คริสตจักรบ้านขุนป๋วย เป็นศาสนสถานประจำชุมชน ถือเป็น ศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน เห็นได้จากการที่ชาวบ้านส่วนใหญ่มักจะมีส่วนร่วมกับโบสถ์ที่อยู่คู่กับชุมชนมายาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การดูแลซึ่งกันและกัน ผ่านพิธีการนมัสการ เกิดการทำกิจกรรมนอกเหนือจากพิธีกรรมทางศาสนา การรวมกลุ่มทั้งกลุ่มพ่อบ้าน แม่บ้าน เยาวชนและเด็กมีการพัฒนาด้านบุคคล การจัดเข้าค่ายเยาวชนในช่วงปิดภาคเรียน ตลอดจนการร่วมกันพัฒนาชุมชน ขณะเดียวกันในทุกวันอาทิตย์ของการเข้าโบสถ์ ทุกคนจะต้องใส่ชุดประจำเผ่าทั้งชายและหญิงเพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมการแต่งกายชุดชนเผ่ากะเหรี่ยงให้ดำรงอยู่ต่อไป
บ้านขุนป๋วย หมู่ที่ 3 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2200 แต่ไม่ปรากฏชัดเจนว่าครอบครัวไหนหรือผู้ใดเป็นผู้ก่อตั้ง เนื่องจากมีการสร้างหมู่บ้านอยู่ใกล้กับจุดกำเนิดของแม่น้ำป๋วย อีกทั้งบริเวณโดยรอบของหมู่บ้านโอบล้อมไปด้วยป่าไม้และภูเขาสูง จึงกลายเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน
คริสตจักรบ้านขุนป๋วย เป็นศาสนสถานประจำชุมชน ถือเป็น ศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน เห็นได้จากการที่ชาวบ้านส่วนใหญ่มักจะมีส่วนร่วมกับโบสถ์ที่อยู่คู่กับชุมชนมายาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การดูแลซึ่งกันและกัน ผ่านพิธีการนมัสการ เกิดการทำกิจกรรมนอกเหนือจากพิธีกรรมทางศาสนา การรวมกลุ่มทั้งกลุ่มพ่อบ้าน แม่บ้าน เยาวชนและเด็กมีการพัฒนาด้านบุคคล การจัดเข้าค่ายเยาวชนในช่วงปิดภาคเรียน ตลอดจนการร่วมกันพัฒนาชุมชน ขณะเดียวกันในทุกวันอาทิตย์ของการเข้าโบสถ์ ทุกคนจะต้องใส่ชุดประจำเผ่าทั้งชายและหญิงเพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมการแต่งกายชุดชนเผ่ากะเหรี่ยงให้ดำรงอยู่ต่อไป
หมู่บ้านขุนป๋วย หมู่ที่ 3 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้น เมื่อราวปี พ.ศ. 2200 แต่ไม่ปรากฏชัดเจนว่าครอบครัวไหนหรือผู้ใดเป็นผู้ก่อตั้ง มีอาณาเขต ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านโป่งน้อย หมู่ที่ 14 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง
- ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านห้วยข้าวลีบ หมู่ที่ ๘ ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง และ บ้านห้วยหอย หมู่ที่ 19
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านขุนวาง หมู่ที่ 12 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง
การขยายตัวของชุมชนจะเป็นไปในลักษณะการมีครอบครัวและการแต่งงาน ในอดีตคนในชุมชนนับถือศาสนาพุทธดั้งเดิม (นับถือผี) มีพิธีกรรมการเลี้ยงผีที่สืบทอดต่อกันมา
- พ.ศ. 2526 / ค.ศ. 1983 โรงเรียนบ้านขุนป๋วยไทย – สหประชาชาติ เปิดสอนเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ๒๕๒๖ ซึ่งก่อตั้งโดยกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย แล้วเสร็จจึงเปิดสอน โดยมีผู้สอนคนแรก คือ ท่าน อาจารย์พร เชิดสกุล พร้อมทั้งการเข้ามาของศาสนาคริสต์เป็นครั้งแรก ท่านเป็นคนแรก ที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนา ภูมิลำเนาเป็นคนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในฐานะที่อาจารย์เป็นคริสเตียนคนหนึ่ง ท่านก็ได้เข้ามาพูดคุยกับคนในหมู่บ้าน เวลาสอนเด็กในโรงเรียนก็มีการเผยแพร่บ้าง มีการร้องเพลงเกี่ยวกับคริสเตียน ในตอนนั้น มีครอบครัวหนึ่งที่รับเชื่อ (การรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน) ศาสนาคริสต์ เนื่องจากตอนนั้นในหมู่บ้านมีหลากหลายปัญหาเกิดขึ้น ทั้งปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดฝิ่นดำ ทุกครอบครัว โดยเฉพาะผู้ชายจะติดยาประเภทนี้มาก เนื่องจากสมัยนั้น เขาก็มีการทำไร่ฝิ่นและปัญหาความยากจนเยอะมากตอนนั้น อาจารย์ท่านนี้ก็เข้ามาเพื่อที่จะทำหน้าสอนและประกาศเกี่ยวกับเรื่องของพระเยซูคริสต์ หลังจากการประกาศเกี่ยวกับเรื่องของพระเยซูคริสต์ก็มีหนึ่งครอบครัวที่รับเชื่อ ชื่อนายแปยูวา เป็นบิดา และบุตรอีกหนึ่งคนชื่อว่า นายกลีงี ครอบครัวนี้อยู่มานานถึงสิบกว่าปี แล้วจึงมีครอบครัวอื่นที่รับเชื่อใหม่ ในตอนนั้นนายแปยูวา หลังจากที่รับเชื่อแล้ว อาจารย์พร ท่านได้แนะนำให้ไปตัดขาดจากยาเสพติด นายแปยูวา ได้ไปอยู่กับอาจารย์พรที่ อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน หลังจากที่นายแปยูวา ได้ตัดสินใจตัดขาดจากยาเสพติด ชีวิตของเขาก็เริ่มดีขึ้น เนื่องจากได้รับการบำบัดยาเสพติดโดยเฉพาะซึ่งมีศูนย์บำบัดยาเสพติดอยู่ที่ อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
- พ.ศ. 2528 การโอนโรงเรียนบ้านขุนป๋วยไปเป็นสาขาของโรงเรียนแม่วินสามัคคี โรงเรียนบ้านขุนป๋วย ไทย - สหประชาชาติ สร้างเสร็จพร้อมกันกับที่ครูพรเข้ามาสอน เนื่องจากก่อนที่ครูพรจะเข้ามาตอนนั้นที่หมู่บ้านยังไม่มีโรงเรียนและไม่มีการสอนหนังสือ ทางเจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์ได้เข้ามาดูแล้วเห็นความสำคัญจึงได้สร้างโรงเรียนขึ้น คือโรงเรียนบ้านขุนป๋วย ไทย - สหประชาชาติ แต่หน่วยงานที่ได้จัดสร้างขึ้นนั้นไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับโรงเรียนจึงได้หาทางให้โรงเรียนได้ไปขึ้นอยู่กับหน่วยงานไหนดี จึงได้ไปประสานขอความร่วมมือกับ โรงเรียนแม่วินสามัคคี แล้วจึงได้โอนเข้าเป็นหนึ่งในสาขา ของโรงเรียนแม่วินสามัคคี ในตอนนั้น มีการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 แต่ปัจจุบันมีสอนถึงแค่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เนื่องจากสมัยผู้อำนวยการของโรงเรียนแม่วินสามัคคีคนก่อน ได้รับนโยบายให้ยุบโรงเรียน เพื่อไปเรียนรวมกันที่โรงเรียนแม่วินสามัคคีเพื่อเรียนที่เดียวกัน ทางหมู่บ้านก็ได้ประชุมร่วมกันว่าจะทำอย่างไร เนื่องจากเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 ยังไม่สามารถไปอยู่หอพักหรือดูแลตัวเองได้ จึงไปตกลงกับทางโรงเรียนว่าให้ไปเฉพาะชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ได้หรือไม่ ถ้าไม่อย่างนั้นโรงเรียนก็จะถูกยุบไปนานแล้ว แต่หลังจากที่ผู้อำนวยการคนใหม่เข้ามาก็ได้มีการวางนโยบายขึ้นใหม่ซึ่งแตกต่างจากคนเดิม คือการช่วยพัฒนาโรงเรียนนี้ขึ้นมากกว่าเดิม ทั้งยังส่งนักศึกษาฝึกสอน ขึ้นมาช่วยสอนนักเรียนโรงเรียนบ้านขุนป๋วยในทุกอาทิตย์
