Advance search

บริเวณวัดริมออนใกล้กับวิหาร มีกุฏิเก่าหรือที่ชาวบ้านเรียก "ศาลาร้อยปี" ซึ่งเป็นศาลาไม้ยกพื้นสูง ก่อสร้างในสมัยที่ครูบาแก้ว เริ่มสร้างวัดริมออนช่วงปี พ.ศ. 2478-2483 ปัจจุบันคณะกรรมการหมู่บ้านและชาวบ้านริมออนได้มีมติร่วมกันที่จะอนุรักษ์อาคารไม้หลังนี้ไว้เป็นสถานที่ศึกษาทางประวัติศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวสำหรับคนรุ่นหลังต่อไป

หมู่ที่ 3
บ้านริมออน
ออนใต้
สันกำแพง
เชียงใหม่
เทศบาลออนใต้ โทร. 0-5303-6043
ชนนิกานต์ วงศ์มา
17 ม.ค. 2021
พิมพ์ใจ อุ่นบ้าน
6 มิ.ย. 2023
พิมพ์ใจ อุ่นบ้าน
22 เม.ย. 2023
บ้านริมออน

สมัยโบราณที่คำสืบทอดกันมาว่า เมื่อปี พ.ศ. 2435 ซึ่งได้มีการแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านริมออน มีประชากร 30 หลังคาเรือน บรรพบุรุษเป็นคนพื้นเมืองและอพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนา ซึ่งบางส่วนอพยพมาจากสุโขทัย ตั้งถิ่นฐานบนแม่น้ำแม่ออน ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์และอาศัยอยู่บริเวณที่ติดกับลำน้ำแม่ออน จึงได้ตั้ง ชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านริมออน” มาจนถึงปัจจุบันนี้ 


ชุมชนชนบท

บริเวณวัดริมออนใกล้กับวิหาร มีกุฏิเก่าหรือที่ชาวบ้านเรียก "ศาลาร้อยปี" ซึ่งเป็นศาลาไม้ยกพื้นสูง ก่อสร้างในสมัยที่ครูบาแก้ว เริ่มสร้างวัดริมออนช่วงปี พ.ศ. 2478-2483 ปัจจุบันคณะกรรมการหมู่บ้านและชาวบ้านริมออนได้มีมติร่วมกันที่จะอนุรักษ์อาคารไม้หลังนี้ไว้เป็นสถานที่ศึกษาทางประวัติศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวสำหรับคนรุ่นหลังต่อไป

บ้านริมออน
หมู่ที่ 3
ออนใต้
สันกำแพง
เชียงใหม่
50130
18.73625
99.20772
เทศบาลตำบลออนใต้

สมัยโบราณที่คำสืบทอดกันมาว่า เมื่อปี พ.ศ. 2435 ซึ่งได้มีการแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านริมออน มีประชากร  30 หลังคาเรือน บรรพบุรุษ เป็นคนพื้นเมือง และอพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนา ซึ่งบางส่วนอพยพมาจากสุโขทัย ตั้งถิ่นฐานบนแม่น้ำแม่ออน ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ และอาศัยอยู่บริเวณที่ติดกับลำน้ำแม่ออน จึงได้ตั้ง ชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านริมออน” มาจนถึงปัจจุบันนี้

จากคำบอกเล่าของพ่อสิงห์ จอมใจป้อ อายุ 86 ปี เดิมทีพ่อของพ่อสิงห์เป็นคนบ้านริมออน แต่ไป แต่งงานกับแม่ ซึ่งเป็นคนแม่ปูคา พ่อสิงห์จึงเกิดที่แม่ปูคา ภายหลังจากพ่อสิงห์อายุได้ 3 ขวบ พ่อและแม่ได้ย้าย จากบ้านแม่ปูคามาตั้งครอบครัวที่บ้านริมออน พ่อขันเล่าว่าในขณะนั้นมีบ้านเรือนอยู่สิบกว่าหลังคาเรือน  โดยบริเวณที่ตั้งถิ่นฐานของชุมชนอยู่ฝั่งบนแม่น้ำแม่ออน ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นป่าไม้สัก ป่าอ้อย  มีโรงงานอีดอ้อย (ทำน้ำอ้อย) โดยใช้แรงวัว ควายและใช้เกวียนในการขนอ้อย โรงงานอีดอ้อย ปัจจุบันคือ บริเวณสวนลำไยและหน้าโรงงานใบยาสูบของกำนันอดุลย์ อินก้อนวงค์

บ้านริมออน หมู่ที่ 3 ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตตำบลออนใต้ และอยู่ในเขตการปกครองของเทศบาล ตำบลออนใต้ บ้านริมออนเป็นสถานที่ตั้งของเทศบาลตำบลออนใต้ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสันกำแพง ประมาณ 9 กิโลเมตร เป็นชุมชนชนบท พื้นที่ทั้งหมดของหมู่บ้านมีประมาณ 50 ไร่ เป็นพื้นที่ทางการเกษตร 62 ไร่ 

ลักษณะชุมชน เป็นชุมชนชนบท ประชากรที่อาศัยเป็นคนไทยพื้นเมือง 

อาณาเขตติดต่อ 

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านใหม่ หมู่ที่ 10 ตำบลร้องวัวแดง โดยมีลำน้ำแม่ออนเป็นแนวเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านแม่ผ้าแหน หมู่ที่ 6 โดยมีลำเหมืองสาธารณะเป็นแนวเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านโห้ง หมู่ที่ 2 
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านริมออนใต้หมู่ที่ 5 โดยมีคลองชลประทานเป็นแนวเขต

สภาพภูมิประเทศ 

สภาพภูมิประเทศของบ้านริมออน หมู่ที่ 3 เป็นที่พื้นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำการเกษตรกรรม และเลี้ยงสัตว์ มีสภาพภูมิอากาศเย็นสบายในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และมีอากาศร้อนในช่วง เดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน 

สภาพเศรษฐกิจ 

การประกอบอาชีพ แต่เดิมประชากรส่วนใหญ่ ร้อยละ 90 ประกอบอาชีพทางการเกษตรกร รับจ้าง ค้าขาย และประกอบการต่างๆ แต่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ ผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ ประกอบ กับขาดแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง ประชากรส่วนใหญ่จึงหันมาประกอบอาชีพรับจ้างเป็นอาชีพหลัก รองลงมา คือการค้าขาย ตั้งแต่เปิดร้านค้า จนถึงเก็บผัก ของป่า เช่น เห็ด หน่อไม้ ตามแหล่งธรรมชาติ อาชีพ ทางการเกษตรจึงเหลือน้อยลง ถึงแม้จะมีตลาดนัดชุมชนวันอาทิตย์ ก็ไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจของชุมชนดีขึ้น เพราะชุมชนมีสินค้าเป็นพืชผัก ผลไม้ และของป่า ตามฤดูกาล ดังนั้นประชากรส่วนใหญ่จะอยู่แบบพอเพียง ใช้จ่ายแบบประหยัด มีการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อบริโภคภายในครัวเรือนและนำไปวางขาย บ้านริมออนเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ เพราะเป็นหมู่บ้านที่มีร้านขายครื่องใช้ไฟฟ้า และเป็นที่ตั้ง ของเทศบาลตำบลออนใต้ สำนักงานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน มีผู้มีฐานะที่อยู่ในขั้นร่ำรวย 4 ราย เจ้าของโรงบ่ม ใบยาสูบขนาดใหญ่ มีคนงาน 50 คนขึ้นไป เจ้าของธุรกิจร้านขายรถจักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เจ้าของ โรงงานเย็บผ้า ข้าราชการบำนาญ ส่วนมากมีฐานะในระดับปานกลาง 

รายได้เฉลี่ย/ครัวเรือน/ปี จากการทำการเกษตร ประมาณ 150,000 บาท รายได้เฉลี่ย/คน/ปี 50,963 บาท คิดเป็น 139 บาท/วัน รายได้เฉลี่ย/ครัวเรือน/ปี 173,810 บาท 

การเมืองการปกครอง 

บ้านริมออน หมู่ที่ 3 มีการแบ่งส่วนการปกครองในหมู่บ้านแบบหมวดมื้อเป็น 7 หัวหมวด สำหรับเป็น การแบ่งความรับผิดชอบในการทำกิจกรรม หรือตามประเพณีต่างๆ ทั้งในและนอกชุมชน เช่น การแบ่งหมวด มื้อไปร่วมงานปอยหลวงกับทางวัดในนามหัววัด รวมถึงการส่งข้าวถวายพระในแต่ละวันจะแบ่งเป็นหมวด และแบ่งเป็น 7 หมวดข้าวมื้อ เนื่องจากไม่มีการบิณฑบาต ปัจจุบันหมู่บ้านริมออน อยู่ในการปกครองของ นายเอกพงษ์ เสาร์แปง ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน 

