-
ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อที่ย้ายถิ่นฐานมาจากประเทศจีน เข้าสู่พื้นที่ประเทศไทยเพื่อแสวงหาที่อยู่ใหม่บนพื้นที่ทางธรรมชาติที่สมบูรณ์ จนกลายเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น
-
ชุมชนมีการอนุรักษ์สืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้ากะเหรี่ยง โดยมีศูนย์ทอผ้าบ้านห้วยแห้ง เป็นแหล่งเรียนรู้และจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าทอกะเหรี่ยง และชุมชนมีการสืบสานวิถีวัฒนธรรมกะเหรี่ยงด้านต่าง ๆ เช่น อาหารกะเหรี่ยง ประเพณีผูกแขนเรียกขวัญ ประเพณีแห่ฉัตร การทำคังด่ง (โมบายกะเหรี่ยง) เป็นต้น รวมทั้งประชาชนในชุมชนมีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาชุมชนให้อยู่ดีมีสุข
-
ชุมชนห้วยสะพานสามัคคี พื้นที่ที่อุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ ป่าชุมชน แหล่งภูมิปัญญา มรดกทางวัฒนธรรม และการจัดการท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชน
-
กลุ่มชนชาติพันธุ์ผู้อพยพมจากภัยสงคราม กับการแสวงหาพื้นที่ทำกินสู่ชุมชนท่ามกลางพื้นที่ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และภูมิปัญญาการอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่น
-
บ้านแม่เย็น ชุมชนที่มีพื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ กับการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการจัดการป่าชุมชนเพื่อความมั่นคงและยั่งยืนของทรัพยากร
-
คริสตจักรบ้านขุนป๋วย เป็นศาสนสถานประจำชุมชน ถือเป็น ศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน เห็นได้จากการที่ชาวบ้านส่วนใหญ่มักจะมีส่วนร่วมกับโบสถ์ที่อยู่คู่กับชุมชนมายาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การดูแลซึ่งกันและกัน ผ่านพิธีการนมัสการ เกิดการทำกิจกรรมนอกเหนือจากพิธีกรรมทางศาสนา การรวมกลุ่มทั้งกลุ่มพ่อบ้าน แม่บ้าน เยาวชนและเด็กมีการพัฒนาด้านบุคคล การจัดเข้าค่ายเยาวชนในช่วงปิดภาคเรียน ตลอดจนการร่วมกันพัฒนาชุมชน ขณะเดียวกันในทุกวันอาทิตย์ของการเข้าโบสถ์ ทุกคนจะต้องใส่ชุดประจำเผ่าทั้งชายและหญิงเพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมการแต่งกายชุดชนเผ่ากะเหรี่ยงให้ดำรงอยู่ต่อไป
-
หมู่บ้านเล็ก ๆ ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าน้ำยาวและป่าน้ำสวด ชุมชนชาวลัวะที่ยังคงมีการสืบสานและอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมดังเช่นการ "ตีพิ" ประเพณีการเรียกขวัญข้าวออกจากไร่เพื่อนำไปเก็บยังยุ้งฉาง ซึ่งสะท้อนถึงความสำคัญของการทำเกษตรกรรมที่เกี่ยวโยงสัมพันธ์กับวิถีชีวิตชาวลัวะบ้านน้ำมีดมาอย่างยาวนาน
-
บ้านเหล่าเหนือ ชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ กับการเปลี่ยนแปลงและการจัดการทรัพยากรท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ ศักยภาพชุมชนในการจัดการไฟป่าแหละหมอกควัน