-
-
ชุมชนบ้านกาด เป็นชุมชนชนบท ที่อาศัยอยู่ร่วมกันแบบเครือญาติและชาวบ้านส่วนใหญ่ในชุมชนจะเป็นบุคคลที่อาศัยอยู่ในชุมชนตั้งแต่เกิด ปรากฏวัฒนธรรมประเพณีที่ทำกันตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษแล้วถ่ายทอดกันมาสู่รุ่นต่อรุ่น ได้แก่ งานทำบุญทานข้าวใหม่ งานประเพณีปี๋ใหม่เมือง (วันสงกรานต์) งานทำบุญสรงน้ำพระธาตุ งานไหว้ศาลเจ้าบ้าน งานทำบุญถวายทานสลากภัต และงานทอดกฐินสามัคคี
-
หมู่บ้านป่าห้า หมู่ที่ 9 มีการแบ่งส่วนการปกครองในหมู่บ้านแบบหมวดมื้อ (ป๊อก) มี 11 ป๊อกส่วนใหญ่มี อสม.ทำหน้าที่ในการดูแล เพื่อเป็นการแบ่งความรับผิดชอบในการทำกิจกรรม หรือตามประเพณีต่างๆ ทั้งในและนอกชุมชน
-
บ้านแม่ผาแหนเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ บางพื้นที่เหมาะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เช่น อ่างเก็บน้ำผาแหน พื้นที่เปิดโล่งมีแนวเขาเป็นฉากหลังที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งจะเห็นเป็นภูเขาหินที่มีหน้าตัดเหมือนหน้าผา บริเวณสันเขื่อนเหมาะแก่การถ่ายภาพบุคคลคู่กับวัตถุท้องฟ้า ประกอบกับระยะทางไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก การเดินทางจึงสะดวกและปลอดภัย จนนักถ่ายภาพทางดาราศาสตร์กล่าวว่า สถานที่แห่งนี้เหมาะเป็นสนามซ้อมมือของพรานดาราที่เพิ่งเริ่มฝึกถ่ายดาว
-
-
บริเวณวัดริมออนใกล้กับวิหาร มีกุฏิเก่าหรือที่ชาวบ้านเรียก "ศาลาร้อยปี" ซึ่งเป็นศาลาไม้ยกพื้นสูง ก่อสร้างในสมัยที่ครูบาแก้ว เริ่มสร้างวัดริมออนช่วงปี พ.ศ. 2478-2483 ปัจจุบันคณะกรรมการหมู่บ้านและชาวบ้านริมออนได้มีมติร่วมกันที่จะอนุรักษ์อาคารไม้หลังนี้ไว้เป็นสถานที่ศึกษาทางประวัติศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวสำหรับคนรุ่นหลังต่อไป
-
-
การส่งเสริมอนุรักษ์ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน และสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ภูมิปัญญาไทย อาทิ ปรัชญาการแพทย์แผนไทย การนวด การพอกตา การแช่มือแช่เท้า การอบตัว การเผายา การตอกเส้น การย่ำขางย่างแคร่ การนั่งถ่านและเข้ากระโจม รักษาโรคต่างๆ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง กลุ่มภูมิแพ้ทางเดินหายใจและผิวหนัง และกลุ่มออฟฟิศซินโดรม โดยโรงพยาบาลชุมชนตำบลดอนแก้ว ได้ดำเนินการให้บริการทั้งแพทย์แผนปัจจุบัน และแพทย์แผนไทย ด้วยหลักในการบริหารรงพยาบาลสร้างสุข 3 ดี 4 เสา ได้แก่ บริการดี สิ่งแวดล้อมดี และบริหารจัดการที่ดี ด้วยหลักธรรมมาภิบาลเพื่อให้ตำบลดอนแก้วเป็นตำบลสุขภาวะดี ทั้งทางกาย จิตใจ สังคม และปัญญา