Advance search

วัดคีรีวัน ชาวไทยเชื้อสายลาวเวียง (ไทยเวียง) หัตถกรรมจักสาน เครื่องจักสานไม้ไผ่ตกแต่งผ้าขาวม้า และอาหารพื้นถิ่น

หินตั้ง
เมืองนครนายก
นครนายก
เทศบาลเมืองนครนายก โทร. 0-3731-1097
ณภัทร เจริญรัตน์
29 ม.ค. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
18 ก.พ. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
18 ก.พ. 2024
วัดคีรีวัน

วัดคีรีวันเดิมชื่อ วัดสว่างอารมณ์แต่เมื่อวัดนี้ย้ายไปอยู่ที่ภูเขาแห่งใหม่ จึงตั้งชื่อใหม่ว่า วัดคีรีวัน เพื่อเป็นศิริมงคล


ชุมชนชาติพันธุ์

วัดคีรีวัน ชาวไทยเชื้อสายลาวเวียง (ไทยเวียง) หัตถกรรมจักสาน เครื่องจักสานไม้ไผ่ตกแต่งผ้าขาวม้า และอาหารพื้นถิ่น

หินตั้ง
เมืองนครนายก
นครนายก
26000
14.248400391595604
101.27558028963779
เทศบาลเมืองนครนายก

ชุมชนไทยเวียงวัดคีรีวันเป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ชาวชุมชนเป็นชาวไทยเชื้อสายลาวเวียง พื้นที่ครอบคลุม 3 หมู่บ้านในเขต 6 ตำบล ของจังหวัดนครนายก ได้แก่หมู่ที่ 1 บ้านคีรีวัน หมู่ที่ 7 บ้านบุ่งเข้ และหมู่ที่ 4 บ้านคลองสีเสียด ตั้งอยู่บนเขากะเหรี่ยงเป็นศูนย์รวมของชุมชนภายใต้การปกครองของพระครูอุดมกิจจานุกูลเจ้าคณะตำบลสาลิกา เจ้าอาวาสวัดคีรีวันถูกกวาดต้อนมาจากประเทศลาวในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี และบางส่วนอพยพมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จากเวียงจันทน์เข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย และกระจายอยู่ที่จังหวัดนครนายก

ปัจจุบันชาวไทยเวียงวัดคีรีวันได้ปรับวิถีชีวิตตามยุคสมัย ทำให้ศิลปวัฒนธรรมบางอย่าง รวมถึงอัตลักษณ์การแต่งกายได้เลือนหายไป พระครูอุดมกิจจานุกูล เจ้าอาวาสวัดคีรีวันเล็งเห็นความสำคัญของการสืบสานวัฒนธรรมไทยเวียงของคนในชุมชนให้คงอยู่ในปลายปี พ.. 2561 จึงได้หารือกับผู้ใหญ่บ้านทั้ง 3 หมู่บ้าน และผู้ร่วมริเริ่มทำกิจกรรมภูมิปัญญาด้านเศรษฐกิจพอเพียง และภูมิปัญญาด้านการแต่งกาย ต่อมามีการส่งเสริมให้มีการจัดทำลานวัฒนธรรมไทยเวียงวัดคีรีวันใช้เป็นสถานที่จัดงานกิจกรรมตามประเพณีและเป็นจุดถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และส่งเสริมการจัดทำตลาดลาวเวียงวัดคีรีวันเป็นสถานที่จำหน่ายสินค้าของคนในชุมชน

วัดคีรีวัน แต่เดิมชื่อวัดสว่างอารมณ์ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าถูกสร้างขึ้นเมื่อใด แต่มีหลักฐานว่ามีการย้ายตัววัดมาอยู่บนเนินเขาแห่งหนึ่ง จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อวัดมาเป็นคีรีวันอย่างในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม มีการคาดกันว่าวัดคีรีวันนั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากการเป็นที่พักสงฆ์ในทุ่งกะเหรี่ยง แต่ด้วยความที่ห่างไกลจากชุมชน ในเวลาต่อมาชาวบ้านจึงได้มีการปรึกษาหารือกันเพื่อย้ายวัดมาอยู่ในสถานที่ที่ใกล้กับชุมชนยิ่งขึ้น ซึ่งก็คือที่ตั้งในปัจจุบันของตัววัดนั่นเอง สิ่งโดดเด่นของวัดคีรีวันคือพระแก้วมรกตองค์จำลองที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารบนยอดเขาของวัด ซึ่งเป็นพระแก้วองค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นที่นับถือของประชาชนโดยทั่วไป ศิลปะและสถาปัตยกรรมของวัดเป็นแบบขอม ปราสาทขอมองค์ใหญ่เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโพธิ์ 1,000 ปี พระพุทธรูปปางนาคปรกแกะจากไม้ต้นโพธิ์ รวมทั้งปูนปั้นเหล่าเทพยดาต่าง ๆ ทั้งแบบจีนและพราหมณ์

วัดคีรีวันมีระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองนครนายกและตัวเมืองนครนายกประมาณ 8 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 100 กิโลเมตร การเดินทางมายังวัดคีรีวันสามารถเดินทางได้ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล รถโดยสารประจำทาง และรถตู้

วัดคีรีวัน เป็นศูนย์กลางของชาติพันธุ์ลาวเวียงที่อาศัยอยู่โดยรอบ ชาวลาวเวียงหรือไทยเวียงนั้น บางส่วนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในนครนายกตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี และบางส่วนอพยพเข้ามาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 มีอาชีพดั้งเดิมคือทําการเกษตร และมีอาชีพเสริม คือ การทอผ้าขาวม้า และการจักสาน ปัจจุบันอัตลักษณ์ความเป็นลาวเวียงของชุมชนเริ่มเลือนหายไป พระครูอุดมกิจจานุกูล เจ้าอาวาสวัดคีรีวันที่เล็งเห็นปัญหาในจุดนี้จึงได้รวมกลุ่มชาวลาวเวียงมาฟื้นฟูกิจกรรมประเพณีเพื่อที่จะสืบสานวัฒนธรรมลาวเวียงให้คงอยู่ต่อไป

ลาวเวียง

บริเวณวัดคีรีวันมีการจัดตั้งกลุ่มชุมชนกลุ่มหนึ่งขึ้น คือ ชุมชนวัฒนธรรมไทยเวียงคีรีวัน ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันของหมู่บ้านชาวไทยเวียงทั้ง 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 ตําบลศรีนาวา มีอาชีพทําเครื่องจักสานจากไม้ไผ่ หมู่ 8 ตําบลหินตั้ง มีอาชีพทําเครื่องจักสานจากไม้ไผ่ และหมู่ 7 ตําบลหินตั้ง มีอาชีพทอผ้าขาวม้าและแปรรูปเป็นของใช้ ภายใต้ผู้นำอย่างพระครูอุดมกิจจานุกูล ทำให้เกิดการพัฒนาอาชีพและการสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน

เครื่องจักสานไม้ไผ่ตกแต่งผ้าขาวม้าเป็นของขึ้นชื่อของชุมชนวัฒนธรรมไทยเวียงคีรีวัน เป็นการบูรณาการวิถีชีวิตของชาวไทยเวียงเพื่อสรรค์สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ สำหรับกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงไซมงคลที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นเครื่องรางนำโชคก็มีการนำมาผลิตเป็นของฝากด้วยเช่นกัน

นอกจากเครื่องจักสานแล้วก็ยังมีการจัดทำของฝากของที่ระลึกที่เป็นอาหารถิ่นด้วยเช่นกัน เช่น กระยาสารทแม่พัน ข้าวยาคู และไข่เค็มดินสอพองที่เป็นสูตรที่สืบทอดกันมาในชุมชน เป็นต้น

  • ศิลปะการแสดง โดยมีการร้องรำทำเพลงแบบลาวสืบกันมา เช่น การร้องเพลงลำล่องรำเต้ยอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวลาวเวียง การเล่นพินเล่นแคนและดนตรีพื้นบ้านต่าง ๆ เป็นต้น
  • การแห่เทียนเข้าพรรษา ชาวบ้านชาวลาวเวียงนั้นจะแห่เทียนพรรษารอบเขากะเหรี่ยง โดยการแห่เทียนพรรษาของชาวบ้านลาวเวียงนั้นอาจเรียกได้ว่ามีขบวนแห่ที่มากที่สุดในนครนายกเลยทีเดียว
  • เทศกาลหุ่นไล่กาและงานเทศกาลผ้าฝ้าย ทั้งสองงานนี้เป็นงานที่สร้างกันขึ้นมาใหม่ เพื่อที่จะสืบสานวัฒนธรรมลาวเวียงในไทยต่อไป

กล่าวกันว่าเจ้าอาวาสเดิมของวัดเป็นพระชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมายังประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ส่วนเจ้าอาวาสที่รวมกลุ่มชาวลาวเวียงให้มาร่วมกันจัดตั้งชุมชนวัฒนธรรมไทยเวียงคีรีวันและฟื้นฟูอัตลักษณ์ของลาวเวียงนั้น คือ พระครูอุดมกิจจานุกูล

