
ระบบการเกษตรแบบไร่หมุนเวียน นอกจากนี้พื้นที่ในชุมชนบ้านขุนแม่เหว่ย ยังแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ พื้นที่ป่าตามความเชื่อ ป่าอนุรักษ์ ป่าใช้ประโยชน์ พื้นที่ป่าตามโครงการของรัฐ
ระบบการเกษตรแบบไร่หมุนเวียน นอกจากนี้พื้นที่ในชุมชนบ้านขุนแม่เหว่ย ยังแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ พื้นที่ป่าตามความเชื่อ ป่าอนุรักษ์ ป่าใช้ประโยชน์ พื้นที่ป่าตามโครงการของรัฐ
"บ้านขุนห้วยแม่เหว่ย" (แม่ปอคี) หมู่ 5 ตำบลท่าสองยาง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก เป็นหมู่บ้านปกาเกอะญอ บ้านขุนห้วยแม่เหว่ย (แม่ปอคี) ตั้งถิ่นอยู่ที่นี้มาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1939 ถึง ค.ศ. 1945 หรือ พ.ศ. 2482 ถึง พ.ศ. 2488) การเดินทางเข้าสู่ชุมชนค่อนข้างยากลำบาก โดยการเดินทางจากจังหวัดตากมาถึงหมู่บ้านนั้น จะมีระยะทางประมาณ 250 กว่ากิโลเมตร สามารถเดินทางทางรถยนต์ได้สะดวกเฉพาะฤดูแล้งเท่านั้น โดยเดินทางมาจากจังหวัดตากตามทางหลวงหมายเลข 12 มาถึงตัวอำเภอแม่สอด จากนั้นเดินทางมาตามทางหลวงหมายเลข 105 อีกประมาณ 135 กิโลเมตรจนมาถึงแยกทางเข้าสำนักสงฆ์ซอแขระกลา อำเภอท่าสองยาง จะมีทางแยกทางซ้ายมือเพื่อเดินทางเข้ามาถึงชุมชน ช่วงแรกเป็นถนนลาดปูนซีเมนต์ ในส่วนที่เหลือเป็นถนนดินแดงวิ่งไปบนเขาที่ค่อนข้างชัน ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ผ่าน หมู่บ้านแม่เหว่ยหมู่ 4 เดินทางต่อไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตรจะถึงบ้านขุนห้วยแม่เหว่ย
ในส่วนที่เหลือเป็นถนนดินแดงวิ่งไปบนเขาที่ค่อนข้างชัน ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ผ่าน หมู่บ้านแม่เหว่ยหมู่ 4 เดินทางต่อไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตรจะถึงบ้านขุนห้วยแม่เหว่ย
ในอดีตคนหมู่บ้านขุนแม่เหว่ย (แม่ปอคี) อาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านแม่อมยะ ต่อมานายผะจ่อป้าได้พาลูกหลานอพยพออกจากหมู่บ้านแม่อมยะประมาณ 8 ครอบครัวตามพื้นที่ทำกินจนได้มาตั้งชุมชนอยู่ในพื้นที่หมู่บ้านแม่ปอคี หรือขุนห้วยแม่เหว่ยในปัจจุบัน แม้จะมีการอยู่อาศัยอยู่ในพื้นที่มาอย่างยาวนาน จากผลการศึกษาพบว่าชุมชนได้มีการตั้งที่อยู่อาศัยในบริเวณที่เรียกว่าเทือกเขา เบ๊อะบละตูเป็นระยะเวลานานโดยชุมชนได้มีการบอกเล่าประวัติศาสตร์ผ่านการตั้งถิ่นฐานและการโยกย้ายถิ่นฐานซึ่งมีจุดหรือพื้นที่ที่ชุมชนอาศัยมาก่อนเรียกว่า “เดลอ” (ภูมิลําเนาเดิมที่เคยอาศัยอยู่) ทั้งหมด 24 จุด ดังนี้
เดลอ “แม่วะ”
สาเหตุการย้ายออกจากเดลอ "แม่วะ" เนื่องจากเป็นพื้นที่อยู่รวมกันระหว่างกะเหรี่ยงจ่อกับกะเหรี่ยงโพล่ง ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทกัน เนื่องจากพิธีกรรมบางอย่างไม่เหมือนกัน จนทำให้กะเหรี่ยงจ่อส่วนหนึ่งตัดสินในย้ายออกจากแม่วะเพื่อไปตั้งถิ่นฐานที่อื่น และอาศัยเป็นเวลา 5 ปี
เดลอ “กี่โก้โด๊ะโกล” (แปลว่า ลำธารผักกุด)
สาเหตุที่ย้ายออกจากเดลอ “กี่โก้โด๊ะโกล” อาศัยอยู่เดลอนี้ 3 ปี พือจ่าเหง่และหลานยื่อเหง่ วะคอ เกวะเชอ บอยเจ และชือพอ พร้อมลูกหลานมาอาศัยอยู่ละแวกนั้นมานานพอสมควร และในพื้นที่นั้นมีน้ำไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ และพือจ่าเหง่เห็นว่าพื้นที่ทำกินไร่หมุนเวียนควรปล่อยให้พักฟื้นจึงได้ชวนคนในหมู่บ้านทั้งหมดย้ายออกจากกี่โก่โดะโกล มายังเดลอ อูยะทะเก่อโค้ะ เพราะว่ามีลำธารที่อุดมสมบูรณ์และใกล้ไร่หมุนเวียนที่ทำกินอีกด้วย
เดลอ “อูยะทะ”
สาเหตุที่ย้ายออกจากเดลอ “อูยะทะ” พือจ่าเหง่และลูกหลานมาตั้งถิ่นฐานอยู่อูยะทะ อาศัยอยู่ในเดลอนี้ได้ 80 ปี ทำมาหากินตามวิถีชีวิตชาวปกาเกอะญอ คือ ทำไร่หมุนเวียนดั้งเดิม พือจ่าเหง่เห็นว่าพื้นที่นี้ถ้าถึงฤดูฝนเกิดฝนตกหนักและน้ำเซาะกัดตะลิ่งและเกิดดินสไลด์หลายครั้ง จึงตกลงกันย้ายออกจากอูยะทะเพื่อแห่งใหม่เลยย้ายมาอยู่ เดลอ “อูยะทะเก่อโค๊ะ” เพื่อความปลอดภัยของชุมชน
เดลอ “อูยะทะเก่อโค๊ะ”
สาเหตุที่ย้ายออกจากเดลอ “อูยะทะเก่อโค๊ะ” อาศัยอยู่ในเดลอนี้ได้ 50 ปี ทำมาหากินตามวิถีชีวิตชาวปกาเกอะญอ คือ ทำไร่หมุนเวียนดั้งเดิม พือจ่าเหง่เห็นว่าพื้นที่นี้ถ้าถึงฤดูฝนเกิดฝนตกหนักและน้ำเซาะกัดตะลิ่งและเกิดดินสไลด์หลายครั้ง และไร่หมุนเวียนควรได้รับการพักฟื้นจึงปรึกษากับลูกหลานว่าควรหาพื้นที่ทำกินใหม่ จึงตกลงกันย้ายออกจากอูยะทะเก่อโค๊ะเพื่อหาที่ทำกินไร่หมุนเวียนแห่งใหม่เลยย้ายมาอยู่ เดลอ "บอทะ"
เดลอ “บอทะ”
สาเหตุที่ย้ายออกจากเดลอ “บอทะ” เดิมทีพื้นที่ตรงนี้ยังไม่มีชื่อเรียก แต่หลังจากอาศัยอยู่ได้เพียง 3 ปี ได้เกิดโรคระบาดขึ้น ซึ่งลักษณะของโรคมีตุ่มขึ้นตามตัวสีแดง และสีเหลืองจึงเรียกชื่อ พื้นที่ว่า เดลอบอ โรคระบาดทำให้มีคนเสียชีวิต และได้เกิดเหตุการณ์ฝรั่งเข้ามาตัดไม้ในพื้นที่ ใช้ช้างลากไม้ผ่านหมู่บ้านเป็นการผิดจารีตทำให้คนในหมู่บ้านเกิดการล้มตาย (เมื่อเทียบประวัติศาสตร์แล้วคือการสัมปทานป่าไม้ครั้งที่ 1
เดลอ “พอเต่อก่อ”
สาเหตุที่ย้ายออกจากเดลอ “พอเต่อก่อ” ได้มาตั้งถิ่นฐานตรงนี้ได้ 7 ปี และทำไร่หมุนเวียนตามปกติ ไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นนอกจากพื้นที่ทำกินไร่หมุนเวียนควรได้รับการพักฟื้นและปล่อยให้พื้นที่ได้พักฟื้น และไร่หมุนเวียนที่จะไปทำกินต่อไกลจากที่ตั้งของเดลอ ยื่อเหง่กับวะคอ ปรึกษากับลูกหลานในหมู่บ้านเพื่อหาพื้นที่ทำกินใหม่และตั้งถิ่นฐานใหม่
เดลอพอเต่อกอ (รอบที่ 2) อาศัยอยู่ในเดลอนี้ได้ 9 ปี ต้องไปทำไร่หมุนเวียนตรงพื้นที่คอเหน่เลอะ จึงต้องย้ายที่ตั้งชุมชนไปเดลอฆอเหน่เลอะ
เดลอ “เก่อแนฆอโกล”
สาเหตุที่ย้ายออกจากเดลอเก่อแนฆอโกล อาศัยอยู่ได้เพียง 3 ปี พื้นที่ในการทำไร่หมุนเวียนเริ่มอยู่ไกลจากที่ตั้งชุมชน ชาวบ้านจึงได้หาทางออกและได้ข้อตกลงร่วมกันคือ ย้ายหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงพากันย้ายหมู่บ้านไปอยู่ในพื้นที่ฆอเหน่เลอะ
เดลอ “ฆอแหน่เล๊อะ”
สาเหตุที่ย้ายออกจากเดลอ อาศัยอยู่ในเดลอ “ฆอแหน่เล๊อะ” อาศัยอยู่ในพื้นที่เดลอนี้ได้ 9 ปี ทำมาหากินตามเคยไม่มีเหตุการณ์ใดๆที่เกิดขึ้น แต่เกิดจากการทำไร่หมุนเวียนที่ไกลจากหมู่บ้านทำให้ลำบากในการขนส่งผลผลิตจากไร่หมุนเวียน ไม้ไผ่ในการต่อเติมบ้านน้อยลง ฟืนในการใช้ก่อไฟในการประกอบอาหารนั้นน้อยลงจึงย้ายมาอยู่ใกล้ไร่หมุนเวียนเพราะจะได้ขนส่งผลผลิตจากไร่หมุนเวียนใกล้และง่าย
เดลอฆอเหน่เลอ (รอบที่ 2) อาศัยอยู่ในเดลอได้ 4 ปี พื้นที่ไร่หมุนเวียนใกล้เคียงเริ่มลดลงจึงต้องย้ายไปทำไร่หมุนเวียนในพื้นที่วะมีโค้ ซึ่งอยู่ไกลจากพื้นที่ที่ตั้งชุมชน จึงต้องย้ายตามไร่หมุนเวียน
เดลอ “เด้ลาเคลอโกล”
สาเหตุที่ย้ายออกจากเดลอ “เด้ลาเคลอโกล” เริ่มอาศัยในเดลอ “เด้ลาเคลอโกล” ปี พ.ศ. 2399 อาศัยอยู่ได้ 5 ปี ซึ่งพือยือเก่ และวะคอ ได้ปรึกษากับชาวบ้านหมดในการจะย้ายไปในพื้นที่แห่งใหม่ เพราะเกิดจากการทำไร่หมุนเวียนที่ไกลจากหมู่บ้านทำให้ลำบากในการขนส่งผลผลิตจากไร่หมุนเวียน ไม้ไผ่ในการต่อเติมบ้านน้อยลง ฟืนในการใช้ก่อไฟในการประกอบอาหารนั้นน้อยลงจึงย้ายมาอยู่ใกล้ไร่หมุนเวียนเพราะจะได้ขนส่งผลผลิตจากไร่หมุนเวียนใกล้กับพื้นที่อยู่อาศัย
เดลอ "วะหมี่โค๊ะ" แปลว่า เดลอไผ่ซาง
สาเหตุที่ย้ายออกจากเดลอ "วะหมี่โค๊ะ" อาศัยอยู่ในเดลอนี้เป็นเวลา 40 ปี ในเดลอแห่งนี้มีประชากรที่มีจำนวนมากขึ้น และไกลจากการทำไร่หมุนเวียนลำบากต่อการขนผลผลิตจากไร่หมุนเวียนเพราะชุมชนมีการไร่หมุนเวียนที่แยกกันไม่ได้อยู่ในพื้นที่เดียวกันและผลผลิตที่ได้จากไร่หมุนเวียน ที่ขนด้วยกำลังคนมีจำนวนจำกัดที่แบกข้าว กับไม้กับไม้ไผ่และฟืน (ไม้ที่ตายที่แห้งแล้ว) ที่ใช้ในการสร้างบ้านมีจำนวนที่ลดน้อยลงถึงเวลาที่ต้องพักฟื้นไม้กับไม้ไผ่และฟืน ผู้นำชุมชนในสมัยนั้นได้เริ่มปรึกษากันที่จะย้ายออกจากพื้นที่วะหมี่โค๊ะ เป็นเดลอที่ยังอยู่รวมกับชุมชนบ้านแม่อมยะเกิดเหตุการณ์ในชุมชนทำไร่หมุนเวียนแบ่งออกเป็น 2 แปลงใหญ่ จึงแยกออกเป็น 2 หมู่บ้าน คือ “พือยือเง” ไปสร้างหมู่บ้านใหม่ คือ บ้านแม่ปอคี(ขุนแม่เหว่ย) ในปัจจุบัน และ“พือวะคอ” ไปสร้างหมู่บ้านใหม่ คือ บ้านแม่อมยะ ในปัจจุบัน ที่ “เดลอพะทอ”
เดลอ “โค๊ะโพหลู่” แปลว่า “โค๊ะโพ” แปลว่าเจดีย์ขนาดเล็ก “หลู่” แปลว่าบนเขา
สาเหตุการย้ายออกจากโฆ๊ะโพหลู่ อาศัยอยู่ใน “เดลอโค๊ะโพหลู่” เป็นเวลา 5 ปี เกิดจากการทำไร่หมุนเวียนที่ไกลจากหมู่บ้านทำให้ลำบากในการขนส่งผลผลิตจากไร่หมุนเวียน ไม้ไผ่ในการต่อเติมบ้านน้อยลง และฟืนในการใช้ก่อไฟในการประกอบอาหารนั้นน้อยลงจึงย้ายมาอยู่ใกล้ไร่หมุนเวียนเพราะจะได้ขนส่งผลผลิตจากไร่หมุนเวียนใกล้และง่าย
เดลอ “เป่อพาโอะเคาะ” แปลว่า เป่อแปลว่าไม้ชนิดเป่อ พาแปลว่าตัวผู้ โอะเคาะแปลว่าใต้หน้าผา
สาเหตุการย้ายออกจากเดลอเป่อพาโอะเคาะ อาศัยอยู่ในเดลอนี้เป็นเวลา 7 ปี ย้ายออกจากเดลอนี้เพราะ ทำไร่หมุนเวียนที่ไกลจากการถิ่นฐานซึ่งลำบากต่อการขนผลผลิตจากไร่หมุนเวียน ไม้และไม้ไผ่ที่สร้างบ้านมีจำนวนลดน้อยลง กับใบของต้นค้อและใบของ (เกอะฮอละ) ที่ซ่อมแซมหลังคาบ้านมีจำนวนลดน้อยลงลำบากต่อการซ่อมแซมบ้านผู้นำชุมชนได้ปรึกษากับชุมชนว่าจะย้ายไปอยู่ที่ไหนที่มีไม้และไม้ไผ่ที่อุดมสมบูรณ์และใกล้กับจะไปตั้งถิ่นฐาน
เดลอ “จอเปกว๊าะ” แปลว่า จอเป แปลว่าชื่อคน กว๊าะ พื้นที่ตีนเขา
