Advance search

แม่แหน, บ้านแหน

บ้านแม่ผาแหนเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ บางพื้นที่เหมาะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เช่น อ่างเก็บน้ำผาแหน พื้นที่เปิดโล่งมีแนวเขาเป็นฉากหลังที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งจะเห็นเป็นภูเขาหินที่มีหน้าตัดเหมือนหน้าผา บริเวณสันเขื่อนเหมาะแก่การถ่ายภาพบุคคลคู่กับวัตถุท้องฟ้า ประกอบกับระยะทางไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก การเดินทางจึงสะดวกและปลอดภัย จนนักถ่ายภาพทางดาราศาสตร์กล่าวว่า สถานที่แห่งนี้เหมาะเป็นสนามซ้อมมือของพรานดาราที่เพิ่งเริ่มฝึกถ่ายดาว

หมู่ที่ 6
บ้านผาแหน
ออนใต้
สันกำแพง
เชียงใหม่
วิสาหกิจชุมชน โทร. 08-9953-5684, เทศบาลออนใต้ โทร. 0-5303-6043
ตรีรัก ฤทธิ์นรกานต์
16 ส.ค. 2021
พิมพ์ใจ อุ่นบ้าน
5 พ.ค. 2023
พิมพ์ใจ อุ่นบ้าน
19 เม.ย. 2023
บ้านแม่ผาแหน
แม่แหน, บ้านแหน

ประวัติศาสตร์อำเภอสันกำแพง โดยประมาณ 700 ปี ที่ผ่านมา เจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้ให้หมื่นดาบเรือนมาตั้งหัวเมืองใหญ่ทางทิศใต้ จึงได้มาตั้งเมืองสันกำแพงซึ่งปัจจุบันเป็นพื้นที่บ้านป่าตึง หมู่ 7 หมื่นดาบเรือนจึงได้ถือจอบเพื่อมาขุดล้อมพื้นที่ในการสร้างเมืองสันกำแพง ชาวบ้านมีการสร้างบ้านเรือนและศาสนสถานที่สำคัญ เช่น วัดเชียงแสน วัดป่าตึง แต่เนื่องด้วยในช่วงน้ำหลาก กระแสน้ำมักพัดบ้านเรือนชาวบ้านทำให้เกิดความเสียหาย จึงได้ย้ายเมืองสันกำแพงไปยังตัวเมืองในปัจจุบัน ทำให้พื้นที่เดิมเป็นพื้นที่ร้าง ก่อนที่จะมีการตั้งถิ่นฐานใหม่ขึ้นมา เมื่อประมาณ 300 ปีที่ผ่านมา พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำไหลผ่าน คือ น้ำแม่ผาแหน ซึ่งมีแหล่งต้นน้ำมาจากหน้าผาที่มีต้นแหนจำนวนมาก และไหลผ่านหมู่บ้าน จึงเรียกว่า "บ้านแม่ผาแหน"


ชุมชนชนบท

บ้านแม่ผาแหนเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ บางพื้นที่เหมาะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เช่น อ่างเก็บน้ำผาแหน พื้นที่เปิดโล่งมีแนวเขาเป็นฉากหลังที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งจะเห็นเป็นภูเขาหินที่มีหน้าตัดเหมือนหน้าผา บริเวณสันเขื่อนเหมาะแก่การถ่ายภาพบุคคลคู่กับวัตถุท้องฟ้า ประกอบกับระยะทางไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก การเดินทางจึงสะดวกและปลอดภัย จนนักถ่ายภาพทางดาราศาสตร์กล่าวว่า สถานที่แห่งนี้เหมาะเป็นสนามซ้อมมือของพรานดาราที่เพิ่งเริ่มฝึกถ่ายดาว

บ้านผาแหน
หมู่ที่ 6
ออนใต้
สันกำแพง
เชียงใหม่
50130
18.72892
99.20789
เทศบาลตำบลออนใต้

บ้านแม่ผาแหน ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชนในแต่ละด้าน ดังนี้

