Advance search

ชุมชนชาวแพขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่บนแม่น้ำน่านมาอย่างยาวนานก่อนที่จะย้ายถิ่นฐานขึ้นมาบนบกเพื่อแก้ไขปัญหาทางมลภาวะในแม่น้ำ

หมู่ที่ 10
ชาวแพ
อรัญญิก
เมืองพิษณุโลก
พิษณุโลก
ทม.อรัญญิก โทร. 0-5537-7730
มะลิวัลย์ คำมานิตย์
22 พ.ค. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
30 พ.ค. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
24 พ.ค. 2024
ชาวแพ

ที่มาของชื่อชุมชนชาวแพ มาจากการที่ชุมชนอาศัยอยู่ในเรือนแพแม่น้ำน่าน จังหวัดพิษณุโลก


ชุมชนชนบท

ชุมชนชาวแพขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่บนแม่น้ำน่านมาอย่างยาวนานก่อนที่จะย้ายถิ่นฐานขึ้นมาบนบกเพื่อแก้ไขปัญหาทางมลภาวะในแม่น้ำ

ชาวแพ
หมู่ที่ 10
อรัญญิก
เมืองพิษณุโลก
พิษณุโลก
65000
16.8201
100.3029
เทศบาลเมืองอรัญญิก

เมื่อปี พ.ศ. 2534 ขณะที่ชุมชนชาวแพยังตั้งอยู่ในแม่น้ำน่าน ในขณะนั้นฝ่ายบริหารของจังหวัดพิษณุโลกเริ่มเล็งเห็นผลกระทบของการอยู่อาศัยภายในเรือนแพจากสาเหตุที่ชาวแพได้ขับถ่ายของเสียและทิ้งขยะลงในแม่น้ำโดยตรงซึ่งอาจทําให้เกิดปัญหาด้านมลภาวะทางน้ำและอาจเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคได้ เนื่องจากแม่น้ำน่านที่ชาวแพอยู่อาศัยนั้นเป็นแหล่งทรัพยากรที่สําคัญของจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดใกล้เคียงในการผลิตน้ำประปาเพื่ออุปโภคและบริโภค ดังนั้นทางจังหวัดจึงได้ตั้งคณะทํางานศึกษาความเป็นไปได้ในการเคลื่อนย้ายเรือนแพเพื่อแก้ไขปัญหาด้านมลภาวะในแม่น้ำ

จนในปี พ.ศ. 2535 มีผลสรุปออกมาว่าการแก้ไขปัญหาในระยะยาวจะต้องทําการเคลื่อนย้ายชุมชนเรือนแพขึ้นมาอยู่บนบกทั้งชุมชน โดยสํารวจแล้วว่าสถานที่ที่เหมาะสมคือ บริเวณริมคลองโคกช้าง หมู่ที่ 10 (ในขณะนั้นเป็นหมู่ที่ 3) ตําบลอรัญญิก อําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งอยู่ห่างจากชุมชนเดิมประมาณ 4-5 กิโลเมตร พร้อมกันนั้นก็ได้พยายามแก้ไขปัญหาในระยะสั้นไปด้วย โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแล มีการควบคุมจํานวนเรือนแพไม่ให้มีมากขึ้น ห้ามไม่ให้ชาวแพต่อเติมเรือนแพเป็นที่ทําการค้า ขอความร่วมมือจากชาวแพไม่ให้ทิ้งขยะลงในแม่น้ำ

ในปี พ.ศ. 2537 สนับสนุนให้ชาวแพจัดทําถังสุขาประจําเรือนแพโดยใช้ถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร ที่ได้รับบริจาคจากหน่วยงานเอกชนมาเป็นที่กักเก็บของเสีย โดยทางราชการได้ตั้งกองทุนขึ้นมาเพื่อให้ชาวแพกู้ยืมเงินไปใช้ในการติดตั้งถังสุขา วิธีการติดตั้งต้องดัดแปลงถังน้ำมันเข้ากับโถส้วมและนำถังที่ดัดแปลงเสร็จแล้วไปติดตั้งบริเวณห้องส้วมของชาวแพ การทําถังสุขานี้ไม่ประสบความสําเร็จเพราะมีปัญหาด้านกลิ่นเหม็นของของเสียที่ส่งกลิ่นอยู่ภายในเรือนแพที่อยู่อาศัย รวมถึงอายุการใช้งานของถังสุขาก็มีระยะสั้นเพียงประมาณ 1 ปี นอกจากนี้ในเวลาที่น้ำไหลเชี่ยวกระแสน้ำจะมีความแรงพอที่จะพัดพาถังสุขาลอยน้ำไป จากปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ทําให้มีชาวแพติดตั้งถังสุขาเพียงบางส่วนเท่านั้น อย่างไรโครงการเคลื่อนย้ายชาวแพเป็นการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชาวแพให้ดีขึ้นทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสาธารณสุขมูลฐาน

ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2547 ชุมชนชาวแพถูกทางราชการแยกตัวออกมาจากหมู่ที่ 3 มารวมอยู่ในเขตการปกครองของหมู่ที่ 10 ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาใหม่

ชุมชนชาวแพในปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 10 ตําบลอรัญญิก ในอดีตชุมชนชาวแพเคยรวมอยู่กับหมู่ที่ 3 ของตําบลอรัญญิก แต่เพราะหมู่ที่ 3 นั้นมีพื้นที่และประชากรเป็นจํานวนมากทางราชการเห็นว่าควรจะแยกพื้นที่บางส่วนที่มีประชากรหนาแน่นมาจัดตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ ดังนั้นในช่วงปลายปี พ.ศ. 2547 ชุมชนชาวแพจึงถูกทางราชการแยกตัวออกมาจากหมู่ที่ 3 มารวมอยู่ในเขตการปกครองของหมู่ที่ 10 ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาใหม่ ในขณะที่ชุมชนชาวแพยังรวมอยู่กับหมู่ที่ 3 นั้น นอกจากชุมชนชาวแพแล้วบริเวณหมู่ที่ 3 ตําบลอรัญญิกยังประกอบไปด้วยบ้านเรือนและชุมชนของชาวบ้านอื่น ๆ อีกหลายแห่ง 

ชุนชนเรือนแพมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียงดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ทางสาธารณประโยชน์และโฉนดเลขที่ 24938
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ที่ราชพัสดุ
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ คลองโคกช้าง
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ทางสาธารณประโยชน์ โฉนดที่ดินเลขที่ 39927, 39928, 8172, 39963, 39942, 39902, 55283, 55284 และ 39912

ลักษณะภูมิศาสตร์

ชุมชนชาวแพมีเนื้อที่ประมาณ 35 ไร่ ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบลุ่มริมคลองโคกช้าง ในอดีตบริเวณนี้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าและจัดเป็นที่ดินสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของหรือนำมาใช้ประโยชน์มีเพียงชาวบ้านบริเวณนั้นจำนวนหนึ่งที่เข้ามาปลูกที่พักเป็นเพิงอาศัยอยู่เพียงชั่วคราว เมื่อมีการศึกษาความเป็นไปได้ในการเคลื่อนย้ายชาวแพจากบริเวณชุมชนเดิมที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำน่านให้ขึ้นมาอยู่บนบกเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านมลภาวะในแม่น้ำนั้น สํานักงานที่ดินจังหวัดได้เสนอให้ที่ดินบริเวณนี้เป็นสถานที่รองรับการจัดตั้งชุมชนใหม่ของชาวแพ เนื่องจากถือว่าเป็นที่ดินสาธารณะสมบัติของแผ่นดินที่อยู่ไม่ไกลจากบริเวณเดิมมากนักชุมชนใหม่อยู่ห่างตัวเมืองเพียง 4-5 กิโลเมตร

ชาวแพที่อาศัยอยู่มีประมาณ 700 คน หรือประมาณ 237 หลังคาเรือน บริเวณชุมชนตั้งอยู่บนพื้นที่ริมคลองโคกช้าง อยู่ทางทิศเหนือของทางหลวงแผ่นดิน สายพิษณุโลก-หล่มสัก ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 3–4 ประมาณ 50-100 เมตร

ชาวแพมีภูมิหลังเป็นชาวบ้านในชนบท ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักทําเกษตรกรรมมาก่อนหรือเลี้ยงสัตว์ งานทางการเกษตรที่ชาวแพเคยทําก็จะเป็นการทําไร่ทํานาปลูกพืชผักสวนครัว ในอดีตเกษตรกรมักประสบปัญหาในการเพาะปลูกจากปัญหาทางสภาพภูมิอากาศ เช่น ฝนแล้งฝนทิ้งช่วงทําให้ขาดแคลนน้ำหรือเกิดปัญหาน้ำท่วมผลผลิตเสียหายจากการทําไร่นาในที่ลุ่ม และบางครั้งก็มีปัญหาทางด้านการตลาดผลผลิตขายได้ราคาค่ำเพราะถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง ทําให้ชาวบ้านจํานวนหนึ่งตัดสินใจละทิ้งไร่นาเข้ามาหางานทําในตัวเมือง