สาเหตุการย้ายออกจากเดลอ "จอเปกว๊าะ" อาศัยอยู่ในเดลอนี้ได้ 7 ปี ผู้นำชุมชนได้มีการพูดคุยกันกับคนในชุมชนว่าพื้นนี้ห่างไกลจากไร่หมุนเวียนที่ทำจะย้ายหรืออาศัยอยู่ต่อ และได้ข้อตกลงกันว่าต้องย้ายออกเพราะไม้และไม้ไผ่ที่ใกล้มีจำนวนที่น้อยลงลำบากต่อการสร้างบ้านหรือว่าซ่อมแซมบ้าน และฟืน (ไม้และไม้ไผ่แห้ง) มีจำนวนที่ลดน้อยลงจึงต้องฟื้นพื้นที่บริเวณนี้
เดลอจอเปกว๊าะ (รอบที่2) แปลว่า จอเป แปลว่าชื่อคน กว๊าะ พื้นที่ตีนเขา สาเหตุการย้ายออกจากเดลอจอเปกว๊าะ (รอบที่2) อาศัยอยู่ใน “เดลอจอเปกว๊าะ” (รอบที่2) เป็นเวลา 30 ปี เดลอจอเปกว๊าะ เป็นพื้นที่ที่คับแคบและลาดชัน มีจำนวนประชากรที่มากขึ้นลำบากต่อการสร้างบ้าน ต่อมาชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อสร้อยมาบวงสรวงหมู่บ้านนี้ให้กับชาวบ้านและหลวงพ่อสร้อยได้ทักและได้บอกให้กับชาวบ้านว่าพื้นที่แห่งนี้ไม่ดีต่อการตั้งถิ่นฐาน และเวลาผ่านไปไม่กี่ปีได้เกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรง (ไม่ทราบจำนวนริกเตอร์) ทำให้ก้อนหินขนาดใหญ่ร่วงลงมาจากพื้นที่ลาดชันและในเวลานั้นได้เกิดลำห้วยหลายสายแห้งโดยอัตโนมัติเวลาผ่านไป1อาทิตย์ ก่อนที่จะย้ายออกนั้นผู้นำทางจิตวิญญาณของชุมชนและชาวบ้านได้คุยกันว่าจะอาศัยต่อหรือจะย้ายออกจากเดลอนี้
เดลอ “จี้เหย่ปู่” แปลว่า เดลอหนีญี่ปุ่น
สาเหตุการย้ายออกจากเดลอจี้เหย่ปู่ “เดลอจี้เหย่ปู่" อาศัยเดลอนี้ได้ไม่กี่ปีได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 คือกองทัพญี่ปุ่นได้ยกทัพผ่านเดลอนี้และได้ใช้งานชาวบ้านเหมือนคนงาน เช่น ใช้ไปตักน้ำ ตำข้าวสารให้กิน เป็นต้น และชาวบ้านทนไม่ไหวเพราะทหารญี่ปุ่นนอนบนบ้านและใต้ถุนบ้านเต็มไปด้วยทหารญี่ปุ่น ชาวบ้านเลยหนีออกจากเดลอนี้ย้ายไปอยู่ที่ไร่หมุนเวียนของใครของมัน และอีกไม่นานไปตั้งหลักใหม่หรือตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ไม่ใช่ทางผ่านและไม่ใกล้ทางเดินเท้าและพื้นที่ที่ลำบากต่อการเดินด้วยเท้าเพื่อไม่ให้ทหารญี่ปุ่นเห็นร่องรอยเลยชาวบ้านได้ย้ายไปอยู่ที่เดลอโพเพื่อหลบภัยการยกทัพของทหารญี่ปุ่นชั่วคราว
เดลอจี้เหย่ปู่ (รอบที่2) สาเหตุการย้ายออกจากเดลอจี้เหย่ปู่ (รอบที่2) ได้อาศัยอยู่ในเดลอจี้เหย่ปู่ (รอบที่2) เป็นเวลา 7 ปี พื้นที่เดลอจี้แหย่ปู่มีความห่างไกลจากการทำไร่หมุนเวียนของคนในชุมชน ซึ่งลำบากต่อการเดินทางไปมาของการทำมาหากินในไร่และการขนผลผลิตจากไร่หมุนเวียนกลับเข้ามายังหมู่บ้านและไม้และไม้ไผ่ที่สามารถที่สามารถนำมาใช้สอยได้มีปริมาณที่ลดลงซึ่งลำบากตต่อการซ่อมบ้านและการจะนำมาใช้เป็นฟืน จึงจำเป็นต้องพักฟื้นในระยะเวลาที่ยาว
เดลอ “โพ” พื้นที่ถิ่นฐานที่เคยอยู่อาศัย “โพ” แปลว่า “เล็ก”
สาเหตุของการย้ายออกจากเดลอโพ อาศัยอยู่ในเดลอเป็นเวลา 4 ปี เป็นเดลอที่มีพื้นลาดชันลำบากต่อการเดินทางเข้าก่อนเพราะว่าชาวบ้านเลือกพื้นที่ลำบากที่สุดที่หนีกองทัพทหารญี่ปุ่น พอกองทัพทหารญี่ปุ่นไปจากพื้นที่หรือว่าเขตของชาวบ้านในสมัยนั้นแล้วเริ่มย้ายไปอยู่ที่เดลออื่นต่อไปที่สะดวกที่สุด
เดลอ “หม่อผะแหล่” “หม่อ” แปลว่า ต้นหมากจิ๋ว “ผะแหล่” แปลว่า กว้าง
สาเหตุการย้ายออกจากเดลอหม่อผะแหล่ “เดลอหม่อผะแหล่” เป็นเวลา 4 ปี พื้นที่เดลอหม่อผะแหล่มีความห่างไกลจากการทำไร่หมุนเวียนของคนในชุมชน ซึ่งลำบากต่อการเดินทางไปมาของการทำมาหากินในไร่และการขนผลผลิตจากไร่หมุนเวียนกลับเข้ามายังหมู่บ้านและไม้และไม้ไผ่ที่สามารถที่สามารถนำมาใช้สอยได้มีปริมาณที่ลดลงซึ่งลำบากตต่อการซ่อมบ้านและการจะนำมาใช้เป็นฟืน จึงจำเป็นต้องพักฟื้นในระยะเวลาที่ยาว
เดลอแม่ปอคี “แหม่” แปลว่า “ลำธารหรือลำห้วย” “ปอ” แปลว่า ที่พักพิงชั่วคราวในการทำไร่หมุนเวียน และคี แปลว่า ต้นน้ำ
สาเหตุการย้ายออกจากเดลอแม่ปอคี ได้อาศัยอยู่ใน “เดลอแม่ปอคี” เป็นเวลา 5 ปี พื้นที่เดลอแม่ปอคีมีความห่างไกลจากการทำไร่หมุนเวียนของคนในชุมชน ซึ่งลำบากต่อการเดินทางไปมาของการทำมาหากินในไร่และการขนผลผลิตจากไร่หมุนเวียนกลับเข้ามายังหมู่บ้านและไม้และไม้ไผ่ที่สามารถที่สามารถนำมาใช้สอยได้มีปริมาณที่ลดลงซึ่งลำบากตต่อการซ่อมบ้านและการจะนำมาใช้เป็นฟืน จึงจำเป็นต้องพักฟื้นในระยะเวลาที่ยาว
เดลอแม่ปอคี (รอบที่2) สาเหตุการย้ายเข้า จากการสำรวจของผู้เฒ่าของหมู่บ้านพบว่าพื้นที่เดลอแม่ปอคี พื้นที่นี้มีความอุดมสมบูรณ์ของต้นไม้ป่าไม้ และสะดวกต่อการสร้างบ้านเรือน อีกทั้งสะดวกต่อการทำไร่หมุนเวียนของชาวบ้าน ประกอบกับใกล้แหล่งน้ำ ผู้นำชุมชนได้ปรึกษาหารือกับชาวบ้านจึงได้ข้อตกลงกันว่า จะย้ายกลับมายังพื้นที่เดลอแม่ปอคีอีกครั้ง สาเหตุการย้ายออกเดลอแม่ปอคี ได้อาศัยอยู่ใน “เดลอแม่ปอคี” (รอบที่2) เป็นเวลา 5 ปี พื้นที่เดลอมีความห่างไกลจากการทำไร่หมุนเวียนของคนในชุมชน ซึ่งลำบากต่อการเดินทางไปมาของการทำมาหากินในไร่และการขนผลผลิตจากไร่หมุนเวียนกลับเข้ามายังหมู่บ้านและไม้และไม้ไผ่ที่สามารถที่สามารถนำมาใช้สอยได้มีปริมาณที่ลดลงซึ่งลำบากตต่อการซ่อมบ้านและการจะนำมาใช้เป็นฟืน จึงจำเป็นต้องพักฟื้นในระยะเวลาที่ยาว
เดลอเซ่หง่อเบ้โกล “เซ่หงอเบ้” แปลว่า “เปลือกไม้แดง” “โกล” แปลว่า “ลำห้วย”
สาเหตุการย้ายออกจากพื้นที่เดลอเซ่หง่อเบ้โกล ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ “เดลอเซ่หง่อเบ้โกล” เป็นเวลา 5 ปี ซึ่งเดลอนี้มีความห่างไกลจากการทำไร่หมุนเวียนของคนในชุมชน ซึ่งลำบากต่อการเดินทางไปมาของการทำมาหากินในไร่และการขนผลผลิตจากไร่หมุนเวียนกลับเข้ามายังหมู่บ้านและไม้และไม้ไผ่ ที่สามารถที่สามารถนำมาใช้สอยได้มีปริมาณที่ลดลงซึ่งลำบากตต่อการซ่อมบ้านและการจะนำมาใช้เป็นฟืน จึงจำเป็นต้องพักฟื้นในระยะเวลาที่ยาว
การย้ายเข้าเดลอจี้เหย่ปู่ (รอบที่3) เป็นพื้นที่เหมาะแก่การทำไร่หมุนเวียน และมีทรัพยากรที่สมบูรณ์ มีระยะเวลาในการอยู่ในพื้นที่เป็นเวลา 47 ปี จนถึงปัจจุบัน
พื้นที่บ้านขุนแม่เหว่ย (แม่ปอคี) มีพื้นที่ทั้งหมด 8,386 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ป่า และพื้นที่ใช้ประโยชน์ โดยพื้นที่ป่ามีพื้นที่ทั้งหมด 3,997.83 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 47.7 ของพื้นที่ทั้งหมด และพื้นที่ใช้ประโยชน์มีพื้นที่ทั้งหมด 4,388.17 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 52.3 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ป่าในชุมชนบ้านขุนแม่เหว่ย แบ่งออกเป็นป่า 4 ประเภท คือ
- พื้นที่ป่าตามความเชื่อ ประกอบด้วยป่าศักดิ์สิทธิ์ (ป่าอนุรักษ์) ป่าช้า และป่าสะดือ มีเนื้อที่รวมทั้งหมด 317.74 ไร่
- ป่าอนุรักษ์ ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำ มีพื้นที่จำนวน 3 แปลง รวมพื้นที่เท่ากับ 2,540.41 ไร่
- ป่าใช้ประโยชน์ คือ ป่าชุมชน จำนวน 2 แห่ง มีพื้นที่ทั้งหมด 613.09 ไร่
- พื้นที่ป่าตามโครงการของรัฐ ได้แก่ โครงการปลูกป่าสร้างรายได้ พื้นที่ป่าไผ่ และป่าอื่น ๆ อีกจำนวน 526.59 ไร่
พื้นที่ใช้ประโยชน์ แบ่งออก เป็นพื้นที่อยู่อาศัย โรงเรียน สำนักสงฆ์ และพื้นที่ทำไร่หมุนเวียน พื้นที่อยู่อาศัยและโรงเรียน มีพื้นที่ทั้งหมด 149.78 ไร่ ขณะที่พื้นที่ของสำนักสงฆ์ คือ 29.80 ไร่ ส่วนพื้นที่ไร่หมุนเวียนแบ่งพื้นที่ ออกเป็น 5 รอบการหมุน ดังนี้
- พื้นที่ “อูยะเด” ปลูกในปีปัจจุบัน พ.ศ. 2562 จะปลูกรอบปีต่อไปในปี 2567 มีพื้นที่จำนวน 784.60 ไร่
- พื้นที่ “ก่าหลู่” ปลูกเดิมในปี พ.ศ. 2561 รอบปลูกต่อไปคือ ปี พ.ศ. 2566 มีพื้นที่จำนวน 592.20 ไร่
- พื้นที่ “ทีจือกวะ” ปลูกเดิมในปี พ.ศ. 2560 รอบปลูกต่อไปคือ ปี พ.ศ. 2565 มีพื้นที่ 898.89 ไร่
- พื้นที่ “โป๊ะรอเด” ปลูกเดิมในปี พ.ศ. 2559 รอบปลูกต่อไปคือ ปี พ.ศ. 2564 มีพื้นที่จำนวน 807.90 ไร่
- พื้นที่ “ทีตะกุย” ปลูกเดิมในปี พ.ศ. 2558 รอบปลูกต่อไปคือ ปี พ.ศ. 2563 มีพื้นที่จำนวน 1,125.00 ไร่
จำนวนประชาการบ้านขุนแม่เหว่ยทั้งหมด 310 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 152 คน หญิง 158 คน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุกะเหรี่ยงทั้งหมด
ปกาเกอะญอโครงสร้างทางการ
โครงสร้างแบบไม่เป็นทางการ
โครงสร้างผู้นำทางวัฒนธรรม (ฮิโค๊ะ)
- ฮิโค๊ะ แปลว่า หัวของหมู่บ้าน ทำหน้าที่ เป็นผู้นำพิธีกรรม ให้คำปรึกษา คิดและวางแผนกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน
- ฮิคะ แปลว่า คางของหมู่บ้าน ทำหน้าที่ เป็นผู้ช่วยฮิโค๊ะ ในด้านการเจรจา การพูดคุย และไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน
- ฮิเคาะ แปลว่า เท้าหรือขาของบ้าน ทำหน้าที่ ติดต่อประสานงานกับหมู่บ้านอื่นหรือบุคคลภายนอก
- ชาวบ้าน ทำหน้าที่ เป็นประชาชนในการให้คอยร่วมมือ ผู้ร่วมพิธี คอยสนับสนุน และอำนวยความสะดวก
กระบวนการเลือกฮิโค๊ะ
เลือกจากการสืบทอดโดยสายเลือดรุ่นต่อรุ่นจากครอบครัวของฮิโค๊ะคนเดิม ซึ่งฮิโค๊ะคนแรกนั้นจะเลือกจากบุคคลที่ก่อตั้งหมู่บ้านคนแรก จะต้องเป็นผู้ชายเท่านั้น กรณีที่ไม่มีผู้สืบทอดแล้วก็หาเครือญาติที่ใกล้เคียงกันมาทำหน้าที่
วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม
ประเพณีและพิธีกรรมของชุมชนบ้านขุนแม่เหว่ย ประกอบด้วย 10 พิธีกรรม ได้แก่
- พิธีกรรมกี่ปะหน่าจือ (มัดมือควาย)
- พิธีกรรมกี้จือฮี้ซอโค้ (สำหรับผูกข้อมือหลังจากที่ถางไร่หมุนเวียนเสร็จ)
- พิธีกรรมว้อฮี้ (ทำบุญหมู่บ้าน)
- รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่