  • ด้านการเมืองการปกครอง แรกเริ่มเป็นการปกครองโดยมีท่านขุนพินิจ พิทักษ์คราม เป็นผู้นำตำบลและในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครอง โดยผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำหมู่บ้านจนมาถึงปัจจุบัน และผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบันคือ นายสุรินทร์ อินตายวง
  • ด้านเศรษฐกิจ ในสมัยพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มที่มีแม่น้ำไหลผ่าน มีความอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านจึงประกอบอาชีพเกษตรกร ได้แก่ ทำนาเป็นส่วนใหญ่ และต่อมาในปี พ.ศ. 2500 กระทรวงการคลังได้ริเริ่มนำยาสูบมาให้ชาวบ้านปลูก จึงเริ่มมีอาชีพปลูกยาสูบและโรงบ่มใบยาสูบ ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้เริ่มทำฟาร์มปศุสัตว์ เช่น ฟาร์มวัวนม ฟาร์มไก่ ฟาร์มหมู และยังคงมีการประกอบอาชีพเหล่านี้มาจนถึงปัจจุบัน แต่จำนวนผู้ประกอบอาชีพลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยที่มีการประกอบอาชีพข้าราชการ และโยกย้ายไปทำงานในตัวเมืองมากขึ้น
  • ด้านสาธารณูปโภค สมัยก่อนนั้นยังไม่มีไฟฟ้าและระบบน้ำประปา ชาวบ้านจะใช้เทียนหรือตะเกียงแทนไฟฟ้า ต่อมาในประมาณปี พ.ศ. 2524 หมู่บ้านเริ่มมีไฟฟ้าใช้ สำหรับน้ำในการอุปโภค บริโภค สมัยก่อนนั้นชาวบ้านใช้น้ำจากน้ำบ่อ แหล่งน้ำธรรมชาติ ลำน้ำ ลำห้วย 3 สาย คือ น้ำแม่ผาแหน น้ำแม่ออน และน้ำแม่ลาน ที่ไหลผ่านหมู่บ้าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 เริ่มมีการใช้ระบบน้ำประปาแทนการใช้น้ำบ่อ
  • ด้านสาธารณสุข สมัยก่อนหมู่บ้านไม่มีคลินิก เมื่อเจ็บป่วยจะรักษาตัวเองหรือรักษากับหมอชาวบ้าน หากมีการป่วยหนักจะไปรักษาที่โรงพยาบาล และต่อมาก็ในประมาณปี พ.ศ. 2515 มีการก่อตั้งระบบสาธารณสุขหมู่บ้าน เรียกว่า “สถานีอนามัย” ในปี พ.ศ. 2553 เปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลในปี ในปี พ.ศ. 2561 เป็น รพ.สต. ติดดาว
  • ด้านศาสนา แรกเริ่มที่มีการมาตั้งถิ่นฐาน ณ บ้านแม่ผาแหน ชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างวัดขึ้นมา ซึ่งเป็นวัดแรกของตำบลออนใต้และมีครูบาง่วง เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ในอดีตชาวบ้านมักเรียกว่า วัดหลวง เนื่องจากเป็นวัดแรกของตำบล ชาวบ้านจึงมีความเลื่อมใสและศรัทธา เป็นศูนย์รวมจิตใจของตำบล มักใช้ในการทำกิจกรรมสำคัญทางศาสนา และยังมีลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงหลายรูป เช่น ครูบาปินตา เป็นต้น หลังจากนั้นไม่นานครูบาปินตาได้แยกไปสร้างวัดป่าตึง และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าตึง ซึ่งปัจจุบันวัดป่าตึงเป็นวัดที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ และยังมีคพระเกจิชื่อดังอย่าง “หลวงปู่หล้า ตาทิพย์” เป็นลูกศิษย์ของครูบาปินตา ปัจจุบันพระครูสันติธาดา สนตกาโย ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแม่ผาแหน ปัจจุบันมีพระภิกษุ 5 รูป สามเณร 5 รูป วัดแม่ผาแหนได้รับการแต่งตั้งเป็นวัดในปี พ.ศ 2384 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในปี พ.ศ. 2480 แม้ว่าปัจจุบันวัดแม่ผาแหนนั้นไม่ได้เป็นวัดที่มีชื่อเสียงแล้ว แต่ยังคงเป็นวัดที่เป็นศาสนสถานที่สำคัญของชาวบ้านแม่ผาแหน และตำบลออนใต้ และอีกหนึ่งสถานที่สำคัญของหมู่บ้านคือ ช้างเผือก “พลายภูบาลรัตน์” ถือกำเนิดในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2508 จากแม่ช้างชื่อ พังคำป้อ และพลายบุญชู ณ บ้านพ่อแก้ว ปัญญาคง บ้านแม่ผาแหน โดยก่อนคลอดเกิดศุภนิมิต มีพายุฝนฟ้าคะนองตลอดคืน พลายภูบาลรัตน์ มีลักษณะตรงกับคชลักษณ์คู่กับพระบารมีของพระเจ้าแผ่นดิน และเป็นลักษณะของช้างเผือก ทางสำนักพระราชวังจึงได้ตรวจสอบดูลักษณะของพลายภูบาลรัตน์ และได้บอกพ่อแก้วว่าเป็นช้างคู่พระบารมีที่ 2 ของพระบาทพระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พ่อแก้วจึงได้น้อมถวายช้างเผือก แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่อยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2509 ณ พลับพลาที่ประดับโรงบ่มใบยาแม่ผาแหน ทางราชวังได้ตั้งชื่อให้กับช้างพลายภูบาลรัตน์ ว่า “พระเศวตวรรัตนกรี นพีสีสิริพิงคนัทย์ เอกาทัศน์มงคลสุลักษณ์ ศุภนัขเนตราทิโควรรณ พิษณุพันธุ์ อัครคชาธาร อัฏฐกุลสารดามพหัสดิน ปรมินทรมหาราชพาหน สยามประชาชนสวัสดิคุณเดชอดุลยเลิศฟ้า”

บ้านแม่ผาแหน เป็นหมู่บ้านในตำบลออนใต้ ในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอสันกำแพงระยะห่างจากตัวอำเภอประมาณ 10 กิโลเมตร ระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 5 กิโลเมตร พื้นที่ทั้งหมดของหมู่บ้านมีประมาณ 300 ไร่

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านริมออน หมู่ที่ 3
  • ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านป่าตึง หมู่ที่ 7
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านโห้ง หมู่ที่ 2
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านป่าห้า หมู่ที่ 9

ลักษณะทางภูมิประเทศ เป็นที่ราบลุ่มและที่ราบเชิงเขา อยู่ในชั้นความสูงประมาณ 340 เมตร ลาดเอียงมาทางทิศตะวันตก มีน้ำแม่ออนไหลผ่าน ซึ่งเป็นสายหลักสำคัญของตำบล มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ลำน้ำ ลำห้วย 3 สาย แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น อ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำแม่ผาแหน เหมาะแก่การทำการเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ มีสภาพภูมิอากาศเย็นสบายในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ และมีอากาศร้อนในช่วงเดือนมีนาคม ถึงเดือนมิถุนายน

บ้านแม่ผาแหนมีจำนวนหลังคาเรือน 246 หลังคาเรือน มีประชากรทั้งหมด 523 คน แยกเป็นเพศชาย จำนวน 262 คน คิดเป็นร้อยละ 50.09 เพศหญิง จำนวน 261 คน คิดเป็นร้อยละ 49.90 อัตราส่วนชายต่อหญิง เท่ากับ 1 : 1 ประชากรแรกเกิด ถึงอายุ 4 ปี จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 4.97 กลุ่มเด็กวัยเรียน (อายุ 5-14 ปี) จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 4.97 กลุ่มวัยรุ่น (อายุ 15-19 ปี) จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 3.82 กลุ่มวัยทำงาน (อายุ 20-59 ปี) จำนวน 252 คน คิดเป็นร้อยละ 48.18  ประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 178 คน ร้อยละ 34.03 (จัดเป็นระดับสังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) คือมีประชากรสูงอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20) อัตราส่วนการพึ่งพิง 1 : 1 (ประชากรวัยแรงงาน บ้านออนใต้ จำนวน 272 คน ต้องรับภาวะดูแลเด็กและผู้สูงอายุ จำนวน 251 คน)