- พ.ศ.2528 / ค.ศ. 1985 การสร้างโบสถ์โปรเตสแตนท์ มาจากงบประมาณของกลุ่มชาวคริสเตียนทั้ง
จากในประเทศไทยและต่างประเทศ อีกบางส่วนเป็นงบของทางองค์การบริหารส่วนตำบลแม่วิน
- พ.ศ. 2531 / ค.ศ. 1988 กลุ่มคริสเตียนมาจากอำเภอจอมทอง เดินทางมาเยี่ยมเยียน ครอบครัวของชาวคริสเตียนที่หมู่บ้านขุนป๋วย จำนวน ๑๒ ครอบครัว
- พ.ศ. 2532 / ค.ศ. 1989 สมาชิกสองคนในกลุ่มคริสเตียนจากอำเภอจอมทอง ตัดสินใจย้ายมาอยู่ประจำยังหมู่บ้านขุนป๋วย ปัจจุบันคือ ศาสนจารย์และศิษยาภิบาล กฤตภาส งดงามโฆส ประจำคริสตจักรบ้านขุนป๋วย หมู่ที่ 3 ในตอนนั้น ได้มีการเริ่มสอนภาษากะเหรี่ยงและเพลงคริสเตียน ทั้งยังเริ่มเผยแพร่คำสอนของศาสนาคริสต์ แรงกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนศาสนา รวมไปถึงแรงจูงใจที่ทำให้ชาวบ้านบ้านขุนป๋วยเชื่อในพระเยซูคริสต์และเปลี่ยนศาสนานั้นก็คือ ความทุกข์ยากและความเหน็ดเหนื่อยจากการเลี้ยงผี ยกตัวอย่างเช่น บางคน บางครอบครัวจะทำต้องพิธีการเลี้ยงผีก็ไม่สามารถที่จะหาหมูไก่ที่เป็นของเซ่นไหว้มาได้ แต่จำเป็นที่จะต้องหามาให้ได้ ไม่มีก็ต้องมี ซึ่งวิถีชีวิตของชาวปกาเกอะญอ ในสมัยก่อนส่วนจะเป็นแบบนี้ ซึ่งไม่ง่ายแบบปัจจุบันที่มีความสะดวกสบายเพิ่มมากขึ้นในการหาซื้อของเพื่อมาทำพิธีเซ่นไหว้ได้
- ปีพ.ศ. 2549 การเข้ามาของโครงการหลวงแม่สะป๊อก การพัฒนากลุ่มชาติติพันธ์ในประเทศไทยเริ่มจากการพัฒนากลุ่มชาติติพันธ์ ที่ตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่สูง คือ ชาวเขาด้วยสาเหตุสำคัญคือ ความมั่นคงบริเวณพื้นที่ชายแดนการแก้ไขปัญหายาเสพติดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าการทำไร่เลื่อนลอย และการลดอัตราการเพิ่มประชากรเพื่อให้ชนชาวเขาเป็นพลเมืองไทยที่ดีและสามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีการตั้งคณะกรรมการสงเคราะห์ชาวเขา ในปี ๒๕๐๒ และต่อมาได้บรรจุเป็นแนวทางการพัฒนาประเทศครั้งแรกในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 พ. ศ.2525 ถึง 2529 ในการพัฒนากลุ่มชาติติพันธ์บนพื้นที่สูง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเรียกชนชาวเขาว่าเป็นคนไทยแต่อยู่บนเขา พระองค์ได้พระราชทานความช่วยเหลือในการสงเคราะห์และพัฒนาในด้าน 7 การศึกษาตั้งแต่ปี 2506 เป็นต้นมาและในปี 2512 มีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการหลวงขึ้นเพื่อช่วยเหลือชนชาวเขาในด้านมนุษยธรรมแก้ไขปัญหายาเสพติดการส่งเสริมการทำเกษตรกรที่ถูกต้องและเพื่อจัดตั้งถิ่นฐานถาวรเป็นหลักแหล่งและช่วยรักษาป่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 ข้อที่ 4 กล่าวถึงการแก้ปัญหาความยากจนในชนบทล้าหลัง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 ได้กำหนดจุดประสงค์การพัฒนาชนบทเป็นเป้าหมายหลักสำคัญประการหนึ่ง เพื่อมุ่งพัฒนาชนบทในพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาที่แล้วมา ให้สามารถช่วยตัวเองได้ในอนาคต โดยจะมุ่งพัฒนาชาวชนบทที่ยากจนให้ขึ้นสู่ระดับพอมีพอกินและสามารถก้าวไปสู่ขั้นการอยู่ดีกินดีขึ้นในระยะยาวต่อไป
- พ.ศ. 2558 การที่มีไฟฟ้าเข้ามาสู่หมู่บ้านเป็นครั้งแรก ซึ่งก่อนหน้านั้นในหมู่บ้าน แต่ละหลังคาเรือนแผง
ใช้โซล่าเซลล์ซึ่งได้มีข้อจำกัดในการใช้งาน
- พ.ศ. 2560 ถนนภายในหมู่บ้าน เริ่มมีการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินโครงการโดยองค์การบริหารส่วนตำบลแม่วินเป็นองค์กรหลัก ซึ่งก่อนหน้านี้ ถนนในหมู่บ้านเป็นถนนดินแดง ในช่วงฤดูฝนหรือเมื่อเวลามีฝนตกหนัก เส้นทางดังกล่าวจะไม่สามารถเดินทางเข้า - ออกจากหมู่บ้านได้หรือได้แต่ค่อนข้างลำบาก และเริ่มมีการเข้ามาติดตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือภายในหมู่บ้าน
หมู่บ้านขุนป๋วยหรือเม่เป่ยชี เป็นชุมชนชาติพันธุ์ชาวปกาเกอะญอเผ่าสะกอร์ หมู่ที่ 3 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่บนพื้นที่เทือกเขาสูงอยู่เหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 1,020 เมตร พื้นที่ภายในหมู่บ้านล้อมรอบด้วยภูเขา และพื้นที่ป่าไม้มีลักษณะเป็นป่าดิบเขา อีกทั้ง ยังมีแม่น้ำป๋วยตัดผ่าน และมีสาขาแบ่งเป็นลำห้วยเล็ก ๆ ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ ใช้ในการประกอบเกษตรกรรม มีการสร้างบ้านเรือนตั้งอยู่บนสันเขาเป็นหย่อม ๆ ตามที่ราบ ระหว่างหุบเขาหรือที่ราบเชิงเขา อยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนตำบลแม่วิน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 15 กิโลเมตร โดยมีที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
o ทิศเหนือติดต่อกับ บ้านโป่งน้อย หมู่ที่ 14 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง
o ทิศใต้ติดต่อกับ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
o ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านห้วยข้าวลีบ หมู่ที่ 19 และบ้านห้วยหอย หมู่ที่ 19 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
o ทิศตะวันตกติดต่อกับ บ้านขุนวาง หมู่ที่ 12 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
ลักษณะภูมิอากาศ แบ่งออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่
- ฤดูหนาว ช่วงเดือน พฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ุ
- ฤดูร้อน ช่วงเดือน มีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน
- ฤดูฝน ช่วงเดือน มิถุนายนถึงเดือนตุลาคม ลักษณะที่อยู่อาศัย บ้านขุนป๋วยหมู่ที่ 3 ลักษณะที่อยู่อาศัยบ้านเป็นชุมชนชนบท ทำให้บ้านมีลักษณะการตั้งที่อยู่อาศัยเป็นบ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน ยกพื้นบ้านสูง มีชานหน้าบ้าน และบ้านส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนที่ราบ และที่สูง โดยจะอยู่กันเป็นเครือญาติซึ่งบ้านจะอยู่ติดกัน ไม่มีรั้วกั้นระหว่างกัน ทุกครัวเรือนจะมีเตาไฟอยู่ภายในบ้านซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าในการใช้เป็นที่ประกอบอาหาร ภายในบ้านขุนป๋วย ใช้การคมนาคมทางบก ซึ่งในอดีตเป็นถนนดินแดงมีการเดินทางที่ลำบาก ภายหลังได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานทางภาครัฐ เข้ามาดูแลได้ทำถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อความสะดวกในการเดินทางให้กับชาวบ้านและได้รับการช่วยเหลือใน ด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ จากหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ เช่น ทุกหลังคาเรือนเข้าถึงระบบไฟฟ้า ระบบน้ำประปา และสัญญาณโทรศัพท์
ประชากรบ้านขุนป๋วย ทั้งหมดเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ มีจำนวนทั้งสิ้น 548 คน เพศชาย 264 คน เพศหญิง 284 คน เป็นผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป) จำนวน 47 คน เพศชาย 23 คน เพศหญิง 24คน คนพิการ 4 คน เพศชาย 1 คน เพศหญิง 3 คน ครัวเรือนทั้งสิ้น 157 ครัวเรือน ความสัมพันธ์ของคนภายในชุมชนเป็นลักษณะแบบครอบครัวขนาดใหญ่ ที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญในชุมชน ที่แตกต่างกันไป เช่น ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้ประสานงานของศาสนจักร รวมไปถึงอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ประธานกลุ่มแม่บ้าน ซึ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นบุคคลที่มาจากตระกูลเดียวกันภายในชุมชนครอบครัว ส่วนใหญ่เป็นพี่น้องกันหมด การพึ่งพาอาศัย จึงเป็นลักษณะช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน จึงทำให้ชุมชนยังคงมีความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นและมีโครงสร้างที่เป็นแบบดั้งเดิม
ปกาเกอะญอมิติทางด้านศาสนา
บ้านขุนป๋วย เป็นกลุ่มขาติพันธุ์ปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) เผ่าสกอร์ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาพุทธดั้งเดิม (ผี) โดยศาสนาคริสต์จะนับถือ นิกายโปรเตสแตนต์ ร้อยละ 80 นิกายคาทอลิก ร้อยละ 10 และศาสนาพุทธดั้งเดิม ร้อยละ 10 ซึ่งพิธีกรรมของแต่ละศาสนา จะแตกต่างกันไปตามความเชื่อของบุคคล หรือในแต่ละครัวเรือน
มิติด้านความเชื่อความเชื่อจะสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ มีทั้งความเชื่อเรื่องของการอนุรักษ์ป่า ทรัพยากรธรรมชาติ ความเชื่อเรื่องของศาสนา หรือความเชื่อที่เกิดขึ้นในชุมชน จะเห็นได้ว่า ชุมชนเชื่อเรื่องของการเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ควบคู่ไปกับความเชื่อตามยุคสมัย ซึ่งความเชื่อนำไปสู่ประเพณีวัฒนธรรมเพื่อให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสิ่งที่มีคุณค่าแฝงไปด้วยความเชื่อเรื่องต่าง ๆ เช่น ความเชื่อเรื่องของการนำสายสะดือของตนเองไปผูกกับต้นไม้ ที่แฝงไปด้วยเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติและการหวงแหนป่าชุมชน เป็นต้นมิติด้านพิธีกรรม ประเพณี วัฒนธรรมในอดีตบ้านขุนป๋วยมีการนับถือศาสนาพุทธดั้งเดิม ภายหลังชาวบ้าน ได้มีการหันมานับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ และศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกมากขึ้น แต่ยังคงหลงเหลือกลุ่มชาวบ้านที่ยังนับถือศาสนาพุทธดั้งเดิม (ผี) ไม่กี่ครัวเหลือจึงทำให้เห็นได้ว่าพิธีกรรม ประเพณี และวัฒนธรรมของแต่ละศาสนานั้นมีความแตกต่างกันออกไป แต่คงยังมี พิธีมัดมือ ที่ถือเป็นประเพณีที่สำคัญของชาวบ้านขุนป๋วย ที่ยังคงไว้ซึ่งการอนุรักษ์จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ประเพณี การมัดมือสิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ข้าวปุ (เมโตพิ) มีลักษณะเป็นข้าวเหนียวที่ตำจนเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนำมาผสมกับงา ข้าวต้มมัด (เมตอ) เป็นการนำเอา ข้าวเหนียว มาผสมกับ ถั่วดิน (ถั่วลิสง) หรือกล้วยน้ำว้าสุกห่าม ห่อด้วยใบตอง ให้เป็นรูปแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้า จำนวน 5 ลูก แล้วนำมามัดรวมกันด้วยตอกให้แน่น นำไปต้มให้สุก นอกจากนั้น ยังมีเหล้าขาวไว้แต่ละบ้าน เป็นพิธีกรรมที่ญาติ พี่น้อง และลูกหลานได้กลับมายังบ้านเกิดของตนเอง เพื่อมาขอพรจากผู้ใหญ่ให้เกิดความสิริมงคลในวันปีใหม่ของชนเผ่า ซึ่งผู้สูงอายุแต่ละบ้านจะมีการทำพิธี โดยใช้ไก่เป็นของเซ่นไหว้ และเหล้าขาว เมื่อมัดมือจะทำการอวยพรเพื่อให้ได้พบกับสิ่งที่ดีมิติด้านการแต่งกายการแต่งกาย จากการทอผ้าใช้เอง ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดต่อกันมารุ่นสู่รุ่น ซึ่งจะเห็นได้ว่าการแต่งกายของหญิงสาวนั้นจะใส่ชุดสีขาว ที่เรียกว่า เชวา แสดงถึงหญิงสาวที่มีความบริสุทธิ์ ส่วนผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว จะใส่เสื้อผ้าที่มีสีสัน และสีดำ มีลวดลาย เรียกว่า เชซู ส่วนผู้ชาย จะใส่เสื้อผ้าทอ ที่ไม่มีลวดลายมากนักนิยมใส่สีแดงซึ่งเป็นสีของปกาเกอะญอ เรียกว่า เชกวอมิติด้านสังคมและเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพส่วนใหญ่ มีการทำเกษตรกรรมปลูกผัก ผลไม้ เพื่อส่งให้กับทางโครงการหลวงเนื่องจากหมู่บ้านมีสภาพอากาศที่เย็นตลอดทั้งปี และปลูกข้าวตามฤดูกาลซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าวจ้าวเพื่อบริโภคเป็นอาหารหลัก และปลูกข้าวเหนียวบ้างแต่ไม่มากนัก โดยปลูกไว้เพื่อใช้ในการแปรรูป พันธุ์ข้าวบนพื้นที่สูงจะแตกต่างจากพันธุ์ข้าวที่ปลูกบริเวณพื้นที่ราบทั่วไป เนื่องจากระดับความสูงของพื้นที่และสภาพอากาศที่แตกต่างกัน และมีการเลี้ยงสัตว์ทุกหลังคาเรือน เช่น หมู ไก่ วัว ควาย สำหรับการบริโภคและพิธีต่างๆรวมถึงเลี้ยงไว้เพื่อสร้างรายได้ นอกจากนี้ยังมีการประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น ร้านค้า ทอผ้า อู่ซ่อมรถ และรับจ้างทั่วไป จนกระทั้งการเก็บหาของป่าเป็นรายได้เสริม เช่น หน่อไม้ และพืชผักต่าง ๆ เป็นต้นมิติด้านการเมือง การปกครอง มีการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยมี ผู้นำแบบเป็นทางการ คือ ผู้ใหญ่บ้าน มาจากการเลือกตั้งและคณะกรรมการหมู่บ้าน มาจากการแต่งตั้งจากผู้นำชุมชน และคนในชุมชน เป็นผู้เสนอรายชื่อ โดยมีรูปแบบการปกครอง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การปกครองส่วนท้องที่ โดยมีผู้ใหญ่บ้าน และมีคณะกรรมการหมู่บ้าน ส่วนที่ 2 การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีองค์การบริหารส่วนตำบลตำบลแม่วิน เป็นหน่วยบริหารราชการหลักในพื้นที่ผู้นำไม่เป็นทางการ ที่ได้มากจากการเคารพนับถือของคนในชุมชน เช่น ผู้นำทางศาสนา ผู้อาวุโส ผู้นำพืธีกรรมมิติด้านการศึกษาโรงเรียนบ้านขุนป๋วย ไทย - สหประชาชาติ ถูกก่อตั้งจากหน่วยงานประชาสงเคราะห์ ภายหลังได้ถูกโอนย้ายเป็นสาขาของโรงเรียนแม่วินสามัคคี ในช่วงก่อตั้งเริ่มแรกมีการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่1 – 6 แต่ปัจจุบันมีการสอนตั้งชั้นอนุบาล 3 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของโรงเรียนแม่วินสามัคคีมี มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 35 คน และมีการก่อตั้งศูนย์เด็กเล็กบ้านขุนป๋วยขึ้นซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่วิน มีจำนวนเด็กทั้งหมด 26 คน นอกจากนี้ยังมีการออกไปเรียนโรงเรียนนอกหมู่บ้านเนื่องจากโรงเรียนบ้านขุนป๋วยนั้นมีการเรียนถึงประถมศึกษปีที่ 3 จึงทำให้ต้องไปเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนแม่วินสามัคคี มิติด้านสุขภาพบ้านขุนป๋วย หมู่ที่ 3 เป็นเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่วังผาปูน โดยจะมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมายถึง บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากชาวบ้านในแต่ละกลุ่มบ้านและได้รับการอบรมตามหลักสูตรที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยมีบทบาทหน้าที่สำคัญ คือ เป็นผู้ประสานงาน ผู้สื่อข่าวสารสาธารณสุข แนะนำเผยแพร่ความรู้ และดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ เช่น การรณรงค์ตรวจลูกน้ำยุงลาย ปีละ 5 ครั้ง การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่สตรีกลุ่มเสี่ยง การทำแผนและออกเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดเตียง ปีละ 4 ครั้ง การตรวจสุขภาพแม่และเด็ก ทุก 3 เดือน ซึ่งในยามป่วยไข้ หากไม่พึ่งการแพทย์แผนปัจจุบัน ก็จะมีปราชญ์ชาวบ้านหรือหมอเมือง ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านและสมุนไพรท้องถิ่นในการรักษา มิติด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านขุนป๋วย อยู่ในบริเวณที่เป็นพื้นที่ภูเขามีต้นไม้ที่สูง สภาพป่าภายในชุมชนเป็นป่าดิบเขาและภายในชุมชนมีแม่น้ำป่วยไหลผ่านซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่ชาวบ้านใช้ในการทำเกษตร อีกทั้งยังมีสภาพอากาศเย็นตลอดทั้งปีและพบว่ามีทรัพยากรดินซึ่งเป็นดินทีมีลักษณะอุดมสมบูรณ์ที่สามารถใช้ในการทำเกษตรกรรมปลูกพืชผักได้และในส่วนของทรัพยากรน้ำชาวบ้านในชุมชนมีประปาภูเขาไว้ใช้เพื่ออุปโภคบริโภคในครัวเรือนในอดีตบ้านขุนป๋วยมีการนับถือศาสนาพุทธดั้งเดิม ภายหลังชาวบ้าน ได้มีการนับถือศาสนาคริสต์นิกาย
โปรเตสแตนต์ และศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกมากขึ้น แต่ยังคงหลงเหลือกลุ่มชาวบ้านที่ยังนับถือศาสนาพุทธดั้งเดิม (ผี) ไม่กี่ครัวเหลือ จึงทำให้เห็นได้ว่าพิธีกรรม ประเพณี และวัฒนธรรมของแต่ล่ะศาสนานั้นมีความแตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้
1.ประเพณีมัดมือปีใหม่ มักจะจัดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นประเพณีที่สำคัญอย่างหนึ่งของชนเผ่าปกาเกอะญอที่ยังคงไว้ประเพณีการมัดมือสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ข้าวปุ(เมโตพิ) มีลักษณะเป็นข้าวเหนียวที่ตำจนเป็นเนื้อเดียวกันแล้วนำมาผสมกับงา ข้าวต้มมัด(เมตอ) มีลักษณะเป็นข้าวต้มไปนิ่งใส่ถั่วดิน นอกจากนั้นยังมีเหล้าขาวไว้แต่ละบ้าน เป็นพิธีกรรมที่ญาติ พี่น้อง และลูกหลานได้กลับมายังบ้านเกิดของตนเอง เพื่อมาขอพรจากผู้ใหญ่ให้เกิดความสิริมงคลในวันปีใหม่ของชนเผ่า ซึ่งผู้สูงอายุแต่ละบ้านจะมีการทำพิธีโดยใช้ไก่เป็นของเซ่นไหว้และเหล้าขาว เมื่อมัดมือจะทำการอวยพรเพื่อให้ได้พบกับสิ่งที่ดี
2.ประเพณีมัดมือกลางปี มักจะจัดในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี เพราะเป็นช่วงที่มีอากาศร้อน อันตรายต่อชีวิตและความเป็นอยู่ จึงมีการทำพิธีมันมือลาคุปู เพื่อขอพรกับเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายและเพื่อให้ชีวิตได้อยู่เย็นเป็นสุข
3. พิธีกรรมทางศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ คนที่นับถือศาสนาคริสเตียน จะเข้านมัสการที่บ้านทุกวันพุธ และวันเสาร์ในช่วงเย็น ส่วนการเข้านมัสการที่โบสถ์จะจัดขึ้นทุกวันอาทิตย์ ในช่วงเช้า ช่วงกลางวัน และช่วงเย็น ผู้นำสวดของศาสนาจะนำสวดเป็นการร้องเพลง การสวดขอพร การสวดภาวนา การให้กำลังใจกับพี่ น้อง การขอขมาในสิ่งที่ทำผิดพลาดไป การสวดของคริสเตียนเป็นเสมือนการให้แสงสว่างแก่ผู้อื่น รู้จักให้อภัย รู้จักให้ความรักแก่กัน ทุกคนเป็นแสงสว่างให้แก่กันได้ผู้รับจะเกิดพลังบางอย่างในตัวและรู้สึกว่าพวกเขาไม่ได้อยู่คนเดียว และในวันอาทิตย์ทุกคนจะงดเว้นจากการทำงานเพราะทุกคนต่างเชื่อว่าเป็นวันพักผ่อน
4. พิธีกรรมทางศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก มีการเข้าโบสถ์ทุกวันอาทิตย์ เพราะในวันอาทิตย์จะเป็นวันพักผ่อน จะมีการสวดตามบทต่าง ๆ พิธีกรรมทางศาสนาคือการสวดเพื่อระลึกถึงพระเจ้าอยู่เสมอการสวดแต่ละครั้งนั้นบาทหลวงเป็นผู้ที่นำสวด จะการแต่งกายจะเป็นชุดชนปกาเกอะญอ ทุกคนมีส่วนร่วมในการสวดแต่ละครั้ง เพื่อให้เราระลึกว่าพระเจ้าสถิติกับทุกคน
5. ด้านการประกอบอาชีพการประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่มีการทำเกษตรกรรมปลูกผัก ผลไม้ เพื่อส่งให้กับทางโครงการหลวงเนื่องจากหมู่บ้านมีสภาพอากาศที่เย็นตลอดทั้งปี และปลูกข้าวตามฤดูกาลซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าวจ้าวเพื่อบริโภคเป็นอาหารหลัก และปลูกข้าวเหนียวบ้างแต่ไม่มากนัก โดยปลูกไว้เพื่อใช้ในการแปรรูป พันธุ์ข้าวบนพื้นที่สูงจะแตกต่างจากพันธุ์ข้าวที่ปลูกบริเวณพื้นที่ราบทั่วไป เนื่องจากระดับความสูงของพื้นที่และสภาพอากาศที่แตกต่างกัน และมีการเลี้ยงสัตว์ทุกหลังคาเรือน เช่น หมู ไก่ วัว ควาย สำหรับการบริโภคและพิธีต่างๆ รวมถึงเลี้ยงไว้เพื่อสร้างรายได้ นอกจากนี้ยังมีการประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น ร้านค้า ทอผ้า อู่ซ่อมรถ และรับจ้างทั่วไป จนกระทั้งการเก็บหาของป่าเป็นรายได้เสริม เช่น หน่อไม้ และพืชผักต่าง ๆ เป็นต้น และสามารถแบ่งตามฤดูกาล
9.1.ศาสนาจารย์กฤตภาส งดงามโฆส
ศาสนาจารย์กฤตภาส งดงามโฆส เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2511 ปัจจุบันอายุ 51ปี ภูมิลำเนาเดิมเป็นคนอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ช่วง ค.ศ.1988 (พ.ศ.2531) อาจารย์กฤตภาส งดงามโฆส ที่ขณะนั้นยังเป็นอนุชน พร้อมคณะอีกหลายคนได้เข้ามาเยี่ยมเยียนครอบครัวคริสเตียนที่หมู่บ้านขุนป๋วยเป็นครั้งแรก เพื่อดูความเป็นอยู่ของคนในหมู่บ้าน เป็นระยะเวลา 3 - 4 ครั้งต่อปี ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ตอนนั้น อาจารย์ยังเป็นอนุชนคนหนึ่ง ที่ทำงานกับทางคริสตจักรแม่ที่อำเภอจอมทอง ในการมาเยี่ยมเยียนหมู่บ้านนั้นและได้พบกับปัญหาความยากจนของคนในหมู่บ้านขุนป๋วย ข้าวปลาไม่พอกินในครอบครัว เกือบทุกบ้านในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน จะต้องไปทำงานรับจ้างอยู่หลาย ๆ พื้นที่ ในขณะการมาเยี่ยมเยียนนั้นทางอาจารย์กฤตภาสและคณะก็ได้เผยแผ่และประกาศคำสอนของพระเยซูคริสต์ รวมไปถึงการร่วมกันอธิฐานแก่พระเจ้าเพื่อหมู่บ้านขุนป๋วยด้วย
ถัดมาช่วง ค.ศ.1989 (พ.ศ.2532) อาจารย์กฤตภาสและเพื่อนอีกหนึ่งคน ได้ตัดสินใจที่จะมาประจำอยู่ที่หมู่บ้านขุนป๋วย โดยพักอยู่บ้านที่ชาวบ้านสร้างให้อยู่ในหมู่บ้าน ขณะนั้น ได้มีครอบครัวที่รับเชื่อศาสนาคริสต์แล้วทั้งหมดจำนวน 12 ครอบครัว อาจารย์ได้สอนภาษากะเหรี่ยงให้กับคนในชุมชนในช่วงเวลากลางคืน ส่วนวันหยุดหรือวันเสาร์ก็จะสอนเด็ก ๆ เกี่ยวกับเพลงคริสเตียน เป็นภาษาปกาเกอะญอ ซึ่งถือว่าเป็นการสอนภาษาปกาเกอะญอครั้งแรกในหมู่บ้านขุนป๋วย
การประกาศคำสอนของพระเยซูคริสต์นั้น อาจารย์ได้เล่าว่าเน้นพระคัมภีร์อยู่บทหนึ่ง ซึ่งพระคัมภีร์บทนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้ชาวบ้านหันมานับถือศาสนาคริสต์และเป็นคริสเตียน ซึ่งพระคัมภีร์บทนั้นคือมัทธิว บทที่ 11 ข้อที่ 28 ได้กล่าวว่า “บรรดาผู้เหน็ดเหนื่อยและแบกภาระหนัก จงมาหาเรา และเราจะให้ท่านทั้งหลายได้หยุดพัก” หลังจากที่อาจารย์เผยแผ่พระคัมภีร์บทนี้ ให้กับชาวบ้านแล้ว ท่านเล่าต่อว่าผู้ที่เจ็บป่วย โดยเฉพาะจากภูตผี เนื่องจากในขณะนั้น ถนนเส้นทางผ่านทุ่งนาแต่ละเส้นจะมีการเลี้ยงผี โดยเฉพาะเส้นทางผ่านหน้าโรงเรียนบ้านขุนป๋วย จะมีการเลี้ยงผีบ่อยมาก เพราะบริเวณนั้น เป็นป่าใหญ่ ส่งผลให้ ชาวบ้านขุนป๋วย ที่ถูกผีรบกวนนั้นมีจำนวนมาก หลายคนได้ยินพระคัมภีร์บทนี้ ก็เกิดความเชื่อถือ หลังจากนั้นหลายคนก็รู้สึกว่าได้รับการปลดปล่อย หลายคนได้รับการรักษา จากนั้นชาวบ้านอีกหลายคนก็ได้ตัดสินใจที่จะหันมารับเชื่อในศาสนาคริสต์เพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แรงจูงใจที่ทำให้ชาวบ้านขุนป๋วย เชื่อในพระเยซูคริสต์และเปลี่ยนศาสนานั้น ก็คือ ความทุกข์ยากและความเหน็ดเหนื่อยจากการเลี้ยงผี ยกตัวอย่างเช่น บางคน บางครอบครัว จะทำต้องพิธีการเลี้ยงผี ก็ไม่สามารถที่จะหาหมูไก่ที่เป็นของเซ่นไหว้ มาได้แต่จำเป็นที่จะต้องหามาให้ได้ ไม่มีก็ต้องมี ซึ่งวิถีชีวิตของชาวปกาเกอะญอในสมัยก่อนส่วนจะเป็นแบบนี้ ซึ่งไม่ง่ายแบบปัจจุบันที่มีความสะดวกสบายเพิ่มมากขึ้นในการหาซื้อของเพื่อมาทำพิธีเซ่นไหว้ได้ อีกปัญหาหนึ่งที่อาจารย์กฤตภาส พบเห็น คือ ปัญหาความยากจนของหมู่บ้านขุนป๋วยนี้ ทางเหล่าชาวคริสเตียนที่เพิ่มขึ้น ก็ได้ร่วมกันนมัสการโดยเฉพาะวันอาทิตย์ ซึ่งคือวันสะบาโต ที่มีการเข้าโบสถ์สามเวลา ก็ได้มีการอธิฐานเผื่อหมู่บ้าน ขอพระเจ้าเพื่อที่จะให้อวยพรพรให้แก่หมู่บ้าน ให้มีความเจริญ ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งเหล่าชาวคริสเตียนนอกจากอธิฐานแล้ว ก็มีการประชุมร่วมกันเพื่อทำการปรึกษากับหน่วยงานอื่นภายนอกเพื่อที่จะให้เข้ามาให้ความช่วยเหลือแก่หมู่บ้านด้วย หลังจากนั้นก็อธิฐานว่าถ้าเป็นไปได้ขอพระเจ้าอวยพรประทานโครงการต่าง ๆ ที่จะเข้ามาพัฒนาหมู่บ้านของพวกเรา ในตอนนั้น ยังไม่มีการเข้ามาของโครงการหลวง ชาวบ้านก็จะประกอบอาชีพทำนาได้แค่ในช่วงฤดูฝน หลังจากฤดูเก็บเกี่ยว บางคนก็ไปรับจ้างทั่วไปหรือทอผ้าขาย ทางอาจารย์ ก็ได้พูดคุยปรึกษากับผู้นำหมู่บ้านถึงแนวทางการพัฒนาหมู่บ้านขุนป๋วยนี้ ให้ดีขึ้นนั้นจะต้องทำอย่างไรกันดี
ปัญหาและอุปสรรค ก่อนที่คนในชุมชนจะรับเชื่อในศาสนาคริสต์ เกี่ยวกับการต่อต้านการประกาศศาสนานั้นมี แต่ก็ไม่รุนแรงมากเท่าไร เนื่องจากก่อนที่อาจารย์จะเข้ามาในหมู่บ้าน ก็มีกลุ่มชาวคริสเตียนในหมู่บ้านอยู่แล้วประมาณ 12 ครอบครัว อาจารย์ได้ช่วยและแนะนำโดยเริ่มที่กลุ่มคริสเตียน ให้ได้ไปรับการรักษาอาการเจ็บป่วยที่โรงพยาบาล มีชาวบ้านบางคนที่เดินไม่ไหว จำเป็นต้องขอแรงช่วยกันพาลงไปรักษาที่ข้างล่างโดยการแบกหามกันลงไป บางคนฟัง – พูดไม่รู้เรื่อง อาจารย์ก็ต้องเป็นผู้พาลงไป บางคนไม่ทราบว่าโรงพยาบาลอยู่ที่ไหนก็ต้องช่วยเขา ในตอนนั้น อำเภอแม่วางยังไม่มีโรงพยาบาลประจำอำเภอ จำเป็นต้องไปรักษาที่อำเภอสันป่าตอง บางคนก็ทราบว่า มีโรงพยาบาลแต่ก็ไม่รู้ว่าจะไปได้อย่างไร ก็ต้องเลือกวิธีการรักษาโดยสมุนไพรหรือหลายคนที่นับถือผีก็ใช้คาถาอาคมหรือการเลี้ยงผี