ทรัพยากรธรรมชาติ 

แหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำที่สร้างขึ้นที่สามารถใช้งานได้ ประกอบด้วย 

  • ลำน้ำ จำนวน 2 แห่ง (แม่น้ำแม่ออน คลองกู่เบี้ย และอ่างเก็บน้ำแม่ผาแหน ผ่านฝายล้อง)
  • ประปาหมู่บ้าน จำนวน 1 แห่ง 

จากการศึกษาเรื่องแหล่งทรัพยากรน้ำที่ใช้อุปโภค พบว่า น้ำสำหรับอุปโภค ชาวบ้านใช้น้ำประปา หมู่บ้านเป็นหลัก โดยใช้ได้ดี และไม่พบปัญหาในเรื่องของคุณภาพน้ำ สำหรับน้ำบริโภค ชาวบ้านส่วนใหญ่ บริโภคน้ำบรรจุขวด สำหรับน้ำเพื่อใช้การเกษตรนั้น พบว่าชาวบ้านใช้น้ำทำการเกษตรจากอ่างเก็บน้ำแม่ผาแหนเป็นหลัก โดยใช้น้ำร่วมกับอีก 7 หมู่บ้าน จึงทำให้น้ำไม่เพียงพอ เมื่ออ่างเก็บน้ำแม่ผาแหนตื้นเขิน ทางชลประทานจึงได้มี การขุดลอก ให้กว้างและลึกลงไป แต่ไม่มีน้ำขัง ทำให้ลำเหมืองดึงน้ำจากบ่อน้ำของชาวบ้านแห้งไปด้วย ชาวบ้านแก้ไขปัญหาโดยการใช้กระสอบทรายกั้นแม่น้ำแม่ออน เพื่อสูบไปใช้ในการทำนาข้าว ส่วนลำเหมืองกู่เบี้ย ซึ่งเป็นเหมืองคอนกรีตไหลผ่านหมู่บ้านริมออน แต่มีความลึกและลาดชันมากทำให้น้ำไหลลงไปสู่ที่ต่ำ ปลายเหมืองท้ายหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงไม่สามารถใช้ประโยชน์จากลำเหมืองได้ 

หมู่บ้านริมออน หมู่ที่ 3 ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่  มีครัวเรือนอาศัยอยู่จำนวน 205 ครัวเรือน ประชากรเพศชาย จำนวน 173 คน ประชากร เพศหญิง จำนวน 205 คน รวม 378 คน 

จากการศึกษาผังครือญาติของบ้านริมออน หมู่ที่ 3 ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งในหมู่บ้านริมออน มีตระกูลเก่าแก่และมีนามสกุลที่มีจำนวนผู้รู้จักมากที่สุด คือ นามสกุล คำป๊อก จากการสอบถามประวัติความเป็นมา พบว่าต้นตระกูลของคำป๊อก เป็นคนในหมู่บ้านริมออน โดยกำเนิด บรรพบุรุษ ทำอาชีพเกษตรกร ทางนักศึกษาจึงได้ศึกษานามสกุลคำป๊อก ซึ่งเป็นตระกูลเครือญาติที่มีขนาดใหญ่ อีกทั้งตระกูลนี้ยังสืบทอดมาต่อ ๆ กัน ปัจจุบันมีการใช้นามสกุลอื่นบ้างตามการแต่งงานของบุคคล ทำให้เครือญาติมีการขยายใหญ่มากยิ่งขึ้น โดยมีนายบุญศรีจอมใจป้อ ที่เป็นผู้ใหญ่ในตระกูลเป็นผู้ที่ให้ข้อมูลว่าใครเป็นเครือญาติของใคร ผังครือญาติทำให้ทราบประวัติของครอบครัว จำนวนสมาชิกในครอบครัว ประวัติการแต่งงาน ความสัมพันธ์ทั้งทางสายเลือดและโรคทางพันธุกรรม

การประกอบอาชีพ แต่เดิมประชากรส่วนใหญ่ ร้อยละ 90 ประกอบอาชีพทางการเกษตรกร รับจ้าง  คำขาย และประกอบการต่างๆ แต่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ ผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ ประกอบ กับขาดแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง ประชากรส่วนใหญ่จึงหันมาประกอบอาชีพรับจ้างเป็นอาชีพหลัก  รองลงมา คือการค้าขาย ตั้งแต่เปิดร้านค้า จนถึงเก็บผัก ของป่า เช่น เห็ด หน่อไม้ ตามแหล่งธรรมชาติ อาชีพ ทางการเกษตรจึงเหลือน้อยลง ถึงแม้จะมีตลาดนัดชุมชนวันอาทิตย์ ก็ไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจของชุมขนดีขึ้น เพราะชุมชนมีสินค้าเป็นพืชผัก ผลไม้ และของป่า ตามฤดูกาล ดังนั้นประชากรส่วนใหญ่จะอยู่แบบพอพียง  ใช้จ่ายแบบประหยัด มีการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อบริโภคภายในครัวเรือนและนำไปวางขาย  บ้านริมออนเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ เพราะเป็นหมู่บ้านที่มีร้านขายครื่องใช้ไฟฟ้า และเป็นที่ตั้ง ของเทศบาลตำบลออนใต้ สำนักงานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

โครงสร้างองค์กรชุมชนบ้านริมออน ประกอบด้วย

1. องค์กรที่เป็นทางการ ได้แก่

  • กลุ่มผู้นำ
  • กลุ่มคณะกรรมการหมู่บ้าน
  • กลุ่มอาสาพัฒนาชุมชน (อช.)
  • กลุ่มอาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
  • กลุ่มแม่บ้าน
  • กลุ่มผู้สูงอายุ
  • กลุ่มกองทุนเงินล้านหมู่บ้าน

2. องค์กรที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่

  • กลุ่มการประปา
  • กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์

1. ประเพณีสรงน้ำพระธาตุ พระธาตุเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในพระพุทธศาสนา เพราะถือเป็นวัตถุธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เหลือเป็นรูปธรรมที่สุดเพื่อให้บุคคลผู้มีความเลื่อมใสศรัทธาได้สักการบูชา และน้อมระลึกถึงพระองค์ ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนนิยมกราบไหว้บูชาพระธาตุของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมาก การสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ เป็นประเพณีความเชื่อดั้งเดิมมาแต่โบราณ ที่นิยมกระทำเป็นประจำทุกปีเปรียบเสมือนการได้สรงน้ำพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ทั้งหลาย โดยทั่วไปจะกระทำในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หรือวันงานเทศกาลประจำปี เช่น สงกรานต์ เป็นต้น และวิธีปฏิบัติในการสรงน้ำ ก็จะแตกต่างกันไป แล้วแต่ความเชื่อและความศรัทธาของแต่ละท้องที่นั้น ๆ หรือแล้วแต่บุคคล สมัยโบราณมักจะบูชาพระบรมธาตุด้วยเครื่องหอม และข้าวตอก ดอกไม้ตามปกติแล้วจะสรงพระธาตุด้วยน้ำสะอาดบริสุทธิ์ หรือน้ำสะอาดเจือด้วยสิ่งบูชา แล้วแต่ ความชอบ และความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น ยกตัวอย่างเช่น น้ำหอม น้ำอบ ดอกไม้กลีบดอกไม้ ฝักส้มป่อย หรือ แก่นไม้จันทน์ฝน เป็นต้น เนื่องจากองค์พระบรมธาตุ ส่วนใหญ่บรรจุอยู่ใต้ฐาน พระเจดีย์การสรงน้ำจึงกระทำโดยการราดน้ำไปบนองค์พระเจดีย์ เชื่อกันว่าเป็นที่บรรจุพระบรม สารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นของที่ศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นบริเวณรอบองค์เจดีย์จึงนิยมทำกำแพงแก้วกั้นไว้เป็นบริเวณลาน (ข่วง) เจดีย์ บุคคลใดประสงค์จะเข้าไปที่ลานใน กำแพงแก้ว เพื่อกราบไหว้บูชาหรือเข้าไปทำความสะอาด เป็นการเสริมสร้างแรงจูงใจและเป็นที่ ยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจให้แก่ประชาชน 

2. ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ การเลี้ยงผีขุนน้ำ คือ การทำพิธีสังเวยผีหรือเทวดาอารักษ์ ผู้เป็นหัวหน้าของผีอารักษ์ ทั้งหลายที่ทำหน้าที่ ปกปักรักษาป่าไม้อันเป็นต้นน้ำลำธาร เพื่อเป็นการขอบคุณเทวดาที่บันดาลให้ มีน้ำใช้ในการเกษตรกรรม โดยเฉพาะในเขตลุ่มน้ำของลำน้ำนั้น ๆ และยังเป็นการขอให้ผีประจำ ขุนน้ำบันดาลให้ฝนตกและมีน้ำจากขุนน้ำหรือต้นน้ำนั้นลงมาสู่พื้นราบได้ ผีขุนน้ำเป็นอารักษ์ประจำต้นน้ำแต่ละสาย ซึ่งสิงสถิตย์อยู่บนดอยสูงอันเป็นต้นแม่น้ำทั้งหลาย มักจะอยู่ตามใต้ต้นไม้ใหญ่ ๆ เช่น ไม้ไฮ (ไทร) ไม้มะค่า หรือไม้ยาง เป็นต้น ชาวบ้านก็จะอัญเชิญมาสถิตอยู่ในหอผีที่ปลูกขึ้นอย่างค่อนข้างถาวรใต้ต้นไม้เหล่านั้น ผีขุนน้ำที่อยู่แม่น้ำใดก็จะได้ชื่อตามแม่น้ำนั้น เช่น ขุนลาว เป็นผีอยู่ต้นแม่น้ำ-ลาว เขตอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ขุนวัง อยู่ต้นแม่น้ำวัง จังหวัดลำปาง ขุนออน อยู่ต้นแม่น้ำแม่ออน อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น เพื่อแสดงความขอบคุณผีขุนน้ำที่ปกปักรักษาป่าไม้ที่เป็นต้นน้ำลำธารให้ชาวบ้านมีน้ำเพื่อใช้ในการทำการเกษตร เช่น ทำนา ทำไร่ และเป็นการเตรียมตัวเพื่อรับฤดูกาลทำการเกษตรและร่วมมือกันในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของการใช้น้ำ ช่วยกันขุดลอกเหมืองฝาย จัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำการเกษตรให้พร้อมนั่นเอง

3. พิธีบวงสรวงเจ้าพ่อเด่นคำ (ผีเสื้อบ้าน) เป็นความเชื่อเกี่ยวกับการเคารพ การให้บ้านเมืองอยู่อย่างสงบสุข ผีอารักษ์ ผีเจ้านาย ผีเสื้อบ้าน มักจะเรียกสั้น ๆ ว่า “เสื้อบ้าน” เมื่อครั้งมีชีวิตอาจเป็นใครก็ได้ ทั้งจากในตระกูลหรือนอกสายตระกูล แต่เป็นคน ดีที่ได้รับการยกย่องจากสังคม อาจเคยเป็นวีรบุรุษหรือผู้นำ และเมื่อตายไปแล้วก็ได้รับการบูชาในฐานะผู้ปกป้องชุมชน มีการเซ่นไหว้ด้วยพิธีกรรมคล้าย ๆ การไหว้ผีปู่ย่า งานส่วนรวมเข่นนี้ถือเป็นหน้าที่ของทุกคนใน ชุมชนที่ต้องช่วยเหลือกันในการเคารพ และสำหรับ “เสื้อเมือง” เป็นผีอารักษ์ที่ปกป้องบ้านเมือง ในอดีตเคยเป็นเจ้านายหรือเป็นกษัตริย์ มีขอบเขตการปกครองกว้างกว่าเสื้อบ้าน ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ของชุมชนที่อาศัยตามลุ่มน้ำสายเดียวกัน เช่น เมืองฝาง เมืองฮอด เมืองเถิน ในอดีตการบวงสรวงจำเป็นต้องให้เจ้าเมืองเป็นผู้ ประกอบพิธี เมื่อจะมีการบวงสรวงครั้งหนึ่งก็ต้องมีค่าใช้จ่าย ซึ่งได้จากเรี่ยไรชาวบ้านหรือการเก็บภาษีเฉพาะกิจ ในปัจจุบันเชียงใหม่ ยังมีพิธีเลี้ยงเสื้อเมืองนี้อยู่ทุกปี สำหรับอำเภอสันกำแพง ตำบลออนใต้จะมีการ บวงสรวงเจ้าพ่อเด่นคำ ซึ่งเป็นผู้ที่ปกปักรักษาชาวบ้านริมออน หมู่ที่ 3 ที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจอีกสิ่งหนึ่งให้ หมู่บ้านปลอดภัย ประชาชนภายในหมู่บ้านอยู่อย่างสงบสุข 

4. ประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่า ผีปู่ย่า หรือผีบรรพบุรุษของครอบครัว หมายถึง ใครก็ได้ที่เมื่อมีชีวิตเคยอยู่สร้างคุณประโยชน์แก่ ลูกหลานจนเป็นที่นับถือ เมื่อตายไปแล้วจึงได้รับการยกย่องให้เป็นผู้คุ้มครองดูแลลูกหลานในวงศ์ตระกูล ส่วนใหญ่เป็นบรรพบุรุษของฝ่ายหญิง บางครั้งผีเรือนก็ถือว่าเป็นผีปู่ย่าได้ การกราบไหว้ต้องทำสม่ำเสมอทุกปี หากมีการละเลยเชื่อกันว่าจะเกิดความอัปมงคลแก่ตนเองและญาติพี่น้อง พฤติกรรมเชิงชู้สาวของเด็กหญิงก่อน แต่งงานจะนำไปสู่การผิดผี ซึ่งต้องแก้ไขด้วยการเสียผี การขอขมาผีปู่ย่า เทวดาเรือนด้วย พิธีกรรมมากมาย ประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่า มีการนำอาหาร เช่น ไก่ หัวหมู เหล้า เป็นต้น มาในพิธีและมีการทำพิธีสวดต่าง ๆ เพื่อเป็น การเคารพบรรพบุรุษนั่นเอง

5. ประเพณีตานก๋วยสลาก ประเพณีถวายทานสลากภัต เป็นวิธีการถวายเครื่องไทยทานแก่พระพระสงฆ์วิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมของชาวเหนือ โดยทั่วไปจะเริ่มในวันเพ็ญเดือน 12 เหนือ (กันยายน) ถึงแรม 1 ค่ำ เดือนเกี๋ยงดับ (พฤศจิกาย น) เป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลได้มีการปฏิบัติสืบต่อกันมาปัจจุบัน ตำนานกล่าวว่า มีนางยักษิณีตนหนึ่ง มักจะเบียดเบียน ผู้คนอยู่เสมอ เมื่อได้ฟังธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว นางก็บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธา นิสัยใจคอที่โหดร้ายก็กลับเป็นผู้เอื้ออารีแก่คนทั่วไปจนผู้คนต่างพากันซาบซึ้งในมิตรไมตรีของนางยักษิณีตนนั้น ถึงกับนำสิ่งของมาแบ่งปันให้ แต่เนื่องจากสิ่งของที่ได้รับมีจำนวนมาก นางยักษิณีจึงนำสิ่งของเหล่านั้นมาทำเป็นสลากภัต แล้วให้พระสงฆ์/สามเณร จับสลากด้วยหลักอุปโลกนกรรม คือ สิ่งของที่ถวายมีทั้งของมีราคามากและน้อยแตกต่างกันไปตามแต่โชคของผู้ได้รับ การถวายแบบจับสลากของนางยักษิณีจึงนับเป็นครั้งแรกของประเพณีทำบุญสลากภัตในพุทธศาสนา กัณฑ์สลากแต่ละกัณฑ์จะมีเส้นสลาก เขียนข้อความอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้ผู้ที่ล่วงลับและเทวดา ทั้งหลายและมีชื่อเจ้าของกัณฑ์ เส้นสลากที่เขียนจะเขียนลงในแผ่นใบตาลหรือใบลาน หรือกระดาษแข็ง เท่าจำนวนของเครื่องไทยทาน และนำเส้นสลากไปกองรวมกันยังที่กำหนดไว้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวิหารหน้าพระ ประธาน กรรมการจะจัดแบ่งสลากออกเป็นกอง ๆ ตามจำนวนที่พระภิกษุ สามเณร ที่นิมนต์มาร่วมพิธีและจัดแบ่งให้พระประธานด้วย ถือว่าเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า เมื่อพระสงฆ์อนุโมทนาจบแล้ว ชาวบ้านต่างแยกย้ายกันไปนั่ง ณ ที่จัดไว้ให้ชาวบ้านเจ้าของกัณฑ์สลากต่างพากันตามหาเส้นสลากของตัวเองที่อยู่ในมือของพระภิกษุสามเณร เมื่อพบแล้วพระภิกษุสามเณรอ่านเส้นสลากแล้วจึงถวายของ เมื่อรับพรเสร็จรับเส้นสลากไป เผา แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปหาผู้ที่ล่วงลับถือว่าเป็นอันเสร็จพิธี 