โครงสร้างองค์กรชุมชนของหมู่บ้านแม่ผาแหน ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ แบ่งเป็น 2 ประเภท

1. องค์กรที่เป็นทางการ

1.1 กลุ่มผู้นำชุมชน   มีหน้าที่เป็นตัวแทนของหมู่บ้าน รับฟังปัญหาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอีกทั้งยังมีการส่งเสริมการเป็นอยู่ของประชาชนในหมู่บ้าน ดูแลความสงบ

นายสุรินทร์   อินตายวง      ตำแหน่ง     ผู้ใหญ่บ้าน
นายสายัญ   แก้วสว่าง      ตำแหน่ง     ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายหิรัญ   จันทร์ต๊ะตา      ตำแหน่ง     ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

1.2 กลุ่มคณะกรรมการหมู่บ้าน  เป็นกลุ่มที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้นำหมู่บ้านและสมาชิกในหมู่บ้านโดยเลือกบุคคลที่มีสภาวะของผู้นำมีจิตอาสาเข้ากับประชาชนได้ง่าย และสามารถช่วยเหลือสมาชิกคนในชุมชนและช่วยเหลืองานในหมู่บ้านได้

นายสุรินทร์   อินตายวง      ตำแหน่ง      ประธาน
นายสายัญ   แก้วสว่าง      ตำแหน่ง      รองประธาน
นายหิรัญ   จันทร์ต๊ะตา      ตำแหน่ง      รองประธาน
นายภาคภูมิ   ปัญญาคง      ตำแหน่ง      เลขานุการ
นายสมศักดิ์   จันต๊ะตา      ตำแหน่ง      ผู้ทรงคุณวุฒิ
ร้อยตรีกิตติศักดิ์   ปัญญาคง      ตำแหน่ง      ผู้ทรงคุณวุฒิ
นายทองคำ   อินตายวง      ตำแหน่ง      ประชาสัมพันธ์
นายสนิท   โมลากุล      ตำแหน่ง      กรรมการ
นายเกรียงไกร   จำปาวงศ์      ตำแหน่ง      กรรมการ
นายประพันธ์   เมืองตา      ตำแหน่ง      กรรมการ
นายจำรัส   วงษา      ตำแหน่ง      กรรมการ
นายสมบัติ   แปงหลวง      ตำแหน่ง      กรรมการ
นายสังตี   ดาบสมเด็จ      ตำแหน่ง      กรรมการ
นายอินสน   จินาคำ      ตำแหน่ง      กรรมการ
นายเอกสิทธ์   โปธิตา      ตำแหน่ง      กรรมการ
นายนิวัฒน์   สามปิมปา      ตำแหน่ง      กรรมการ
นายจำนง   ทิพยอม      ตำแหน่ง      กรรมการ
นายมังกร   มาลาคำ      ตำแหน่ง      กรรมการ
นายประพันธ์   วงศ์คำปัน      ตำแหน่ง      กรรมการ
นายบุญเชิด   อินตายวง      ตำแหน่ง      กรรมการ
นายดุสิต   สุกันโท      ตำแหน่ง      กรรมการ
นายวนิตร   ภีระตา      ตำแหน่ง      กรรมการ
นายธนากร   ปาลี      ตำแหน่ง      กรรมการ

1.3 กลุ่มสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)  เป็นองค์กรที่เกิดจากความสมัครใจของสมาชิกกลุ่ม โดยได้รับการแต่งตั้งโดยหน่วยงานราชการ คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผาแหน แต่ละคนจะมีหน้าที่และเขตรับผิดชอบของตนเอง ตามที่ได้รับผิดชอบโดยอสม. 1 คนดูแล 11 หลังคาเรือน

นายเทียบ   ปัญญาจันทร์      ตำแหน่ง     ประธานกลุ่มและหัวหน้าอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนกลุ่มดูแลโรคไข้เลือดออก
นางเอมอ   อินตายวง      ตำแหน่ง     รองประธานกลุ่มและหัวหน้าอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนกลุ่มดูแลโรคจิตเวช
นางจันทร์แสง   วงศ์คำปัน      ตำแหน่ง     หัวหน้าอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนกลุ่มดูแลผู้สูงอายุ
นายสัมพันธ์   ใจติขะ      ตำแหน่ง     หัวหน้าอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนกลุ่มดูแลโรควัณโรค
นางปรานี   จีนาคำ      ตำแหน่ง     หัวหน้าอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนกลุ่มดูแลโรคมะเร็ง
นางเพียรทอง   ดาบสมเด็จ      ตำแหน่ง     หัวหน้าอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนกลุ่มดูแลแม่และเด็ก
นายจำรัส  อุปละ     ตำแหน่ง     หัวหน้าอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนกลุ่มดูแลโรคเบาหวาน และโรคความดัน

1.4 กลุ่มกองทุนเงินล้าน

นายอรุน   โปธิตา      ตำแหน่ง     ประธานกองทุนหมู่บ้าน
นายสุรินทร์   อินตายวง      ตำแหน่ง     รองประธานกองทุนหมู่บ้าน
นางเอมอร   อินตายวง      ตำแหน่ง     เหรัญญิกกองทุนหมู่บ้าน