- พิธีกรรมลือก่อ (หม่าอ้อต่าโดะต่าล่า)
- ประเพณีลื้องอโขะ (การย้อมด้าย)
- พิธีกรรมหม่าจูมูโค้ (ขอฝน)
- พิธีกรรมกี้จือลาคุ
- พิธีกรรมโอ้หย่อมูโค้ (ขอฝนหยุด)
- พิธีอ้อเธอคีดะ(เฉลิมฉลองหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว)
พิธีกรรมกี่ปะหน่าจือ (มัดมือควาย)
พิธีกรรมมัดมือควาย หรือในภาษาปกาเกอะญอ เรียกว่า กี่ปะหน่าจือ เป็นพิธีกรรมสำหรับเรียกขวัญควายในแต่ละปี เพื่อเป็นการทำให้จำนวนควายเพิ่มขึ้น และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ จัดขึ้นช่วงเดือนมกราคม ของทุกปี อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบพิธี ได้แก่ น้ำส้มป่อย เงิน เหล้า 2 ขวด ไก่ 2 ตัว ข้าวต้มมัด (แหม่ต่อ) ข้าวปุ๊ (แมโต้ปิ)
การประกอบพิธีกรรม
- วิธีการของพิธีกรรมมัดมือควาย เริ่มจากการเสี่ยงทาย หรือในภาษาปกาเกอะญอ เรียกว่า "กาต่า" เพื่อทำนายว่า ใครจะต้องเป็นผู้นำครอบครัวในการมัดมือควาย เมื่อรู้ว่า ใครจะเป็นผู้นำในการมัดมือควายแล้ว จากนั้นจึงจะต้มเหล้า ตกเย็นของวันที่มีการต้มเหล้า จะต้องเตรียมอุปกรณ์สำหรับพิธีมัดมือควาย เช่น ข้าวต้มมัด ข้าวปุ๊ (แมโต้ปิ)
- เช้ารุ่งขึ้นของวันใหม่ ผู้นำครอบครัวจะต้มไก่บ้าน 2 ตัว จากนั้นจึงจะไปจูงควายที่อยู่ในป่า หรือคอกควายกลับมาที่บ้าน แล้วมัดไว้บริเวณหัวบันไดบ้าน จากนั้นจึงประกอบพิธีเรียกขวัญควาย และมัดมือควายตามลำดับ โดยจะมัดตรงเขาควาย เมื่อเรียกขวัญและมัดมือควายเสร็จ เจ้าของควายจะดื่มเหล้าขวดแรก และกินข้าวก้อนแรกก่อน (แหม่โค้ทีโค้) จากนั้นทุกคนร่วมกันรับประทานอาหาร เป็นการเสร็จพิธี
ข้อห้ามพิธีกรรมกี่ปะหน่าจือ
- ห้ามแขกร่วมรับประทานอาหาร ถ้าแขกกินจะต้องนอนค้าง 1 คืน ห้ามกลับบ้าน เพราะมีความเชื่อว่า ควายจะไม่เพิ่มจำนวนขึ้น
พิธีกรรมกี้จือฮี้ซอโค้ (สำหรับผูกข้อมือหลังจากที่ถางไร่หมุนเวียนเสร็จ)
- พิธีกรรมกี้จือฮี้ซอโค้ เป็นการผูกข้อมือเพื่อเรียกขวัญ หลังจากที่ถางไร่หมุนเวียนเสร็จ ทุกคนภายในครอบครัวจะต้องกลับมาอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน การผูกข้อมือนี้เป็นเครื่องหมายแห่งการผลัดเปลี่ยนฤดูกาลหรือการเริ่มต้นแห่งฤดูกาลเพาะปลูก แสดงให้เห็นถึง ความสามัคคีภายในครอบครัว และคนในหมู่บ้านที่ช่วยกันถางไร่จนเสร็จ เพื่อให้มีที่ทำกิน จัดขึ้นประมาณช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี
อุปกรณ์สำหรับการประกอบพิธีกรรม
- อุปกรณ์ที่ใช้ในพิธี ประกอบด้วย ข้าวต้มมัด (แหม่ต่อ) ข้าวปุ๊ (แหม่โต้ปิ) ไก่ ด้าย เหล้า 1 ขวด
การประกอบพิธีกรรม
- วิธีการของพิธีกรรมกี้จือฮี้ซอโค้ เริ่มจากเจ้าของบ้านจะเชิญผู้เฒ่าผู้แก่มาที่บ้าน เมื่อมาถึงบ้านเจ้าของบ้านจะต้องฆ่าไก่แล้วนำไก่ไปต้ม จากนั้นผู้เฒ่าผู้แก่จะไปเคาะ (ตะโกล) ที่จอดอเพอ (กระบุง) และไปเคาะตะบิ (จานไม้) เพื่อเรียกขวัญเจ้าของบ้านและครอบครัวให้กลับมาอยู่กับบ้าน เจ้าของบ้านรินเหล้าแก้วแรกให้กับผู้เฒ่าผู้แก่เพื่ออธิษฐานขอพรให้กับครอบครัวมีสุขภาพที่แข็งแรง เหล้าขวดแรกสมาชิกทุกคนจะต้องช่วยกันดื่มเหล้าให้หมดขวด จากนั้นผู้เฒ่าผู้แก่จะผูกข้อมือ โดยเริ่มจากเจ้าของบ้านเป็นคนแรก จากนั้นตามด้วยภรรยาและลูก เรียงตามลำดับ และร่วมกันรับประทานอาหารเป็นการเสร็จพิธี
ข้อห้ามพิธีกรรมกี้จือฮี้ซอโค้
- ข้อห้าม หลังจากผูกข้อมือเสร็จ เจ้าของบ้านและสมาชิกภายในครอบครัว จะไม่สามารถเดินทางไปค้างคืนที่ไหนได้ประมาณ 1 ถึง 3 คืน
พิธีกรรมวอฮี้ (ทำบุญหมู่บ้าน)
- พิธีกรรมว้อฮี้ หรือ พิธีกรรมสงเคราะห์บ้าน เป็นการทำบุญสะเดาะเคราะห์ ปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ หรือสิ่งไม่ดีออกจากหมู่บ้าน จัดขึ้นช่วงเดือนเมษายนของทุกปี
อุปกรณ์สำหรับการประกอบพิธีกรรม
- อุปกรณ์ที่ใช้ในพิธี ประกอบด้วย เครื่องสะตวง 2 กระทง ซึ่งประกอบด้วย ข้าว อาหาร เกลือ พริก เป็นต้น เหล้า วิธีการเริ่มจากคนในชุมชนร่วมกันเตรียมอุปกรณ์เครื่องสะตวงจำนวน 2 กระทง ตกเย็นนำเครื่องสะตวงไปไว้ทางทิศเหนือของหมู่บ้าน และทิศใต้ของหมู่บ้าน และทุกคนในหมู่บ้านจะมารวมตัวกันหน้าหมู่บ้าน จากนั้นให้ผู้เฒ่าผู้แก่ของหมู่บ้านจุดเทียน และอธิษฐานขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปกปักรักษาหมู่บ้าน ขอให้หมู่บ้านแคล้วคลาดจากภัยอันตราย โรคภัยไข้เจ็บสิ่งที่ชั่วร้ายจงออกไปจากหมู่บ้าน เป็นการเสร็จพิธี
ข้อห้ามพิธีกรรมว้อฮี้
- ข้อห้าม วันที่ทำพิธีกรรมว้อฮี้ คนในชุมชนจะไม่สามารถออกไปนอนค้างคืนนอกหมู่บ้านได้ หากขวดเหล้าล้มหรือตก แสดงว่า ไม่ดี (โรคภัยไข้เจ็บไม่ออกจากหมู่บ้าน) จะต้องทำพิธีว้อฮี้ใหม่อีกรอบ โดยทิ้งช่วงระยะเวลาไว้ แล้วทำพิธีอีกครั้ง
ประเพณีปือทอปะสะปว่าโค้ (รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่)
- ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ หรือในภาษาปกาเกอะญอ เรียกว่า ปือทอปะสะปว่าโค้ เป็นการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินผู้ใหญ่ไปและขอพรเนื่องในโอกาสสงกรานต์ (ตาลาคา) จัดขึ้นช่วงเมษายนของทุกปี ณ ลานกลางหมู่บ้าน อุปกรณ์ประกอบด้วย น้ำส้มป่อย ขมิ้น ธูปเทียน ขนม นม น้ำส้ม เป็นต้น
การประกอบพิธีกรรม
- คนหนุ่มสาวจะเชิญผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนมายังลานกลางหมู่บ้านนั่งเป็นครึ่งวงกลม จากนั้นทุกคนในหมู่บ้านจะนำน้ำส้มป่อยที่ใส่ขมิ้น ไปรดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ที่ละคน โดยจะรดที่มือของผู้เฒ่าผู้แก่พร้อมมอบของที่ประกอบด้วยธูปเทียน ขนม นม น้ำส้ม เมื่อรดน้ำเสร็จแล้วทุกคนจะกลับมานั่งในลานกลางหมู่บ้าน จากนั้น ฮี้โค้ หรือผู้นำหมู่บ้านที่ไม่เป็นทางการจะนำอธิษฐานขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้หมู่บ้านได้อยู่ร่มเย็น และอวยพรให้ลูกหลานในชุมชนแคล้วคลาดปลอดภัยจากสิ่งชั่วร้าย เป็นการเสร็จพิธี
พิธีกรรมลือก่อ (หม่าอ้อต่าโดะต่าล่า)
- พิธีลือก่อ หรือ หม่าอ้อต่าโดะต่าล่า เป็นพิธีกรรมสำหรับการทำบุญดิน และขอขมาพระแม่โพสพเพื่อให้ดินมีคุณภาพที่ดีเหมาะสำหรับการเพาะปลูก หากดินดีผลผลิตก็จะดีตาม จัดขึ้นช่วงเดือนพฤษภาคม โดยจะจัด 3 ปีครั้ง อุปกรณ์สำคัญคือ ควาย 1 ตัว
การประกอบพิธีกรรม
- วิธีการประกอบพิธีกรรมลือก่อ จะเริ่มจากจูงควายไปนอกหมู่บ้านบริเวณที่มีแม่น้ำ จากนั้นฆ่าควายที่แม่น้ำ อธิษฐานขอขมาและขอพรเจ้าแม่โพสพ จากนั้นนำเนื้อกลับมาแจกจ่ายให้แต่ละหลังคาเรือน เพื่อประกอบอาหารต่อไป
ข้อห้ามพิธีกรรมลือก่อ
- ข้อห้าม ภายหลังทำพิธี ห้ามขายข้าว หมู ไก่ เป็นเวลา 1 เดือน เพราะเชื่อว่า จะทำมาหากินไม่ขึ้น
ประเพณีลื้องอโขะ (การย้อมด้าย)
- ประเพณีการย้อมด้าย หรือ จ่อลื้องะโขะ เป็นการย้อมด้ายแบบดั้งเดิม โดยการนำรากไม้ที่มีชื่อว่า โขะมาย้อมด้าย ซึ่งจะให้สีน้ำตาลอมส้ม นิยมย้อมด้ายช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี อุปกรณ์ที่สำคัญประกอบด้วย ด้าย และรากไม้ (โขะ)
การประกอบพิธีกรรม
- ก่อนที่จะไปขุดรากไม้ ผู้เฒ่าในหมู่บ้านจะต้องทำการเสี่ยงทาย ในภาษาปกาเกอะญอ เรียกว่า "กาต่า" ว่าช่วงเวลาไหนที่เหมาะสมกับการไปขุดรากไม้มาย้อมด้าย เมื่อได้วันเวลาที่จะขุด ชาวบ้านทั้งหมู่บ้านจะรวมตัวกันไปขุด จากนั้นจะนำมาหั่น ตำให้ละเอียด แล้วนำโขะไปต้ม และนำด้ายลงไปย้อม
- เมื่อทุกคนในหมู่บ้านย้อมผ้าเสร็จ ผู้เฒ่าไปนำโขะกลับไปในป่าบริเวณที่ไปขุด ด้ายทั้งหมดที่ย้อมเสร็จ ก็จะต้องนำออกไปทิ้งไว้ในป่า 1 คืน จากนั้นเช้ารุ่งขึ้นถึงจะเอากลับไปตากแดด ตามธรรมเนียมที่ปฏิบัติต่อกันมา หากใช้รากไม้โขะไม่หมดให้นำกลับคืนไว้ที่เดิมในป่า ถ้าไม่เอากลับไปไว้จะทำให้เจ็บไข้ได้ป่วย
พิธีกรรมหม่าจูมูโค้ (ขอฝน)
- พิธีขอฝน หรือในภาษาปกาเกอะญอ เรียกว่า หม่าจูมูโค้ เป็นพิธีกรรมสำหรับขอฝน เมื่อถึงฤดูกาลเพาะปลูก ชาวบ้านจะทำพิธีกรรมเพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล จัดในเดือนพฤษภาคมของทุกปี
อุปกรณ์สำหรับการประกอบพิธีกรรม
- อุปกรณ์ที่ใช้ในพิธี ประกอบด้วย ผ้าถุงของแม่หม้าย ทะตี หรือ คีมสำหรับตัดหมาก วิธีการขอฝน เริ่มจากผู้เฒ่าผู้แก่จะนัดแนะเด็กคนหนึ่งให้ไปขโมยผ้าถุง หรือ ทะตี ของแม่หม้าย ซึ่งเด็กคนนั้นจะต้องที่ไปขโมย และโยนทิ้งไว้ที่แม่น้ำ เป็นการเสร็จพิธี
พิธีกรรมกี้จือลาขุ
- พิธีกรรมกี้จือลาคุ หรือ พิธีกรรมผูกข้อมือเดือนเจ็ด ซึ่งตรงกับเดือนสิงหาคมของทุกปี เป็นพิธีกรรมกลางปี เพื่อขอบคุณเทพยดาที่ประทานความอุดมสมบูรณ์ทุกอย่างที่ขอพรจากต้นปีนั้น ตามความเชื่อคนที่เกิดในเดือนสิงหาคมจะต้องผูกข้อมือตอนเช้าตรู่ (เช้าตรู่) ส่วนคนที่เกิดเดือนอื่น ๆ สามารถผูกข้อมือได้ตลอดทั้งวัน
- ตามความเชื่อของชาวปกาเกอะญอ เดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่จะได้กินแต่ของดี ไม่ว่าจะเป็น เนื้อไก่ เนื้อหมู เหล้าต่าง ๆ เพราะว่า เป็นช่วงประกอบพิธีกรรมทางไร่หมุนเวียนหลายอย่าง ได้แก่ พิธีขอขมา ดิน น้ำ ป่าไม้ ภูเขา พิธีขอขมา ต้นข้าว พิธีขอขมาไฟ ดังนั้น เดือนสิงหาคมจึงมีทั้งไก่ หมู อาหาร และเหล้าต่าง ๆ จากการประกอบพิธีกรรมมากมายในเดือนสิงหาคมจึงทำให้มีอาหารการกินที่อุดมสมบูรณ์มากกว่าเดือนอื่น ๆ พี่น้อง และเพื่อนที่เกิดเดือนอื่น ๆ ต่างพากันอิจฉาคนที่เกิดเดือนสิงหาคม จึงได้มีการสาปแช่งคนที่เกิดเดือนนี้ จนต้องมีการผูกข้อมือคนที่เกิดเดือนสิงหาคมสองรอบ รอบแรกคือ พ่อแม่มัดให้ตอนเช้าตรู่ อีกรอบคือ ผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนจะเป็นคนมัดให้