6. ประเพณีตานข้าวใหม่ ในการปลูกข้าวทุกชนิดจะมีฤดูกาลปลูกและเก็บเกี่ยว เรียกว่า ข้าวนาปี คือปลูกและเก็บเกี่ยวครั้งเดียวต่อปี โดยจะเริ่มปักดำหรือหว่านในช่วงต้นฤดูฝน ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม และเริ่มเก็บเกี่ยวได้ ในเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้วนำออกมาจำหน่ายในแต่ละปีเราจะเรียกว่าข้าวใหม่ จนกระทั่งข้าวจากฤดูกาลใหม่หรือปีถัดไปถูกเก็บเกี่ยวนำออกจำหน่าย ข้าวของฤดูกาลเก็บเกี่ยวที่ผ่านมาจะกลายเป็นข้าวเก่า “ข้าวใหม่” เมื่อนำมาขัดสีเมล็ดข้าว จะมีสีขาวใส จมูกข้าวยังติดกับเมล็ดข้าวอยู่ มียางข้าวมาก และมีกลิ่นหอม “ข้าวเก่า” คือ ข้าวที่เก็บไว้นานค้างปี หรือเก็บเกี่ยวนานมากกว่า 4-6 เดือน แล้วจึงค่อยนำมาขัดสี เมล็ดข้าวจะมีสีขาวขุ่น มีรอยแตกหักบ้างเล็กน้อย เมล็ดข้าวไม่เกาะติดกัน เพราะมียางข้าวน้อย และจะแข็งกว่าข้าวใหม่ ตั้งแต่ในอดีต พุทธศาสนิกชนเชื่อว่า ข้าวคือเมล็ดพืชพันธุ์ที่มีความเกี่ยวพันกับศาสนา ไม่ว่าการเข้าพรรษา การถวายข้าวมธุปายาสและเรื่องราวของข้าวยังเป็นต้นเรื่องของประเพณี ความเชื่อ วัฒนธรรมอีกมากมายหลากหลายในพื้นที่แหล่งเพาะปลูกข้าว ในดินแดนล้านนามีการถวายทานข้าวใหม่ ในวันเพ็ญเดือน 4 เหนือ หรือ “วันสี่เป็ง” ที่มีการสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน และบางที่ก็มีชื่อเรียกเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น เช่น ตานข้าวใหม่ ตานข้าวล้นบาตร หรือ ตานดอยข้าว เป็นต้น การตานข้าวใหม่ คือ มีการถวายทานข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าวนึ่ง หรือนำข้าวไปทำเป็น ข้าวหลาม ข้าวหนุกงา (ข้าวผสมกับงาขี้ม้อน) ข้าวจี่ และขนมต่าง ๆ ที่ทำจากข้าว เช่น เข้าหนมปาด เข้าหนมเกลือ เข้าหนมจ็อก (ขนมเทียน) เข้าต้มกะทิ (ข้าวต้มมัด) หรือเรียกให้คล้องจองกันว่า “เดือนสี่ตานเข้าจี่เข้าหลาม” ประเพณีการถวายทานข้าวใหม่ถือเป็นกุศโลบายของคนโบราณล้านนา ที่สอดแทรกคำสอนลูกหลาน ให้มีความกตัญญูกตเวทิตาต่อผู้มีพระคุณ โดยอาศัยฤดูหลังการเกี่ยวข้าวเป็นช่วงทำบุญดังกล่าว นอกจากการไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับ และนำข้าวเปลือก ข้าวสาร ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวไปถวาย พระสงฆ์แล้วส่วนหนึ่งก็นำไปให้ญาติผู้เฒ่าผู้แก่ที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีที่บุคคลเหล่านี้ได้บุกเบิกแผ้วถางผืนป่าที่รกร้าง มาเป็นท้องทุ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวกล้า เป็นอู่ข้าวอู่น้ำมายังชนรุ่นหลัง “ข้าวใหม่” จึงเป็นตัวแทนของวิถีชุมชนและธรรมชาติที่เกื้อกูลกัน โดยมีพิธีกรรม ประเพณี ความเชื่อและ ศาสนา มาเชื่อมโยง รวมทั้งเป็นการแสดงความกตัญญูถึงคุณบิดามารดา ผู้ล่วงลับ ธรรมชาติ ผืนดิน สายน้ำ และฤดูกาลที่ให้ความอุดมสมบูรณ์ ในการอยู่ดีกินดีของประชาชนเหล่านั้น เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตของตนเองและครอบครัว

1. นายเอกพงษ์ เสาร์แปง (อดีตผู้ใหญ่บ้าน) ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ประธาน อสม. นําหมู่บ้านเข้าประกวดโรคไข้เลือดออก ได้รับรางวัลชนะเลิศ ของอําเภอสันกําแพง ในการปลอดลูกน้ำยุงลาย

2. พระอธิการสายัณห์ ปญญาวชิโร เจ้าอาวาสวัดอรุณโติกราม (ริมออน)

พระอธิการสายัณห์ปญญาวชิโร ปัจจุบันดํารงตําแหน่ง เจ้าอาวาสวัดอรุณโติกราม (ริมออน) เกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2506 จบหลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารกิจกรรมคณะสงฆ์ (ป.บส.) บ้านเลขที่ 34/1 บ้านริมออน หมู่ที่ 3 ตําบลออนใต้ อําเภอสันกําแพง จังหวัดเชียงใหม่ พระอธิการสายัณห์ ปญญาวชิโร เป็นบุตรของนายบุญเป็ง โปธาปั๋น และเป็นบุตรของนางมนตรี โปธาปั๋น มีพี่น้องจํานวน 5 คน โดยพระอธิการ

สายัณห์ ปญญาวชิโร เป็นบุตรคนที่ 3 มีพี่ 2 คน คือ นางสาวนงเยาว์ โปธาปั๋น และนางอุบล นันท์ไชย์ มีน้อง2 คน คือ นายวิทิต โปธาปั๋น และนายพิทักษ์ โปธาปั๋นเมื่อปี 2517 สําเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนวัดริมออน ต.ออนใต้ อ.สันกําแพง จ.เชียงใหม่ จากนั้นปี 2518 บรรพชาสามเณร ปี 2519 สอบไล่ได้นักธรรมตรี ที่สํานักวัดป่าตึง ต.ออนใต้ อ.สันกําแพง จ.เชียงใหม่ ในปี 2520 สอบไล่ได้นักธรรมโท ที่สํานักวัดป่าตึง ต.ออนใต้ อ.สันกําแพง จ.เชียงใหม่ ในปี 2525 สอบไล่ได้นักธรรมเอก ที่สํานักวัดป่าตึง ต.ออนใต้ อ.สันกําแพง จ.เชียงใหม่ ในปี 2532 ได้รับตราตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดอรุณโชติการาม (ริมออน) ดํารงตําแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดอรุณโติกรามจนถึงปัจจุบัน และในปี 2553 จบหลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารกิจกรรมคณะสงฆ์ (ป.บส.) ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ การศึกษาพิเศษวิชาภาษาล้านนา ความชํานาญ สามารถอ่าน เขียนภาษาล้านนาและจบช่างไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยพระอธิการสายัณห์ ปญญาวชิโร ท่านได้ปฏิบัติกิจของสงฆ์ได้เป็นอย่างดี โดยได้บริหารกิจการของคณะสงฆ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ส่งเสริมทํานุบํารุงพระพุทธศาสนา ให้เจริญรุ่งเรือง สร้างศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชน สร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงให้กับพระพุทธศาสนาโดยท่านเป็นแบบอย่างในการลด ละ เลิกจากอบายมุขทั้งหลาย เป็นผู้นําประกอบพิธีทางศาสนาทาให้ชาวบ้านมีความรักความสามัคคีกัน อบรมชาวบ้านให้มีจิตใจเอื้อเฟื้อต่อกันเห็นอกเห็นใจกันช่วยเหลือกัน ตลอดจนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมแก่ประชาชนเป็นผลให้สภาพแวดล้อมของชุมชนดีขึ้น ทําให้วัดมีบรรยากาศดีเป็นอีกสถานที่สําหรับให้ประชาชนได้มาพบปะพักผ่อนหย่อนใจ คติในการดําเนินชีวิตของพระอธิการสายัณห์ ปญญาวชิโร “ยอมลําบากเมื่อหนุ่ม ดีกว่ากลุ้มเมื่อแก่”