ในบางกรณีชาวบ้านที่ขาดแคลนแรงงานในการทําไร่ทํานาเพราะมีจํานวนผู้ชายในครัวเรือนน้อยหรือไม่มีเลย ทำให้ต้องเดินทางมาหางานทําในเมือง การเข้ามาอยู่อาศัยในเมืองใหญ่ทําให้เกิดปัญหาเรื่องที่พักอาศัยเพราะที่ดินมีราคาสูง ชาวบ้านจํานวนหนึ่งที่อพยพเข้ามาอยู่ในเมืองจึงตัดสินใจเข้ามาสร้างหรือเช่าแพเพื่อเป็นที่พัก และการอยู่อาศัยในเรือนแพมีความสะดวกสบายเพราะอยู่ใกล้กับแหล่งทํามาหากินและแหล่งน้ำ ชาวบ้านเหล่านี้จึงกลายเป็นชาวแพไปโดยปริยาย ส่วนใหญ่แล้วชาวแพมักจะชวนเพื่อนบ้านในชนบทเข้ามาหางานทําด้วย หรืออาจจะชักชวนหลังจากพบว่าการทํางานในเมืองมีลู่ทางที่จะได้เงินมากกว่าการทํางานในภาคเกษตรกรรม ในบางครั้งการอพยพเข้ามาอยู่ในเมืองมีจํานวนมากกว่า 10 ครอบครัวภายในการอพยพเพียงครั้งเดียว

ชาวแพหลายคนมักมีฐานะยากจนเนื่องจากมีการศึกษาน้อยและรายได้ไม่สูง ส่วนใหญ่ผู้หญิงมักทํางานเป็นแม่ค้าอยู่ในตลาดสด ส่วนมากผู้ชายมักจะถนัดทํางานรับจ้าง เช่น ขี่สามล้อ ขี่รถซาเล้งขนของ ช่างกลึง ช่างแกะสลัก ช่างก่อสร้าง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีชาวแพบางส่วนที่ทํางานเป็นลูกจ้างของบริษัทห้างร้าน หรือหน่วยงานราชการมีชาวแพจํานวนเล็กน้อยที่รับราชการเป็นทหารและตํารวจ ส่วนชาวแพบางคนที่ทําอาชีพค้าขายจนร่ำรวยมีเงินให้คนในชุมชนกู้ยืมรวมไปถึงพ่อค้าแม่ค้าในตลาดสดด้วย เนื่องจากชาวแพจํานวนมากมีฐานะยากจนแหล่งเงินกู้จึงเป็นสิ่งจําเป็นเพื่อนำมาใช้หมุนเวียนรายรับรายจ่ายในครอบครัว 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

พิพิธภัณพ์ชาวแพ

พิพิธภัณฑ์ชาวแพตั้งอยู่ในสวนชมน่านเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นสวนสาธารณะริมน้ำน่านของเมืองพิษณุโลก พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2542 โดยเทศบาลนครพิษณุโลก เป็นพิพิธภัณฑ์ที่แสดงให้เห็นที่อยู่อาศัยของชาวแพริมแม่น้ำน่านในอดีต โดยขุดบ่อจำลองเสมือนเป็นแม่น้ำน่านและสร้างเรือนแพขึ้นมาหลายหลัง โดยภายในจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือนสมัยก่อน และรูปถ่ายเก่าของเมืองพิษณุโลก

ชุมชนชาวแพบริเวณริมแม่น้ำน่าน เมืองพิษณุโลกมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นซึ่งมีความโดดเด่นและมีเอกลักษณะเฉพาะตัว ปัจจุบันยังมีชุมชนชาวแพบริเวณริมแม่น้ำน่านหลงเหลือให้เห็นอยู่ไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะย้ายขึ้นมาอยู่บนบกเพื่อเป็นการรักษาแม่น้ำน่านเอาไว้

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ในปัจจุบันชุมชนชาวแพ ริมแม่น้ำน่าน จังหวัดพิษณุโลก ได้รับการโยกย้ายให้ขึ้นไปอยู่บนฝั่ง ด้วยมีปัญหาเรื่องสุขภาวะและผลกระทบของการกำจัดน้ำทิ้ง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

อวบ มีแดนไผ่. (2550). เรื่องเล่าเกี่ยวกับชีวิตของผู้นำชุมชนชาวแพ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปากร. 

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). พิพิธภัณฑ์ชาวแพ จังหวัดพิษณุโลก. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2567. https://db.sac.or.th/museum/

ทม.อรัญญิก โทร. 0-5537-7730