ปัจจุบันตำแหน่งของอาจารย์กฤตภาส งดงามโฆส คือ ศาสนาจารย์และ 4 ยาภิบาล มีหน้าที่ตามหลักพระคัมภีร์ คือ การช่วยเหลือผู้อื่น ดูแลสมาชิกแต่ละครอบครัว คนที่เจ็บป่วย การเยี่ยมเยียน การช่วยเหลือ การให้คำปรึกษา ล้วนแต่เป็นหน้าที่หลักคือช่วยเขาในทุกด้านที่จะสามารถช่วยได้
การรวมกลุ่มของชุมชนชาวบ้านขุนป๋วย เพื่อให้ชาวบ้านได้มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีลักษณะเป็นผลประโยชน์หรือต้นทุนส่วนรวมที่มาจากการช่วยเหลือและความร่วมมือกันระหว่างบุคคล โดยมีทุนทางสังคมที่เกิดจากการร่วมมือของชาวบ้าน ดังต่อไปนี้
- กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นกลุ่มบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากชาวบ้านในแต่ละกลุ่มบ้าน และได้รับการอบรมตามหลักสูตรที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยมีสมาชิกจำนวน 10 คน มีบทบาทหน้าที่สำคัญ ในการตรวจสุขภาพเบื้องต้นของคนในชุมชน เป็นผู้ประสานงาน ผู้สื่อข่าวสารสาธารณสุข แนะนำเผยแพร่ความรู้ และดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ เช่น การรณรงค์ตรวจลูกน้ำยุงลาย ปีละ 5 ครั้ง การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่สตรีกลุ่มเสี่ยง การทำแผนและออกเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดเตียง ปีละ 4 ครั้ง การตรวจสุขภาพแม่และเด็ก ทุก 3 เดือน และการรายงานผลข้อมูลสุขภาพต่างๆ ให้กับทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่วังผาปูน ทราบถึงข้อมูลสุขภาพของคนในหมู่บ้าน
- กลุ่มเยาวชนบ้านขุนป๋วยหรือกลุ่มอนุชนคริสเตียนเป็นการรวมตัวของเยาวชนบ้านขุนป๋วย ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การรวมกลุ่มเล่นดนตรี ร้องเพลง ซึ่งเพลงที่ร้องมักจะเป็นเพลงที่เกี่ยวกับการสรรเสริญพระเจ้า และการรรวมกลุ่มเล่นกีฬา นอกจากนี้ยังมีการจัดค่ายอนุชน ให้กับกลุ่มเยาวชนเพื่อให้ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี เพื่อป้องการเกิดอุบัติจากเทศกาลสงกรานต์
- กลุ่มแม่บ้านขุนป๋วย เป็นการรวมตัวของแม่บ้านในแต่ละครัวเรือน ทำกิจกรรมร่วมกัน หลังจากการว่างจากการทำเกษตร เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน เช่น การทอผ้า การร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้า เป็นต้นทุนสถาบัน ทุนที่มีลักษณะเป็นสถาบันซึ่งอาจเป็นในรูปแบบของรัฐบาลหรือรูปแบบของภาคประชาชน ซึ่งหาก สถาบันเหล่านี้ มีอยู่ในชุมชนจะสามารถช่วยในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนให้เกิดประโยชน์ต่าง ๆ ขึ้นกับทางชุมชนและคนในชุมชน อีกทั้งทุนทางสถาบันนี้จะเปนปัจจัยกระตุ้นเกิดกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นได้ในชุมชน ได้แก่ บ้าน โรงเรียน ศาสนสถาน เป็นต้น
- โครงข่ายคมนาคม เป็นทุนทางสังคม ที่มีลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะดวกสบายในด้านการติดต่อสื่อสารกันทั้งจากภายในชุมชนและจากภายนอกชุมชน ซึ่งโครงข่ายคมนาคมในหมู่บ้านหรือรอบหมู่บ้านที่ส่งผลให้หมู่บ้าน ได้รับความสะดวกสบายเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ ถนนคอนกรีต การติดตั้งเสากระจายสัญญาณโทรศัพท์ สัญญาณอินเตอร์เน็ต รวมไปถึงการกระจายเสียงตามสายภายในหมู่บ้านทุนความสัมพันธ์ ทุนที่มีลักษณะก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกันและกัน ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน เป็นอย่างมาก ตัวอย่าง เช่น ในชุมชนบ้านขุนป๋วยมีทุนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งและเหนียวแน่นมากในเรื่องของความสามัคคีและความร่วมแรงร่วมกันในการช่วยเหลือกันในการทำเกษตรกรรม หรือเรียกว่า “การลงแขก”ทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติ1. แหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติในชุมชนบ้านขุนป๋วย มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ เช่น แหล่งน้ำ ป่าไม้ แหล่งหาอาหาร เป็นต้น เห็นได้ว่าชาวบ้านขุนป๋วยมีการดำเนินชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยป่าจึงสะท้อนให้ เห็นว่าชาวบ้านขุนป๋วย ที่เติบโตมากับป่าทุกคนจะตระหนักถึงคุณค่า และตระหนักถึงการรักษาสิ่งที่ให้ประโยชน์จากการใช้ทรัพยากร2. แม่น้ำป๋วย เป็นแหล่งนํ้าที่ชาวบ้านขุนป๋วยใช้น้ำในการดื่ม ใช้น้ำในการประกอบอาหาร ใช้ในการชำระร่างกาย และใช้ในการทำเกษตรกรรม เป็นต้น ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากสำหรับชาวบ้าน ซึ่งน้ำที่ใช้นำมาจากแม่น้ำป๋วยที่ไหลผ่านชุมชน จะนำมาเก็บไว้ที่บ่อพักแต่ละจุด มีการจัดทำโครงการประปาภูเขาขึ้น เพื่อพัฒนาเเหล่งน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของคณะกรรมการหมู่บ้านและชาวบ้าน นอกจากนั้น แหล่งน้ำ ยังรวมไปถึงสิ่งที่ธรรมชาติให้มาในชุมชนบ้านขุนป๋วย คือ น้ำตกโพกะเล ที่เป็นแหล่งน้ำในการทำการเกษตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจและสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน เป็นต้น3. น้ำตกโพกะเล เป็นสิ่งที่ธรรมชาติ สร้างสรรค์มาให้ชุมชนบ้านขุนป๋วย เป็นน้ำตกสามชั้น สวยงาม มีน้ำไหลตลอดปี ที่เป็นแหล่งน้ำในการทำการเกษตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจและสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนอีกด้วย4. ป่าไม้ ภูเขา ต้นไม้ บ้านขุนป่วยมีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ เนื่องจากชุมชนให้ความสำคัญของการอนุรักษ์ป่า และความเชื่อที่แฝงไปด้วยการรู้จักหวงแหนป่าชุมชน ซึ่งทุกคนในชุมชนเป็นแกนนำที่สำคัญที่คอยช่วยกันสอดส่องดูแลบุคคลจากภายนอกที่จะเข้ามาทำลายป่าอีกด้วย5. แหล่งอาหาร เห็นว่าในชุมชนบ้านขุนป่วยยังคงไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์อย่างมากมาย สามารถสังเกตเห็นได้ชัดจากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่แฝงไปด้วยแหล่งอาหารที่สำคัญของชาวบ้าน ซึ่งการเห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ทางด้านต่าง ๆ ทำให้เกิดเป็นแหล่งหาอาหาร เช่น ปลา นก ไก่ป่า หมูป่า เห็ด เป็นต้น นอกจากนั้นชาวบ้านทุกครัวเรือนได้มีการปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเอง เช่น กระเพรา พริก มะนาว มะเขือ ฟักทอง เป็นต้น