แหล่งน้ำ

แหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ที่สามารถใช้งานได้ประกอบด้วย ลำน้ำ จำนวน 2 แห่ง (แม่น้ำแม่ออน คลองกู่เบี้ยและอ่างเก็บน้ำแม่ผาแหน ผ่านฝายล้องประปา หมู่บ้าน จำนวน 1 แห่ง แท็งค์น้ำประปาเริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2527 แท็งค์เก่าใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 224,000 บาท ใช้งบของ อบต. ทั้งหมด ความลึก 80 เมตร ใช้บริโภคไม่ได้เพราะเป็นสนิม แท็งค์ใหม่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2554 งบ อบจ.  2,800,000 บาท ความลึก 90 เมตร ใช้ไฟ 2 ระบบ มีโซล่าเซลล์และไฟฟ้า แท็งค์น้ำนี้สามารถใช้ดื่มได้ น้ำสำหรับบริโภค ชาวบ้านทั้งหมดในชุมชนใช้น้ำประปาเป็นหลัก ปัจจุบันน้ำประปาเริ่มมีปัญหา เนื่องจากไหลน้อย ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ คุณภาพของน้ำเป็นสนิม ชาวบ้านแก้ปัญหาโดยการรองไว้ใช้และซื้อน้ำดื่มบริโภคซึ่งทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ปัจจุบันเทศบาลตำบลออนใต้ได้มีการนำถังน้ำมาตั้งไว้ที่บริเวณศาลาของหมู่บ้านเพื่อแก้ไขปัญหาเบื้องต้น สำหรับน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร ชาวบ้านประสบกับปัญหาน้ำไม่เพียงพอต่อการเกษตร ทำนาได้ครั้งเดียวโดยใช้น้ำจากอ่างแม่ผาแหน ร่วมกับอีก 7 หมู่บ้าน เมื่ออ่างแม่ผาแหนตื้นเขิน ทางชลประทานจึงได้มีการขุดลอกให้กว้างและลึกลงไป แต่ไม่มีน้ำขัง ทำให้ลำเหมืองดึงน้ำจากบ่อน้ำของชาวบ้านแห้งไปด้วย ชาวบ้านแก้ ไขปัญหาโดยการใช้กระสอบทรายกั้นลำน้ำออน เพื่อสูบไปใช้ในการทำนาข้าว (อยู่ในที่ของ สท.อดุลย์ อดีต กำนัน) ชุมชนมีความพยายามที่จะทำจุดกั้นน้ำเพิ่ม แต่ชาวบ้าน หมู่ 10 ตำบลร้องวัวแดง ไม่ให้สร้างเพราะกลัวน้ำท่วม ส่วนลำเหมืองกู่เบี้ย ซึ่งเป็นเหมืองคอนกรีตไหลผ่านหมู่บ้านริมออน แต่ลึกและลาดชันมาก ทำให้น้ำไหลลงไปสู่ที่ต่ำปลายเหมืองท้ายหมู่บ้านชาวบ้านไม่สามารถใช้ประโยชน์จากลำเหมืองได้ 

ระบบแพทย์ชุมชน (Population sector)

การรับประทานอาหาร ในหมู่บ้านริมออน ได้จาก 2 แหล่ง ได้แก่ อาหารที่หาได้จากธรรมชาติ เช่น ผักสวนครัว ผักริมรั้ว และอาหารที่หาซื้อได้จากร้านค้าหรือตลาด เช่น อาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป อาหาร กระป๋อง อาหารทะเล เนื้อ ไข่ น้ำมันพืช ผักและผลไม้สด เป็นต้น ประชากรส่วนใหญ่ภายในชุมชนมักประกอบ อาหารรับประทานกันเองภายในครัวเรือน เนื่องจากอาหารที่ทำขึ้นเองนั้นสามารถหาวัตถุดิบได้ภายใน ครัวเรือน ประหยัดค่าใช้จ่าย ควบคุมรสชาติเองได้ สะอาด และปลอดสารพิษ 

การดูแลตนเองเบื้องต้น ส่วนใหญ่หากมีอาการไม่รุนแรง เช่น มีไข้ต่ำ ๆ ปวดศีรษะเล็กน้อยจะรักษา โดยการกินยาแก้ปวด คือ Paracetamol CPM ยาแก้ไอน้ำดำ ยาธาตุน้ำขาว เป็นต้น ถ้ามีการเจ็บป่วยมากขึ้น จะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านแม่ผาแหน หรือคลินิกในตัวเมืองสันกำแพง ได้แก่ คลินิกหมอเรณู คลินิกหมอประโยชน์ คลินิกหมอประยูร หรือโรงพยาบาลทั้งของรัฐบาลและเอกชน ในส่วนของการใช้สมุนไพร ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับการแพทย์ปัจจุบันมากขึ้น มีเพียงประชากรบางส่วนที่ยังคงใช้สมุนไพรในการช่วยรักษาโรค เช่น ฟ้าทะลายโจร โดยเชื่อว่าสามารถนำใบสดมากินเพื่อลดไข้ได้ ใช้ว่านหางจระเข้ในการทาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เป็นต้น โดยสมุนไพรส่วนใหญ่สามารถหาได้ง่ายภายในบ้าน การออกกำลังกาย ประชากรส่วนใหญ่ภายในชุมชนมักออกกำลังกายด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เดิน และวิ่ง ในช่วงเช้าเวลาประมาณ 06.00 - 07.00 น. และในช่วงเย็นเวลาประมาณ 17.00 - 18.00 น. ประชากรบางส่วนในชุมชนออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานในช่วงเช้าเป็นกลุ่ม โดยปั่นรอบหมู่บ้านและไปทางบริเวณเชิงเขาหรือทางอ่างเก็บน้ำห้วยลาน นอกจากนี้ยังมีเครื่องออกกำลังกายภายในหมู่บ้านโดยจัดตั้งไว้บริเวณศาลาหน้าซอย 10 เพื่อให้บริการประชาชน อาสาสมัครหมู่บ้าน เป็นส่วนหนึ่งของภาคประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน มีหน้าที่ช่วยเหลือประสานงานระหว่างชุมชนและหน่วยงานสุขภาพ โดยอาสาสมัครหมู่บ้านสามารถ ช่วยเหลือหน่วยงานสาธารณสุขในด้านของการตรวจสุขภาพเบื้องต้นได้ เช่น วัดไข้ วัดความดันโลหิต เจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อวัดระดับน้ำตาลในเลือด เป็นต้น

ระบบการแพทย์พื้นบ้าน (Folk sector) 

ประชาชนบางส่วนในหมู่บ้านริมออนยังคงมีการใช้ระบบการแพทย์พื้นบ้านอยู่ โดยใช้บริการหมอวิรัตน์ อิยะ ซึ่งเป็นหมอพื้นบ้านประจำชุมชน รักษาผู้ป่วยโดยการท่องคาถาเป่ารักษา ส่วนใหญ่รักษาเกี่ยวกับการเจ็บป่วยด้วยอุบัติเหตุ รถล้ม รถชน หรือได้รับการผ่าตัดมา โดยเป่าคาถาเชื่อว่าจะทำให้อาการทุเลาลงได้ และจากการสอบถามหมอวิรัตน์บอกว่าได้รับวิชามาจากพ่อหลวงเก่าของอีกหมู่บ้าน ตนนั้นมีความสนใจใน เรื่องนี้ด้วยจึงไปขอล่ำเรียนวิชา ซึ่งการรักษาแต่ละครั้งจะต้องมีกรวยดอกไม้ น้ำส้มป่อย และค่าครูตามแล้วแต่จิตศรัทธา แต่การใช้ระบบการแพทย์พื้นบ้านภายในปัจจุบันมีน้อยลง ประชาชนส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้บริการสุขภาพสมัยใหม่ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ง่าย น่าเชื่อถือ มีระบบสาธารณสุขเชิงรุก ทำให้ประชาชนได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง จึงทำให้ประชาชนเลือกที่จะเข้ารับการรักษาด้วยระบบการแพทย์สมัยใหม่มากกว่าระบบการแพทย์พื้นบ้าน 

