Advance search

ตางง

ชุมชนเต็มไปด้วยทุ่งนา มีการทำนา ปลูกข้าว มีสวนยางพารา พึ่งพาเศรษฐกิจพอเพียง

หมู่ที่ 5
บ้านตาโงง
เนินงาม
รามัน
ยะลา
อบต.เนินงาม โทร. 0-7329-9983
อับดุลเลาะ รือสะ
28 ก.พ. 2023
นิรัชรา ลิลละฮ์กุล
26 เม.ย. 2023
อับดุลเลาะ รือสะ
21 เม.ย. 2023
บ้านตาโงง
ตางง

หมู่บ้านตาโงง เป็นการตั้งชื่อที่มาจากต้นไม้ชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายเถาวัลย์ สามารถรับประทานได้ ซึ่งเถาวัลย์ดังกล่าวสามารถพบเห็นในหมู่บ้านเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่าเมื่อประมาณ 100 ปี ล่วงมาแล้ว มีผัวเมียคู่หนึ่งได้มาตั้งรกรากอยู่ที่นี้ และได้อาศัยพืชดังกล่าวเป็นอาหารแทนผักซึ่งมีชื่อว่า ตาโงงหมู่บ้านจึงใช้ชื่อนี้เป็นต้นมา


ชุมชนชนบท

ชุมชนเต็มไปด้วยทุ่งนา มีการทำนา ปลูกข้าว มีสวนยางพารา พึ่งพาเศรษฐกิจพอเพียง

บ้านตาโงง
หมู่ที่ 5
เนินงาม
รามัน
ยะลา
95140
6.485247569
101.3635862
เทศบาลตำบลเนินงาม

หมู่บ้านตาโงง เป็นการตั้งชื่อที่มาจากต้นไม้ชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายเถาวัลย์ สามารถรับประทานได้ ซึ่งเถาวัลย์ดังกล่าวสามารถพบเห็นในหมู่บ้านเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่าเมื่อประมาณ 100 ปี ล่วงมาแล้ว มีผัวเมียคู่หนึ่งได้มาตั้งรกรากอยู่ที่นี้ และได้อาศัยพืชดังกล่าวเป็นอาหารแทนผักซึ่งมีชื่อว่า ตาโงง” หมู่บ้านจึงใช้ชื่อนี้เป็นต้นมา

ชาวบ้านบางส่วนได้เล่าว่า คำว่า "ตาโงง" เป็นภาษายาวี แปลว่า ดี เหมาะสม เนื่องจากสมัยก่อนเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ มีสัตว์น้ำมากมายเหมาะแก่การเพาะปลูกพืช เช่น การปลูกข้าว มีการเล่าสืบทอดกันมาว่า ณ บริเวณใจกลางหมู่บ้าน มีบ่อแห่งหนึ่งเป็นบ่อที่ชาวบ้านขุดกันเอง บ่อแห่งนี้น้ำจะไม่แห้งถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงหน้าแล้ง ชาวบ้านในหมู่บ้านบริเวณรอบ ๆ หมู่บ้านจะพากันมาตักใช้น้ำในบ่อแห่งนี้ จึงตั้งชื่อเรียกติดปากและเพี้ยนจากชื่อเดิมมาเป็น "ตาโงง" ตามภาษาไทยเรียกว่า เหมาะ และเรียกง่ายๆมาจนถึงทุกวันนี้ 

ชุมชนบ้านตาโงงตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตำบลบาโงย ของอำเภอรามัน ห่างจากจังหวัดยะลาประมาณ 15 กิโลเมตร และห่างจากตัวอำเภอรามัน ประมาณ 10 กิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ไม้แก่น ตำบลเนินงาม อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านบาโงย ตำบลบาโงย อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านตาโงง ตำบลเนินงาม อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านบาโงบูโล๊ะ ตำบลเนินงาม อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในครัวเรือน จากการสำรวจข้อมูลสถิติประชากรจากทะเบียนบ้าน ระดับหมู่บ้านประจำปี 2565 มีครัวเรือนทั้งหมด 172 ครัวเรือน มีจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริงในพื้นที่ทั้งหมด 731 คนโดยแบ่งเป็น เพศชาย 353 คน เพศหญิง 378 คน ทั้งหมดเป็นอิสลาม คนในชุมชนส่วนใหญ่อยู่กับแบบครอบครัวในละแวกใกล้เคียง มีความหลากหลายในช่วงวัย คนในสังคมมีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติทำให้คนในสังคมมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ระหว่างกัน