1.5  กลุ่มผู้สูงอายุ  เป็นชมรมที่มีผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปอยู่ในชมรม มีหน้าที่ในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประเพณีของหมู่บ้านกิจกรรมงานฝีมือต่างๆที่เป็นธรรมเนียมสืบต่อกันมาทำให้เกิดอาชีพในกลุ่มผู้สูงอายุและยังมีหน้าที่เป็นผู้นัดหมายงานกิจกรรมทางวัฒนธรรมอีกด้วย

นายสมจิตร   กันทะพงศ์      ตำแหน่ง     ประธานกลุ่มผู้สูงอายุ
นายวิเชียร   สามปิมปา      ตำแหน่ง     รองประธานกลุ่มผู้สูงอายุ

1.6 กลุ่มเกษตรอินทรีย์  เป็นกลุ่มในการทำเกษตรแบบไม่ใช้สารเคมี มีการแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ธนาคารปุ๋ยเป็นที่ทำปุ๋ยและกักเก็บปุ๋ยจากธรรมชาติ ธนาคารน้ำเป็นการแบ่งจัดสรรพื้นที่การใช้น้ำในการทำเกษตร ธนาคารเมล็ดพันธ์เป็นที่เก็บเมล็ดพืชผักที่ใช้ในการปลูก และธนาคารเพาะพันธ์กล้าไม้เป็นที่ในการเพาะกล้าไม้ก่อนนำไปปลูกลงดิน

นายอานนท์   มโนวงศ์      ตำแหน่ง     ประธานกลุ่มเกษตรอินทรีย์
นายจำรัส   อุประ      ตำแหน่ง     รองประธานกลุ่มเกษตรอินทรีย์
นายจำรัส   วงษา      ตำแหน่ง     รองประธานกลุ่มเกษตรอินทรีย์

1.7  กลุ่มสตรีแม่บ้าน  เป็นกลุ่มแม่บ้านมีหน้าที่ในการดูแลและเป็นแม่งานในกิจกรรมต่าง ๆในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้าน เช่น การทำอาหารในงานมงคลหรืออวมงคล เป็นช่างฟ้อนเป็นต้น และยังมีการปล่อยเงินกู้ให้แก่สมาชิกในกลุ่มคนละ 5,000 – 10,000 บาท

นางณัฐพร   พรหมคำแดง      ตำแหน่ง     ประธานกลุ่มสตรีแม่บ้าน
นางผ่องพรรณ   ปัญญาคง      ตำแหน่ง     รองประธานกลุ่มสตรีแม่บ้าน

1.8 กลุ่มอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อพปร.)  มีหน้าที่ในการดูแลความสงบในหมู่บ้านหากเกิดมีเหตุร้ายในหมู่บ้าน ดูแลความเรียบร้อยในกิจกรรมต่างๆในหมู่บ้านอีกทั้งยังมีหน้าที่ควบคุมการจราจรภายในหมู่บ้าน

นายธนากร   ปาลี      ตำแหน่ง     ประธานกลุ่มอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

2. องค์กรที่ไม่เป็นทางการ

2.1 กลุ่มการประปาหมู่บ้าน  มีหน้าที่ในการดูแลน้ำประปา เก็บค่าน้ำในแต่ละครัวเรือนตามหน่วยโดยคิดค่าน้ำหน่วยละ 5 บาท

นางอุไร   อาจรอด      ตำแหน่ง     เก็บค่าน้ำประปา
นายจำรัส   วงศ์ษา      ตำแหน่ง     เก็บค่าน้ำประปา

2.2 กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์  มีหน้าที่ในการเก็บค่าสมาชิกฌาปนกิจในหมู่บ้านโดยจะมีการเก็บบ้านละ 20 บาทต่อ 1 งานศพ

นางลออ   โปธิตา      ตำแหน่ง     เก็บค่าฌาปนกิจสงเคราะห์

กิจกรรมด้านเศรษฐกิจ

  • รับจ้างตามฤดูกาล เช่น ช่วงเดือน สิงหาคมเป็นช่วงเก็บผลผลิตของลำไย ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็รับจ้างเก็บลำไย เป็นต้น
  • เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงจากการประกอบอาชีพเกษตรกรมาค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว มากขึ้น เช่น เปิดร้านค้าเกษตรอินทรีย์ มินิมาร์ท ร้านขายกับข้าว ร้านขายน้ำหวาน ร้านขายของชำ เป็นต้น 

กิจกรรมด้านสาธารณสุข

ประชาชนทุกคนหากมีอาการไม่สบาย หรือเจ็บป่วยสามารถมาใช้บริการได้ที่ รพสต.บ้านแม่ผาแหน ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 น. – 16.00 น. สำหรับวันเสาร์ เวลา 09.00 น. – 12.00 น. และหยุดในวันหยุดนักขัตฤกษ์หรือเทศกาลต่างๆ

