดคงคาราม" เดิมทีท้องถิ่นของวัดคงคารามเป็นที่อยู่อาศัยของชาวลาวเวียงจันทร์มาก่อน ซึ่งชาวลาวเวียงจันทร์เหล่านั้นเป็นเชลยที่ถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลยในสมัยของพระเจ้ากรุงธนบุรี (เจ้าพระยาตากสิน) ชนชาวมอญเหล่านี้ต้องการพื้นดินแห่งนี้เป็นที่ประกอบการอาชีพ และไม่ต้องการรบราฆ่าฟันกับใคร ๆ พระยามอญเหล่านั้นจึงยื่นหนังสือเป็น "ท้องตราแผ่นดิน"
ว่าพวกตนได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 1 ให้มาทำมาหากิน ณ สถานที่แห่งนี้ ด้วยพระราชบารมีและพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 1 ชาวลาวเวียงจันทร์จึงถอยร่นพาบริวารอพยพไปที่อื่น ชาวมอญจึงแทรกเข้ามา ทำมาหากินตลอดสองฟากฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ในเขตอำเภอบ้านโป่งและอำเภอโพธาราม มีความเป็นอยู่อย่างสงบสุขเรื่อยมา และต่อมาก็ได้สร้างวัดขึ้นวัดหนึ่ง คือ วัดคงคาราม ไว้เป็นศูนย์รวมยึดเหนี่ยวทางจิตใจทางพุทธศาสนา
ดังกล่าวต่อมาบริเวณวัดคงคาราม เป็นแหล่งที่มีชุมชนชาวมอญมากมาย แต่พื้นที่ที่จะประกอบอาชีพมีจํานวนน้อยประชากรชาวมอญเริ่มหนาแน่น หัวหน้ามอญคนหนึ่งนามว่า "พระยานิโครธาราม" ซึ่งเป็นหนึ่งในพระยามอญทั้งเจ็ด เป็นหัวหน้านำพาลูกหลานมอญทั้งหลายอพยพแยกย้ายไปทำมาหากินด้านทิศตะวันออกของวัดคงคาราม ซึ่งเป็นที่ตั้งชุมชน ณ ปัจจุบันที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติเป็นป่าลานและยังพบเครื่องกระเบื้องของชาวจีนเป็นจำนวนมาก (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อชุมชนดอนกระเบื้อง ) แต่ชาวมอญที่อพยพไปแล้วยังคงมาทำบุญที่วัดคงคารามแห่งนี้เป็นประจําหัวหน้ามอญผู้นี้ จึงกราบทูลขออนุญาตจาก "เจ้าคณะใหญ่" ของวัดคงคารามเพื่อก่อสร้างวัดขึ้นอีกแห่งหนึ่งรองรับความศรัทธาในพุทธศาสนาของชาวมอญ พระยานิโครธารามได้ปรึกษากับหัวหน้ามอญทั้งหลายจนเป็น วัดที่มีนามว่า "วัดดอนกระเบื้อง" (ชาวมอญ เรียกว่า "เผี่ยเดิงเริด"แปลความว่า วัดที่มีดงลานมาก เผี่ย = วัด , เดิง = เมือง , ริด = ต้นลาน)
สภาพโดยทั่วไป พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะสำหรับการเพาะปลูก และการเลี้ยงสัตว์ มีคลองระบายน้ำของกรมชลประทานไหลผ่าน จําานวน 1 สาย มีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่านและมีคลองชลประทานไหลผ่านบางส่วนของตําบลและสามารถนําน้ำไปใช้ในการประกอบการเกษตรและบริโภค
แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน ดังนี้
- หมู่ที่ 1 บ้านรางโพธิ์ : นางกันยารัตน์ ขมประเสริฐ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 2 บ้านหมู่กลางเกาะลอย : นายทวีศักดิ์ ไพบูลย์สิทธิ์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 3 บ้านหมู่ใหญ่ดงยาง : นางขันแก้ว กิมอิม เป็นผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 4 บ้านต้นมะขาม : นายจตุรงค์ ตังป๊อก เป็นกำนัน
- หมู่ที่ 5 บ้านแควน้อย : นายสมบัติ คุณชัยวัฒนกิจ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 6 บ้านร่มโพธิ์ : นายวีรภัทร ตันเจริญ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอบ้านโป่ง
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบ้านเลือก ตำบลหนองโพ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลหนองโพ อำเภอโพธาราม
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลสวนกล้วย อำเภอบ้านโป่ง
สถานที่สำคัญ วัดดอนกระเบื้อง เป็นจุดศูนย์รวมของชุมชน มีอายุเก่าแก่สืบมาตั้งแต่รัชกาลที่ 2
ประชากรในเขตชุมชนดอนกระเบื้อง ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การปลูกข้าว ข้าวโพดฝักอ่อน และการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะโคนม อาชีพรองลงมา คือ รับจ้าง และค้าขาย
สังคมแบบเกษตรกรรมและบางส่วนทำงานรับจ้างตามโรงงานอุตสาหกรรม นับศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลัก บางส่วนนับถือศาสนาคริสต์
1. นางละมูล ชินผักแว่น
- ที่อยู่ปัจจุบัน 114/1 หมู่ที่ 1 ตําบลดอนกระเบื้อง อําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
- ความรู้ความสามารถภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาสาธารณสุข ด้านการรักษาโรคแผนโบราณ
