ชุมชนมุสลิมเก่าแก่แห่งเมืองสงขลา ที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมของมัสยิดเป็นเอกลักษณ์ และเมนูท้องถิ่นขึ้นชื่ออย่าง ข้าวมันแกงไก่ ที่ขายมานานกว่า 100 ปี
บ้านบนชุมชนเป็นชุมชนเก่าแก่ที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการตั้งเมืองสงขลา เป็นชุมชนมุสลิมดั้งเดิมของพื้นที่เมืองสงขลาที่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากทำเลที่ตั้งชุมชนมีความเหมาะสมในการประกอบอาชีพประมง จนมาถึงปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ในชุมชนก็ยังเป็นชาวมุสลิมและทำอาชีพประมงอยู่ และยังมีการประกอบอาชีพอื่น ๆ เพิ่มเข้ามาอย่างหลากหลายเนื่องจากประชาชนต้องมีการปรับตัวตามพัฒนาการทางสังคม และด้วยระยะเวลาทำให้ชุมชนมีการขยายตัวและมีขนาดประชากรที่เพิ่มขึ้น ต่อมาเทศบาลนครสงขลาจึงได้แบ่งแยกชุมชนเพิ่มเติมเป็นชุมชนบ้านบนเดิม และชุมชนมัสยิดบ้านบนที่จัดตั้งขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา
ชุมชนมุสลิมเก่าแก่แห่งเมืองสงขลา ที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมของมัสยิดเป็นเอกลักษณ์ และเมนูท้องถิ่นขึ้นชื่ออย่าง ข้าวมันแกงไก่ ที่ขายมานานกว่า 100 ปี
ก่อนที่จะมาเป็นชุมชนมัสยิดบ้านบนในปัจจุบัน เดิมเรียกว่า บ้านบน เป็นชุมชนเก่าแก่ที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการตั้งเมืองสงขลา เป็นชุมชนมุสลิมดั้งเดิมของพื้นที่เมืองสงขลาที่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากทำเลที่ตั้งชุมชนมีความเหมาะสมในการประกอบอาชีพประมง จนมาถึงปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ในชุมชนก็ยังเป็นชาวมุสลิมและทำอาชีพประมงอยู่ และยังมีการประกอบอาชีพอื่น ๆ เพิ่มเข้ามาอย่างหลากหลายเนื่องจากประชาชนต้องมีการปรับตัวตามพัฒนาการทางสังคม และด้วยระยะเวลาทำให้ชุมชนมีการขยายตัวและมีขนาดประชากรที่เพิ่มขึ้น ต่อมาเทศบาลนครสงขลาจึงได้แบ่งแยกชุมชนเพิ่มเติมเป็นชุมชนบ้านบนเดิม และชุมชนมัสยิดบ้านบนที่จัดตั้งขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา
สภาพภูมิศาสตร์มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบและลาดเอียง ตั้งอยู่ใกล้ริมชายฝั่งทะเลสาบสงขลา และมีอาณาเขต ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ถนนพัทลุง
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ถนนกำแพงเพชร
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ถนนรามวิถี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ทะเลสาบสงขลา
ชุมชนมัสยิดบ้านบน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาเกี่ยวกับการค้าขายเป็นอาชีพหลัก และประชากรบางส่วนประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป โดยชุมชนมัสยิดบ้านบนมีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 169,400 บาท/ปี และมีรายได้บุคคลเฉลี่ย 53,900 บาท/ปี
บ้านมัสยิดบ้านบน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นชุมชนพหุวัฒนธรรมที่มีทั้งชาวไทยมุสลิมและชาวไทยพุทธอาศัยอยู่ร่วมกัน มีวิถีชีวิตความเชื่อ ความศรัทธาที่แตกต่าง แต่สามารถอาศัยอยู่ด้วยกันได้เป็นอย่างดี วัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวบ้านบนจึงมีทั้งในรูปแบบความเชื่อแบบมุสลิม และวิถีวัฒนธรรมแบบไทยปะปนกันอยู่ตามช่วงเวลาในเทศกาลต่างๆ เช่น
- วันฮารีรายอ
- วันเข้าสุนัต
- วันถือศีลอด
- วันอาชูรอ
- วันเมาลิด
1.นางพัชรี หวันเดหวา ผู้นำชุมชน
2.นางสุวรรณี อินต๊ะชัย ปราชญ์ด้านการแพทน์แผนไทย/สมุนไพร/หมอพื้นบ้าน