มลายู

หมู่บ้านมีการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมอาชีพ เช่น กองทุนแม่ข้าว ได้รับรางวัลกองทุนแม่ของแผ่นดินดีเด่น ประจำปี 2563 เป็นหมู่บ้านที่มีการดำเนินงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดดีเด่น การขับเคลื่อนกองทุนแม่ของแผ่นดินดีเด่นระดับจังหวัด และยังคงทำมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

อาชีพหลัก การทำสวนยาง การทำนา การทำสวนผสม 

อาชีพเสริม การเลี้ยงแพะ เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ เลี้ยงวัว

การซื้อขายแลกเปลี่ยนภายในชุมชน ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร เครื่องปรุง เนื้อสัตว์ ผักสด ของใช้ในครัวเรือน ผ่านร้านขายของชำในชุมชน โดยมีร้านค้าภายในชุมชนจำนวน 3 ร้าน โดยนำสินค้าจากในพื้นที่และภายนอกมาจำหน่าย

การซื้อขายแลกเปลี่ยนกับคนภายนอก ส่วนใหญ่เป็นพืชเศรษฐกิจที่ได้จากการทำเกษตรกรรม เช่น ทุเรียน ลองกอง หรือ ซื้อสินค้าจากรถกับข้าว ตามตลาดนัดภายในชุมชนในช่วงเย็นและพื้นที่ตลาดนัดรอบนอก มีรถพ่วงข้างและรถขายของสดเข้ามาขายในชุมชนเพิ่มความสะดวกให้คนในชุมชน แต่ขาดการหมุนเวียนการเงินในชุมชน

การออกไปทำงานนอกชุมชน การออกไปทำงานนอกชุมชน คิดเป็น 33% ของคนในชุมชน และที่ออกไปทำงานต่างประเทศมีอยู่ 4% ออกไปรับจ้างทำงานด้านอุตสาหกรรม พนักงานบริษัททั่วไป แต่ยังกลับมาอาศัยอยู่ใน ครอบครัวส่วนใหญ่มีฐานะค่อนข้างยากจน ซึ่งเหตุการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของครอบครัวในพื้นที่ ทำให้การออกไปประกอบอาชีพเกิดความยากลำบาก มีการเปลี่ยนแปลงเวลาออกไปทำงาน เพื่อความปลอดภัย ทำ ให้ประสบปัญหารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย แต่ยังสามารถประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัวได

ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกชุมชน สมาชิกชุมชนส่วนใหญ่อยู่กันเป็นกลุ่มตามโซนหมู่บ้าน เป็นชุมชนที่มีพื้นที่ว่างจากการปลูกสร้างที่พักอาศัยน้อยมาก หรือละแวกใกล้เคียงกับที่อยู่อาศัย ทำให้คนในชุมชนสามารถเข้าได้ทุกกลุ่ม โดยส่วนใหญ่จะเป็นเครือญาติที่ตามมาอยู่ในชุมชน บางส่วนมีการย้ายถิ่นฐานมาอยู่ตามญาติผู้ใหญ่มาอาศัยออยู่ถาวร

โครงสร้างอำนาจภายในชุมชน ตามโครงสร้างการปกครอง มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ทำงานร่วมกับหน่วยงานปกครองท้องถิ่น ส่วนภายในชุมชนในการทำโครงการต่าง ๆ จากภายนอกและงานขับเคลื่อนชุมชน โดยมีนายสือมัน ยีมานี เป็นแกนนำชุมชน

การรวมกลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นการรวมกลุ่มกันตามครอบครัวและกลุ่มที่สนิทกันหรือมีช่วงวัยเดียวกัน เช่น กลุ่มแกนนำชุมชนที่ทำงานชุมชนด้านต่าง ๆ กลุ่มสตรี กลุ่มทำนา กลุ่มผู้มีความรู้ทางศาสนา กลุ่มเด็กและเยาวชน รวมตัวกันเพื่อจัดกิจกรรมทางศาสนา และทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่กลุ่มที่ไม่เป็นทางการ ในช่วงที่มีสถานการณ์ความไม่สงบจะมีการร่วมกลุ่มของวัยรุ่นในการเฝ้าเวรยามดูแลความปลอดภัยในหมู่บ้าน 

วัฒนธรรม ประเพณี ชาวบ้านตาโงงนับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 100 มีการประกอบศาสนกิจรวมกันทุกคืน ทำให้เกิดผลดีในด้านการปฏิบัติศาสนกิจ และสร้างความสามัคคีและการแลกเปลี่ยนทัศนคติ ข่าวสาร กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา มีดังนี้

  • เมาลิดนบี เป็นวันคล้ายวันประสูติของศาสดามูฮัมหมัด (ซล.) ศาสดาแห่งมนุษยชาติ ผู้ศรัทธาในศาสนาอิสลามมีการรำลึกถึงคุณงามความดีหรือประวัติของท่านในอดีตกาล ในบรรยากาศแห่งความรัก และรำลึกถึงท่านอย่างแท้จริง ซึ่งจะจัดในเดือน เราะบีอุลเอาวัล ซึ่งเป็นเดือนที่ 3 ในปฏิทินอิสลาม
  • วันตรุษอิดิลฟิตรี หรือที่นิยมเรียกว่า วันรายอปอซอ เพราะหลังจากที่มุสลิมได้ถือ ศีลอดมาตลอด ในเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นเดือนที่ 9 ของศาสนาอิสลาม ก็จะถึงวันออกบวช ตอนเช้าจะมีการละหมาดร่วมกัน ทุกคนแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สะอาด สวยงาม และมีการจ่าย ซะกาตฟิตเราะฮ์ การจ่ายซะกาตเปรียบเสมือนการเสียภาษี โดยผู้ที่มีเงินต้องบริจาคตามจำนวนยอดเงินร้อยละ 2.5 รวมทั้งทองคำรูปพรรณหรือทองคำแท่ง โดยผู้ที่สามารถจะรับการจ่ายซะกาต กำหนดเป็นคนยากไร้ หรือ ผู้ที่มีความรู้ด้านศาสนา
  • วันตรุษอิดิลอัฏฮา หรือวันรายอฮัจยี เป็นการเฉลิมฉลองหลังจากที่มุสลิมทั่วโลก ระหว่างการประกอบพิธีฮัจญ์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยจะมีกิจกรรมการทำกุรบานหรือการเชือดสัตว์เพื่อเป็นอาหารแก่เพื่อนบ้านและคนยากจน ช่วยขัดเกลาจิตใจให้เป็นผู้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ ซึ่งตรงกับเดือน ซุลฮิจยะห์ ซึ่งเป็นเดือนที่ 12 ในปฏิทินของศาสนาอิสลาม
  • การถือศีลอด เป็นหลักปฎิบัติ ในหลักปฏิบัติ 5 ประการ ของศาสนาอิสลาม โดยกำหนดให้มุสลิมทุกคนที่มีอายุเข้าเกณฑ์ศาสนบัญญัติจำเป็นต้องถือศีลอด ในเดือนรอมฎอน ตลอดระยะเวลา 1 เดือน มุสลิมต้องงด การกิน การดื่ม การร่วมประเวณีตลอดจนทุกอย่างที่เป็นสิ่งต้องห้าม ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนกระทั่งตกดิน ทุกคนต้องสำรวมกาย วาจา ใจ เพราะเดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่มีประเสริฐยิ่งของศาสนาอิสลาม ซึ่งในเดือนนี้ชาวมุสลิมจะไปละหมาดที่มัสยิด ซึ่งเป็นการละหมาดที่ปฏิบัติภายในเดือนรอมฎอนเท่านั้น เรียกว่า ละหมาดตะรอเวียะห์
  • การละหมาด เป็นหลักปฎิบัติ ในหลักปฏิบัติ 5 ประการ เป็นการแสดงความจงรักภักดีต่ออัลลอฮ์ ซึ่งเป็นที่ศรัทธาของชาวมุสลิม ทุกคนต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยถือว่าเป็นการเข้าเฝ้าผู้ทรงสร้างที่ยิ่งใหญ่ การแต่งกายต้องสะอาด เรียบร้อย มีความสำรวม พระองค์กำหนดเวลาละหมาดไว้วันละ 5 เวลา
  • การทำฮัจญ์ เป็นหลักปฎิบัติ ในหลักปฏิบัติ 5 ประการ โดยให้มุสลิมที่มีความสามารถด้านกำลังกาย กำลังทรัพย์ ต้องไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีขึ้นปีละครั้งชาวมุสลิมทั่วโลกจะเดินทางมารวมกัน เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่ออัลลอฮ์ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใคร มีฐานะทางสังคมอย่างไรต้องมาอยู่ที่เดียวกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน ทุกคนมีฐานะเป็นบ่าวของอัลลอฮ์อย่างเท่าเทียมกัน การทำฮัจญ์จะจัดขึ้นในเดือน ซุลฮิจญะฮ์ซึ่งเป็นเดือน 12 ของอิสลาม
  • การเข้าสุนัต เป็นพิธีกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวมุสลิม ถือกันว่ามุสลิมที่แท้จริงควรเข้าสุนัต ถ้าไม่ทำถือว่าเป็นมุสลิมที่ไม่สมบูรณ์ ไม่บริสุทธิ์ การเข้าสุนัต คือการขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศของผู้ชายออก เพื่อสะดวกในการรักษาความสะอาด การเข้าสุนัตจะนิยมขลิบในช่วงเดือนเมษายนเนื่องจากเป็นช่วงปิดภาคการเรียนการสอนของเด็กในพื้นที่ กิจกรรมจะมีการขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศ และมีการเตรียมอาหารเป็นข้าวเหนียวสีต่าง ๆ บางพื้นที่จะมีการคลิปเป็นหมู่คณะ โดยมีเด็กในชุมชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
  • ประเพณีการกวนอาซูรอ เป็นการรำลึกถึงความยากลำบากของศาสดา นบีนูฮ โดยเชื่อว่าในสมัยของท่านมีเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ น้ำท่วมโลกเป็นระยะเวลานาน ศาสดานบีนูฮ ซึ่งล่องลอยเรืออยู่เป็นเวลานาน ทำให้อาหารที่เตรียมไว้ลดลง จึงได้นำส่วนที่พอจะมีเหลือเอามารวมกันแล้วกวนกิน จึงกลายเป็นตำนานที่มาของขนมอาซูรอ

คำว่า "อาซูรอ" คือคำในภาษาอาหรับ แปลว่า การผสม ในที่นี้หมายถึงการนำของที่รับประทานได้ทั้งของคาวและของหวานจำนวน 10 อย่าง มากวนรวมกัน ประเพณีจะจัดในวันที่ 10 ของเดือนมูฮัรรอม ซึ่งเป็นเดือนแรกของฮิจเราะห์ศักราชตามปฏิทินอิสลาม เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาปีใหม่ของมุสลิม ลักษณะกิจกรรมจะมีการรวมตัวของชาวบ้านโดยที่ชาวบ้านจะนำวัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเผือก มัน ฟักทอง กล้วย ข้าวสาร ถั่ว เครื่องปรุง ข่าตะไคร้ หอมกระเทียม เมล็ดผักชี ยี่หร่า เกลือ น้ำตาล กะทิ โดยวัตถุดิบทั้งหมดจะถูกกวนในกระทะเหล็กใช้เวลาเกือบ 6-7 ชั่วโมง โดยต้องกวนตลอด จนกระทั่งสุกแห้ง เมื่อเสร็จเรียบร้อยมีการแจกจ่ายแบ่งปันให้แก่ชาวบ้าน ภาพที่เกิดขึ้นสะท้อนถึงความสัมพันธ์และสามัคคีของคนในชุมชน