ทุนวัฒนธรรม

  • วัดคีรีวัน เป็นวัดเก่าแก่ที่ชาวบ้านให้ความนับถือ มีพระแก้วมรกตองค์จำลองที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารบนยอดเขาของวัด ซึ่งเป็นพระแก้วองค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ศิลปะและสถาปัตยกรรมของวัดเป็นแบบขอม ปราสาทขอมองค์ใหญ่เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโพธิ์ 1,000 ปี พระพุทธรูปปางนาคปรกแกะจากไม้ต้นโพธิ์ รวมทั้งปูนปั้นเหล่าเทพยดาต่าง ๆ ทั้งแบบจีนและพราหมณ์
  • การแต่งกายและผ้าทอ มีอัตลักษณ์การแต่งกายและผ้าทอที่โดดเด่นคือการต่อตีนซิ่นด้วยฝ้ายหรือไหม โดยชาวบ้านจะทอด้วยมือ ลักษณะของผ้าจะเป็นผ้าพื้นสีแดง ตกแต่งด้วยลวดลายต่าง ๆ จากด้าย 5 สี เช่น ลายบัวคว่ำบัวหงาย ครองขอ ครองกาบ ช่อตุ้ม ลายฟันปลา ลายพญานาค เป็นต้น โดยที่ลวดลายจะมีความพลิ้วเบาบาง
  • หัตถกรรมจักสานจากไม้ไผ่ เป็นการนำไผ่ที่มีอยู่โดยรอบอยู่แล้วมาทำเป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ ปัจจุบันได้มีการนำจักสานไม้ไผ่เหล่านั้นมาประยุกต์ให้มีความทันสมัยและใช้งานได้ง่ายมากขึ้น ร่วมถึงมีการตกแต่งให้สวยงามน่าใช้ เป็นของขึ้นชื่อของชุมชนวัฒนธรรมไทยเวียงคีรีวัน
  • อาหาร ชาวบ้านมีอาหารที่สืบทอดต่อ ๆ กันมาอย่างข้าวยาคู และไข่เค็มดินสอพอง โดยข้าวยาคูจะมีต้นข้าวอ่อนผสมข้าวหอมมะลิเป็นส่วนผสมสำคัญ ผ่านการโม่มือแบบโบราณ ที่ทำให้ตัวขนมมีความเขียวข้น โรยหน้าด้วยข้าวตอกงาดำงาขาว ส่วนไข่เค็มดินสอพองนั้นเป็นสูตรที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ โดยมีการคัดสรรไข่เป็ดคุณภาพจากชุมชน คลุกเคล้าผสมกับสมุนไพรและใบเตย ทำให้ไข่แดงมีสีสดใสรสกลมกล่อมและมีกลิ่นหอม สามารถนำมาปรุงอาหารได้ทั้งทอดและต้ม

ในชุมชนมีการใช้ภาษาถิ่นของชาวลาวเวียง


การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาตามกระแสโลก จากความพยายามในการรวมกลุ่มชาวบ้านและจัดตั้งชุมชนวัฒนธรรมไทยเวียงคีรีวันขึ้นมา ทำให้ในปัจจุบันชาวลาวเวียงในพื้นที่สามารถนำเอกลักษณ์ของตัวเองมาเป็นจุดขายให้กับชุมชนได้ ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แม้ว่าจะใช้วิธีการดั้งเดิมในการผลิต แต่ผลิตภัณฑ์ที่ได้ออกมานั้นก็มีความร่วมสมัยมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจากที่แต่ก่อนชุมชนเป็นเพียงแหล่งที่อยู่มาสู่การกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวนี้ก็สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับความคิดและวิถีชีวิตของชาวบ้านด้วยเช่นกัน แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นแต่ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ชาวบ้านได้ประโยชน์มากทีเดียว

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

โสรฌา  เครือเมฆ และชุติมา สังคะหะ. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากเครื่องจักสานไม้ไผ่ตกแต่งผ้าขาวม้าสู่พาณิชย์ ชุมชนวัฒนธรรมไทยเวียงคีรีวัน จังหวัดนครนายก. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธิศาสตร์ปริทรรศน์. 8(2), 49-63.

สมจิตร วัฒนวิเชียร, สมถวิล นามบุญศรี, จรีย์ กลิ่นมะลิ และสุมาลี นาคสุข. (2564). ชุมชนไทยเวียงวัดคีรีวัน. (ออนไลน์). สืบค้น 12 มกราคม 2567. เข้าถึงได้จาก https://issuu.com/yadalikhitluecha/

Google Map. (2567). พิกัดแผนที่วัดคีรีวัน. (ออนไลน์). สืบค้น 12 มกราคม 2567. เข้าถึงได้จาก https://www.google.com/maps

เทศบาลเมืองนครนายก โทร. 0-3731-1097