3.นางสาวธัญพิมล จินเดหวา ปราชญ์ด้านการจัดทำอาหาร
ทุนกายภาพ
- ทรัพยากรธรรมชาติ ; ทะเลสาบสงขลา
ทุนวัฒนธรรม
- ศาลหลักเมืองสงขลา
- วัดยางทอง
- มัสยิดบ้านบน
- ศูนย์การเรียนรู้มัสยิดบ้านบน
มัสยิดบ้านบน หรือมัสยิดอุสาสนอิสลาม เป็นมัสยิดเก่าแก่ที่คู่มากับการสร้างเมืองสงขลา ประตูรั้วทางเข้ามัสยิดระบุว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2390 หลังจากที่รัชกาลที่ 3 พระราชทานเสาหลักเมืองสงขลาในปี พ.ศ. 2385 ทั้งยังมีหลักฐานว่า รัชกาลที่ 5 พระราชทานทรัพย์บูรณะประดับตกแต่งเมื่อครั้งประพาสเกาะชวา และได้แวะที่เมืองสงขลา อีกทั้ง รัชกาลที่ 6 ยังพระราชทานโคมไฟสีเขียวซึ่งเป็นเครื่องสังเค็ดพระเมรุของรัชกาลที่ 5 แก่มัสยิด เช่นเดียวกับที่ทรงพระราชทานแก่มัสยิดสำคัญในกรุงเทพฯ มัสยิดแห่งนี้อดีตเคยเป็นมัสยิดกลางประจำจังหวัดสงขลา เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นสถานที่สำคัญของชาวมุสลิมในจังหวัด
มัสยิดแห่งนี้เป็นมัสยิดที่มีเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นและแตกต่างจากมัสยิดโดยทั่วไป ตัวอาคารมีลักษณะการก่อสร้างคล้ายกับอุโบสถของวัด หออาซานมีความคล้ายคลึงกับลักษณะของหอระฆังแบบไม่มีโดมครอบเหมือนกับมัสยิดทั่วไป เป็นมัสยิดที่มีรูปแบบคล้ายกันกับสถาปัตยกรรมแบบไทย ก่อนที่จะได้รับการบูรณะและปรับปรุงใหม่ในปัจจุบัน
ศูนย์การเรียนรู้มัสยิดบ้านบน ตั้งอยู่ในมัสยิดเก่าแก่ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่นำเสนอปะวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ผ่านภาพเก่าเมืองสงขลา ข้าวของเครื่องใช้ในอดีตตามวิถีมุสลิมสงขลา
ตลาดมัสยิดบ้านบน ตลาดมัสยิดบ้านบนเกิดจากชาวชุมชนบ้านบน เมืองเก่าสงขลาและนักวิจัยในพื้นที่ได้จัดทำตลาดอาหารฮาลาลขึ้นบริเวณลานหน้ามัสยิดบ้านบน มีพ่อค้าแม่ค้าที่อยู่บริเวณชุมชนบ้านบนนำอาหารฮาลาล เครื่องดื่มและขนมพื้นเมืองมาจำหน่าย โดยมีการปิดถนนพัทลุงช่วงตั้งแต่สี่แยกถนนนางงามตัดพัทลุงไปจนถึงถนนพัทลุงตัดถนนนครใน ซึ่งเป็นถนนพัทลุงบริเวณหน้ามัสยิด เพื่อให้พ่อค้าแม่ค้าวางเต๊นท์ตั้งบูธขายของกลางถนนได้สะดวกขึ้น มีประชาชนในเขตเทศบาลนครสงขลาแวะเวียนเข้ามาซื้อสินค้ากันอย่างต่อเนื่อง ภายในตลาดยังมีกิจกรรมอื่นๆ เช่น การสาธิตการทำอาหาร การแสดงทางวัฒนธรรม การแสดงดนตรี การนำชมมัสยิด ผู้สนใจสามารถเที่ยวชมตลาดบ้านบนได้ทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่ เวลา 17.30 - 20.30 น.
อาหาร อาหารที่ขึ้นชื่อ มีข้าวมันแกงไก่สงขลา ขนมปำจี ขนมบูตู ข้าวเหนียวบอก ขนมปะดา
เทศบาลนครสงขลา. (2564). ชุมชนมัสยิดบ้านบน เขตเทศบาลนครสงขลา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2567 จาก https://www.songkhlacity.go.th/
บ้านในนคร. (2562). ชาวบ้านบน เป็นใคร มาจากไหน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2567 จาก https://baannainakhon.blogspot.com/
ปรีชา สถิตเรืองศักดิ์ (2565). ชาวชุมชนบ้านบนเมืองเก่าสงขลาเปิดตลาดอาหารฮาลาลทุกเย็นวันอาทิตย์. สยามรัฐ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2567 จาก https://siamrath.co.th/n/383730
เรื่องราวหาดใหญ่. (2562). มัสยิดบ้านบนศิลปะไทย-จีน สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 3. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2567 จาก https://shorturl.asia/17nie
ศูนย์ข้อมูลกลางทางศาสนา. (ม.ป.ป.). มัสยิดอุสาสนอิสลาม (บ้านบน). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2567 จาก https://e-service.dra.go.th/