Advance search

กระบวนการชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่มีหาดทรายทุ่งนุ้ย ป่าชายเลน เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ของท้องถิ่น

ละงู
ละงู
สตูล
อบต.ละงู โทร. 0-7475-0964
ฐนกร สิงห์พรม
27 ม.ค. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
24 ก.พ. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
25 ก.พ. 2024
บ้านหลอมปืน

มาจากศึกสงครามเก้าทัพ ว่าด้วย เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช รู้ข่าวว่าเมืองพม่าจะยกทัพมา จึงสั่งให้ "หลอมปืน" เพื่อจะเตรียมรับมือกับสงครามที่จะเกิดขึ้น เป็นหนึ่งในที่มาของชื่อชุมชนบ้านหลอมปืน


กระบวนการชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่มีหาดทรายทุ่งนุ้ย ป่าชายเลน เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ของท้องถิ่น

ละงู
ละงู
สตูล
91110
6.839275724259414
99.78545255279646
องค์การบริหารส่วนตำบลละงู

ความเป็นมาของชุมชนประกอบไปด้วย 3 ตำนาน ดังนี้

ตำนานที่ 1 ว่าด้วย ศึกชิงนางระหว่างพระยาแหลหมัน "โกตา" และพระยาเมืองภูเก็ต โดยไหมสุหรี อพยพมาจากจังหวัดตรัง เจ้าเมืองภูเก็ตมาขอแต่งงานกับนางไหมสุหรี หลังจากนั้นนางไหมสุหรีหนีมายังบ้านโกตา (กำแพงเมือง) ต่อมาพระยาแหลหมันพบนึกชอบนางไหมสุหรี พระยาภูเก็ตจึงยกทัพมาเพื่อจะชิงนางไหมสุหรี กลับไปแต่งงาน พระยาแหลหมันรู้ว่าพระยาภูเก็ตยกทัพมา พระยาแหลหมันจึงสั่งให้ขุนดำทมิฬหลอมปืน (ณ บ้านหลอมปืน ม.14 ปัจจุบัน) หลังจากนั้นจึงได้เกิดการสู้รบกัน ทัพของพระยาแหลหมันแพ้ จึงถอยร่นไป ทำสัญญาสงบศึกกัน ณ ทุ่งตอละฮ (เป็นตำบลเขาขาว ปัจจุบัน) ส่วนนางไหมสุหรี หนีต่อไปยังอำเภอมะนัง 

ตำนานที่ 2 ว่าด้วย การทำสงครามระหว่างเมืองไทรบุรีกับเมืองนครศรีธรรมราช เมืองไทรบุรีแข็งข้อกับประเทศสยาม จังหวัดสตูล ถูกแบ่งออกเป็น 2 เขต โดยมีคลองราเกตุ (คลองท่าแพ ปัจจุบัน) ทางทิศตะวันออกติดเมืองไทรบุรี ทางทิศตะวันตกติดเขตเมืองนครศรีธรรมราช เดิมเมืองไทรบุรีส่งเครื่องบรรณาการ ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง ให้กับเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาไม่มีการส่งมายังเมืองนครศรีธรรมราช จึงสั่งให้มีการหลอมปืน เพราะกลัวว่าเมืองไทรบุรี จะเข้ามาตีเมืองนครศรีธรรมราช ทางด้านบ้านท่าชะเมือง บ้านหัวหิน ปัจจุบัน แต่ปืนที่หลอมไว้ยังไม่ได้ใช้งานเพราะ พระยานครศรีธรรมราช ยกกองทัพช้างมาทางบก เข้าไปเมืองไทรบุรี กองทัพพระยานครศรีธรรมราช รบชนะ หลังจากที่นั่น ทหารจึงแยกย้ายกันกลับ แต่มีทหารอยู่ 2 คน ที่เดินทางกลับบ้านและได้เดินผ่านมายังปากถ้ำจึงได้หยุดพัก ใช้หอกในมือปักปากถ้ำไว้ และมีน้ำสีเหมือนสีเลือดไหลออกมาจากหอก ได้ตะโกนออกมาว่า ปากงู ปากงู ทั้ง 2 คนได้เสียสติ ความเป็นมาของปากละงู ปัจจุบัน