ประชาชนในหมู่บ้านเป็นคนพื้นเมือง ประชาชนส่วนใหญ่ใช้ภาษาท้องถิ่น (ภาษาพื้นเมือง, ภาษาเหนือ) ในการติดต่อสื่อสารเป็นภาษาหลักภายในชุมชน สำหรับการติดต่อสื่อสารทางราชการและบุคคลภายนอก ใช้ภาษาไทยกลางและภาษาถิ่นในการติดต่อสื่อสาร 


แต่เดิมประชากรส่วนใหญ่ ร้อยละ 90 ประกอบอาชีพทางการเกษตร รับจ้าง ค้าขาย และประกอบการ ต่าง ๆ แต่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ประกอบกับขาดแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง ประชากรส่วนใหญ่จึงหันมาประกอบอาชีพรับจ้างเป็นอาชีพหลัก รองลงมาคือการค้าขายตั้งแต่เปิดร้านค้า จนถึงเก็บผัก ของป่า อาหาร เช่น เห็ด หน่อไม่ ตามแหล่งธรรมชาติ วางขายเป็นวัน ๆ การประกอบอาชีพทางการเกษตรจึงเหลือน้อยลง ถึงแม้จะมีตลาดนัดชุมชนวันอาทิตย์ ก็ไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจชุมชนดีขึ้น เพราะชุมขนมีสินค้าเป็นพืชผักผลไม้และของป่าตามฤดูกาล ดังนั้น ประชากรส่วนใหญ่จะอยู่แบบพอพียง ใช้จ่ายแบบประหยัดมีการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อบริโภคและวางขาย แต่ไม่มีการปลูกพืชเศรษฐกิจ กาดนัดริมออน เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 30 ปีแล้ว โดยการก่อตั้งของพ่ออุ้ยคำ แม่อุ้ยขัน กันทะพรม แรกเริ่มทำเป็นเพิงเล็ก ๆ หน้าบ้าน เพื่อขายสินค้าที่จำเป็นในชุมขน เช่น กะปิ น้ำปลา ของแห้ง เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และเปิดโอกาสให้คนในและนอกชุมชนได้มีการนำพืชผักและของป่ามาวางขาย โดยจะเก็บค่าเช่าแผงเฉพาะพ่อค้าแม่ค้าต่างถิ่นเท่านั้น ซึ่งคิดตามขนาดแผงที่ขายสินค้า สำหรับคนในชุมชนไม่ได้คิดเงิน หลังจากนั้นกาดนัดริมออนเริ่มเป็นที่นิยมและเป็นที่รู้จักของผู้คนมากขึ้น จำนวนพ่อค้าแม่ค้านำของมาขายเพิ่มขึ้น ภายหลังการขยายตลาดได้ 15 ปี มีร้านค้าเกิดขึ้นกว่า 150 ร้าน เต็มทั้งสองฝั่งถนน ตลอดระยะทางประมาณหนึ่งกิโลเมตร และในช่วงฤดูกาลที่ของป่าออกผล ชาวบ้านในตำบลออนใต้ ประมาณ 50 ราย ได้นำผลผลิดที่ได้ จากป่ามาวางขาย เช่น เห็ด ผักหวาน ผักกูด หน่อไม้ ผักพื้นบ้านตามฤดูกาล


ศูนย์เด็กเล็ก 1 แห่ง มีเด็กนักเรียน 52 คนโรงเรียน 1 แห่ง (ปัจจุบันได้ถูกยุบรวมไปอยู่ ร.ร. วัดแม่ผาแหน เมื่อ พ.ศ. 2544) ในอดีตบ้านริมออนเคยมีโรงเรียนประชาบาล โดยแยกนักเรียนที่มาจากบ้านริมออนและบ้านโห้งจากโรงเรียนวัดแม่ผาแหนย้ายมาเปิดการเรียนการสอนที่บ้านริมออนเมื่อปี พ.ศ. 2481 ณ บริเวณที่ตั้งสํานักงานเทศบาลตําบลออนใต้ในปัจจุบันเมื่อปี พ.ศ. 2543 โรงเรียนบ้านริมออนมีจํานวนนักเรียนที่มาเรียนลดน้อยลง และได้ยุบรวมโรงเรียนตามโครงการรวมโรงรียนขนาดเล็ก ไปรวมกับไรงเรียนวัดแม่ผาแหนอีกครั้ง ซึ่งโรงเรียนวัดแม่ผาแหนได้รับนโยบายให้เป็นโรงเรียนตามหลักนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ รวมแล้วโรงเรียนวัดริมออนก่อตั้งมาเป็นเวลา 62 ปี ปัจจุบัน โรงเรียนวัดริมออนเป็นสถานที่ตั้งของเทศบาลตําบลออนใต้ ยังมีอาคารเรียนหลังเก่าหลงหลือ ที่ยังไม่ได้รื้อถอน ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ศึกษาภาคบังคับ และเป็นศูนย์ประสานงาน (กศน.) ของเขตตําบลออนใต้

สภาพทางสังคม 

ด้านศาสนา 

คนในชุมชนบ้านริมออนนับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก โดยมีวัดอรุณโชติการามหรือริมออน เป็นศูนย์รวม จิตใจ โดยมีเจ้าอาวาสเป็นพระที่มีความสามารถทางด้านคาถา อาคม เสกเป่า เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี พระลูกวัดมาจากต่างจังหวัด ทำหน้ำที่ดูแลวัด ในช่วงเย็นเวลาประมาณ 6 โมงเย็นของทุกวัน จะมีการทำวัตรเย็นและสวดมนต์เครื่องเสียงตามสายของหมู่บ้านริมออนและริมออนใต้เพื่อให้ชาวบ้านทั้งสองหมู่บ้านได้ยิน วัดริมออนมีศรัทธาสองหมู่บ้าน คือ บ้านริมออนและริมออนใต้ ชาวบ้านไปทำบุญที่วัดเป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงเข้าพรรษาและวันศีลใหญ่จะมีคนไปเป็นจำนวนมากแต่ในช่วงออกพรรษามาจะมีคนไปน้อย (วันศีลใหญ่หมายถึงวันพระที่มีความสำคัญ เช่น วันมาฆบูชา วิสาขบูชา) มีการจัดกิจกรรมในวันสำคัญ เช่น วันสงกรานต์ วันลอยกระทง ขึ้นที่วัด 

วัดออนใต้เคยมีโรงเรียนในวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. 2478 โดยมีครูบาแก้วเป็นผู้ริเริ่มสร้างดูจากบันทึกประวัติวัดอรุณโชติการามหรือวัดริมออนของพ่อหนานถา เมืองตา ได้เขียนด้วยลายมือไว้ว่า ที่ดินบริเวณวัดริมออนเดิมเป็นที่บ้านของพ่อของแม่อุ๊ยบุญแสงตึง ซึ่งได้ขายที่ดินให้ พ่อหนานสุวรรณ์ ปากบ่อง คนลำพูน เมื่อพ่อหนานสุวรรณ์จะย้ายไปอยู่เชียงราย ได้ขายที่บ้านนี้ให้พ่อตา ใจติขะ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2472 ครูบาแก้ว หรือตุ๊ลุงแก้วซึ่งเป็นพระที่อยู่บ้านนสันใต้ อำเภอสันกำแพง มาสร้างแท่นธรรมาสที่วัดป่าตึง ทางคณะศรัทธาบ้านออนใต้ นำโดยพ่อตา ใจติขะ และพ่ออุ๊ยน้อยหน้อย ซึ่งเป็นพ่อ ของอุ๊ยโตง ธวังแก้ว พากันไปนิมนต์ ตุ๊ลุงแก้วมาสำรวจที่สร้างวัด ตอนนั้นพ่อเลี้ยงน้อยหน่อย ได้ถวายที่ดินให้ตุ๊ลุงแก้วแปลงหนึ่งในด้านทิศตะวันออก ติดกับที่พ่อหนานหลวงสีพร้อมกับคอกควายหนึ่งหลังให้สร้างเป็นวิหาร หลังเล็กระหว่างรอการก่อสร้างวัด 