หมู่บ้านขุนป๋วย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์เผ่าปกาเกอะญอ ดังนั้น จึงมีการสื่อสารกันภายในชุมชนโดยใช้ภาษา ปกาเกอะญอเป็นภาษาหลัก เนื่องจากต้องการที่จะปลูกฝังความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของกลุ่มชน รู้จักและรักษ์ป่า สอนให้สำนึกในวิถีของปกาเกอะญอ มีการสอนภาษาปกาเกอะญอ ทั้งฟัง พูด อ่านและเขียน ทำให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ภาษาของกลุ่มชนและไม่ทำให้ภาษาปกาเกอะญอสูญหายไป แต่ก็มีการสอนภาษาไทย และภาษาอังกฤษควบคู่ไปด้วย นอกจากนั้น ยังมีการสื่อสารภาษาไทยและภาษาเหนือกับคนพื้นราบ
การก่อตั้งโรงเรียนบ้านขุนป๋วย ไทย – สหประชาชาติ ซึ่งก่อตั้งโดยกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย และเปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2526 โดยมีผู้สอนคนแรก คือ ท่าน อาจารย์พร เชิดสกุล พร้อมทั้งการเข้ามาของศาสนาคริสต์เป็นครั้งแรก ท่านเป็นคนแรก ที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนา ภูมิลำเนาเป็นคนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในฐานะที่อาจารย์เป็นคริสเตียนคนหนึ่ง ท่านก็ได้เข้ามาพูดคุยกับคนในหมู่บ้าน เวลาสอนเด็กในโรงเรียนก็มีการเผยแพร่บ้าง มีการร้องเพลงเกี่ยวกับคริสเตียน ในตอนนั้น มีครอบครัวหนึ่งที่รับเชื่อ (การรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน) ศาสนาคริสต์ เนื่องจากตอนนั้นในหมู่บ้านมีหลากหลายปัญหาเกิดขึ้น ทั้งปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดฝิ่นดำ ทุกครอบครัว โดยเฉพาะผู้ชายจะติดยาประเภทนี้มาก เนื่องจากสมัยนั้น เขาก็มีการทำไร่ฝิ่นและปัญหาความยากจนเยอะมากตอนนั้น อาจารย์ท่านนี้ก็เข้ามาเพื่อที่จะทำหน้าสอนและประกาศเกี่ยวกับเรื่องของพระเยซูคริสต์ หลังจากการประกาศเกี่ยวกับเรื่องของพระเยซูคริสต์ก็มีหนึ่งครอบครัวที่รับเชื่อ ชื่อนายแปยูวาเป็นบิดา และบุตรอีกหนึ่งคนชื่อว่า นายกลีงี ครอบครัวนี้อยู่มานานถึงสิบกว่าปี แล้วจึงมีครอบครัวอื่นที่รับเชื่อใหม่ ในตอนนั้นนายแปยูวาหลังจากที่รับเชื่อแล้ว อาจารย์พรท่านได้แนะนำให้ไปตัดขาดจากยาเสพติด นายแปยูวาได้ไปอยู่กับอาจารย์พรที่ อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน หลังจากที่นายแปยูวาได้ตัดสินใจตัดขาดจากยาเสพติด ชีวิตของเขาก็เริ่มดีขึ้น และเมื่อ ปี พ.ศ. 2528 โรงเรียนบ้านขุนป๋วย ได้โอนไปเป็นสาขาของโรงเรียนแม่วินสามัคคี เนื่องจากก่อนที่ครูพรจะเข้ามา ตอนนั้นที่หมู่บ้านยังไม่มีโรงเรียนและไม่มีการสอนหนังสือ แต่หน่วยงานที่ได้จัดสร้างขึ้นนั้น ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับโรงเรียน จึงได้หาทางให้โรงเรียนได้ไปขึ้นอยู่กับหน่วยงานไหนดี จึงได้ไปประสานขอ
ความร่วมมือกับโรงเรียนแม่วินสามัคคี แล้วจึงได้โอนเข้าเป็นหนึ่งในสาขาของโรงเรียนแม่วินสามัคคี ในตอนนั้น
มีการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 แต่ปัจจุบันมีสอนถึงแค่ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เนื่องจากสมัยผู้อำนวยการของโรงเรียนแม่วินสามัคคีคนก่อน ได้รับนโยบายให้ยุบโรงเรียน เพื่อไปเรียนรวมกันที่เดียว ที่โรงเรียนแม่วินสามัคคี ทางหมู่บ้านก็ได้ประชุมร่วมกันว่าจะทำอย่างไร เนื่องจากเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ยังไม่สามารถไปอยู่หอพักหรือดูแลตัวเองได้ จึงไปตกลงกับทางโรงเรียนว่าให้ไปเฉพาะชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ได้หรือไม่ ถ้าไม่อย่างนั้นโรงเรียนก็จะถูกยุบไปนานแล้ว แต่หลังจากที่ผู้อำนวยการคนใหม่ เข้ามาก็ได้มีการวางนโยบายขึ้นใหม่ซึ่งแตกต่างจากคนเดิม คือการช่วยพัฒนาโรงเรียนนี้ขึ้นมากกว่าเดิม ทั้งยังส่งนักศึกษาฝึกสอนขึ้นมาช่วยสอนนักเรียนโรงเรียนบ้านขุนป๋วยในทุกอาทิตย์
ชุมชนบ้านขุนป๋วย มีการบริหารจัดการป่าชุมชน โดยได้มีการแบ่งประเภทของป่าในชุมชน ซึ่งการแบ่งพื้นที่ป่าเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ช่วยให้อนุรักษ์พื้นที่ป่าและจัดการกับป่า รวมถึงทรัพยากรทางธรรมชาติได้ง่ายขึ้น โดยชุมชนบ้านขุนป๋วย แบ่งประเภทของป่าออกเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย ป่าอนุรักษ์ ป่าใช้สอย และป่าทำกิน ดังนี้
1.ป่าอนุรักษ์ ป่าอนุรักษ์ของชุมชนบ้านขุนป๋วยนั้น เป็นพื้นที่ป่าที่ห้ามมีการตัดไม้ทำลายป่า ห้ามล่าสัตว์ป่า รวมถึงจะไม่มีการบุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์นี้ในการทำพื้นที่หากินเป็นป่าที่คนในชุมชนช่วยกันดูแลรักษาเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติไว้ให้มากที่สุด ซึ่งพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของชุมชนบ้านขุนป๋วยนี้จะมีพื้นที่ป่าติดกับหมู่บ้าน หรือเขตการตั้งบ้านเรือนและที่อยู่อาศัย เมื่อเกิดเหตุไฟป่าหรือสิ่งที่กระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติในป่าอนุรักษ์นี้ ชาวบ้านจะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหานั้นได้ ซึ่งประโยชน์ของป่าอนุรักษ์ในชุมชนบ้านขุนป๋วยนั้น มีประโยชน์มากมาย ประกอบด้วย
1.1 เป็นแหล่งต้นน้ำของชุมชน จากการสอบถาม พบว่า การเลือกตั้งพื้นที่ชุมชนของชาวปกาเกอะญอใน อดีตจะคำนึงถึงพื้นที่ในการตั้งชุมชน เช่น มีป่าไม้ ดินที่อุดมสมบูรณ์ รวมถึงมีแหล่งต้นน้ำ ซึ่งภายในชุมชนบ้านขุนป๋วยมีแหล่งต้นน้ำที่ชุมชนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ทั้งด้านการเกษตร การอุปโภค รวมถึงเลี้ยงสัตว์ ดังนั้น ป่าอนุรักษ์จึงมีแหล่งต้นน้ำในการใช้ประโยชน์ของชุมชน และมีการแบ่งพื้นที่แหล่งน้ำในการดูแลรักษาของคนในชุมชน
1.2 เป็นแหล่งของสมุนไพรรักษาโรค ในพื้นที่ของป่าอนุรักษ์นั้นชาวบ้านในชุมชนบ้านขุนป๋วย มักจะนำสมุนไพรมาใช้เพื่อการรักษาโรค ดังนั้น จึงมีชาวบ้านมักนำสมุนไพรที่หายากเข้าไปปลูกไว้เพื่อให้สมุนไพรเหล่านี้ขยายพันธุ์ และนำมาใช้ประโยชน์ต่อในอนาคต