อุปกรณ์สำหรับการประกอบพิธี
- อุปกรณ์ที่ใช้ในพิธี ประกอบด้วย จาน สำหรับใส่เครื่องเซ่นไหว้ เครื่องเซ่นไหว้ ได้แก่ เสื้อกะเหรี่ยงสีดำของผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว ผ้าถุง แหม่โต้ปิ (ข้าวปุ๊ก) แหม่ต่อ (ข้าวต้มมัด) 3 มัด เหล้า 1 ขวด แก้วเหล้า เทียนไข 2 เล่ม น้อโดกว่ะ (ทัพพี) สายสิญจน์ที่ทำจากด้ายที่ปั่นเอง ข้าวสวย 1 ก้อน และไก่สองตัว ตัวผู้หนึ่งตัว ตัวเมียหนึ่งตัว หรือหมูหนึ่งตัว ผู้ทำพิธีจะต้องเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนจำนวน 3 คน
การประกอบพิธีกรรม
- เช้ารุ่งขึ้นผู้นำครอบครัวจะไปเชิญผู้เฒ่ามาที่บ้านเพื่อทำพิธีกรรมเรียกขวัญ เมื่อผู้เฒ่ามาถึงจะทำการเคาะที่หัวบันไดบ้าน เพื่อเรียกขวัญคนในบ้านให้กลับมา เจ้าของบ้านจะรินเหล้า 1 แก้วให้ผู้เฒ่าดื่ม จากนั้นเจ้าของบ้านจะลงมือฆ่าไก่เพื่อประกอบอาหาร เมื่อประกอบอาหารเสร็จ ผู้เฒ่าจะกลับมาเขาะตะบิ (จานไม้) อีกครั้ง และเริ่มผูกข้อมือจากคนที่มีอายุน้อยที่สุดของบ้าน และไล่ลำดับขึ้นมา เมื่อผูกข้อมือเสร็จทุกคนจะร่วมกันรับประทานอาหาร
ข้อห้ามพิธีกรรมกี้จือลาขุ
- ข้อห้าม ถ้าเหล้าที่เตรียมไว้กิน ไม่หมด ห้ามไปนอนบ้านอื่น เพราะถือว่า ยังทำธุระที่บ้านไม่เสร็จ ห้ามทำเหล้าในพิธีหก และห้ามให้ไฟในครัวดับ ถ้าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว จะถือว่า การผูกข้อมือเป็นโมฆะ ต้องทำพิธีใหม่ทั้งหมดในอีกวัน
พิธีกรรมโอ้หย่อมูโค้ (ขอฝนหยุด)
- พิธีกรรมขอฝนหยุด หรือในภาษาปกาเกอะญอเรียกว่า โอ้หย่อมูโค้ เป็นการขอเทพยดาให้ฝนหยุดเมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยว จัดขึ้นช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี
การประกอบพิธีกรรม
- วันที่ขอฝนหยุด ทุกคนในหมู่บ้านจะพร้อมใจกันหยุดอยู่บ้าน ตกเย็นผู้เฒ่าจะสานกวย 1 ใบ โดยผู้เฒ่าท่านนั้นจะต้องเป็นหม้าย หรือภรรยาเสียไปแล้ว เมื่อสานกวยเสร็จ จะนำไปให้แม่หม้าย จากนั้นแม่หม้ายคนนั้นจะนำกวยไปแขวนไว้บนตอไม้เก่า แล้วอธิษฐานขอให้ฝนหยุด เป็นการเสร็จพิธี
ข้อห้ามพิธีกรรมโอ้หย่อมูโค้
- ข้อห้าม ห้ามอาบน้ำ ห้ามใช้น้ำ ห้ามไปหาของป่า ห้ามเก็บพืชผัก เป็นเวลา 1 วัน
ความเชื่อและพิธีกรรมวัฏจักรชีวิต
พิธีกรรมตามวัฏจักรชีวิต ได้แก่ เกิด เจ็บป่วย แต่งงาน และตาย รายละเอียดดังต่อไปนี้
พิธีกรรมเกิด (เดปอทู่)
- เป็นพิธีกรรมผูกสายสะดือเด็กกับต้นไม้ โดยคำว่า เด แปลว่า สายสะดือ ปอ แปลว่า กระบอก ทู่ แปลว่า ต้น เดปอทู่จึงแปลว่า ต้นสายสะดือ ความหมาย , ความสำคัญ, เป้าหมายเบื้องหลัง/ประโยชน์
อุปกรณ์ประกอบพิธี (การสื่อความหมาย)
- มอ (กระบอกใส่ปลา) สื่อความหมาย ให้เด็กเติบโตมาแล้วสามารถหาปลาเก่ง
- เศษผ้า (จากเสื้อหรือผ้าถุงแม่) สื่อความหมาย
- ตอกสำหรับมัดผ้าเพื่อปิดฝากระบอกที่ใส่สายสะดือ
- น้อแระ (สำหรับผู้ชาย) หรือ ตอก (สำหรับผู้หญิง)
สถานที่ประกอบพิธีกรรม
- ป่าสะดือ
ผู้ประกอบพิธีและผู้เข้าร่วม
- พ่อ หรือ ตา หรือ ยาย 1 คน
การประกอบพิธีกรรม
- หลังจากเด็กคลอด หมอตำแยจะตัดสายสะดือแล้วใส่กระบอกไม้ไผ่เก่าที่ใช้สำหรับใส่ปลาเวลาไปหาปลาในแม่น้ำ แล้วใช้ผ้าปิดฝากระบอกแล้วมัดด้วยตอก
- จากนั้นพ่อ ยาย หรือ ตาจะนำกระบอกไม้ไผ่ไปที่ป่าสะดือ
- พอไปถึงจะเลือกต้นไม้ที่เป็นต้นผล ที่สามารถออกดอก ออกผลได้ เช่น พอเต่อเม เซะญะอื่อ เก่อหม่า มีความเชื่อว่า เด็กจะเติบโตประสบความสำเร็จ เหมือนต้นไม้ที่ให้ดอก ให้ผล
- หลังจากเลือกต้นไม้ได้แล้ว ถ้าเป็นเด็กชายให้ใช้น้อแระ (ไม้ไผ่ที่ตัดเป็นแผนหนาประมาณ 1 นิ้ว ยาวประมาณครึ่งศอก) ไปตอกต้นไม้ที่ได้เลือกไว้ บริเวณที่ตอกเหนือกว่าพื้นประมาณ 1 เมตรครึ่ง ถ้าเป็นเด็กหญิงให้นำกระบอกไปไปมัดไว้กับต้นไม้ที่เลือกไว้เหนือกว่าพื้นเช่นเดียวกับเด็กชาย
- หลังจากทำมัดไว้กับต้นไม้เสร็จ คนทำพิธีกรรมจะหันหลังแล้วทำการเรียกขวัญเด็ก โดยใช้มือซ้ายพับชายเสื้อด้ายซ้ายขึ้นมาแล้วจับไว้ พร้อมกับใช้มือขวากวักมือเพื่อเรียกขวัญพร้อมอธิษฐานว่า “ปรือเก่อหล่าแฮเก” 3 ครั้ง แล้วเดินทางกลับบ้าน โดยมือซ้ายยังคงจับชายเสื้อพับไว้อยู่
- ระหว่างทางกลับบ้านให้เด็ดยอดไม้ 1 ยอด เป็นไม้ชนิดไหนก็ได้ แล้วกลับบ้าน
- พอกลับถึงบ้านเอายอดไว้วางไว้ข้างแม่ของเด็ก แล้วเรียกขวัญเด็ก โดยปล่อยชายเสื้อที่ใช้มือซ้ายพับไว้ลงเหนือตัวเด็ก พร้อมกับใช้มือขวากวักไปลงตัวเด็กพร้อมอธิษฐานว่า “ปรือเก่อหล่าแฮเก” 3 ครั้ง
- หลังจากทำพิธีกรรมเดปอทู่ จะทำแก้เคล็ดเด็ก โดยจะไปเก็บพืชผักและสัตว์น้ำที่เด็กกินแล้วแพ้ (คละ) พืชพักได้แก่ น้อเซะนา เดะบือโดะ เซะพอโดะ โทะเซวโดะ เซะปว่าโดะ โบละเบลโดะ เดะบือเซะ กีโกโดะ ด้อเดพอ น้อทีโปล่ สัตวน้ำ ได้แก่ ญะเป่อบอ ญะปล่า ญะทอ ญะลี เบอบลู้ ญะเพอบิ ญะชะฆอ ญะเม่อเต โคละ ปูแดง ปูดำ หลังจากหาได้นำมาประกอบอาหารให้แม่เด็กและคนในครอบครัวกิน
ข้อสังเกต
- ถ้าเด็กคลอดก่อนเที่ยง จะทำพิธีกรรมเดปอทู่ภายในวันที่เด็กคลอด ถ้าเด็กคลอดหลังเที่ยงจะทำพิธีกรรมเดปอทู่ในเช้าวันถัดไป เพราะเชื่อว่าเวลาหลังเที่ยงจะเป็นช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เริ่มเด็ก ถ้าทำพิธีช่วงนี้เด็กจะไม่เติบโตรุ่งเรืองเหมือช่วงที่ตะวันขึ้น
- ถ้ารู้ว่ามีเด็กคลอดในชุมชน ห้ามไปทำงานในไร่ แต่ถ้าไปไร่ก่อนโดยไม่รู้ว่ามีเด็กคลอดก็ไม่เป็นไร
พิธีกรรมตั้งชื่อ (กี่คึกี่กะบะ)
- เป็นพิธีกรรมการมัดมือให้เด็กเกิดใหม่ เพื่อเรียกขวัญและทำการตั้งชื่อให้เด็ก โดยคำว่า กี่ แปลว่า มัดมือ คึ แปล เย็น กะบะ (ไม่ทราบคำแปลที่แน่ชัด)
อุปกรณ์ประกอบพิธีกรรม (การสื่อความหมาย)
- เมตอดึ (ข้าว 1 กำมือ) สื่อความหมาย
- เหล่อวาโค้ (หินขาว 1 ก้อน) สื่อความหมาย ความแข็งแกรง ทนทาน และอดทนกับความยากลำบาก
- ทีดึออ (น้ำ) สื่อความหมาย สงบ ร่มเย็น ให้เด็กโตมาเป็นใจเย็น รักสงบ
- ลึวา (ด้ายขาว)
สถานที่ประกอบพิธีกรรม
- บ้านของตนเอง
ผู้ประกอบพิธีและผู้เข้าร่วม
- บิดา เป็นผู้ทำหน้าที่
การประกอบพิธีกรรม
- หลังจากเด็กคลอดผ่านไป 3 คืน แล้วจะทำการมัดมือและตั้งชื่อให้เด็ก แล้วบิดาจะดำเนินการมัดมือให้เด็ก โดยเด็กจะกำข้าว1กำพร้อมก้อนหินขาวระหว่างมัดมือ
- หลังจากมัดมือเสร็จจะตั้งชื่อให้เด็กตามความชอบของแม่เด็ก โดยจะเป็นพ่อ ยาย หรือคนในครอบครัวจะเป็นคนตั้งก็ได้
ข้อสังเกต
การรักษา (เจ็บป่วย) การเจ็บป่วย จากการละเมิดสิ่งเหนือธรรมชาติ หรือการเจ็บป่วยที่เกิดจากสิ่งหนือธรรม แบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ ได้แก่ การละเมิดนาที(เจ้าน้ำ) การละเมิดก่อเก่อจ่า (เจ้าป่าเจ้าเขา) และ ต่าซีชุซีเคล(ภูตผีปีศาจ ผีตายโหง) โดยรายละเอียดดังนี้
- นาที (เจ้าน้ำ) เป็นภาษาปกาเกอะญอ โดยคำว่า นา (เจ้าที่) ที แปลว่า น้ำ จึงแปลรวมกันว่า เจ้าที่น้ำ ซึ่งเป็นเจ้าที่ ที่อยู่ตามน้ำทุกที่ ไม่ว่าจะเป็น แม่น้ำ ห้วย คลอง แอ่งน้ำ หรือน้ำตามต้นไม้ ซึ่งตามความเชื่อดั้งเดิมในชุมชนเชื่อ นาที มีทั้งหมด 8 ตน ได้แก่ ซูโค้โบะ ชอพาเฮอ พาเกอเงอ เก่อเงอป่า หน่อวี่กลอ หน่อแมะแมะ จอเซะกลอเฆทอ ชอพาแหม่เจ โดยตนที่มีชื่อว่า หน่อวี่กลอ เป็นตนที่พิการและมีการลงโทษคนที่รุนแรงที่สุดหากมีการละเมิด ซึ่งทั้ง 8 ตนบางช่วงจะแยกกันอยู่ บางครั้งจะบังเอิญอยู่ด้วยกัน แต่จะเดินไปทั่วพื้นที่ที่มีน้ำ
- พฤติกรรมการละเมิด นาที เป็นเจ้าที่ที่ดูแลน้ำ และอยู่จะเดินไปมาตามน้ำตลอดเวลาเพื่อดูแลน้ำ ดังนั้นการล่วงละเมิดเกิดขึ้นได้โดยจากการที่คนไปอาบน้ำ หรือฉี่โดยไม่ขออนุญาตและบังเอิญว่ามีนาทีตนใดตนหนึ่งอยู่ในตรงน้ำนั้นพอดี
- ผลของการละเมิด นาทีเป็นเจ้าน้ำ ที่หากมีการล่วงละเมิด จะลงโทษทำให้เกิดเจ็บป่วย เช่น ผืนขึ้น อวัยวะเพศบวม ปวดเมื่อย ไม่สบาย ผิวหนังสีเหลืองหรือแดง ซึ่งการเจ็บป่วยจากการละเมิดนาทีนั้น จะรุนแรงน้อยกว่าเจ้าป่าเจ้าเขา เพราะหากเจ็บป่วยจากนาทีตนใดตนนึ่ง ผลจะเกิดกับทั้งคนที่ไปละเมิดและนาทีตนที่ถูกละเมิดเหมือนๆกัน
- การรักษาและการขอขมา การรักษาการเจ็บป่วยจากนาทีนั้นจะต้องทำโดยการขอขมา ซึ่งการขอขมาแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับความต้องการของนาที ซึ่งจะสามารถรู้วิธีการขอขมาได้นั้น จะต้องมีการทำนายเพื่อทำนายวิธีการ สถานที่ในการขอขมา การทำนาย จะต้องทำนาย 2 ขั้นตอนใหญ่ๆ ได้แก่การทำนายโดยการจับเส้นที่ข้อมือเพื่อหาสาเหตุของการเจ็บป่วย จากนั้นจะทำนายด้วยข้าวสารเพื่อหาวิธีการขอขมานาที การทำนายโดยการจับเส้นที่ข้อมือการทำนายโดยการจับเส้นที่ข้อมือเป็นการทำนายเพื่อหาสาเหตุของการเจ็บป่วย ว่าป่วยจากนาทีหรือไม่ ซึ่งการทำนายนี้จะต้องให้ปราชญ์ชาวบ้านด้านการทำนายเพื่อดำเนินการทำนายให้ ซึ่งในชุมชนจะมีปราชญ์ชาวบ้านที่สามารถทำนายได้ 6 คน ได้แก่ ตีปูโจ่ พาดิ๊ป่า ท่อพือ อ้อแตวป่า ท่อพี และดิ๊กอพือ
การทำนายด้วยข้าวสาร
ทำนายด้วยข้าวสารเป็นขั้นตอนการทำนายหลังจากทำการทำนายด้วยวิธีการจับข้อมือจากปราชญ์ชาวบ้านด้านการทำนายแล้วพบว่าสาเหตุเกิดจากนาที ซึ่งการทำนายหาวิธีการขอขมานาทีนั้น ตามหลักความเชื่อปราชญ์ชาวบ้านจะต้องเป็นคนละคนกับคนที่ทำนายด้วยการจับข้อมือ ถ้าใช้คนเดียวกันจะทำนายไม่แม่นแล้ว ซึ่งปราชญ์ชาวบ้านด้านการทำนายโดยใช้เมล็ดข้าวสารมีทั้งหมด 5 คน ได้แก่ ตีปู่เตว อ้อแตวป่า มึคาป่า เปล้คึป่า น้อคลิป่า โดยมีขั้นตอนการทำนายดังนี้