ปี พ.ศ. 2476 เริ่มสร้างวิหารขึ้นหนึ่งหลัง พ่อน้อยตา พ่อของแม่อุ๊ยนวล พ่ออุ๊ยจั๋นแก้ว และครูบาแก้ว เป็นช่วง ปี 2478 เริ่มสร้างกุฏิ ผู้ที่ทำประตูหน้าต่างของกุฏิ คือ พ่อหนานคำ โปธิตา พ่อน้อยสาม วังใจ พ่อน้อย อ้วน พิระตา ตอนที่ทำประตูหน้าต่าง พ่อหนานถา เมืองตา ผู้บันทึกประวัติ ยังเป็นเณร ศิษย์ก้นกุฏิของครูบาแก้ว สร้างเสร็จในปี 2483 ครูบาแก้ว ขัติติโย ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ สันกำแพง สมัยนั้นเรียก สมุอำเภอ ท่านมาวางฤกษ์ยามเช้าตรู่ ตั้งชื่อวัดว่าอรุณโชติการาม อรุณ แปลว่า รุ่งเช้า โชติการาม แปลว่า แก้วโชติช่วงชัชวาล การาม กา แปลว่า กามาเขตุบ้าน ราม แปลว่า อาราม มารวมกันแปลว่า อรุณโชติการาม (ริมออน) หมายถึง บ้านริมออนตั้งอยู่บนฝั่งน้ำแม่ออน สมัยนั้น (ปี 2483) บ้านริมออน มีไม่ถึง 50 หลังคาเรือน ผู้นำหมู่บ้าน (ภาษาเหนือเรียกว่าแก่บ้าน) คนแรก ชื่อพ่อหลวงคำปา คนที่สองชื่อพ่อหลวงน้อยมูล ใจติขะ (ป้อแก่ น้อยมูล) คนที่สามชื่อพ่อหลวงชื่น โปธิตา ครูบาแก้ว มาสร้างวัดตอนที่พ่อน้อยมูล ใจติขะ เป็นผู้ใหญ่บ้าน พ่อตา ใจติขะ เป็นไวยวัจกร (แก่วัด) ไวยวัจกร คนต่อมาคือ พ่อหนานซื่น โปธิตา เป็นแก่วัด พ่อหนานอื่น โปรธาปั๋น และพ่อหนานชื่น โปธิตา ได้ดำรงตำแหน่งทั้งแก่บ้านแก่วัด อาจารย์วัด ในสมัยต่อมา เมื่อสร้างวิหารเสร็จครูบาแก้ว ได้ยกกุฏิหลังเล็กให้เป็นโรงเรียน ชื่อว่าโรงเรียนบ้านริมออน ผู้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่คนแรก คือครูบุญเป็ง ใจกันทะ ครูใหญ่คนที่สองคือ ครูบุญชู นามวงษ์พรม 

ครูบาแก้ว ขัดติโย เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ตุ๊ปู่คำเป็นพระที่ครูบาแก้วบวชให้เมื่อตอนเข้ากรรม เป็นการบวชหนีโรคาพยาธิ พอครูบาแก้วถึงแก่มรณภาพ ตุ๊ปู่คำคนนี้ก็สืบพรรษาต่อมา ไม่นานก็สึกออกไป ต่อมาพระนุช บวชแล้วสึกออกไป และกลับมาบวชอีกครั้ง ศรัทธาก็นิมนต์สืบพรรษาต่อไปจนสึกไป

ทางคณะศรัทธาวัดริมออน ก็ไปนิมนต์เอาพระศรีนวล เขมานุโธ แห่งวัดป่าตึง มาจำพรรษา ดำรงตำแหน่งแทนเจ้าอาวาส ไม่นานก็ย้ายไปประจำที่วัดแม่ผาแหน ต่อมามีพระศรีหมื่น ภัทธาจาโร ซึ่งเป็นถูก หลานของบ้านริมออน บวชจนอุปสมบทเป็นพระ จนมีตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส ได้คิดสร้างวิหาร แต่เกิด อาพาธและ ได้มรณภาพไปเมื่อ วันที่ 6 กรกฎาคม 2509 ณ ศึกสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลสวนดอกในขณะที่อายุ 35 ปี 

ในปี พ.ศ 2509 พระอินถา อภิปุณโณ ลูกหลานวัดริมออน ซึ่งเป็นพระลูกวัดและเป็นลูกศิษย์ของพระ ศรีหมื่นทำหน้าที่แทนเจ้าอาวาส ถึง พ.ศ 2510 จึงสึกออกไป พระบุณตาน อัฐกาโม ได้อุปสมบทและทำหน้าที่ แทน จนสึกออกไปจน เมื่อปี พ.ศ. 2514 ศรัทธาวัดริมออนได้ไปนิมนต์ พระจากที่อื่น มาจำพรรษา มีรายชื่อดังต่อไปนี้ 

  1. พระวิรัส วัดบ้านโห้ง 
  2. ตุ๊ลุงป็อก วัดดอยซิว
  3. พระประเสริฐ วัดน้ำจำ
  4. พระคำ วัดสันโค้งเก่า
  5. พระสุชิน สุตินทโร (ตุ๊ลุงจิ่น ว่างหล่อ)
  6. พระจันตา วัดป่าแงะ
  7. พระบุญยง ลูกหลานบ้านริมออน 

รายชื่อ เจ้าอาวาสวัดริมออนใต้ 

  1. ครูบาแก้ว ขัตติโย เจ้าอาวาสคนแรก 
  2. พระนุช อาภาสโร พ.ศ. 2484-2490
  3. พระศรีนวล เขมานุโธ พ.ศ. 2490-2493
  4. พระศรีหมื่น ภัทธาจาโร พ.ศ. 2493-2409 (มรณภาพ ในปี พ.ศ 2509)
  5. พระ อินถา อภิปุณโณ พ.ศ. 2509-2510
  6. พระบุณตาล อัฐกาโม พ.ศ. 2510-2514
  7. พระบุญโยม ชินวโส พ.ศ. 2514-2518
  8. พระโอภาส ปัญญาภิมนต์ พ.ศ. 2527- ปัจจุบัน

ครูบาแก้วผู้สร้างวัด มรณภาพในปี 2483 (ตามคำบอกเล่าของพ่อหนานถา เมืองตา) และตุ๊ลุงหมื่น เมื่อครูบาแก้วมรณภาพ ชาวบ้านได้ปรงศพ (เผาศพ) ครูบาแก้วที่ต้นตานกลางทุ่งนา (อยู่หน้าสำนักงานชุมชนนิเวศน์ในปัจจุบัน) ขณะนั้นชุมชนยังไม่มีความเจริญ ประกอบกับครูบาแก้วเป็นคนจากที่อื่นมาสร้างวัด จึงไม่มีการสร้างกู่หรือที่เก็บอัฐิครูบาแก้ว 

กู่ตุ๊ลุงหมื่น 

กู่ตุ๊ลุงหมื่น ตั้งยู่วัดริมออนด้านทิศตะวันตก กู่ตุ๊ลุงหมื่น เป็นลูกหลานบ้านริมออนที่บวชเรียนจนได้เป็นเจ้าอาวาสในช่วงปี 2493-2509 และได้คิดสร้างวิหาร คนแก่สมัยนั้นเชื่อว่าเป็นเพราะท่านยังเป็นพระหนุ่ม บารมียังไม่พอที่จะสร้างวิหารได้จึงเกิดอาพาธและเสียชีวิตลงก่อนที่จะได้สร้างวิหารวัดริมออน กู่ตุ๊ลุงหมื่นสร้างขึ้นข้างวัดริมออนด้านทิศตะวันตก ซึ่งเป็นสถานที่ปลงศพของกู่ตุ๊ลุงหมื่นภายหลังจากงานปลงศพ โดยญาติของ กู่ตุ๊ลุงหมื่นและชาวบ้านร่วมกันสมทบทุนสร้างขึ้น มีการตั้งกองทุนกู่ตุ๊ลุงหมื่นเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา และมีการบูรณะ เมื่อปี 2555 

ชาวบ้านจะมีการสรงน้ำกู่ตุ๊ลุงหมื่นทุกปีในช่วงเดือนเมษายน ภายใน 15 วันหลังสงกรานต์ซึ่งกรรมการวัดจะกำหนดขึ้นตามความเหมาะสม งานสรงน้ำกู่ตุ๊ลุงหมื่นเป็นงานใหญ่มีการมีการแสดงซอพื้นเมือง มีมหรสพ ถือเป็นงานใหญ่ประจำปีของบ้านริมออน 