1.3 เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ ในป่าอนุรักษ์นั้นเนื่องจากมีแหล่งต้นน้ำและสงบไม่มีการรุกรานของคน รวมถึง เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ของอาหาร จึงทำให้มีสัตว์น้ำ สัตว์บก เช่น ปลา ปูภูเขา และสัตว์ป่าเช่น บ่าง เลน กระรอก หมูป่า หนู เป็นต้น แนวทางในการอนุรักษ์ของป่าอนุรักษ์คือจะมีการแบ่งพื้นที่ในการดูแลแหล่งน้ำของแต่ละพื้นที่ในชุมชนที่ใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำนั้น เช่น การห้ามจับสัตว์น้ำ เป็นต้น และยังห้ามทุกคนในชุมชน รวมถึงบุคคลภายนอกตัดต้นไม้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว แต่จะอนุรักษ์ต้นไม้ในป่าเหล่านี้ไว้รวมถึงสมุนไพรที่นำเข้ามาปลูกเพื่อไม่ให้เกิดการสูญพันธุ์อีกด้วย
2. ป่าใช้สอย เป็นพื้นที่คล้ายกับป่าอนุรักษ์แต่จะไม่เป็นแหล่งต้นน้ำ และเป็นพื้นที่ที่คนในชุมชนบ้านขุนป๋วย สามารถนำผลผลิตหรือทรัพยากรภายในป่านำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น การหาอาหารและพืชพันธุ์ธัญญาหาร การนำต้นไม้มาสร้างหรือซ่อมแซมบ้านเรือน การนำกิ่งไม้หรือฟืนมาใช้ในการประกอบอาหารภายในครัวเรือน หรือนำมาสร้างรั้วได้ รวมถึงนำสมุนไพรออกมาใช้ในการต้มหรือใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในป่าใช้สอยได้ แต่อย่างไรก็ตาม ป่าใช้สอยเป็นเหมือนพื้นที่สาธารณะสำหรับคนในหมู่บ้านสำหรับการนำมาใช้ประโยชน์ รวมถึงสามารถตัดต้นไม้ได้ แต่ป่าใช้สอยของชุมชนก็มีแนวทางในการดูแลและอนุรักษ์ที่เกิดจากความหวงแหนของคนในชุมชนไม่ต่างจากป่าอนุรักษ์ เช่น การไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้ามาตัดต้นไม้เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ หรือการตัดต้นไม้ของคนในชุมชนที่ไม้เป็นไปเพื่อการสะสมทุน กล่าวคือ ต้นตัดเพื่อประโยชน์ใช้สอยที่แท้จริง เช่น สร้างบ้านเรือน สร้างรั้ว ก็จำเป็นจะต้องตัดต้นไม้ให้พอดีกับการใช้สอยนั้นนอกจากนั้นยังมีการปลูกต้นไม้ทดแทนสำหรับต้นไม้ที่ตัดไปอีกด้วย
3. ป่าทำกิน จะแบ่งพื้นที่เป็น 3 ประเภท ดังนี้
3.1 ที่ไร่ เป็นที่ที่ใช้ผลิตสำหรับพืชที่ต้องการผลิตทางเศรษฐกิจจำนวนมากที่ปลูกพืช และต้นไม้บนไหล่เขา หรือที่ดอนซึ่งไม่มีน้ำขังอย่างที่นา เป็นพื้นที่ในการปลูกพืชอื่นนอกจากข้าว เช่น การทำไร่ผักโครงการหลวง ไร่ผลไม้บางประเภท อาทิ เสาวรส เครปกู๊ดเบอร์รี่ เป็นต้น
3.2 ที่นา เป็นพื้นที่ที่ใช้ในการปลูกพืชในการยังชีพเป็นส่วนใหญ่ เช่น นาข้าว ซึ่งข้าวที่ได้จากการผลิตของแต่ละหน่วยครัวเรือนจะถูกเก็บไว้เพื่อการบริโภค ไม่ผลิตเพื่อการสะสมทุนหรือจำหน่ายเพื่อกำไร
3.3 สวน ในพื้นที่ทำกินของชุมชนบ้านขุนป๋วยจะเป็นสวนตามฤดูกาล เช่น ผลไม้ตามฤดูกาล อาทิ สวนพลับ หรือสวนดอกไม้ที่จำเป็นต้องมีการดูแลอย่างเหมาะสมและใช้สารเคมีเพื่อเร่งการเจริญเติบโต
ป่าทั้ง 3 ประเภทคือ แนวทางในการอนุรักษ์ป่าทั้ง 3 ประเภท ป่าอนุรักษ์ ป่าใช้สอยและป่าทำกิน ถึงจะมีแนวทางในการอนุรักษ์ที่ต่างกัน และใช้สอยประโยชน์จากป่าแตกต่างกัน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเห็นอย่างเป็นรูปธรรมคือการหวงแหนทรัพยากรทางธรรมชาติ เพื่อให้ป่าทุกรูปแบบอยู่คู่กับชุมชนบ้านขุนป๋วยต่อไป
การลงแขก
ถือเป็น วิถีชีวิตดั้งเดิมเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรของชุมชนบ้านขุนป๋วย เป็นวิธีการระดมทุนภายในชุมชนรูปแบบหนึ่ง การระดมแรงงานในรูปแบบนี้สะท้อนถึงความสัมพันธ์ที่ดีของคนในชุมชน สะท้อนถึงความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน ระบบน้ำใจและการนับถือซึ่งกันและกัน ซึ่งในการระดมแรงงานนั้น ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว เช่น อายุ เพศ วัย ดังนั้น การลงแขกเพื่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร จึงเป็นวิถีชีวิตของชุมชน อย่างหนึ่ง ที่ขัดเกลาและสร้างพลังให้กับคนในชุมชน เช่น เด็กที่เข้าเป็นแรงงานในการเก็บเกี่ยวจะถูกฝึกหัดและเป็นการเปิดโอกาสให้เรียนรู้วิธีการทางการเกษตรต่าง ๆ หรือแม้แต่เป็นการเปิดพื้นที่ให้ผู้สูงอายุที่สามารถดูแลตัวเองและเคลื่อนไหวร่างกายได้ ได้เข้าสู่พื้นที่สาธารณะในชุมชน ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้สูงอายุหรือลูกหลานจึงถือเป็นการสร้างพลังผ่านวิถีปฏิบัติดังกล่าว ดังนั้น การลงแขก จึงเป็นพื้นที่ในการยึดโยงความสัมพันธ์ความเป็นกลุ่มแบบไม่เป็นทางการ โดยไม่จำกัดลักษณะทางกายภาพของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ช่วยให้คนในชุมชนรู้จักการวางตนที่เหมาะสม รู้กาลเทศะและสามารถปฏิบัติต่อผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม และการแสดงความมีน้ำใจต่อบุคคลอื่น นอกจากนั้น การลงแขก ยังเป็นการควบคุมทางสังคมอย่างหนึ่งของชุมชนบ้านขุนป๋วย เช่น การเป็นคนเกียจคร้าน กินแรงท่ามกลางการทำงานที่ขยันของคนเข้าร่วมกิจกรรม ความไม่ซื่อตรง หรือการไม่คืนแรงงานให้กับผู้อื่น ก็มักจะถูกจดจำและไม่ได้รับการยอมรับและให้โอกาสของคนในชุมชน
วิถีแรงงานด้านการเกษตรของชุมชนบ้านขุนป๋วย ถือเป็นการจัดการความสัมพันธ์กันด้วยแรงงาน ที่สะท้อนถึงสิ่งที่ดีงามในชุมชน สะท้อนถึงการบริหารจัดการแรงานงานของประชาชนด้วยกันเอง การลงแขก อาจเป็นวัฒนธรรมชุมชนที่สูญหายในบางพื้นที่ของชนบท แต่ชุมชนบ้านขุนป๋วยนั้น ยังคงมีวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ของคนในชุมชนให้ได้สัมผัส และไม่ถูกเปลี่ยนแปลงคุณค่า แม้การพัฒนาสมัยใหม่จะเข้ามามีบทบาทเป็นตัวกำหนดและทำลายความสัมพันธ์ดั้งเดิมไป
- กฤตภาส งดงามโฆส ศิษยาภิบาลคริสจักรบ้านขุนป๋วย หมู่ที่ 3 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
- ณัฐวุฒิ เส่หล่า ผู้ใหญ่บ้านขุนป๋วย หมู่ที่ 3 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
- ทวี มีทูดี ปราชญ์ชาวบ้าน หมู่ที่ 3 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่วิน. (2562). หมู่ที่ 3 บ้านขุนป๋วย. ค้นคืนเมื่อ 19 เมษายน 2566, จาก http://maewin.net/