Advance search

บ้านห้วยหินดำ ชุมชนกะเหรี่ยงโปว์เก่าแก่บนพื้นที่ราบสูงในเขตรอยต่อสามจังหวัดและผืนป่าทรัพยากรสำคัญของชาติในเขตอุทยานและป่าสงวน กับวิถีชีวิต วัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์

หมู่ที่ 6
ห้วยหินดำ
วังยาว
ด่านช้าง
สุพรรณบุรี
กฤษฎา อุ่นลาวรรณ
15 ก.พ. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
17 ก.พ. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
1 มี.ค. 2024
บ้านห้วยหินดำ


บ้านห้วยหินดำ ชุมชนกะเหรี่ยงโปว์เก่าแก่บนพื้นที่ราบสูงในเขตรอยต่อสามจังหวัดและผืนป่าทรัพยากรสำคัญของชาติในเขตอุทยานและป่าสงวน กับวิถีชีวิต วัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์

ห้วยหินดำ
หมู่ที่ 6
วังยาว
ด่านช้าง
สุพรรณบุรี
72180
14.945874
99.363883
องค์การบริหารส่วนตำบลวังยาว

บ้านห้วยหินดำ ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปว์ การอพยพเข้ามาในพื้นที่บริเวณนี้ของกลุ่มคนไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าเริ่มเข้ามาตั้งแต่เมื่อใด จากข้อมูลสามารถสรุปได้ว่ากลุ่มชาวกะเหรี่ยงได้เข้ามาอยู่อาศัยบริเวณบ้านห้วยหินดำเป็นระยะเวลาร่วม 200 ปีมาแล้ว โดยการนำของเจ้าวัด ซึ่งเป็นผู้นำชุมชนและเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ มีชื่อว่า สะไร้โจ่ และสืบทอดตำแหน่งเจ้าวัดคนอื่น ๆ ในการปกครองชุมชนเรื่อยมา ต่อมาในช่วงหลังสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ประมาณ 2-3 ปี ได้เกิดปัญหาโจรผู้ร้ายออกปล้นบ้านเรือน ทำร้ายชาวบ้าน ชาวบ้านจึงพากันลี้ภัยเข้าไปอาศัยอยู่ในป่าช่วงระยะหนึ่ง เมื่อเหตุการณ์สงบลงเข้าสู่สภาวะปกติ ชาวบ้านจึงย้ายกลับมาตั้งถิ่นฐานที่บริเวณเดิมจนกลายเป็นชุมชนบ้านห้วยหินดำมาจนถึงปัจจุบัน

บ้านห้วยหินดำ ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ตั้งชุมชนเป็นพื้นที่ราบลักษณะเป็นแอ่งระหว่างหุบเขาเป็นภูเขาหินปูนมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500-1,112 เมตร มีลำห้วย “ที่คองทา” เป็นภาษากะเหรี่ยงมีความหมายว่าห้วยต้นกุ่ม ต่อมาเรียกว่าห้วยหินดำ พื้นที่ส่วนหนึ่งของชุมชนอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติองค์พระ-เขาพุระกำ เขาห้วยพลูซึ่งเป็นป่าผืนเดียวกันกับเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง-ทุ่งใหญ่นเรศวร บริเวณรอยต่อของอำเภอด่านช้างจังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี โดยพื้นที่ชุมชนบ้านห้วยหินดำมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านกล้วย ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านวังยาว ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ พื้นที่เขาพุเตย ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ พื้นที่แนวเขตอุทยานแห่งชาติศรีนครินทร์ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี

บ้านห้วยหินดำ ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปว์มีสถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน) สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง รายงานจำนวนประชากรหมู่ที่ 6 บ้านห้วยหินดำ ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี  มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 635 คน โดยแยกเป็นประชากรชาย 333 คน ประชากรหญิง 302 คน จำนวนหลังคาเรือนทั้งสิ้น 212 หลังคาเรือน (ข้อมูลเดือนธันวาคม 2566)

โพล่ง

บ้านห้วยหินดำ ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ประชากรส่วนใหญ่ในชุมชนประกอบอาชีพด้านการทำเกษตรกรรม ชาวบ้านมีการทำการเกษตรแบบไร่หมุนเวียนซึ่งเป็นวิถีชีวิตและภูมิปัญญาของชาวไทยภูเขาบนพื้นที่ราบสูง หรือประชากรกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่มีองค์ความรู้การทำเกษตรบนพื้นที่สูงติดตัวมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ชาวบ้านมีการปลูกข้าวไร่สายพันธุ์พื้นเมืองมากกว่าสิบชนิด เช่น ข้าวเหนียวทอง ข้าวเหลือง ข้าวลาย ฯลฯ และมีการปลูกพืชผักชนิดอื่นเสริมเพิ่มเติมตามฤดูกาลเพาะปลูกในแต่ละช่วง ได้แก่ ฟักทอง พริก มะระ บวบ มะเขือ ถั่ว เป็นต้น นอกจากนี้ชาวบ้านยังมีการทำไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นอาชีพที่สร้างรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง และชาวบ้านบางส่วนก็จะออกหาของป่าในพื้นที่ และอาชีพเสริมอื่น ๆ เพื่อนำรายได้มาเลี้ยงดูครอบครัว และด้วยพื้นที่บ้านห้วยหินดำเป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์บรรยากาศเป็นธรรมชาติ ชาวบ้านบางส่วนจึงใช้พื้นที่บ้านของตนปรับเป็นที่พักเพื่อเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสวิถีท้องถิ่นและบรรยากาศท่ามกลางธรรมชาติที่งดงาม

ชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านห้วยหินดำ ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นชุมชนที่มีวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ ด้วยพื้นที่ตั้งชุมชนค่อนข้างอยู่ห่างไกลจากสังคมเมือง ชาวบ้านจึงยังคงวิถีความเป็นท้องถิ่นของชุมชนเอาไว้ได้ ซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่ผูกพันและเกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติ และเป็นการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัย ทั้งการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ วิถีความเชื่อ ภูมิปัญญา ประเพณีปฏิบัติที่เป็นเอกลักษณ์ ได้แก่  

การนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านเชื่อว่าทรัพยากรธรรมชาติแต่ละชนิดมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองดูแลอยู่ เช่น โซ่วทะรุยหรือผู้ดูแลผืนดิน โพ่โตกุ๊หรือผู้ดูผืนน้ำ รุกขจือหรือผู้ดูแลคุ้มครองไม้ แม่โพสพผู้ดูแลต้นข้าว โดยชาวบ้านจะมีการบูชาและทำพิธีเพื่อแสดงความเคารพในประเพณีการทำสะพาน-ค้ำต้นไทร ในทุก 6 เดือน ประเพณีการทำบุญข้าวใหม่และโซ่วทะรุยในช่วงเดือนสาม นอกจากนี้ชาวบ้านยังมีความเชื่อเรื่องการล่าสัตว์ โดยชาวบ้านจะห้ามล่าสมเสร็จเนื่องจากว่าเป็นสัตว์ที่รวมเอาสิ่งไม่ดีไว้ หากใครล่าหรือนำเนื้อมากินจะประสบแต่เรื่องร้ายในชีวิต การห้ามล่านกเงือกและการห้ามล่าสัตว์ที่กำลังตั้งครรภ์หรือมีลูกอ่อน เพื่อให้สัตว์เหล่านั้นได้มีชีวิตและขยายพันธุ์ต่อไป

การทำเกษตรกรรม การใช้ประโยชน์จากที่ดินและป่าไม้ เนื่องจากชุมชนบ้านห้วยหินดำเป็นชุมชนเกษตรกรรม วิถีชีวิตของชาวบ้านจึงสัมพันธ์กับการใช้พื้นที่และทรัพยากรทางธรรมชาติ มีความเชื่อ ข้อห้ามและแนวปฏิบัติร่วมกัน เช่น ห้ามทำไร่บริเวณสบห้วยคือบริเวณที่ธารน้ำไหลมาบรรจบกัน จะทำให้การทำเกษตรกรรมในฤดูกาลนั้นไม่ประสบความสำเร็จ ห้ามเพาะปลูกบริเวณตาน้ำหรือแหล่งน้ำซับ เชื่อว่าเป็นบริเวณที่มีผีดุ และอาจทำให้เกิดสิ่งไม่ดีกับครอบครัวได้ ซึ่งความเชื่อและแนวปฏิบัติดังกล่าวเป็นกุศโลบายของบรรพบุรุษชาวกะเหรี่ยงที่ต้องการป้องกันและรักษาทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ให้คงอยู่เพื่อชนรุ่นหลังต่อไป

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

บ้านห้วยหินดำ ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ตั้งชุมชนอยู่ในพื้นที่ท่ามกลางธรรมชาติที่มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งที่ดิน ภูเขา แหล่งน้ำ ผืนป่า ซึ่งเป็นสิ่งที่เอื้อประโยชน์ต่อชุมชนและระบบนิเวศในพื้นที่ เป็นแหล่งทรัพยากรที่ชาวบ้านพึ่งพาอาศัยในการดำรงชีวิต ทั้งเพื่อการอุปโภคและบริโภค นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนอีกทางหนึ่งที่เป็นเครื่องมือผลักดันและเสริมสร้างศักยภาพชุมชนได้เป็นอย่างดี

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

สุธิดา แจ้งประจักษ์. (2549). การจัดการทรัพยากรร่วมตามระบบสิทธิทรัพย์สินส่วนรวม กรณีศึกษาชุมชนบ้านห้วยหินดำ หมู่ 6 ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิศวะพาเที่ยว. (2561). สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.facebook.com/