กิจกรรมด้านสังคมและวัฒนธรรม

  • ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ เป็นการทำพิธีสังเวยผีหรือเทวดาอารักษ์ ผู้ที่ปกปักรักษาป่าไม้อันเป็นต้นน้ำลำธาร เพื่อให้มีน้ำใช้ในการทำเกษตรกรรม โดยจะจัดทำพิธีบริเวณต้นน้ำแม่น้ำแม่ผาแหน โดยจะมีหัวหน้าแต่ละเหมืองที่ทำอาชีพเกษตรกร ไปร่วมกันจัดเลี้ยงอาหารเนื้อสัตว์ใหญ่ ผลไม้ต่างๆ และเครื่องดื่ม มาบูชาแก่ผู้ปกปักรักษาต้นน้ำ และทำพิธีสวด โดยจะมีผู้นำสวดเป็นพระอาจารย์ที่มีคาถา พิธีนี้ทำขึ้นเพื่อขอช่วยให้มีน้ำใช้ตลอดปี และให้ผลผลิตทางเกษตรออกมาดี
  • พิธีเปลี่ยนผ้าจีวรครูบาหล้าตาทิพย์ เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกวันที่ 21 กันยายน ของทุกปีที่บริเวณวัดป่าตึง ชาวบ้านจะระดมเงินทุน มาร่วมกันทำบุญ เปลี่ยนผ้าจีวรให้แก่ครูบาหล้าตาทิพย์โดยจะมี การสวดมนต์ ฟังธรรม และมีการมอบทุนการศึกษาให้แก่เด็ก นักเรียน นักศึกษาที่เรียนดี ขาดทุนทรัพย์ และมีการมอบเงินทุนให้แก่โรงพยาบาล
  • ประเพณีตานก๋วยสลาก เป็นการถวายเครื่องไทยทานให้แก่พระสงฆ์ซึ่งเป็นที่นิยมของเช้าเหนือ โดยทั่วไปจะเริ่มใน วันเพ็ญเดือน 12 เหนือ (เดือนกันยายน) ถึงแรม 1 ค่ำ เดือนเกี๋ยงดับ (พฤศจิกายน) โดยแต่ละหมู่บ้านจะมีการจับฉลากว่า วัดไหนจะได้เริ่มการถวายทานสลากภัตก่อน เมื่อได้ข้อมัติแล้ว ในงานชาวบ้านจะนำก๋วยสลาก ซึ่งภายในประกอบด้วยอาหาร ผลไม้ต่างๆ สิ่งของเครื่องใช้ เป็นต้น โดยจะมาร่วมกันทำบุญที่วัดประจำแต่ละหมู่บ้าน และนิมนต์พระสงฆ์แต่ละวัดมาเข้าร่วม และจะเวียนกันไปร่วมพิธีของแต่ละวัด

1. นายสุรินทร์ อินตายวง

  • ตำแหน่ง : ผู้ใหญ่บ้านแม่ผาแหน หมู่ 6 ตำบล ออนใต้ อำเภอ สันกำแพง จังหวัด เชียงใหม่ สังกัดกรมการปกครอง
  • การศึกษา : จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ สาขาเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
  • ผลงาน : ปรับปรุงคุณภาพน้ำของหมู่บ้านแก้ไขปัญหาภัยแล้ง พัฒนาสิ่งแวดล้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ของหมู่บ้านและอนุสรณ์สถาน ดำเนินการของกองทุนสวัสดิการชุมชน เป็นกองทุนที่มีสมาชิกทำงานให้บริการ สมาชิกในชุมชนตามที่สมาชิกตกลงร่วมกัน
  • หลักในการใช้ชีวิต : ชอบทำงานบริการ ชอบทำเพื่อส่วนรวมเป็นคนชอบวางแผนก่อนปฎิบัติงาน มีวิสัยทัศน์ที่มุ่งตอบสนองความต้องการของประชาชนปรับตัวให้ทันสมัยพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง คำนึงถึงผลลัพธ์มากกว่าวิธีการ

ทุนวัฒนธรรมและประเพณี

ลักษณะชุมชนเป็นชุมชนชนบท ประชากรที่อาศัยเป็นคนไทยพื้นเมือง อยู่ร่วมกันเป็นเครือญาติ โดยมีประเพณีที่ทำร่วมกันในชุมชน คือ ประเพณีปีใหม่เมือง พิธีเสาหลักเมือง บวงสรวงช้างเผือกพลายภูบาลรัตน์ประเพณีทำบุญตามวันสำคัญทางศาสนา ดังนี้

กิจกรรมด้านสังคมและวัฒนธรรมรายละเอียดกิจกรรม
1. ประเพณีวันขึ้นปีใหม่

วันขึ้นปีใหม่ คือวันแรม  1 ค่ำ เดือนอ้าย ซึ่งตรงกับเดือนมกราคม สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา โดยเช้าวันที่ 1 มกราคมของทุกปี ประชาชนจะนำข้าวสาร อาหารแห้ง ดอกไม้ ธูปเทียน และข้าวตอกมาทำบุญ สวดมนต์เพื่อรับพร โดยจะจัดทำบุญที่วัดบ้านแม่ผาแหน

