-
ชุมชนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ เป็นที่ตั้งของศาสนสถานที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ทั้งนี้ภายในชุมชนยังมีความหลากหลายของชาติพันธุ์ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้มีกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์อยู่ภายในชุมชนอีกด้วย
-
ชุมชนชาวลาวเวียงจันทน์อายุเก่าแก่กว่า 200 ปี เป็นแหล่งผลิตขลุ่ยเรียกว่า "ขลุ่ยบ้านลาว" มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ตลอดจนปัจจุบัน ทั้งนี้ภายในพื้นที่ยังมีแหล่งผลิตหัวโขนที่มีชื่อว่า "บ้านศิลปะไทย"
-
วัดป่าสักดาราม วัดท่าม่วง วัดเหนือ องค์พระธาตุพนมจำลอง สิมรูปแบบล้านช้าง การอนุรักษ์อักษรธรรมและอักษรไทน้อย
-
ชุมชนบ้านโคกลำดวนได้เรียนรู้ประสบการณ์จากความล้มเหลวในการประกอบอาชีพ สร้างเป็นแรงผลักดันจากความพยายามต่อสู้ดิ้นรนในการทํามาหากิน จนค้นพบ “ไผ่ตง” และ “ผักหวาน” พืชเศรษฐกิจพลิกฟื้นชีวิตชาวโคกลำดวนให้กลับมาสู่แสงสว่างอีกครั้ง
-
หมู่บ้านกลุ่มชาติพันธุ์ชาวลาวเวียงที่มีประเพณีและวัฒนธรรมของชาวลาวเวียงค่อนข้างเด่นชัด ได้แก่ ตักบาตรหาบจังหัน, ประเพณีไหลแพไฟ, พิธีขอบคุณพืชพันธ์ – ธัญญาหาร นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่เก็บรักษาประวัติศาสตร์ของหมู่บ้าน เพื่อให้ผู้คนที่ได้เข้ามาได้เรียนรู้อีกด้วย
-
ชุมชนที่ผลิตไม้กวาดเป็นอาชีพเสริมทำให้เกิดรายได้ของชุมชนเป็นเอกลักษณ์ที่คนในชุมชนใกล้เคียงและคนในจังหวัดสกลนครรู้จักเป็นอย่างดี ในปัจจุบันชุมชนบ้านเต่างอยกลายเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวแหล่งสำคัญของจังหวัดสกลนคร
-
ชุมชนชาติพันธุ์ลาวเวียงที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณใกล้กับแม่น้ำแม่กลอง ผู้คนในชุมชนยังคงมีการยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมของบรรพบุรุษชาวลาวเวียงสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ การตั้ง "ศาลปู่ตา" การประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิต อาหาร และการแต่งกาย
-
บ้านขี้เหล็กใหญ่เป็น "บ้านเจ้าบ้านนาย" เป็นหมู่บ้านที่มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี อันดีงามไว้มากมาย อีกทั้งผู้คนในชุมชนมีความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีระเบียบวินัยในการทำงานและใช้ชีวิต
-
ย่านชุมชนบ้านโป่ง มีการใช้พื้นที่เมืองในการสร้างพื้นที่ศิลปะสาธารณะในย่านชุมชน ก่อให้เกิดสุนทรียทางศิลปะ และการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว ในรูปแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในชุมชนย่านบ้านโป่ง
-
วัดโพธิ์ศรี นาเวียง เป็นหนึ่งใน 4 วัดในอำเภอด่านซ้ายที่จัดงานบุญหลวง และมีการละเล่นผีตาโขน มีพิพิธภัณฑ์ผีตาโขนบ้านนาเวียง จัดแสดงหน้ากากผีตาโขนในรูปแบบต่างๆ อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในวัดที่มีการต่อเรือยาว และเป็นหนึ่งในสนามแข่งเรือเมื่อครั้งสมัยก่อน เป็นหนึ่งใน 2 ชุมชนสุดท้ายในอำเภอด่านซ้ายที่ยังมี “พัดทดน้ำ” หรือ “ระหัดวิดน้ำ” ภูมิปัญญาของชาวลุ่มน้ำหมัน หลงเหลือให้เห็นอยู่ในแม่น้ำหมัน