2. นางกัลยา เยี่ยงสว่าง
- ที่อยู่ปัจจุบัน 57 หมู่ที่ 2 ตําบลดอนกระเบื้อง อําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
- ความรู้ความสามารถภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาศิลปกรรม ด้านงานประดิษฐ์
3. นางอุบล ทองอือ
- ที่อยู่ปัจจุบัน 45 หมู่ที่ 3 ตําบลดอนกระเบื้อง อําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
- ความรู้ความสามารถภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาศิลปกรรม ด้านงานประดิษฐ์ “บายศรี”
4. นางจินตนา แก้วบูชา
- อายุ 64 ปี
- ที่อยู่ปัจจุบัน 36/3 หมู่ที่ 4 ตําบลดอนกระเบื้อง อําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
- ความรู้ความสามารถภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาศิลปกรรม ด้านดนตรีไทย
5. นายพร เชาว์วัตร์
- อายุ 75 ปี
- ที่อยู่ปัจจุบัน 29/1 หมู่ที่ 3 ตําบลดอนกระเบื้อง อําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
- ความรู้ความสามารถภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาศิลปกรรม ด้านประติมากรรม ประดับต้นเทียน
6. นางสมใจ หนูน้อย
- ที่อยู่ปัจจุบัน 44/2 หมู่ที่ 4 ตําบลดอนกระเบื้อง อําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
- ความรู้ความสามารถภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาอาหารท้องถิ่น
7. นายประจวบ นิโกรทา
- ที่อยู่ปัจจุบัน 34/2 หมู่ที่ 5 ตําบลดอนกระเบื้อง อําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
- ความรู้ความสามารถภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาพิธีกรรมท้องถิ่น
ศิลปะการแสดง
หนังตลุง
- ชื่อทางการ : หนังตลุง
- ชื่อท้องถิ่น : หนังลุงแกละ ชุมพร ชมดาว
- ประวัติความเป็นมา : ชุดหนังสืบทอดมานับร้อยปี
- คุณค่า ความหมายที่มีต่อชุมชน : มีการแสดงควบคู่กับชุมชนมาอย่างยาวนาน
- สถานภาพปัจจุบัน : ปัจจุบันไม่มีผู้สืบทอด แต่ยังมีการทำบุญอาจารย์ฤาษี บรรลัย โกศ เดือน 6 ทุกปี
- การถ่ายทอดและการสืบทอด : ไม่มีการถ่ายทอดแล้ว
- อุปกรณ์ประกอบการใช้แสดง : อุปกรณ์หนังครบชุด
แนวปฎิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี
โกนจุก
- ชื่อทางการ : โกนจุก
- ชื่อท้องถิ่น : จอโป
- คุณค่า ความหมายที่มีต่อชุมชน : เป็นพิธีสำคัญของเด็กชาวมอญ
- สถานภาพปัจจุบัน : ยังมีการประกอบพิธีสืบต่อกันเรื่อยมา
- การถ่ายทอดและการสืบทอด : สืบทอดต่อกันเรื่อยมา
- อุปกรณ์ประกอบการใช้งาน : ไม้คันเบ็ด ข้าวปากหม้อ สำรับแกง ขนมทอด กล้วย มะพร้าวแห้ง พลู หมาก เทียน น้ำมนต์
ทำบุญกลางบ้าน
- ชื่อทางการ : ทำบุญกลางบ้าน
- ชื่อท้องถิ่น : มะเงอฮ้อย
- คุณค่า ความหมายที่มีต่อชุมชน : เป็นพิธีสำคัญของชุมชน
- สถานภาพปัจจุบัน : ยังมีการประกอบพิธีสืบต่อกันเรื่อยมา
- การถ่ายทอดและการสืบทอด : สืบสอดต่อกันเรื่อยมา
- อุปกรณ์ประกอบการใช้งาน : การตั้งเสาไม้เพื่อไหว้เทวดา
ไหว้ผีเดือน 6
- ชื่อทางการ ไหว้ผีเดือน 6
- ชื่อท้องถิ่น เจียะอะลก
- ประวัติความเป็นมา มีคู่ท้องถิ่น
- คุณค่า ความหมายที่มีต่อชุมชน เป็นพิธีสำคัญของคนในตระกูลเดียวกัน
- สถานภาพปัจจุบัน ยังมีการประกอบพิธีสืบต่อกันเรื่อยมา
- การถ่ายทอดและการสืบทอด สืบต่อกันเรื่อยมา
- อุปกรณ์ประกอบการใช้งาน ข้าวปากหม้อ สำรับแกง ขนมทอด กล้วย มะพร้าวแห้ง พลู หมาก เทียน น้ำมนต์
ช่างฝีมือ
- ชื่อทางการ : ตัดกระดาษ
- คุณค่า ความหมายที่มีต่อชุมชน : ใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบในหลายๆพิธี
- สถานภาพปัจจุบัน : ยังมีการประกอบพิธีสืบต่อกันเรื่อยมา
- การถ่ายทอดและการสืบทอด : สืบทอดต่อกันเรื่อยมา
- อุปกรณ์ประกอบการใช้งาน : กระดาษแก้ว
ภาษาพูดใช้ภาษาไทยและภาษามอญ ภาษาเขียนใช้ภาษาไทย
ชุมชนเหลือผู้อ่านภาษามอญออกเขียนภาษามอญได้เพียงท่านเดียว
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. มอญดอนกระเบื้อง จ.ราชบุรี. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2567 ; จาก https://communityarchive.sac.or.th/
องค์การบริหารส่วนตำบลดอนกระเบื้อง. (ม.ป.ป.). ข้อมูลพื้นฐานตำบล. ค้นจาก http://donkrabueang.go.th/