ตำนานที่ 3 ศึกสงครามเก้าทัพ ว่าด้วย เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช รู้ข่าวว่าเมืองพม่าจะยกทัพมา จึงสั่งให้หลอมปืน เพื่อจะเตรียมรับมือกับสงครามที่จะเกิดขึ้น แต่ปืนที่หลอมไว้ไม่ได้นำมาใช้ เพราะพม่าแพ้ศึกที่ถลาง จังหวัดภูเก็ต (เท้าเทพฯ) พื้นที่บริเวณบ้านหลอมปืน บ้านของนางธนิดา บุหรงรี ปัจจุบัน

บ้านหลอมปืน ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของหมู่ที่ 14 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล ระยะทางจาก ตลาดละงู ถึงบ้านหลอมปืน หมู่ที่ 14 ตำบลละงู ประมาณ 15 กิโลเมตร ขนาดพื้นที่ 1,500 ไร่ อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลละงู แบ่งได้เป็น 3 คุ้มบ้าน ได้แก่ คุ้มบ้านหลอมปืน คุ้มบ้านทอนตีโร๊ะ คุ้มบ้านโล๊ะจำด๊ะ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 12 บ้านในเมือง ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ทะเลอันดามัน
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 2 บ้านปากละงู และหมู่ที่ 12 บ้านในเมือง ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ คลองบาโรย 

มีจำนวนครัวเรือน 223 ครัวเรือน จำนานประชากร 1,085 คน แบ่งออกเป็นชาย 539 คน หญิง 546 คน นับถือศาสนาอิสลาม 90% ศาสนาพุทธ 10% มีมัสยิด 2 หลัง คือ มัสยิดบ้านปากละงู และ มัสยิดฮันนาอัลมุสสันดี เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม เช่น การละหมาด และเป็นสถานที่เรียนรู้คัมภีร์อัลกุรอ่านและใช้เป็นที่ประชุมพบปะพูดคุยของคนในชุมชน

มลายู

ชาวบ้านในชุมชนหลอมปืน ประกอบอาชีพประมงเป็นอาชีพหลัก ใช้เรือหัวโทงประกอบเครื่องยนต์หางยาว นอกจากนี้ยังมีการทำการเกษตร เช่น ทำนา (จะทำไว้กินในครัวเรือน) เลี้ยงสัตว์ ปลูกผัก ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะทำไว้กินในครัวเรือนเป็นอาชีพเสริมในชุมชน รายได้ของประชากรเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 4,000-15,000 บาท รายจ่ายโดยเฉลี่ยต่อเดือนครัวละ 7,000-20,000 บาท ซึ่งการทำประมงของชาวประมงในชุมชนบ้านหลอมปืน จำแนกตามเครื่องมือที่ใช้ในการทำประมงพื้นบ้าน โดยใช้อวนปูถ่วง อวนปลาทูตลอดทั้งปี และจะใช้รอบหมึก กูเหราและอวนกุ้ง ในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนตุลาคม ยกเว้นในช่วงมรสุมเท่านั้น ที่จะมีการหยุดทำประมงในบางวันเนื่องจากไม่สามารถออกทะเลได้ นอกจากนี้ยังมีความพยายามที่จะให้ชุมชนบ้านหลอมปืนเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วย อันเนื่องมาจากบ้านหลอมปืนมีฐานทรัพยากร มีประวัติศาสตร์ มีแหล่งโบราณวัตถุ (ลูกปืนในสมัยโบราณ) มีกลุ่มองค์กรที่สามารถดำเนินการได้ และมีวัสดุอุปกรณ์ในการบริหารจัดการ แต่ชุมชนยังขาดองค์ความรู้ในการจัดการที่เป็นระบบ เช่น การจัดวางโปรแกรมท่องเที่ยว การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การให้บริการ การจัดการของกลุ่ม จึงเป็นที่มาของการเข้ามาร่วมเรียนรู้ต้องการศึกษาวิจัย เพื่อสร้างความเข้มแข็งและสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการ โดยใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นสื่อกลางในการศึกษาศักยภาพ ต้นทุนของแหล่งท่องเที่ยว โดยการสำรวจ สัมภาษณ์ ตั้งวงคุย สร้างกลไกการจัดการ เกิดคนรุ่นใหม่ เกิดการสร้างรายได้ นำไปสู่การบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหลอมปืน

ชาวบ้านส่วนใหญ่ในชุมชนบ้านหลอมปืน เป็นชาวประมง จึงมีปฏิทินการทำประมงพื้นบ้าน จำแนกตามเครื่องมือที่ใช้ในการทำประมงพื้นบ้าน โดยใช้อวนปูถ่วง อวนปลาทูตลอดทั้งปี และจะใช้ลอบหมึก กูเหราและอวนกุ้ง ในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนตุลาคม จะเห็นว่ามีข้อสังเกตว่าชาวประมงพื้นบ้านในชุมชนประมงพื้นบ้านหลอมปืน ประกอบอาชีพประมงตลอดทั้งปี ยกเว้นในช่วงมรสุมเท่านั้น  ที่จะมีการหยุดทำประมงในบางวัน เนื่องจากไม่สามารถออกทะเลได้ โดยชาวประมงพื้นบ้าน ที่ประกอบอาชีพทำประมงโดยใช้เครื่องมือประเภทต่าง ๆ จะคอยหาจังหวะในช่วงลมสงบออกทำประมง เนื่องจากในฤดูมรสุมโดยเฉพาะอวนจมปูม้า ปูม้าที่จับได้จะมีมากกว่าปกติ และอวนปลากูเหรา ชาวประมงพื้นบ้านจะหยุดทำประมงในช่วงเวลาที่เจ็บป่วยและไม่สบาย

1.นายนิด กมลเจริญ ประกอบอาชีพเป็นชาวประมงพื้นบ้าน มีตำแหน่งหน้าที่ทางศาสนาคือเป็นกรรมการมัสยิด 

2.นายบ่าว สาหมีด ประกอบอาชีพเป็นชาวประมงพื้นบ้าน อีกทั้งยังเป็น ชรบ. หรือ ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านอีกด้วย

3.นายอารีย์ ติงหวัง ประกอบอาชีพเป็นชาวประมงพื้นบ้าน อีกทั้งยังเป็นผู้ใหญ่บ้าน และเป็นประธานองค์กรชุมชนตำบลละงู จังหวัดสตูล อีกด้วย

4.นายจักรกริช ติงหวัง ประธานเครือข่ายกลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหลอมปืน และทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์กลุ่มจัดการอ่าวทุ่งนุ้ย

ทุนธรรมชาติ ชุมชนบ้านหลอมปืน มีทุนชุมชนคือทรัพยากรทางทะเล ป่าชายเลน คลองบาโรย ชาวบ้านในชุมชนมีวิถีชีวิตเกี่ยวโยงกับป่าชายเลนโดยตรง ทำมาหากินในลำคลองและในป่าชายเลน มีทรัพยากรที่หลากหลายสามารถแยกประเภทได้ดังนี้