2. พิธีบวงสรวงช้างเผือกพลายภูบาลรัตน์               เป็นพิธีที่จัดทำขึ้นเพื่อระลึกถึงช้างเผือกพลายภูบาลรัตน์ ช้างเผือกเชือกที่ 2 ของรัชกาลที่ 9 ในทุกวันที่ 9 มกราคม ของทุกปี โดยชาวบ้านจะทำพิธีด้วยการนำอาหาร และผลไม้ต่าง ๆ มารวมกัน เพื่อทำพิธี
3. กิจกรรมวันเด็กเป็นกิจกรรมที่จัดในวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี โดยจะจัดงานที่เทศบาลตำบลออนใต้ โดยมีกิจกรรมให้เด็ก ๆ เล่นเกม แสดงความสามารถ และมีการมอบรางวัลทุนการศึกษาให้แก่เด็ก ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากเจ้าของธุรกิจ หรือหน่วยงานต่าง ๆ
4. วันมาฆบูชาเป็นกิจกรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ในวันมาฆบูชาทุก ๆ ปี ประชาชนจะร่วมกันทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ฟังเทศน์-ฟังธรรม มีการบำเพ็ญประโยชน์สาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ทำวัตร สวดมนต์ นั่งสมาธิภาวนา และเวียนเทียน
5. ประเพณีสงกรานต์ในวันที่ 13 เมษายน เป็นวันสังขารล่อง ชาวบ้านจะจุดประทัด ทำให้เกิดเสียงดัง เพื่อไล่สิ่งไม่ดีต่าง ๆ จะทำความสะอาดบ้านและขับไล่สิ่งไม่ดีจากปีเก่าออกไป วันที่ 14 เมษายน เป็นวันเนา หรือวันเน่า  โดยชาวบ้านมีความเชื่อว่า ห้ามทำสิ่งไม่เป็นมงคล เช่น ห้ามทะเลาะกัน ห้ามด่ากัน โดยวันเนาจะมีกิจกรรมคือ ช่วยกันขนทรายเข้าวัด และวันที่ 15 เมษายน เป็นวันพญาวัน จะมีการทำบุญให้ญาติพี่น้องที่ล่วงลับ พร้อมกับดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ เพื่อขอพรให้เป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง และครอบครัว นอกจากนี้ยังมีการสรงน้ำพระพุทธรูปและองค์พระธาตุด้วย
6. ประเพณีสรงน้ำพระธาตุ                                                        เป็นประเพณีที่จะจัดในช่วงสงกรานต์ โดยจะมีการกราบไหว้ สักการะบูชา สรงน้ำพระธาตุ โดยจะต้องไม่สวมหมวกและรองเท้า โดยห้ามผู้หญิงเข้าไปใกล้ในบริเวณลานเจดีย์ โดยน้ำที่ใช้สรงน้ำพระธาตุจะประกอบด้วย น้ำขมิ้นส้มป่อย เป็นเครื่องสักการะบูชา 
7. วันวิสาขบูชาเป็นกิจกรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นการบูชาในวันเพ็ญ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ในวันวิสาขบูชาของทุกปีประชาชนจะร่วมกันทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ฟังเทศน์-ฟังธรรม มีการบำเพ็ญประโยชน์สาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ทำวัตร สวดมนต์ นั่งสมาธิภาวนา และเวียนเทียน
8. พิธีบวงสรวงเสื้อบ้านจะจัดทำในสถานที่ศักดิ์ของหมู่บ้าน บริเวณเสาร์หลักเมืองของหมู่บ้าน โดยที่ประชาชนจะนำเอาอาหาร และเครื่องดื่มมาถวายร่วมกัน โดยมีผู้เฒ่าผู้แก่ประจำหมู่บ้านเป็นผู้นำพิธี พิธีนี้จัดขึ้นเพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านอยู่อย่างสงบสุข
9. พิธีฟ้อนเชียงแสน บวงสรวงพ่อหมื่นดาบเรือนเป็นพิธีที่มีมานาน จัดทำเพื่อรำลึกถึงพ่อหมื่นดาบเรือนที่มาสร้างเมืองบริเวณออนใต้ พิธีจะจัดในเดือนช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปีจะทำพิธีที่วัดเชียงแสน โดยจะมีการถวายอาหารและผลไม้ รวมถึงเครื่องดื่มต่าง ๆ และมีการฟ้อนขันดอกเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ประชาชนตำบลออนใต้
10. ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำเป็นการทำพิธีสังเวยผีหรือเทวดาอารักษ์ ผู้ที่ปกปักรักษาป่าไม้อันเป็นต้นน้ำลำธาร เพื่อให้มีน้ำใช้ในการทำเกษตรกรรม โดยจะจัดทำพิธีบริเวณต้นน้ำแม่น้ำแม่ผาแหน โดยจะมีหัวหน้าแต่ละเหมืองที่ทำอาชีพเกษตรกร ไปร่วมกันจัดเลี้ยงอาหารเนื้อสัตว์ใหญ่ ผลไม้ต่าง ๆ และเครื่องดื่ม มาบูชาแก่ผู้ปกปักรักษาต้นน้ำ และทำพิธีสวด โดยจะมีผู้นำสวดเป็นพระอาจารย์ที่มีคาถา พิธีนี้ทำขึ้นเพื่อขอช่วยให้มีน้ำใช้ตลอดปี และให้ผลผลิตทางเกษตรออกมาดี
11. ประเพณีวันเข้าพรรษาเป็นประเพณีอยู่ในช่วงฤดูฝน โดยจะให้พระสงฆ์จำวัด ไม่ไปยังสถานที่ต่าง ๆ เว้นแต่มีกิจที่จำเป็นจริง ๆ โดยก่อนเข้าพรรษา จะมีการหล่อเทียนร่วมกันพรรษา เพื่อที่จะนำไปถวายเทียนพรรษา และมีการถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัยต่าง ๆ และจะมีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า มีการถือศีล ละเว้นอบายมุขทั้งปวง ตลอดระยาเวลา 3 เดือน
12. วันอาสาฬหบูชาเป็นกิจกรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นการบูชาในวันเพ็ญ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ประชาชนจะร่วมกันทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ฟังเทศน์-ฟังธรรม มีการบำเพ็ญประโยชน์สาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ทำวัตร สวดมนต์ นั่งสมาธิภาวนา และเวียนเทียน
13. ประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่าเป็นพิธีที่ไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว โดยการนำเอาอาหาร เครื่องดื่มต่าง ๆ มาไหว้ เพื่อให้ช่วงคุ้มครองลูกหลาน ให้มีความเป็นอยู่ที่ดี อยู่อย่างสงบสุข โดยชาวบ้านมีความเชื่อกันว่า หากละเลย จากการคุ้มครองจะกลายเป็นผีร้าย ทำให้ครอบครัว สายเลือดสมาชิกนั้นไม่มีความสุข
14. พิธีเปลี่ยนผ้าจีวรครูบาหล้าตาทิพย์เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกวันที่ 21 กันยายน ของทุกปีที่บริเวณวัดป่าตึง ชาวบ้านจะระดมเงินทุน มาร่วมกันทำบุญ เปลี่ยนผ้าจีวรให้แก่ครูบาหล้าตาทิพย์โดยจะมี การสวดมนต์ฟังธรรม และมีการมอบทุนการศึกษาให้แก่เด็ก นักเรียน นักศึกษาที่เรียนดีขาดทุนทรัพย์ และมีการมอบเงินทุนให้แก่โรงพยาบาล
15. ประเพณีตานก๋วยสลากเป็นการถวายเครื่องไทยทานให้แก่พระสงฆ์ ซึ่งเป็นที่นิยมของเช้าเหนือ โดยทั่วไปจะเริ่มใน วันเพ็ญเดือน 12 เหนือ (เดือนกันยายน) ถึงแรม 1 ค่ำ เดือนเกี๋ยงดับ (พฤศจิกายน) โดยแต่ละหมู่บ้านจะมีการจับฉลากว่า วัดไหนจะได้เริ่มการถวายทานสลากภัตก่อน เมื่อได้ข้อสรุปแล้ว ในงานชาวบ้านจะนำก๋วยสลาก ซึ่งภายในประกอบด้วยอาหาร ผลไม้ต่าง ๆ สิ่งของเครื่องใช้ เป็นต้น โดยจะมาร่วมกันทำบุญที่วัดประจำแต่ละหมู่บ้าน และนิมนต์พระสงค์แต่ละวัดมาเข้าร่วม และจะเวียนกันไปร่วมพิธีของแต่ละวัด
16. ประเพณีออกพรรษาเป็นวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษาของพระสงฆ์ หรือออกจากการประจำในฤดูฝน ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกอีกอย่างว่า “วันมหาปวรณา” โดยจะมีการทำบุญตักบาตร ฟังธรรมเทศนา และมีการตักบาตรเทโวรหณะ ทำความสะอาดวัดบ้านเรือน เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
17. ประเพณีกฐินประจำปีเป็นประเพณีที่จะจัดขึ้นหลังจากออกพรรษาประมาณ 1 เดือน โดยที่แต่ละปีก็จะแตกต่างกันออกไป โดยในแต่ละปีจะมีเจ้าผู้มีจิตศรัทธาจองกฐินเป็นเจ้าภาพใหญ่ และมีประชาชนจะช่วยกันทำบุญ หากปีไหนไม่มีเจ้าภาพ ประชาชนทุกคนในหมู่บ้านก็จะช่วยกัน เรียกกว่า กฐินสามัคคี โดยจะนำเงินที่ได้เข้าวัด และจะมีกิจกรรมสวดมนต์ ฟังเทศน์ฟังธรรม มีงานมหรสพ ให้ครึกครื้นสนุกสนาน
18. ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่โบราณ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลอยเคราะห์ ขอขมาและระลึกถึงคุณแม่คงคา ประชาชนจะมีการจัดงานลอยกระทงที่ตามวัดประจำหมู่บ้าน ในตอนเย็นจะมีการจุดประทีปในแต่ละบ้าน ตามกำแพงต่าง ๆ รวมไปถึงวัด จะมีการทำซุ้มประตูป่า ในตอนกลางคืนจะมีการปล่อยโคมลอย จุดพลุ และจัดทำกระทงไปลอยที่น้ำแม่ออน ตามจุดที่เทศบาลมีการจัดสถานที่ให้
19. ประเพณีตานข้าวใหม่                                                                                     ในฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าว ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ประชาชนจะนำข้าวสาร อาหารแห้ง ร่วมกันทำบุญที่วัด ฟังเทศน์ฟังธรรมต่าง ๆ โดยข้าวสารหรือข้าวใหม่ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวที่ชาวบ้านนำมาทำบุญนั้น ทางวัดจะเก็บไว้ หากมีงานบุญ หรือพิธีต่าง ๆ จะนำข้าวสารที่ได้มาประกอบอาหารให้กับผู้ที่มาร่วมพิธี