  • ประเพณีการกินนาซิบารู คำว่า "นาซิบารู" หมายถึง ข้าวสารใหม่ที่ได้ผ่านกรรมวิธีจากการลงแขกเก็บเกี่ยวข้าวในช่วงฤดูทำนา เมื่อเสร็จการทำนา ข้าวเปลือกที่ได้จะนำไปโรงสีข้าวเพื่อเปลี่ยนมาเป็นข้าวสาร หลังจากนั้นชาวบ้านจะเชิญผู้รู้ทางศาสนาและคนในชุมชนมาร่วมรับประทานอาหารที่บ้านเพื่อเป็นการขอบคุณพระผู้เป็นเจ้าที่ได้ทำนาสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี

1. นางรอซีด๊ะ ยีมานอ  มีความชำนาญในการทำนา วิเคราะห์ชนิดพันธุ์ข้าว โดยได้รับความรู้จากการสืบทอดของบรรพบุรุษของตระกูล

อาหาร  มีการจัดตั้งเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต (กลุ่มข้าวกล้องเนินงาม) พร้อมทั้งสำรวจข้อมูลในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องเพื่อนำไปต่อยอดข้าวพื้นเมืองที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของหัวเมืองรามันห์ ที่มีเนื้อที่ปลูกข้าวรวมกว่า 100 ไร่ โดยทีมวิจัยจะนำข้างกล้องดังกล่าวไปวิจัยค้นคว้าหาโภชนาการ ส่วนประกอบสำคัญต่าง ๆ ในเมล็ดข้าวกล้อง เพื่อที่จะได้มีการแปรรูปในแบบต่าง ๆ เช่น ข้าวยำ, น้ำมันจากรำข้าว, สบู่, น้ำดื่มสุขภาพ, ขนมวัวกลิ้ง, ครีมมาร์คหน้า และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งเกิดผลดีต่อเกษตรกรชาวนาในพื้นที่ และพี่น้องประชาชนทั่วไปที่ได้บริโภค 

สำหรับคำว่า "มือลอ" มีความหมายว่า มะลิ มีลักษณะเม็ดข้าวเรียวสั้น กลิ่นหอมคล้ายกับกลิ่นดอกมะลิ ซึ่งข้าวกล้องมือลอ ตำบลเนินงาม นั้นเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีจากที่นี่เคยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของหัวเมืองรามันห์มาตั้งแต่ดั้งเดิมแล้ว ปัจจุบันกลุ่มข้าวกล้องตำบลเนินงาม ได้นำข้าวเปลือกจากผืนนาในตำบลมาทำการกะเทาะเปลือกโดยไม่ผ่านกระบวนการขัดสีหรืออาจมีการขัดสีเพียงเล็กน้อยเพื่อให้ง่ายต่อการหุงต้ม แต่ยังคงให้มีส่วนของจมูกข้าวและเยื้อหุ้มเมล็ดซึ่งเป็นแหล่งของสารอาหารต่าง ๆ อาทิ ใยอาหารวิตามินบี วิตามินซี ฯลฯ ซึ่งสารอาหารเหล่านี้นอกจากจะช่วยในการขับถ่ายแล้วยังช่วยป้องกันโรคเหน็บชา อาการปากนกกระจอกและยังมีคุณสมบัติของสารต่อต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติอีกด้วย