  • คลองตีโร๊ะ / คลองบาโง เป็นคลองธรรมชาติ มีการขุดคลองเพิ่งเติมบริเวณปากคลอง เดิมเป็นพื้นที่ป่าชายเลน หลังจากปี พ.ศ. 2521 ป่าชายเลนเหล่านี้ได้หมดไป กลายเป็นนาข้าว คลองตีโร๊ะเป็นคลองสาธารณะ เมื่อถึงฤดูฝนในลำคลองจะเป็นน้ำจืด เมื่อฤดูแล้วน้ำแห้ง คลองตื้นเขิน ขาดน้ำ สัตว์น้ำที่พบ ปลาบุ้งกง ปลากะพง ปูดำ ปลากะดี่ ปลาช่อน ปลาเดือน ปลาหมอ ปลาดุก ปลาตะเพียน เต่านา ปลากัด ปลานิลและสัตว์อื่นๆ เช่น แลน มูสัง มีทรัพยากรที่หลากหลาย
  • หาดทรายทุ่งนุ้ย (อ่าวทุ่งนุ้ย) มีความยาวประมาณ 1,900 เมตร สิ่งมีชีวิตที่พบในบริเวณชายหาด คือ หอยเสียบ ปูลม
  • ทะเล ในทะเลสัตว์น้ำที่พบ คือ กุ้งขาว กุ้งหัวมัน กุ้งกุลาดำ เคย ปูม้า ปูกะหลี่ ปูดาว ปูเสฉวน ปูบ้า กั้ง มังกร ปลาลิ้นหมา ปลาควาย ปลาทราย ปลาทู ปลาลัง ปลาตะลุมพุก ปลากระเบนไฟฟ้า ฉลาม หอยเดือน หอยเจดีย์ ปลาหมึกกล้วย โลมา สัตว์ทั้งหลายที่กล่าวมา ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่บ่งบอกให้เห็นถึง   ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ความรุ่งเรืองของทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นทุนของชุมชน

มีการใช้ภาษาไทยในการพูดคุยสื่อสารกัน และมีภาษาถิ่นคือ ภาษามลายูเกอะดะฮ์ (Kedah Malay) โดยทั่วทั้งพื้นที่จังหวัดสตูล ก็มีที่จากคำภาษามลายูเกอดะฮ์ ว่า สะตุล แปลว่า "กระท้อน" เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ชุกชุมในท้องถิ่นที่นี้


เมื่อมีการทำธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชนก็ย่อมที่จะทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม อาทิจำนวนขยะที่เพิ่มมากขึ้นจากนักท่องเที่ยว การใช้น้ำ ระบบนิเวศธรรมชาติ การรับวัฒนธรรมที่เข้ามาอย่างรวดเร็ว เกิดกระแสการเลียนแบบ มีความขัดแย้งทางความคิด เสียความเป็นส่วนตัวในการที่จะต้องรองรับนักท่องเที่ยว และที่สำคัญคืออาจถึงกับสูญเสียเอกลักษณ์ของท้องถิ่น หากมีการตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวมากเกินไป

ในชุมชนบ้านหลอมปืน มีการทำผลิตภัณฑ์อาหารที่น่าสนใจ เช่น ปลาฆอแร็ง กุ้งส้ม ปลาแดดเดียว ซึ่งน่าลิ้มรสเป็นอย่างมาก เป็นการแปรรูปสัตว์น้ำให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า เพื่อเป็นรายได้เสริมของกลุ่มแม่บ้านในชุมชนบ้านหลอมปืน

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2564). กลุ่มฟื้นฟูทรัพยากรบ้านหลอมปืน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2567. เข้าถึงได้จาก https://marinecncenter.dmcr.go.th 

กรมสรรพสามิต. (2555). สรรพสามิตพื้นที่สตูล. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2567. เข้าถึงได้จาก https://www.excise.go.th/satun/

กระทรวงพาณิชย์. (2561). ข้อมูลรหัสไปรษณีย์. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2567. เข้าถึงได้จาก https://std.moc.go.th/

ประชาไท. (2550). จาก "ปลาราคาถูก" สู่ผลิตภัณฑ์เด่น "ชุมชนหลอมปืน". (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2567. เข้าถึงได้จาก https://prachatai.com/node/13833/talk

บีฉ๊ะ องศารา. (2559). โครงการแนวทางพัฒนาศักยภาพของชุมชนสู่การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหลอมปืน ม. 14 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล: รายงานฉบับสมบูรณ์. สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

Google Map. (2567). พิกัดแผนที่ชุมชนบ้านหลอมปืน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2567. เข้าถึงได้จาก https://www.google.com/maps

อบต.ละงู โทร. 0-7475-0964