- ให้คนในครอบครัวของคนป่วยคนใดคนหนึ่ง หยิบเมล็ดข้าวสารมา 1 หยิบมือเล็กแล้วนำไปแตะตัวคนป่วย แล้วนำข้าวสารไปให้ปราชญ์ชาวบ้านที่จะให้ทำนายที่บ้านของปราชญ์ชาวบ้าน
- พอไปถึงบ้านแล้วนำข้าวที่หยิบมือไว้แล้วนำมาวางไว้บนจานข้าว แล้วยื่นให้ปราชญ์ชาวบ้านเพื่อทำการทำนาย
- ปราชญ์ชาวบ้านจะหยิบเมล็ดข้าวขึ้นมาแล้วทำการทำนาย ซึ่งจะทำนายอยู่ 3 เรื่อง ได้แก่ 1) แม่น้ำหรือห้วยไหนที่ได้มีการไปละเมิด หลังจากนั้นจะทำนายวิธีการที่ต้องขอขมา และต่อด้วยทำนายคนทำพิธีกรรมและจำนวนเหล้าที่ใช้ในการทำพิธีขอขมา
ผลของการทำนายด้วยข้าวสาร
วิธีการขอขมา มี 3 วิธี ได้แก่
- ชื่อแม่น้ำที่ได้มีการไปละเมิด
- ทูลอที พะทีโค้ และลื่อต่า ขึ้นอยู่กับผลของการทำนาย โดยจะทำนายเริ่มจากทำนายว่าต้องขอขมาด้วยวิธีการ ทูลอที ถ้าทำนายแล้วถูก ก็สามารถขอขมาโดยวิธีการทูลอทีได้เลย ถ้าทำนายไม่ถูกจะต้องทำนายต่อว่าจะต้องขอขมาโดยวิธีการพะทีโค้ ถ้าใช่ต้องทำต่อว่าพะทีโค้ด้วยชอดี(ไข่) หรือชอเต่อเบะ (ไก่ 1 ตัว) แล้วไปทำพิธีขอขมา ถ้าทำนายแล้วยังไม่ถูก จะต้องทำนายต่อ ว่าจะต้องขอขมาโดยวิธีการลื่อตา ถ้าทำนายแล้วผลออกมาว่าใช่จะต้องทำนายต่อว่าจะต้องลือต่าด้วยไก่ (ชอซู ชอวา ชอฆอ ชอบอ) หรือหมู
- หลังจากทำนายได้วิธีการขอขมาแล้ว จะต้องทำนายคนทำพิธีกรรมและเหล้าที่ใช้ทำพิธีกรรม ซึ่งผลจะมี 2 แบบ ได้แก่ คนร่วมพิธี 3 คนเหล้า 1ขวด และคนร่วมพิธี 3 คนเหล้า 3 ขวด โดยคนร่วมพิธีขอขมาห้ามเป็นปราชญ์ชาวบ้านที่ทำนายให้คนป่ยทั้ง 2 แบบ 1) ทำนายด้วยการจับเส้นมือทั้งข้าง (เปละแฮพือ 2 พือ ท้อพือ ท้อพี อ้อแตวป่า ดิ๊กอพือ) 2) ทำนายด้วยเมล็ดข้าว (น้ำเส้นไหน 1.ทูลอที 2.พะทีโค้(-พะชอดี -ชอเต่อเบะ) 3.ลื่อ (ชอซู ชอวา ชองอ ชอบอ) (หมูพาเน) คนทำพิธี 3 คนขวด 3 คน 3 ขวด
วิถีชีวิตการเกษตรกรรม
พิธีกรรมทางการเกษตรกรรมของบ้านขุนแม่เหว่ย มีดังนี้
พิธีกรรม “ก่าดูคี” หรือการทำนายเสี่ยงทายในการเลือกพื้นที่ทำไร่หมุนเวียน
- เป็นการขออนุญาตเจ้าป่าเจ้าเขา และเสี่ยงทายว่า สามารถทำไร่หมุนเวียนในที่แปลงนั้นได้หรือไม่ นิยมทำพิธีกรรมนี้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ โดยมี (หมอชาวบ้าน) ผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีศาสตร์เกี่ยวกับการทำนายเสี่ยงทาย ผู้ทำพิธีต้องเป็นคนที่มีประสบการณ์และเป็นพ่อบ้านที่มีลูกคนโตเป็นผู้ชาย เนื่องจากตามความเชื่อของปกาเกอะญอมองว่า ผู้หญิงจะมีอำนาจมีบารมีเหนือที่อยู่อาศัย ส่วนผู้ชายจะมีอำนาจบารมีเหนือที่ทำกิน ซึ่งเจ้าของไร่ทำเองไม่ได้ต้องให้เพื่อนบ้าน หรือคนเป็นพ่อทำให้
อุปกรณ์สำหรับการประกอบพิธี
- อุปกรณ์ที่ใช้ในพิธี ประกอบด้วย กระดูกปีกไก่ (ตัวผู้หรือตัวเมียกได้แต่ต้องไม่ใช่ไก่สีขาว) ใบตอง 2 ใบเศษไม้ไผ่ 1 อัน มีด 1 เล่ม (เป็นมีดพิธีกรรมในไร่ เอาไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นไม่ได้) เพราะมีความเชื่อว่า เป็นมีดศักดิ์สิทธิ์ ที่เอาชนะอำนาจของภูตผีปีศาจ และสิ่งชั่วร้ายได้ ดังนั้นจึงไม่ควรไปตัดต้นไม้ทั่วไป
การประกอบพิธีกรรม
- จะเริ่มแต่เช้าฟ้าสาง เจ้าของไร่ต้องชำระล้างร่างกาย สระผมด้วยน้ำขมิ้นผสมส้มป่อย เพื่อกำจัดสิ่งชั่วร้าย และมลทินออกจากร่างกาย ก่อนที่จะไปสื่อสารกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต้องห่อกรงลูกไก่ และไผ่ใส่ย่าม เพื่อไปพื้นที่ที่หมายไว้ว่าจะทำไร่ จากนั้นไปแจ้งผู้ทำพิธีเพื่อให้เดินทางไปทำพิธีกับเจ้าของไร่ เมื่อแจ้งผู้ทำพิธีแล้วเดินทางไปยังสถานที่ เลือกต้นไม้ที่จะทำพิธี โดยเลือกต้นไม้ที่มีผล เพราะมีความเชื่อว่า ถ้าเลือกต้นไม้ที่มีผลจะส่งผลให้การเพาะปลูกได้ผลผลิตที่ดีในไร่หมุนเวียน และมีต้นไม้ต้องห้ามอยู่ 2 ชนิด แม้กระทั่งทำฟืนหรือสร้างบ้าน คือ มะเคว้ และ ซะโขะดื้อ เพราะไม้ทั้ง 2 ชนิดจะใช้สำหรับแบกศพและเสื้อผ้าของผู้ตาย ไปทิ้งไว้ในป่าช้า
- จากนั้นขุดดินในบริเวณที่เราจะทำไร่ ซึ่งดินต้องอยู่ใกล้ต้นไม้ ระหว่างที่ขุดดิน ทุกคนต้องถอดของสะพายออกจากร่างกายทุกอย่าง ปริมาณดิน 1 กำมือ แล้วเอาดินมาใส่ในใบตอง ในการขุดดินต้องขุดดินโดยใช้มีดศักดิ์สิทธิ์ เอามีด เอาดินวางไว้บนใบตอง คนทำพิธีต้องหยิบกระดูกไก่ที่นำมาแตะดิน แตะมีด เสร็จแล้วยื่นกระดูกไก่ให้เจ้าของไร่รับส่วนที่เป็นหัว เพื่อเป็นพิธี
- ผู้ทำพิธี ทำพิธีสื่อสารกับศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้ส่งสัญญาณกับเจ้าของไร่ว่า จะอนุญาตให้ทำกินในพื้นที่นี้หรือไม่ โดยภาวนาตามในใจว่า “พื้นที่ตรงนี้ มีคนมาขออนุญาตใช้พื้นที่เพื่อทำไร่ ขอให้เราอยู่เย็นเป็นสุข ทั้งลูกทั้งหลาน ทั้งครอบครัว ขอให้เข้า ขอให้ออก เรามาขออย่างเปิดเผย ตรงไปตรงมาเพื่อเราจะได้ทำกิน ทำต่อไป” จากนั้น ผู้ทำพิธีหยิบมีดมาขูดกระดูกไก่จนกว่าจะเห็นรู ขูดกระดูกไก่ทั้ง 2 อัน จนกว่าจะมีรูออกมา แล้วทำการพิจารณา โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณา ดีมาก ดี ไม่ดี/ห้ามทำกินต้องยกเลิก และไม่ดี/ต้องยกเลิกแต่ขยับพื้นที่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ถ้าผลออกมาดีแล้ว เจ้าของไร่ต้องนำมีดศักดิ์สิทธิ์ไปถางร่องในพื้นที่ ขนาด 1 ตารางเมตร 3 แปลง ระหว่างที่ถางนั้น ต้องขอเจ้าที่เจ้าทางออกจากไร่ชั่วคราว 1 ปี เจ้าของไร่นำดินที่อยู่ในใบตองกลับไปเทคืนที่เจ้าของไร่ขุดมา โดยนำใบตองที่มีดินไปคว่ำในหลุมที่ขุดมา และทิ้งใบตองไว้ตรงนั้น เจ้าของไร่ต้องนำมีดศักดิ์สิทธิ์ไปปักต้นไม้ที่เลือกไว้ตั้งแต่ต้น จากนั้นนำกระดูกไก่เสียบกับรอยปักที่ทำไว้ จากนั้นก็เดินทางกลับบ้าน
ข้อห้ามพิธีกรรมก่าดูคี
- ข้อห้ามในการทำพิธีกรรมก่าดูคี ได้แก่ ห้ามใช้กระดูกของไก่ขาว ห้ามไปไร่ในวันวันที่ทำพิธี ห้ามกินข้าวเก่า ต้องกินข้าวที่หุงสุกใหม่เท่านั้น ห้ามหลับเวลากลางวัน ในวันทำพิธี
พิธีกรรมทำบุญดิน
พิธีกรรมทำบุญดิน ในภาษาปกาเกอะญอเรียกว่า "บวอฆึ หรือแซฆึ" เป็นพิธีกรรมที่ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ชาวปกาเกอะญอส่วนใหญ่ทำพิธีกรรมนี้ในช่วงเดือนสิงหาคม ตอนที่ข้าวเริ่มเขียว เพื่อทำให้ดินมีคุณภาพที่เหมาะสมสำหรับข้าว พืช ที่ปลูกในไร่หมุนเวียน เจ้าของไร่ และผู้เฒ่าผู้แก่จะเป็นผู้ประกอบพิธี อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมนี้ประกอบด้วย ไม้ข้าวหลาม ไผ่หก(วะกลึ) ไผ่ตงลืมแล้ง(วะซึ) ไก่ 1 ตัว เหล้า 4 ขวด หมู 1 ตัว
การประกอบพิธีกรรม
- วิธีการทำบุญดิน เตรียมอุปกรณ์ หมู ไก่ เหล้า มีด แล้วไปที่ไร่ และทำศาลเจ้าที่ด้วยไม้ไผ่ 2 หลัง หลังแรก เรียกว่า ต่าแซะ หลังที่ 2 เรียกว่า ต่าสะปว่า เริ่มตั้งศาลเจ้าที่หลังแรก พร้อมทำพิธีกรรม ต่าแซะ โดยนำไก่ 1 ตัว มาทำพิธีกรรม คนทำพิธีจะสวดอธิษฐาน ไล่สิ่งไม่ดี สิ่งที่ขัดขวางความเจริญของข้าวในไร่ออกจากไร่ เช่น งู เก้ง ตะขาบ หลังตั้งศาลเจ้าที่ทำพิธีกรรมต่าแซะ
- จากนั้น จะทำพิธีเลี้ยงไฟต่อ โดยนำไก่ 2 ตัว มาทำพิธีเลี้ยงไฟ คนทำพิธีอธิษฐานว่า ไฟคือผู้ที่ร้อนที่สุด คือ ผู้ที่เผาไหม้ทุกสรรพสิ่ง วันนี้มาเลี้ยงเจ้า เจ้าจึงรับคำขอขมา แล้วดลบันดาลให้ข้าวในไร่สวยงาม เขียวขจี ออกดอกออกผล ตั้งศาลพิธีต่าสะปว่า เสร็จ ต่อด้วยการนำหมูมาทำพิธี ผู้ทำพิธีสวดอธิษฐานว่า สิงสานางไม้ วันนี้ข้ามาเลี้ยงเจ้าที่ทุกสิ่ง ทุกอำนาจที่ทำลายไม้ของเจ้า ขอให้เจ้าจงมารับคำขอขมาจากข้า และขอให้เจ้าช่วยดูแลข้าวในไร่ไม่ให้ถูกทำลาย ให้ข้าวงดงาม หลังจากทำพิธีเสร็จนำหมู ไก่ ที่ทำพิธีมาต้ม และทำแกง เมื่อแกงสุกแบ่งไก่ 2 ตัว เอาปีกไก่ เครื่องในไก่และตูดไก่ห่อไว้ 1 ชุด ส่วนหมูเอาเครื่องในหมู หางหมูมาห่อไว้อีก 1 ชุด ขาไก่ หัวไก่ ห่อไว้อีก 1 ชุด เอาห่อเครื่องในไก่ มาทำพิธีเรียกขวัญข้าว สวดอธิษฐานว่า “ข้าวที่หลงหาย ข้าวที่อยู่ทุกที่ทุกทาง ทุกชนิดทุกพันธุ์ ข้าวที่ลูกใหญ่เท่าลูกฟัก ต้นใหญ่เท่ากล้วยจงกลับมาอยู่กับไร่นี้” ทำพิธีพร้อมสวดอธิษฐานหันไปทางทิศตะวันออกสวด 3 ครั้ง และหันไปทางทิศตะวันตกสวดอีก 3 ครั้ง นำห่อส่วนเครื่องในหมู มาวางไว้ใต้ต้นไม้ แล้วสวดอธิษฐานว่า “สิงสานางไม้ เจ้าที่เจ้าดิน ขอจงมารับ มากินอาหารที่ข้านำมาถวายนี้ และขอให้เจ้าช่วยดูแลข้าวในไร่ไม่ให้ตาย ไม่ให้เสีย ดูแลพืชผักทุกชนิดในไร่"
- ช่วงเย็น ให้นำไก่ที่เหลือมาทำพิธี ขะแก นำไม้ไผ่มาทำเป็นสัญลักษณ์ แล้วนำไปปักไว้ตรงทางเข้าไร่ นำใบสำหรับห่อข้าวมาวางไว้ข้างหลังไม้สัญลักษณ์ดังกล่าว โดยใส่ข้าว และไก่ลงไปบนใบอธิษฐาน แล้วนำดอกหญ้าตองกง 3 อัน แทรกกลางไม้ไผ่ ส่วนอีกอันให้ทิ้งไป เสร็จพิธี และในวันรุ่งขึ้นเจ้าของไร่ต้องมานำดอกหน้าตองกงทั้ง 3 อันนี้ออก
พิธีกรรมเรียกขวัญข้าว
- พิธีกรรมเรียกขวัญข้าวในภาษาปกาเกอะญอ เรียกว่า "แกวบือกะลา" เพื่อเรียกขวัญข้าวให้กลับมาอยู่กับต้นข้าว จัดขึ้นช่วงเดือนตุลาคม โดยมีเจ้าของไร่เป็นผู้ทำพิธี ซึ่งมีอุปกรณ์ ได้แก่ ไก่ 2 ตัว เหล้า เงินโบรา ลูกปัด
การประกอบพิธีกรรม
- วิธีการ นำไก่ 1 คู่ ไปที่ไร่ จากนั้นนำไก่มาปาดคอตรงศาลในไร่ พร้อมอธิษฐานขอให้ข้าวออกผลดี งดงาม อธิษฐานว่า “ข้าวที่หลงหาย ข้าวลูกใหญ่เท่าฟัก ต้นใหญ่เท่าต้นกล้วย ทุกชนิดทุกพันธุ์จงกลับอยู่ในไร่นี้” เมื่ออธิษฐานเสร็จจากนั้นเอาไก่ไปต้ม แล้วแยกเครื่องในไก่ ไปถวายให้กับศาลในไร่
แนวคิดเกี่ยวกับระบบไร่หมุนเวียน