ระบบแพทย์ชุมชน (Population sector)

ด้านการรับประทานอาหารของประชาชนในหมู่บ้านแม่ผาแหนมีรูปแบบการจัดหาอาหาร 3 รูปแบบ  ได้แก่

อาหารที่หาได้จากธรรมชาติ เช่น ผักสวนครัวผักริมรั้ว วัตถุดิบที่หาซื้อได้จากร้านค้าหรือตลาด เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ผักผลไม้ต่าง ๆ เครื่องปรุง อาหารทะเล เป็นต้น และอาหารพร้อมรับประทาน เช่น แกงถุง หมูปิ้ง ไก่ทอด และไส้อั่ว เป็นต้น โดยประชาชนส่วนใหญ่ภายในชุมชนมักจะประกอบอาหารรับประทานกันเองภายในครัวเรือน

ในด้านการดูแลตนเองเบื้องต้นส่วนใหญ่แต่ละบ้านมักจะมียาสามัญประจำบ้านไว้รับประทานในกรณีที่มีอาการเจ็บป่วยไม่รุนแรง เช่น มีไข้ต่ำ ๆ ปวดศีรษะเล็กน้อยจะรักษาโดยการกินยาแก้ปวด คือ Paracetamol หากมีอาการไอจะกินยาแก้ไอน้ำดำ เป็นต้น

ในส่วนของการใช้สมุนไพรประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับสมุนไพรพื้นบ้าน เนื่องจากกระแสเรื่องยาสมุนไพรบำรุงร่างกายต้านเชื้อไวรัสCovid 19 มี เช่น น้ำกระชาย และน้ำขิง เป็นต้น ในด้านการออกกำลังกายพบว่าประชากรบางส่วนในชุมชนออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานในช่วงเช้า โดยปั่นรอบหมู่บ้าน ในด้านของยาพื้นบ้านและยาชุดต่าง ๆ พบว่าปัจจุบันไม่มีประชาชนในหมู่บ้านใช้แล้ว

ประชาชนในหมู่บ้านพูดภาษาคำเมืองในการสื่อสาร ภาษาคำเมืองสำเนียงล้านนาตะวันตก ราชการไทยเรียก ภาษาถิ่นภาคพายัพ เป็นภาษาถิ่นของชาวไทยวนทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ซึ่งเป็นอาณาจักรล้านนาเดิม ได้แก่ เชียงใหม่ เป็นต้น คำเมืองมีไวยากรณ์คล้ายกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกันและไวยากรณ์ที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่เดิมใช้คู่กับอักษรธรรมล้านนาซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่ใช้อักษรมอญเป็นต้นแบบ รัฐไทยในช่วงรัชกาลที่ 7-9 ได้สั่งห้ามใช้อักษรธรรมล้านนาและคำเมืองในที่สาธารณะ และให้เผาตำราเรียนในภาษาล้านนา เพื่อทำลายรากเหง้าท้องถิ่นหลังผนวกล้านนาเข้ากับตน แต่คำเมืองยังคงได้รับการใช้งานในชีวิตประจำวันสืบมา