ข้าวพันธุ์หอมมือลอ และ พันธุ์เลือดปลาไหล ข้าวพื้นเมืองของยะลา ตลาดตอบรับดี ช่วยเรื่องสุขภาพข้าวหอมมือลอ ช่วยการฟื้นตัวของผู้ป่วย ข้าวเลือดปลาไหล มีวิตามินบีและแคลเซียมสูง รวมถึงสารชะลอความแก่ปกติปลูกไว้กินภายในครัวเรือน เนื่องด้วยมีความต้องการของตลาด จึงรวมกลุ่มเป็นเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกข้าวปลอดสารพิษ

การใช้ภาษาของผู้คนในชุมชนส่วนมากใช้ภาษามลายูท้องถิ่นและบางส่วนใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร

ภาษาที่ใช้พูด : ภาษามลายูท้องถิ่น ภาษาญาวี

ภาษาที่ใช้เขียน : ภาษาไทยกลาง


เกษตรกรส่วนใหญ่ทำสวนยางพารา ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญที่ก่อให้เกิดรายได้แก่ประชาชนมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งและชาวบ้านมีความศรัทธาในตัวผู้นำ อาชีพหลักคือการทำการเกษตรกรรม ราคาผลผลิตไม่แน่นอนตามฤดูกาล มีการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางส่วน เกษตรกรขาดการพัฒนาระบบการผลิต การแปรรูป การตลาด และการเพิ่มมูลค่าการผลิต การคมนาคมและการสื่อสารภายในหมู่บ้านบางส่วนยังไม่สะดวกและทั่วถึง ภาครัฐให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน โดยการผ่านกระบวนการจัดเวทีประชาคม ทำให้ได้ปัญหาที่แท้จริงของชุมชน

ครอบครัวส่วนใหญ่ในพื้นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก ส่วนใหญ่มีฐานะค่อนข้างยากจน เหตุการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของครอบครัวในพื้นที่ ทำให้การออกไปประกอบอาชีพเกิดความยากลำบากบ้าง มีการเปลี่ยนแปลงเวลาออกไปทำงานเพื่อความปลอดภัย นอกจากนั้นเหตุการณ์ความไม่สงบ ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของครอบครัว ในการเดินทางไปทำงาน ซึ่งส่งผลให้วิถีชีวิตเปลี่ยนไปในช่วงมีเหตุการณ์ใหม่ ๆ แต่ปัจจุบันก็สามารถประกอบอาชีพได้ แต่ก็ยังคงระมัดระวังภัยจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่จะเกิดอยู่เสมอ


ประชาชนนับถืออิสลามเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เดิมเคยเป็นหมู่บ้านที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบ ชาวบ้านจึงได้มีการวางเวรยามในการดูแลหมู่บ้าน แต่ปัจจุบันไม่มีปัญหาการก่อการร้ายและความไม่สงบ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ประชาชนมีความพร้อมและรับฟังความคิดเห็นให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีต่อส่วนร่วมเสมอมา

ในชุมชนบ้านตาโงง มีจุดเด่นในเรื่องการทำนาข้าว

สือมัน ยีมานี. (26 กุมภาพันธ์ 2566). ข้อมูลชุมชนบ้านตาโงง. (โซเฟีย ลือแบปัตตานี, ผู้สัมภาษณ์)

มายีด๊ะ โดมาตา และรอซีด๊ะ ยีมานี. (26 กุมภาพันธ์ 2566). ภูมิปัญญา, ปราชญ์ชุมชน. (โซเฟีย ลือแบปัตตานี, ผู้สัมภาษณ์)

พูดายลี แตซิลง. (26 กุมภาพันธ์ 2566). สภาพแวดล้อม, ประชากร. (โซเฟีย ลือแบปัตตานี, ผู้สัมภาษณ์)

โรสนี ดอเลาะ และมายีด๊ะ โดมาตา. (26 กุมภาพันธ์ 2566). ข้อมูลทั่วไปของชุมชน. (โซเฟีย ลือแบปัตตานี, ผู้สัมภาษณ์)

อบต.เนินงาม โทร. 0-7329-9983