ลักษณะการทำไร่หมุนเวียนของชาวปกาเกอะญอบ้านขุนแม่เหว่ย เป็นการใช้พื้นที่เพื่อการปลูกข้าวกินเป็นหลัก ผสมผสานกับพืชพันธุ์อื่นๆ โดยมีการกำหนดพื้นที่เป็นแปลงรวมให้คนในชุมชนทุกคนได้ทำร่วมกัน ปัจจุบันมีรอบหมุนเวียน 5 ปี พิจารณาจากพื้นที่ที่บรรพบุรุษเคยทำกินมาก่อน โดยจะไม่มีการบุกรุกหรือบุกเบิกพื้นที่ใหม่ ก่อนจะตัดสินใจเลือกพื้นที่ทำไร่หมุนเวียนนั้น ชุมชนมีภูมิปัญญาในการเลือกพื้นที่ ดังนี้
- เป็นพื้นที่ที่เป็นไร่เหล่า หรือไร่ที่บรรพบุรุษเคยทำกินมาก่อน
- ต้องเป็นพื้นที่ที่เคยทำกิน และมีการพักฟื้นพื้นที่อย่างน้อย 5 ปี หากพักพื้นที่น้อยกว่านี้ จะทำให้มีผลกระทบดังนี้
- ผลผลิตจะไม่งอกงาม ได้ผลผลิตน้อย เพราะดินฟื้นสภาพไม่ทัน
- ต้นไม้ กิ่งไม้ไม่ใหญ่ ไม่โตพอที่จะเผาไหม้เพื่อเป็นธาตุอาหารไม่เพียงหรือไม่สมบูรณ์
- วัชพืชในไร่จะเติบโตเร็ว ทำให้ต้องดายหญ้าหลายรอบ
- เป็นพื้นที่ที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือสิ่งเหนือธรรมชาติโดยผ่านพิธีขอตามประเพณีวัฒนธรรมแล้ว
- พื้นที่แปลงย่อยของครอบครัว ไม่สามารถทำซ้ำเกินสองรอบ โดยถ้าทำครบสองรอบแล้ว ต้องเปลี่ยนให้ครอบครัวอื่นมาทำกินแทนในพื้นที่ตรงนั้น
- ต้องไม่ใช่พื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าต้นน้ำ และป่าความเชื่อในวิถีวัฒนธรรมปกาเกอะญอ
การเลือกพื้นที่ทำไร่หมุนเวียน
- การเลือกพื้นที่นั้นเป็นขั้นตอนแรกของการทำไร่หมุนเวียน เป็นการเข้าไปสำรวจพื้นที่ และเป็นการขออนุญาตใช้พื้นที่จากเจ้าป่าเจ้าเขา เพื่อจะใช้ทำไร่หมุนเวียนในปีนั้น ๆ โดยใช้พิธีก่าดูคี ในการทำนายขออนุญาตใช้พื้นที่
การถางไร่
การถางไร่ หรือภาษาปกาเกอะญอเรียกว่า "แผะฆึ" เป็นขั้นตอนหลังจากได้รับการอนุญาตให้ทำไร่หมุนเวียนจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพื้นที่แล้ว เจ้าของไร่ก็จะเข้าไปตัดไม้ในไร่ จะนิยมถางไร่ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยมีวัสดุอุปกรณ์ในการถางไร่ มีด และหินลับมีด
ในการถางไร่จะมีวิธีการโดยหัวหน้าครอบครัวจะวางแผนก่อนว่าวันไหน โดยจะเลือกวันที่คนในครอบครัวไม่มีธุระ เมื่อเลือกวันได้แล้วจะแจ้งให้กับเพื่อนบ้านทราบ เพื่อมาช่วยเอามื้อเอาแรงแลกเปลี่ยนแรงงานกัน เมื่อตกลงกันได้แล้ว ทุกคนในครอบครัวจะไปช่วยกันถางไร่ พร้อมด้วยเพื่อนบ้านที่มาช่วย โดยหัวหน้าครอบครัว หรือเจ้าของไร่จะเป็นคนเริ่มตัดต้นไม้ก่อน จากนั้นทุกคนจะเริ่มช่วยกันถางไร่เจ้าของไร่ และเพื่อนบ้านที่แข็งแรงจะตัดต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่สุด รองลงมาจะเป็นผู้หญิงตัดไม้ที่มีขนาดเล็กลงมา หรือขนาดกลางที่สามารถตัดได้ ในการตัดไม้ในไร่นั้น ถ้าเป็นต้นไม้ใหญ่จะตัดเฉาะกิ่งไม้ แล้วเหลือต้นไว้ เพื่อไม่ให้ต้นไม่นั้นตาย ส่วนต้นไม้ขนาดเล็กเท่าขานั้น จะตัดลำต้น แต่เหลือตอขนาดสูงเท่า เพื่อไม่ให้ต้นไม้ตาย และเพื่อให้ไม้แตกงอกหลายต้น
ข้อห้ามการถางไร่
ถ้าในวันที่ไปฟันไร่เจอตะขาบ หรือได้ยินเสียงเก้งร้อง จะต้องงดการทำไร่ 1 วัน แล้วค่อย ไปถางไร่ในวันถัดไป ถ้าฝ่าฝืนจะทำให้ครอบครัวเจ็บไข้ได้ป่วย ถ้าในวันที่ไปถางไร่เจอหน่อไม้ขึ้น จะไม่ทำไร่บริเวณนั้น ถ้าฝ่าฝืนจะทำให้คนในครอบครัวเกิดอุบัติเหตุในการทำไร่
การปล่อยให้ไม้แห้ง
การปล่อยให้ไม้ในไร่แห้ง หรือภาษาปกาเกอะญอเรียกว่า "โลกอ" เป็นขั้นตอนหลังจากการถางไร่เสร็จ จะปล่อยให้ไม้ในไร่แห้ง เพื่อรอการเผาไร่ จะนิยมปล่อยไม้ให้แห้งประมาณ 2 – 3 อาทิตย์ เพื่อให้ไม้แห้ง ไม่มีความชื้น หากไม้แห้งดี เวลาเผาไร่จะไหม้ดี ทำให้ได้แร่ธาตุที่ดีต่อการเจริญเติบโตของข้าว และไฟจะไหม้เร็วซึ่งจะทำให้ลดหมอกควันได้
ทำแนวกันไฟ
การทำแนวกันไฟ หรือภาษาปกาเกอะญอเรียกว่า "วะเม่โต" เป็นการป้องกันไฟ ไม่ให้ลุกลามไหม้ป่า นอกขอบเขตไร่หมุนเวียน โดยจะทำในช่วงเดือนมีนาคม ก่อนจะมีการเผาไร่หนึ่งวัน วัสดุอุปกรณ์ในการทำแนวกันไฟได้แก่ มีด และน้อแคว (ไม้กวาดที่ทำมาจากไม้ไผ่ ใช้สำหรับกวาดเศษใบไม้บริเวณแนวกันไฟ)
วิธีการทำแนวกันไฟ
วิธีการ ผู้ที่มีประสบการณ์ชำนาญเส้นทาง และภูมิศาสตร์ของพื้นที่ จะเป็นคนกำหนดเส้นทางที่จะทำแนวกันไฟ จากนั้นผู้ชำนาญเส้นทางจะตัดไม้ เพื่อเป็นแนวเส้นทางของแนวกันไฟ แล้วชาวบ้าน และเยาวชนในชุมชนจะช่วยกันตัดเส้นไม้ กวาดเศษใบไม้ให้โล่งตามแนวเส้นกันไฟ
ข้อห้ามการทำแนวกันไฟ
ข้อห้าม ห้ามจักสาน และทอผ้าในวันที่ทำแนวกันไฟ เชื่อว่า ถ้ามีคนทอผ้าและจักสาน ไฟจะไหม้รุนแรง ไฟดุ จะไม่สามารถควบคุมไฟในไร่ได้ และจะทำให้ไฟลุกลามไหม้ป่านอกเขตไร่หมุนเวียน
ห้ามเก็บของป่าทุกชนิดกลับบ้าน ในวันที่ไปทำแนวกันไฟ ไม่ว่าจะเป็นพืชผัก หรือสัตว์ก็ตาม เชื่อว่าไฟจะไหม้รุนแรง ไฟดุ จะไม่สามารถควบคุมไฟในไร่ได้ และจะทำให้ไฟลุกลามไหม้ป่านอกเขตไร่หมุนเวียน
ห้ามปีนต้นไม้ขณะทำแนวกันไฟ เชื่อว่า ถ้าปีนต้นไม้ ลมจะแรง ไฟจะแรง และไหม้สูงข้ามต้นไม้ ทำให้ควบคุมไฟไม่ได้
ห้ามทิ้งน้อแคว (ไม้กวาดไม้ไผ่) ฝั่งตรงข้ามกับไร่หมุนเวียน มีความเชื่อว่า ไฟจะไหม้ตามที่น้อแควที่ถูกทิ้งไว้ หากทิ้งนอกแนวกันไฟ ไฟจะไหม้ข้ามแนวกันไฟไปหาน้อแคว
เผาไร่
การเผาไร่ หรือภาษาปกาเกอะญอเรียกว่า "ชุฆึ" เป็นขั้นตอนในการเผาไม้ที่ถูกตัด เพื่อเตรียมในการเพาะปลูก การเผานั้นทำให้หน้าดินที่ถูกไฟเผามีธาตุอาหาร ทำให้มีความเหมาะสมต่อการปลูกพืชมากขึ้น รวมถึงเป็นการทำให้วัชพืชขึ้นยาก การเผาไร่จะนิยมเผาช่วงเดือนเมษายน มีเจ้าของไร่เป็นคนทำ มีวัสดุอุปกรณ์ มีด ไม้กวาดหรือไม้ ไฟแช็ก ไม้สน ก่อนจะเผาไร่จะมีพิธีกรรม โปรโชคี
- พิธีกรรมโปรโชคี เป็นการทำพิธีกรรมเพื่อให้ไฟเผาไหม้ไร่ให้หมด ทำในเดือนเมษายน มีอุปกรณ์คือ สำลี ไม้ไผ่ ขนนกไก่ฟ้า เสมหะ โด๊ะกวี่ (เครื่องปั่นด้าย) เศษโกลโพ (เชื้อเพลิง) น้ำมัน และเหล้า ผู้ทำพิธีกรรมเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน
- การประกอบพิธีกรรม เตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม จากนั้นช่วงบ่ายก่อนจะเผาไร่ให้ผู้อาวุโสสวดคาถา พร้อมอธิษฐาน ให้ไหม้ดี ไหม้จนไม่เหลือเศษไม้ในไร่ หลังอธิษฐานเสร็จ ก็อมเหล้าแล้วพ่นใส่ โช (คบเพลิง) ที่เตรียมไว้ จากนั้นจุดไฟแล้วเริ่มเผาไร่
เก็บเศษไม้ในไร่
ภาษาปกาเกอะญอ เรียกว่า "โง่ฆึ" จะทำช่วงเดือนเมษายน หลังจากวันที่มีการเผาไร่ โดยเจ้าของไร่และเพื่อนบ้าน เป็นขั้นตอนการเก็บกวาดเศษไม้ที่เหลือจากการเผาไร่ และเป็นการใช้ทรัพยากรที่เหลือจากการเผาไร่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ถ้าเป็นไม้ที่มีขนาดใหญ่ และกลาง ลำต้นตรงเอามาทำรั้วโดยวางรอบ ๆ ไร่หมุนเวียน เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงขอบเขตไร่หมุนเวียน ส่วนไม้ที่มีขนาดเล็ก มีกิ่งก้างเยอะเอามาทำเป็นค้างของพืชพันธุ์ในไร่ได้เลื้อย เช่น ถั่ว มะระ บวบ เป็นต้น ส่วนไม้ที่มีขนาดสั้นนำมาตัดเป็นท่อนเล็ก ๆ ทำเป็นฟืนไว้ก่อไฟประกอบอาหารในไร่ และขนกลับไปที่บ้านอีกด้วย ส่วนไม้อื่น ๆ ที่ไม่สามารถนำมาทำรั้ว ทำค้าง และฟืนได้นั้น ให้นำไปกองรวมไว้ในไร่ แล้วเผาซ้ำอีกรอบ เพื่อเป็นปุ๋ยให้ธาตุอาหารแก่พืชพันธุ์ในไร่
ปลูกพืชพันธุ์นำร่อง
การปลูกพืชพันธุ์นำร่อง หรือภาษาปกาเกอะญอเรียกว่า "ซุโชต่า" เป็นขั้นตอนในการปลูกพืชพันธุ์อื่นๆ ในไร่ก่อนจะทำการปลูกข้าว เช่น เผือก มัน มันสำปะหลัง เป็นต้น จะนิยมปลูกหลังจากวันที่เผาไร่ 1 วัน จะมีลูกหรือภรรยาของครอบครัวเจ้าของไร่เป็นคนปลูก นิยมให้คนปลูกเป็นผู้หญิง เพราะเชื่อว่า เป็นคนที่มีความรู้ และเชี่ยวชาญ มีความละเอียดมากกว่าผู้ชาย โดยมีวัสดุอุปกรณ์ เสียม มีด และพืชพันธุ์ที่จะปลูก
ในการปลูกพืชพันธุ์ ชาวบ้านจะมีความเชื่อว่า การปลูกเผือก หรือ คึ แล้วจะทำให้พื้นดินเย็นลง เพื่อให้พืชพันธุ์อื่น ๆ เติบโตได้อย่างรวดเร็ว และต้องปลูกนำร่องก่อน 3 วัน เพราะเชื่อว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์จะมองลงมา และเห็นเจ้าของไร่มาปลูกทุกวัน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็จะรู้ว่า คนนี้มาทำไร่ตรงนี้แน่นอน สิ่งศักดิ์สิทธิ์จะได้ไม่มายุ่งตรงนี้
การปลูกข้าว
การปลูกข้าว หรือภาษาปกาเกอะญอเรียกว่า "โทะฆึ" เป็นการปลูกข้าว และปลูกพืชพันธุ์หลากหลายชนิดในไร่ โดยก่อนปลูกข้าว จะมีการนำเมล็ดพันธุ์พืชอื่นๆ เช่น เมล็ดแตง เมล็ดฟักทอง มะเขือ เอามาผสมกับเมล็ดข้าว เพื่อให้ในไร่หมุนมีพืชพันธุ์หลากหลายชนิด ในการปลูกข้าวจะมีพิธีกรรม แชะฆึ
- พิธีแชะฆึ เป็นพิธีกรรมในการขออนุญาตปลูกข้าว โดยมีวิธีการ เริ่มจากการเลือกไร่ สำหรับการทำพิธีกรรม 3 ไร่ เลือกจากคนที่จะปลูกคนแรกของชุมชน ไร่ที่สองต้องเป็นไร่ที่อยู่ตรงกลางและเป็นไร่ที่จะปลูกคนกลาง และไร่ที่สามต้องเป็นไร่ที่อยู่ท้ายและปลูกข้าวเป็นลำดับสุดท้าย
- จากนั้นหัวหน้าไร่ ไร่ที่ 1 จะทำพิธีขออนุญาตในการปลูกข้าวหลังแรกของชุมชน โดยหัวหน้าไร่เตรียมกระดูกไก่ 1 คู่ (ตัวผู้หรือตัวเมียต้องไม่ใช่ไก่ขาว) นำกระดูกไก่วางไว้บนใบตองพร้อมเมล็ดข้าวมาวางไว้บนใบตองและห่อ หลังจากนั้นหัวหน้าไร่ให้คนทำพิธีทำนาย เพื่อขออนุญาตปลูกข้าว โดยจะกำหนดวันปลูกข้าวเป็น 3 วันถัดไป (ถ้า ดี 3 วัน สามารถปลูกข้าวได้เลย ถ้าไม่ดี ต้องเลื่อนไปอีก 2 วัน เป็น 5 วัน)
- หลังจากได้รับการอนุญาตให้ปลูกข้าวแล้ว จะทำการปลูกข้าว โดยมีวิธีการให้แม่บ้านเตรียมเมล็ดพันธุ์ทุกชนิดผสมกับเมล็ดข้าว ก่อนปลูกข้าวต้องทำพิธี โท๊ะล่อฆึ ประกอบด้วย ให้หนุ่มสาว 1 คู่ปลูกก่อน คนอื่นๆ จึงปลูกตามได้ หลังจากปลูกเสร็จแล้ว หนุ่มสาวที่ปลูกก่อนคู่นั้นต้องกลับมา เชะโบะบือ โดยผู้หญิงต้องหาเพื่อนเพิ่มอีก 1 คน จะได้เป็น 3 คน เพราะเชะโบะบือต้องใช้คน 3 คน โดยคนละ 3 หลุมรอบ ๆ บือเชะโบะเพราะเชื่อว่า จะทำให้เจ้าของไร่ทำงานก้าวหน้ารุ่งเรือง