แรกเริ่มเป็นการปกครองโดยมีท่านขุนพินิจ พิทักษ์คราม เป็นผู้นำตำบลและในสมัยราชกาลที่ 5 มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครอง โดยผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำหมู่บ้านจนมาถึงปัจจุบัน และผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบันคือ นายสุรินทร์  อินตายวง 


ในสมัยที่พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำไหลผ่าน มีความอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านจึงประกอบอาชีพเกษตรกร ได้แก่ ทำนา เป็นส่วนใหญ่ และต่อมาในปี พ.ศ. 2500 กระทรวงการคลังได้ริเริ่มนำยาสูบมาให้ชาวบ้านปลูก จึงเริ่มมีอาชีพปลูกยาสูบ และโรงบ่มใบยาสูบ ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้เริ่มทำฟาร์มปศุสัตว์ เช่น ฟาร์มวัวนม ฟาร์มไก่ ฟาร์มหมู และยังคงมีการประกอบอาชีพเหล่านี้มาจนถึงปัจจุบัน แต่จำนวนผู้ประกอบอาชีพลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยที่มีการประกอบอาชีพข้าราชการ และโยกย้ายไปทำงานในตัวเมืองมากขึ้น


สมัยก่อนนั้นยังไม่มีไฟฟ้าและระบบน้ำประปา ชาวบ้านจะใช้เทียนหรือตะเกียงแทนไฟฟ้า ต่อมาในประมาณปี พ.ศ. 2524 หมู่บ้านเริ่มมีไฟฟ้าใช้ สำหรับน้ำในการอุปโภค บริโภค สมัยก่อนนั้นชาวบ้านใช้น้ำจากน้ำบ่อ แหล่งน้ำธรรมชาติ ลำน้ำ ลำห้วย 3 สาย คือ น้ำแม่ผาแหน น้ำแม่ออน และน้ำแม่ลาน ที่ไหลผ่านหมู่บ้าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 เริ่มมีการใช้ระบบน้ำประปาแทนการใช้น้ำบ่อ


สมัยก่อนหมู่บ้านไม่มีคลินิก เมื่อเจ็บป่วยจะรักษาตัวเองหรือรักษากับหมอชาวบ้าน หากมีการป่วยหนักจะไปรักษาที่โรงพยาบาล และต่อมาก็ในประมาณปี พ.ศ. 2515  มีการก่อตังระบบสาธารณสุขหมู่บ้าน เรียกว่า “สถานีอนามัย” ในปี พ.ศ. 2553 เปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลในปี ในปี พ.ศ. 2561 เป็น รพ.สต. ติดดาว

บ้านแม่ผาแหน เป็นหนึ่งหมู่บ้านในตำบลออนใต้ ซึ่งตำบลออนใต้ (ชุมชนออนใต้) นั้น เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ถือเป็นเมืองเก่าที่มีตำนานมากมาย ในลักษณะ “ร้อยเรื่องเล่า” และ ยังรักษาวิถีชีวิตพื้นบ้านมีความผูกพันภายในชุมชน มีความโอบอ้อมอารีมีน้ำใจและวิถีชีวิตแบบ “บ้านจุ้ม เมืองเย็น” (บ้านที่อุดมสมบูรณ์ เมืองที่สงบร่มเย็น)  ทำให้ตำบลออนใต้มีเสน่ห์ดึงดูดให้ผู้คนเข้าไปเยี่ยมเยือนหนึ่งใน “ร้อยเรื่องเล่า” คือ การค้นพบศิลาจารึกในวัดเชียงแสน เป็นหลักฐานที่บอกว่าชาวบ้านที่นี่อพยพมาจาก พันนาพูเลา แขวงเมืองเชียงแสน (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดเชียงราย) มาตั้งอยู่ริมน้ำแม่ออน ก่อตั้งบ้านเมือง ผลิตเครื่องถ้วยชาม สร้างถิ่นฐานอยู่บนผืนดินแห่งนี้จนกระทั่งถึงกาลล่มสลาย พื้นที่แห่งนี้คือ ตำบลออนใต้ ในปัจจุบัน และอีกเรื่องราวหนึ่งที่นับว่าเป็นขวัญกำลังใจและมีคุณูปการต่อชาวออนใต้จนทุกวันนี้ คือการได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่สุดมิได้จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมเยียนในพื้นที่จำนวน 9 ครั้ง

ปัจจุบันชุมชนออนใต้ เป็นหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village : CIV) คือ  หมู่บ้านแห่งความสมดุลที่นำทุนวัฒนธรรม วิถีชีวิต มาผนวกกับความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ เพื่อสร้างมูลค่าใหม่ของสินค้าที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยวและบริการหรือกิจกรรมที่สร้างประสบการณ์ใหม่จากการท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดมูลค่าใหม่ทางเศรษฐกิจบนแนวคิดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

ตรีรัก ฤทธิ์นรกานต์, กิติพันธ์ ใจปัน, จิตรวี พุทธศรี, ปริญญา ยั่งสันติวงศ์, พิจิตรา กันทะ, ศุภาวรรณ ปัญญากาศ, และสุชานันท์ วงศ์จันทร์. (2564). รายงานการพัฒนาอนามัยชุมชนบ้านแม่ผาแหน หมู่ที่ 6 ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่.

เทศบาลตำบลออนใต้. (2566). ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2566. เข้าถึงได้จาก : https://ontai.go.th

วิสาหกิจชุมชน โทร. 08-9953-5684, เทศบาลออนใต้ โทร. 0-5303-6043