โบสถ์ร้าง (โบสถ์ร้าง หรือโบสดห่าง) 

สถานที่ที่เป็นโบสถ์ร้าง เดิมเป็นเกาะขนาดเล็ก กว้างประมาณไร่กว่า ๆ ตอนนั้น สายน้ำแม่ออน ยังไหลห่างจากโบสถ์นี้ไปไกลมาก เมื่อครูบาแก้ว มาสร้างวัดริมออน ท่านก็ได้สำรวจพบสถานที่แห่งนี้ และเห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะ มีที่สิ่งอัศจรรย์หลายอย่างตามที่ท่านได้พิจารณา เป็นต้นว่า มีบ่อน้ำธรรมชาติกว้างประมาณวากว่า ๆ ซึ่งไหลมาจากทางทิศใต้ และบ่อน้ำแห่งนี้ไม่เคยเหือดแห้งตลอดถึงสมัยนั้น ถนนหนทางไม่สะดวก ไปมาลำบากมาก พิธีสังฆกรรมของศาสนาสมัยนั้น ระเบียบทางศาสนาเคร่งครัดมากครูบาแก้วจึงได้สร้างโบสถ์ไม้ หลังเล็ก ขึ้นหนึ่งหลัง มีเสาสี่ต้น เพื่อไว้ใช้ในพิธีสังฆกรรมของศาสนาประมาณการเอาน่าจะสร้างขึ้นประมาณปี

พ.ศ. 2480 สมัยที่ (พ่ออินถา เมืองตา) เป็นเด็กวัด (ขะโยม) ยังเห็นซากปรักหักพัง ต่อมาครูบาแก้วท่านได้มรณภาพลงไปแล้ว ต่อมาก็มีชาวบ้านร่วมใจกันพัฒนาเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ ผู้นำชาวบ้านพัฒนาสมัยนั้น คือ พ่ออ้ายไม่ทราบนามสกุล รู้เพียงชื่อเล่น ๆ ว่าพ่ออ้ายจ๊อก อยู่บ้านหล่ายน้ำสมัยนั้นเป็นมีคนเขียนคำว่า "พ่อ อ้ายจ๊อก เป็นคนกล้าแข็ง เป็นคนขอแฮง ปี้น้องจาวบ้าน" (มาช่วยกันพัฒนา โบสถ์) (บ้านหล่ายน้ำอยู่ตรงข้าม บ้านริมออนปัจจุบันเป็นพื้นที่บ้านใหม่หมู่ 10 ตำบลร้องวัวแดง)

โบสถ์ร้างแห่งนี้ คนโบราณเชื่อว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิงสถิตย์อยู่ ในสมัยก่อนไม่มีใครกล้าเดินผ่านหลังตะวันตกดิน เพราะจะได้ยินเสียงร้องของวิญญาณ หรือเห็นสัตว์ใหญ่เดินหายเข้าไปในบริเวณโบสถ์ร้าง และอาจทำให้คนที่พบเห็นเกิดการเจ็บป่วยได้ ในปัจจุบันนี้สถานที่บริเวณนี้ยังเคร่งครึม น่าเกรงขามสำหรับคนในชุมชน 

ชาวบ้านจะทำการบวงสรวงเซ่นไหว้ในวันเดือนแรมเก้าค่ำหรือประมาณปลายเดือนมิถุนายน และทุกครั้งที่มีพิธีกรรมที่วัดริมออน จะมีการนำอาหารคาวหวานมาถวายที่โบสถ์ร้างเป็นการสักการะบูชาเสมือนเป็นการบอกเจ้าที่ 

ศาลาร้อยปี 

นอกจากนี้ในบริเวณวัดริมออนใกล้กับวิหาร ยังมีกุฏิเก่า หรือที่ชาวบ้านเรียก "ศาลาร้อยปี" ซึ่งเป็น ศาลาไม้ยกพื้นสูง ก่อสร้างในสมัยที่ครูบาแก้ว เริ่มสร้างวัดริมออนช่วงปี พ.ศ. 2478-2483 ซึ่งจากคำบอกเล่า ของผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป และได้เคยบวชเรียนที่วัดริมออน ได้เล่าตรงกันว่าอาคารหลังนี้มีอยู่แล้ว ตั้งแต่ตอนที่บวชเรียนเป็นสถานที่พักอาศัยของพระภิกษุสงฆ์ ปัจจุบันคณะกรรมการหมู่บ้านและชาวบ้านริมออนได้มีมติร่วมกันที่จะอนุรักษ์อาคารไม้หลังนี้ ไว้เป็นสถานที่ศึกษาทางประวัติศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยว สำหรับคนรุ่นหลังต่อไป 

ความเชื่อ 

ชาวบ้านในชุมชนแห่งนี้ยังมีความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติอยู่ เช่น มีการทำพิธีเลี้ยงผีปู่ย่า การเลี้ยง ผีเสื้อวัด ผีเสื้อบ้าน โดยจะทำในวันแรมเก้าค่ำ เดือนเก้า การทำบุญใจ๋บ้าน (เสาหลักบ้าน) ทุกปีใหม่เมือง  ตลอดจนการดูเมื่อดูหมอ ร่างทรง แกว่งข้าว (ผีหม้อนึ่ง) ถือฤกษ์ยาม วันดีวันเสีย ฮีตฮอย สิ่งที่ควรกระทำใน วิถีชีวิต เช่น คติเรื่องการแต่งงาน "บ้านบ่าดีฮ่วมเดือน เฮือนบ่าดีฮ่วมปี๋" หมายถึง คนที่อยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน

ไม่ควรแต่งงานในเดือนเดียวกัน พี่น้องที่อยู่บ้านหลังเดียวกัน ไม่ควรแต่งงานในปีเดียวกัน จะทำให้อยู่กันไม่ยืด มีการหย่าร้าง หรืออยู่อย่างไม่มีความสุข หรือหากจะก่อสร้างบ้านจะต้องกำหนดทิศ กำหนดฤกษ์วันตามที่ผู้นำ ทางด้านจิตวิญญาณบอก จะต่อเติมบ้านหรือต่อเติมบ้านเสร็จต้องมีการทำพิธีสวดถอนเพื่อแก้เคล็ดก่อน 

สถานที่สำคัญของชุมชนริมออนในเรื่องของความเชื่อ และชาวบ้านได้สืบทอดจารีตประเพณีที่บรรพบุรุษหรือผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านได้ทำพิธีมาตั้งแต่อดีดจนถึงปัจจุบัน เป็นการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชุมชน ช่วยคุ้มครองคนในชุมชนให้มีความสุข ความเจริญรุ่งเรืองและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สถานที่ดังกล่าวได้แก่ เสื้อบ้าน ศาลเจ้าพ่อเด่นคำ 

ศาลเจ้าพ่อเด่นคำเป็นเสื้อบ้านเป็นสถานที่เก่าแก่แห่งหนึ่งที่ชาวบ้านให้ความเคารพมาแต่โบราณ จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่เกี่ยวกับการทำพิธีกรรมนี้ว่า ในอดีตหากมีพิธีกรรมหรือกิจกรรมในชุมชนแล้ว ถ้าไม่ได้มาบอกกล่าว (ถวายเครื่องเซ่น) เสื้อบ้าน จะทําพิธีกรรมหรือกิจกรรมไม่สําเร็จ ซึ่งในแต่ละปีชาวบ้านจะทําการเลี้ยงเสื้อบ้านในวันแรมเก้าค่ำเดือนเก้า ประมาณปลายเดือนมิถุนายน มีการนําอาหารหวานคาวผลไม้มารวมกัน โดยชาวบ้านได้นําเงินมาสมทบ ครัวเรือนละ 30 บาท ให้ตั้งข้าว คนถวายเครื่องเซ่นนําไปถวายเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชุมชน

ชนนิกานต์ วงศ์มา, ฐานิรัตน์ วิชัยวัฒนา,ณัฐกาญจน์ ปันดิ,พิมพ์ญาดา เจริญรัมย์,มษนี วังจันทร์, วิวัฒน์ ศรีทอน,  ศิริขวัญ พิมพ์จันทร์, และสุดารักษ์ บุญเงิน. (2564). รายงานการพัฒนาอนามัยชุมชนบ้านริมออน หมู่ ที่ 3  ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่.

เทศบาลตำบลออนใต้. (2566). ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2566. เข้าถึงได้จาก: https://ontai.go.th

เทศบาลออนใต้ โทร. 0-5303-6043