- หัวหน้าไร่ต้องขุด 7 หลุมในวงในบือเชะโบะ เพราะเชื่อว่า 7 หลุมนั้น ห้ามให้ใครแตะ และห้ามให้สัตว์เลี้ยงกิน และห้ามเกี่ยว ต้องใช้มือเก็บเอาและนำผลผลิต 7 หลุมมากินข้าวใหม่ หัวหน้าไร่จะเอาด้ามเสียมผ่าเป็น 2 ซีก และใส่ในกระบอกไม้ไผ่ เพื่อขอฝน ในกระบอกไม้ไผ่นั้นใส่เมล็ดข้าวและเทน้ำให้เต็ม คนที่เป็นคน โท๊ะหล่อฆึ นั้น สาดน้ำใส่หัวหน้าไร่ และหัวหน้าไร่สาดน้ำคืนคนที่สาดหัวหน้าไร่ก่อน และกลับไปที่กระท่อม และสาดน้ำไปที่คนในกระท่อม และคนในกระท่อมสาดน้ำใส่คนที่เป็นหัวหน้าไร่ และคนโท๊ะหล่อฆึ และต้องสาดคนในกระท่อมให้เปียกทุกคน และกระท่อมทั้งหลัง เพราะเชื่อว่า จะทำให้ฝนตกและข้าวจะได้งอกขึ้นมา
ขั้นตอนการปลูกข้าว จะมีความเชื่อวันที่สาดน้ำใส่กัน หรือทำพิธี ฉิบุบือ เสร็จห้ามนอนในกระท่อม เพราะเชื่อว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์จะลงมาดูว่า ทำพิธีเสร็จหรือยัง ถ้าทำเสร็จหรือกระท่อมเปียกทั้งหมดจะช่วยให้ฝนตกและให้ได้ผลผลิตที่งอกงาม บ้านที่โท๊ะหล่อฆึทั้งหลัง ห้ามทอผ้า จักสานทุกชนิด เพราะเชื่อว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์มองว่า ครอบครัวนี้มีความสามัคคีกัน
ดายหญ้า
เป็นการกำจัดวัชพืชที่จะขัดขวางการเจริญเติบโตโดยไม่พึ่งสารเคมี และช่วยลดสัตว์ หรือแมลงที่จะมากัดกินต้นข้าวโดยใช้แรงงานคน ไม่พึ่งสารเคมี ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า กละ (มีดดายหญ้า) การดายหญ้านั้นถ้ารอบหมุน 5 ปีจะดายกันทั้งหมด 3 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 พฤษภาคม ครั้งที่ 2 มิถุนายน และครั้งที่ 3 กรกฎาคม ในการถางหญ้าเจ้าของไร่ และเพื่อนบ้านจะลงแรงแลกเปลี่ยนแรงกัน มีอุปกรณ์คือ กละ (มีดดายหญ้า) ผ้ายางกันฝน หรือ เสื้อกันฝน และหมวกกันฝน
วิธีการเจ้าของไร่จะถางหญ้าตัวอย่าง หรือถางหญ้านำ 3 วัน (กลอลอน้อ) พัก 1 วัน หลังจากถางหญ้านำถางหญ้าให้หมดไร่
ขั้นตอนการดายหญ้า
ขั้นตอนการดายหญ้า จะมีความเชื่อ เรื่อง "ต่าโฮ (เก้ง)" ถ้าได้ยินเสียงเก้งร้อง เจอเดะกว่อ เห็นสายรุ้ง (เต่อเก่อ) งู ตะขาบ ถ้าไปเจอ 3 สิ่งนี้หรือได้ยินเสียงเก้งร้องก่อนจะดายหญ้า เราต้องกลับมาทันที เพราะเป็นลางสังหอนที่ไม่ดี ส่วนข้อห้าม คือ ห้ามไปไร่ในวันที่ถัดจากวันที่ถางหญ้านำ (กลอลอน้อ)
วันห้ามไปไร่
วันห้ามไปไร่ หรือภาษาปกาเกอะญอเรียกว่า "ดึโละฆึ" เป็นขั้นตอนของการขอขมาให้ข้าวไม่เจ็บไข้ได้ป่วยล้มตาย และการทำพิธีกรรมไม่ให้แมลงมากัดกินต้นข้าว ประกอบด้วยพิธีกรรมและขั้นตอน 3 ขั้นตอน ได้แก่ พิธีกรรมพีเบาะ แชะลอวะบลอ และการแชะลอมอ โดยมีรายละเอียดดังนี้
- พิธีกรรมพีเบาะ เป็นพิธีกรรมสำหรับการใส่ปุ๋ยข้าวในไร่ กำจัดแมลง และสัตว์ที่มากินข้าวและพืชพันธุ์ในไร่ จัดขึ้นช่วงเดือนกันยายน โดยมีเจ้าของไร่เป็นผู้ทำพิธี ซึ่งมีอุปกรณ์ ได้แก่ หน่อไม้ มีด ไก่ 1 ตัว ไผ่หลาม 2 ลำ ใบตองกง ขั้นตอนการคือ ผ่าหน่อไม้มา 3 ต้น ไปวางไว้ในไร่ตามต้นข้าว นำต้นไผ่หลาม 2 ลำ ไปตั้งไว้ตรงทางเข้าเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการทำพิธี จากนั้นนำไก่ 1 ตัว มาทำพิธี โดยการนำไก่มาปาดคอ พร้อมสวด อธิษฐานว่า “ข้าได้นำหน่อไม้มาไว้ เพื่อให้ข้าวเจริญเติบโต”
การตัดแต่งใบข้าว
การตัดแต่งใบข้าว หรือภาษาปกาเกอะญอเรียกว่า "พวอบือบึ" เป็นขั้นตอนในการตัดแต่งใบข้าว เนื่องจากเวลาการปลูกข้าวที่ถี่มาก พอต้นข้าวเจริญเติบโตทำให้ใบข้าวติดกัน ทำให้ข้าวเจริญเติบโตช้า และอาจทำให้ต้นข้าวตาย จึงจำเป็นต้องตัดแต่งใบข้าวให้เติบโตได้สะดวกเพื่อที่จะได้ออกดอกออกผลงดงาม นิยมตัดแต่งใบข้าวช่วงเดือนสิงหาคม เพราะเป็นช่วงที่ข้าวเติบโต โดยมีเจ้าของไร่และเพื่อนบ้านช่วยกันตัดแต่ง
เก็บเกี่ยวข้าวเหนียว
การเก็บเกี่ยวข้าวเหนียว หรือ ภาษาปกาเกอะญอเรียกว่า "กุปีอี" เนื่องจากข้าวเหนียวจะมีการเติบโตไวกว่าข้าว และถึงช่วงเวลาในการเก็บเกี่ยวก่อนข้าวในไร่ จึงจำเป็นต้องเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนข้าวเจ้า ช่วงเวลาที่เก็บเกี่ยวข้าวเหนียวจะเป็นเดือนกันยายน โดยในการเก็บเกี่ยวข้าวเหนียวจะมีความเชื่อว่า ถ้าเห็นเก้งหรือได้ยินเก้งร้อง หรือถ้าเห็นตะขาบขณะเกี่ยวข้าวเหนียว ในการเก็บข้าวเหนียววันนั้นจะเกี่ยวไม่หมด จะต้องเก็บไว้ประมาณ 5-6 ต้น แล้วค่อยไปเก็บเกี่ยวให้หมดในวัดถัดไป
เกี่ยวข้าว
การเกี่ยวข้าว ในภาษาปกาเกอะญอเรียกว่า "กุบือ" เป็นขั้นตอนของการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวในไร่หมุนเวียน และตากข้าวให้แห้ง ขั้นตอนการเกี่ยวข้าวจะเป็นการแลกเปลี่ยนแรงงาน เป็นการร่วมด้วยช่วยกันในชุมชน ช่วงเวลาในการเกี่ยวข้าวจะเป็นเดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นเดือนที่ข้าวออกสีทอง วัสดุอุปกรณ์ในการเกี่ยวข้าวได้แก่ เคียวเกี่ยวข้าว มีด ตอกมัดข้าว และแจ้ (กือ)สำหรับเก็บผลผลิตอื่นในไร่
ในการเกี่ยวข้าวก่อนเกี่ยวข้าว เจ้าของไร่จะทำพิธีเกี่ยวข้าวแรกก่อนวันที่จะเกี่ยวข้าวจริง 1 วัน โดยจะเกี่ยวข้าวเป็น 3 กอง กองละ 3 กอ รวมกัน 9 กอ วางไว้ที่ต้นข้าว แล้วกลับบ้านนอน จากนั้นในวันรุ่งขึ้นจะเริ่มเก็บเกี่ยวข้าว โดยมีการลงแขกเกี่ยวข้าวแลกเปลี่ยนแรงงาน ซึ่งการเกี่ยวข้าวจะใช้ต้นข้าวมัดข้าวไว้เป็นกำๆ ตัดไม้ไผ่ทำเป็นราวสำหรับตากแห้งข้าว โดยใช้ตอกมัดไผ่ให้เป็นราวสำหรับตากข้าว เมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จ จะนำข้าวไปตากแห้งโดยใช้เวลา 4- 5 วัน
ตีข้าว
การตีข้าว ภาษาปกาเกอะญอเรียกว่า "โปะบือ" เป็นขั้นตอนการตีข้าว เพื่อเก็บเมล็ดข้าวออกจากต้นข้าวหลังจากการเก็บเกี่ยว ชาวบ้านแบกข้าวทั้งหมดมากองรวมกัน ทำเป็นลานตีข้าว แล้วช่วยกันตีข้าว ระหว่างการตีข้าว จะมีการพูดคุยเพื่อที่จะนับผลผลิตของแต่ละครัวเรือน ว่าใครได้มาก ใครได้น้อย ถ้าคนได้น้อย ไม่พอกิน คนในชุมชนจะแบ่งปันให้กับคนได้น้อย ที่ตีข้าวกลายเป็นลานวัฒนธรรมการแบ่งปันแลกเปลี่ยน
ขั้นตอนการตีข้าว
วิธีการและขั้นตอนในการตีข้าว หัวหน้าไร่จะเป็นคนเริ่มตีข้าวก่อนอย่างน้อย 3 ครั้ง หลังจากนั้นจะช่วยกันตีข้าว ถ้าไปกินข้าวต้องเก็บไว้บนโท (ไม้รองตีข้าว) 3 มัด เชื่อว่า จะช่วยเรียกผลผลิตให้มากขึ้น เมื่อกินข้าวเสร็จแล้ว หัวหน้าไร่ต้องเป็นคนเริ่มก่อน เมื่อถึงเวลาบ่าย 3 โมงต้องเริ่มพัดข้าว เพื่อให้การเก็บผลผลิตเสร็จก่อนพระอาทิตย์ตก
ในขั้นตอนของการตีข้าว จะมีข้อห้ามและความเชื่อเกี่ยวกับการตีข้าว เมื่อลงไปตีข้าว ห้ามตด ห้ามร้องเพลง เพราะเชื่อว่า ข้าวตกใจและเสียขวัญจะส่งผลให้ได้ผลผลิตน้อย ในวันตีข้าวหัวหน้าไร่ห้ามอาบน้ำถ้าตีข้าวยังไม่เสร็จ ห้ามกินเศษอาหาร ห้ามกินตัวตุ่น เชื่อว่า จะทำให้กินข้าวหมดไวและข้าวจะไม่พอกิน
การส่งนกขวัญข้าว
พิธีส่งนกขวัญข้าว หรือ ที่ภาษาปกาเกอะญอ เรียกว่า "เซอท่อโท้" เป็นพิธีกรรมในการขอบคุณนกขวัญข้าว ที่ดูแลและปกป้องต้นข้าวในช่วงที่ผ่านมา จะมีการส่งนกขวัญข้าวกลับสู่ท้องฟ้า และนัดหมายให้นกขวัญข้าวกลับลงมาอีกในปีหน้า ซึ่งพิธีส่งนกขวัญข้าวจะทำในช่วงเดือนพฤศจิกายนหลังจากตีข้าวเสร็จ โดยขั้นตอนในการทำพิธีกรรมมี 3 พิธีกรรม ได้แก่ เชกพอเคลอ เชกพอปู่ เชอท่อโท๊ะ โดยมีรายละเอียดดังนี้
อุปกรณ์การประกอบพิธีกรรม
- เชกพอเคลอ เป็นการพิธีสวดข้างยุ้งข้าวในไร่ เพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้าย มีอุปกรณ์ในการทำพิธีคือ ไก่ 1 ตัว
เชกพอปู่ เป็นการทำพิธีบนยุ้งฉางข้าวในไร่ มีวัสดุอุปกรณ์ในการทำพิธีได้แก่ ไก่ 2 ตัว เหล้า 1 ขวด เคียว 1 อัน บือทูหล่อ หรือ ปล่าตะไหร่ วิธีการคือ เอาข้าวเปลือกมาใส่ไว้ในใบตอง แล้วรินเหล้า 1 แก้ว ลงบนยุ้งฉาง พร้อมสวดอธิษฐาน จากนั้นจะทำข้าวให้สุก พอทำกับข้าวเสร็จ ก็จะถวายหัวข้าวให้เจ้าที่ และเตรียมข้าวให้กับนกขวัญข้าว ไว้ในโละ 1 ที่ เสร็จแล้วถวายหัวข้าว ซึ่งประกอบด้วย ข้าว ตีนไก่ ปีกไก่ หัวไก่ ใส่ไก่ หัวใจไก่ กระเพาะไก่ ตับไก่ หงอนไก่ ลิ้นไก่ พอถวายเสร็จก็กินข้าวได้ ถวายดอกนอกพอ 1 ดอก ให้กับนกขวัญข้าว
การประกอบพิธีกรรม
- "เชอเท่อโท๊ะ" เป็นขั้นตอนและพิธีกรรมในการส่งนกขวัญข้าว ต้องเตรียมดอกไม้อย่างละ 1 ต้น ซึ่งประกอบไปด้วย ดอกดาวเรือง ง ดอกแดง และข้าวหลาม พืชพันธุ์ต่าง ๆ ในไร่หมุนเวียน สิ่งที่เราทำกับข้าวเตรียมทุกอย่างอย่างละนิด และต้องให้คนที่ไปร่วมพิธีนั้น กินทุกคน และเอ่ยชื่อ นกขวัญข้าว กินเสร็จทุกคนแล้วให้วางไว้บน เทอะโค๊ะ แล้วผู้นำพิธีอธิษฐานพร้อมสวดว่า “นกขวัญข้าวเอยวันนี้เราทำงานทำข้าวทำภารกิจเสร็จแล้ว ต่างคนต่างไป กลับแล้วอย่านอนกลางทาง และเราก็จะไม่นอนกลางทาง ต้นไม้ในไร่เริ่มดำเมื่อไหร่เจ้าจงกลับลงมาหาข้า”
- เสร็จแล้วกลับไปดูข้าวในมือ เชกโบ๊ะ ที่ยังไม่ได้เกี่ยว และอธิษฐานว่า “เจ้าไม้ เจ้าไผ่ เจ้าป่า เจ้าเขา เจ้าน้ำลำธาร พวกผีปีศาจเอ๋ย ตอนก่อนจะเริ่มทำไร่หมุนเวียน เราได้ขอให้เจ้าออกไปพื้นที่นั้น ตอนนี้เราทำไร่หมุนเวียนเสร็จแล้ว ขอให้เจ้ากลับสู่ที่ที่เคยอยู่ ที่ที่เคยเดินก่อนที่เจ้าออกจากพื้นไป” จากนั้นเราเรียกขวัญให้ตัวเองว่า “วิญญาณเอ๋ย กลับมาทุกคน แม้ว่าจะเป็นลูกหลานให้กลับมาให้หมด อย่าไปอยู่ในไร่ หลงในป่า กลับมาอยู่ที่บ้าน พักผ่อนตามอัธยาศัย” เสร็จจากคำอธิษฐานแล้ว ให้กลับมาอยู่ที่บ้าน แล้วทั้งครอบครัวต้องมัดมือ เพื่อให้ขวัญและวิญญาณกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว และตอนเย็นต้องไปหาผู้เฒ่าผู้แก่ 3 คน เพื่อให้มากินเหล้าให้กับนกขวัญข้าว
- วันรุ่งขึ้น ห้ามเจ้าของไร่เข้าไปในไร่ 1 วัน คนอื่นไปได้แต่ครอบครัวเจ้าของไร่ห้ามไป เพราะเชื่อว่า วันนี้พวกผีปีศาจจะกลับมา ว่าวันนี้เรียกเรากลับมา เจ้าของยังมาที่ไร่อีกทำไม มีตัวอย่างจากบรรพบุรุษบอกว่า อย่าไปที่ไร่ ปรากฏว่า เขาไป พอไปแล้ว กลับมาก็ป่วยล้มตาย
ขนข้าว
- การขนข้าว หรือภาษาปกาเกอะญอเรียกว่า 'วีบือ" เป็นขั้นตอนการนำผลผลิตจากไร่ไปไว้ที่ยุ้งข้างบ้าน ซึ่งการขนข้าวมีความเชื่อว่า ถ้าทางผ่านกลับบ้าน มีไร่ของคนอื่น จะต้องให้ไร่ที่ใกล้บ้านสุดขนก่อน จะขนผ่านไร่ที่ยังไม่ได้ขนข้าวไม่ได้ นอกจากจะเดินอ้อมไปทางอื่น เป็นความเชื่อที่ทำให้มีระบบระเบียบในการขนข้าว และมีการช่วยเหลือกันและกันในการขน และมีความเชื่อเรื่อง การได้ยินเสียงเก้งร้อง และการเห็นตะขาบ ว่า ถ้าได้ยินเก้งร้อง และเห็นตะขาบจะไม่สามารถขนข้าวได้ ต้องรออีก 1 วัน เพราะวันนั้นเป็นวันไม่ดี เจ้าป่าเจ้าเขาไม่อนุญาตให้ขน หากฝ่าฝืนจะเกิดอุบัติเหตุกับตัวเองและครอบครัว
กินข้าวใหม่
- พิธีกินข้าวใหม่ ภาษาปกาเกอะญอเรียกว่า "อ้อบือโค้" เป็นการเฉลิมฉลองผลผลิตใหม่ เป็นการขอบคุณสิ่งเหนือธรรมชาติที่ให้กำลังกายกำลังใจสำหรับการทำการเพาะปลูกตลอดฤดูกาล จะมีการนำข้าวใหม่มาต้มเหล้า แล้วนำเหล้าแก้วแรกรินให้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยรินเหล้าลงเสาแรกของบ้าน แก้วที่สองรินให้กับผู้นำครอบครัวและต้องเป็นคนที่ฟันไร่คนแรก แก้วที่สามรินให้กับผู้อาวุโสในชุมชน และแก้วที่สี่รินให้กับสมาชิกในครอบครัว
- จากนั้นจะกินข้าวกับแกง แต่ในแกงจะประกอบด้วยผลผลิตทุกชนิดในไร่ที่นำมาแกงรวมกัน ส่วนเนื้อสัตว์ที่อยู่ในน้ำแกงรวม ได้แก่ กุ้ง หอย ปู เพราะสัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์ที่เดินช้า ถ้านำมากินพร้อมข้าวใหม่จะทำให้ข้าวหมดช้า และส่วนประกอบของสัตว์บก ได้แก่ อ้น กับ ตุ่น เพราะเชื่อว่า อ้นเป็นสัญลักษณ์ของการก้าวพ้นปัญหาและอุปสรรค ส่วนตุ่นเป็นสัญลักษณ์ของความสำเร็จ
ผลผลิตทางการเกษตรความหลากหลาย และผลผลิตของพืชพันธุ์ในไร่หมุนเวียนของชุมชนบ้านขุนแม่เหว่ย ตำบลท่าสองยาง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก มีจำนวนทั้งหมด 70 ชนิด (เก็บข้อมูลผลผลิตในไร่หมุนเวียนปี พ.ศ.2565) โดยมีรายละเอียดดังนี้
ชุมชนบ้านขุนแม่เหว่ย (แม่ปอคี) มีภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน แบ่งออกเป็นหลายประเภท ดังนี้ ภูมิปัญญาหัตกรรม ภูมิปัญญาหัตศิลป์ ภูมิปัญญาการเรียกขวัญ และภูมิปัญญาศิลปะวรรณกรรมชุมชน ซึ่งแต่ละภูมิปัญญามีรายชื่อดังต่อไปนี้
ลำดับ | ชื่อ-สกุล | ตำแหน่ง | ความสามารถ | อายุ |
1 | นายหม่อโทจ่อ เวียงจอมทอง | ปราช์ญผู้รู้ชุมชน | จักสานทุกชนิด | 89 |
2 |
นายจ่อเกวเล เสือแสงเสริม |
ฮิ๊โค๊ะและปราช์ญผู้รู้ชุมชน | ทำจานไม้ ครก ประวัติศาสตร์ชุมชน และบทธา | 75 |
3 | นายก้าละโหย่ วงษ์จำเนียง | ปราช์ญผู้รู้ชุมชน | พิธีกรรมไร่หมุนเวียน และบทธา จักสาน | 59 |
4 | นายพะแกะซอ เวียงจอมทอง | ปราช์ญผู้รู้ชุมชน | พิธีกรรมบวชป่าแบบดั้งเดิม บทธา | 54 |
5 | นายพะแบแฮ เสือชูชีพ | ปราช์ญผู้รู้ชุมชน | พิธีกรรมไร่หมุนเวียน บทธา ประวัติศาสตร์ชุมชน | 56 |
6 | นายชุ่ยกี เวียงจอมทอง | ปราช์ญผู้รู้ชุมชน | จักสาน พิธีกรรมไร่หมุนเวียน | 50 |
7 | นายพานี ลำธารไพร | ปราช์ญผู้รู้ชุมชน | เล่นเตหน่า | 36 |
8 | นายพาฮ่อ ลำธารไพร | ปราช์ญผู้รู้ชุมชน | คาถา พิธีกรรมเรียกขวัญเมื่อขวัญอ่อน | 70 |
9 | นายพะวอ เกษมสุขไพรศาล | ปราช์ญผู้รู้ชุมชน | คาถา พิธีกรรมเรียกขวัญเมื่อขวัญอ่อน | 59 |
10 | นางมะซาเมะ - | ปราช์ญผู้รู้ชุมชน | หมอตำแย หมอทำนาย | 52 |
11 | นางมึเจ เกษมสุขไพรศาล | ปราช์ญผู้รู้ชุมชน | จับเส้นสาย | 29 |
12 | นางช่าจะ วงษ์จำเนียง | ปราช์ญผู้รู้ชุมชน | ทอผ้าทุกชนิด | 36 |
13 | นางดือบือ อุดมรักพันธ์พง | ปราช์ญผู้รู้ชุมชน | หมอตำแย | 54 |
14 | นายก้าละโหย่ วงษ์จำเนียง | ส.อบต.หมู่5 | 59 | |
15 | นายธีรภัทร อุดมรักพันธ์พง | ผู้ใหญ่บ้าน | 40 | |
16 | นายยอดรัก รักสดใส | ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน | 32 | |
17 | นายลาโหย่ อุดมรักพันธ์พง | ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน | 38 | |
18 | นายพะดะ เกษมสุขไพรศาล | ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายรักษาความสงบ | 41 |
ทุนวัฒนธรรม
ภูมิปัญญาการทำไร่หมุนเวียน ภูมิปัญญาการแต่งงาน ภูมิปัญญางานศพ และประกอบด้วย 10 พิธีกรรม
- พิธีกรรมกี่ปะหน่าจือ (มัดมือควาย)
- พิธีกรรมกี้จือฮี้ซอโค้ (สำหรับผูกข้อมือหลังจากที่ถางไร่หมุนเวียนเสร็จ)
- พิธีกรรมว้อฮี้ (ทำบุญหมู่บ้าน)
- รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่
- พิธีกรรมลือก่อ (หม่าอ้อต่าโดะต่าล่า)
- ประเพณีลื้องอโขะ (การย้อมด้าย)
- พิธีกรรมหม่าจูมูโค้ (ขอฝน)
- พิธีกรรมกี้จือลาคุ
- พิธีกรรมโอ้หย่อมูโค้ (ขอฝนหยุด)
- พิธีอ้อเธอคีดะ (เฉลิมฉลองหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว)
ทุนกายภาพ
ต้นทุนทรัพยากรธรรมชาติ ชุมชนบ้านแม่ปอคีมีต้นทุนทางธรรมชาติในชุมชนยังมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้และน้ำตก จนเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำที่สำคัญประกอบด้วย
- ป่าต้นน้ำเป่อพาโกล
- หลู่เคมื่อโกล
- แม่เหว่ยโกล
- เกอะฮอโกล
- เฆแมล้ะโกล
- พือหน่อยโกล ซึ่งเป็นต้นลำธารที่ก่อให้เกิดน้ำตกที่สำคัญถึง 6 แห่งด้วยกัน และยังมีความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ที่หายากได้แก่ ชะนี เก้ง นกเงือก และสัตว์อีกหลายร้อยชนิด ป่าไม้ ชุมชนบ้านแม่ปอคีมีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้จึงทำให้มีผลไม้ป่าหลายชนิด เช่น ลิ้นจี่ป่า เงาะสีทอง มังคุดป่า และผลไม้ป่าอีกหลายร้อยชนิด
ทุนสังคม/การเมือง
เครือข่ายการทำงานกับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน ชุมชนรอบข้างและสื่อมวลชน ที่เข้ามาทำงานร่วมกับชุมชนอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
- สื่อมวลชน ได้แก่ ไทยพีบีเอส โพควาโปรดักชั่น ยูทูปเบอร์
- ภาครัฐ ได้แก่ พ.อ.ช. ศูนย์มนุษยสิรินธร กรมป่าไม้ (ตก 3) อบต.ท่าสองยาง และอำเภอท่าสองยาง โรงเรียนบ้านแม่อมกิ และวัฒนธรรมจังหวัดตาก
- ภาคเอกชน มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ปกาเกอะญอมีดี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เครือข่ายกะเหรี่ยงจังหวัดตาก P’MOVNE สกน มูลนิธิช่วยเหลือเด็กชายแดนจังหวัดตาก สถาบันพัฒนาเยาวชนและชุมชนเพื่ออนาคต และมูลนิธิเอสซีจี
ภาษาพูด ของคนในชุมชนบ้านแม่ปอคี (ขุนแม่เหว่ย) มีทั้งหมด 2 ภาษา ได้แก่ ภาษาปกาเกอะญอและภาษาไทย
ภาษาเขียน ภาษาเขียนของคนในชุมชนบ้านแม่ปอคี (ขุนแม่เหว่ย) มีทั้งหมด 2 ภาษา ได้แก่ ภาษาปกาเกอะญอและภาษาไทย
ชุมชนบ้านแม่ปอคีได้รับผลกระทบจากนโยบายการทวนคืนผืนป่าเมื่อปี 2557 ทำให้คนในชุมชนถูกดำเนินคดี 1 ราย หลังจากนั้นชุมชนได้ลูกขึ้นมามาหาข้อเท็จจริงร่วมกับ สกว. และมศว ร่วมทำงานวิจัยเรื่องโครงการวิจัยเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติร่วมพื้นที่ป่าและพื้นที่ทำกิน บ้านแม่อมยะและบ้านขุนแม่เหว่ย ต่อมาอุทยานแห่งชาติแม่เงาเตรียมพื้นที่ประกาศอุทยานแห่งชาติแม่เงาทับพื้นที่ชุมชนสองพันกว่าไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่จิตวิญญาณของคนในชุมชนบ้านแม่ปอคี ชุมชนลูกขึ้นเปลี่ยนแปลง การทำเศษฐกิจชุมชนบนฐานภูมิปัญญาการทำไร่หมุนเวียน โดยนำผลผลิตจากไร่หมุนเวียนมาพัฒนาเป็นผลิตตภัณฑ์ มีวิทยากรทีเชี่ยวชาญการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นผู้นำกระบวนคิดผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ของพืชที่นำมาแปรรูป หรือวิเคราะห์แบบ SWOT ขั้นตอนการทำผลิตภัณฑ์ การบรรจุผลิตภัณฑ์ การออกแบบโลโก้ และการสร้างแบรนด์ของชุมชน และได้ข้อสรุปหรือได้ชื่อแบรนด์ชุมชนว่า “ชอเดอ” (CHAW DER) ที่แปลว่า ไก่บ้าน ชุมชนนมีผลิตภัณฑ์ที่ขายได้ มีทั้งหมด 5 อย่าง ได้แก่ ชาเน๊าะเกอะหว่อ น้ำพริกตาดำ ผงโรยข้าวเน๊าเกอะหว่อ ผงโรยข้าวบ๊ะเกอะเออ และสบู่ใบพลู
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานภายใต้โครงการ การขับเคลื่อนแนวนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลและชาวกะเหรี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
สงกรานต์ หทัยภัสสร และคณะ. (2563). โครงการ การจัดทำคลังข้อมูลภูมิปัญญาไร่หมุนเวียนบ้าน แม่ปอคี. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ปราโมทย์ เวียงจอมทอง และคณะ. (2562). โครงการวิจัยเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติร่วมพื้นที่ป่าและพื้นที่ทำกิน บ้านแม่อมยะบ้านขุนแม่เหว่ย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ประหยัด เสือชูชีพ. (2563). ประวัติศาสตร์ชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านแม่ปอคี ตำบลท่าสองยาง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก.