Advance search

ชุมชนชาติพันธ์ุที่มีการสืบทอดประเพณีความเชื่อดั้งเดิมของบรรพบุรุษในขณะเดียวกันก็มีการยอมรับความเชื่อทางศาสนาคริสต์เข้ามาผสมผสานกับความเชื่อเดิม

บ้านยาป่าแหน
ปางมะผ้า
ปางมะผ้า
แม่ฮ่องสอน
รัฐนันท์
29 พ.ค. 2024
29 พ.ค. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
29 พ.ค. 2024
บ้านยาป่าแหน

ชื่อหมู่บ้านยาป่าแหน มาจากชื่อของชายคนหนึ่งชื่อว่ายาป่าแหน หมายถึง ลูกชายคนแรกในครอบครัว โดยชายคนนี้เป็นที่รักของผู้คนในหมู่บ้านเนื่องจากมีจิตใจโอบอ้อมอารีคอยช่วยเหลือชาวบ้านที่ทุกข์ยาก จึงได้มีการนำชื่อของชายคนนี้คนนี้มาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน


ชุมชนชาติพันธุ์

ชุมชนชาติพันธ์ุที่มีการสืบทอดประเพณีความเชื่อดั้งเดิมของบรรพบุรุษในขณะเดียวกันก็มีการยอมรับความเชื่อทางศาสนาคริสต์เข้ามาผสมผสานกับความเชื่อเดิม

บ้านยาป่าแหน
ปางมะผ้า
ปางมะผ้า
แม่ฮ่องสอน
58150
19.6010921
98.2383886
เทศบาลตำบลปางมะผ้า

ชุมชนหมู่บ้านยาป่าแหนเกิดจากการแยกตัวของชาวมูเซอแดงในหมู่บ้านแสงคำลือที่อพยพแยกตัวออกมาหาที่อยู่อาศัยใหม่ นำโดยนายยาป่าแหนได้ย้ายเข้าไปอยู่ในเขตพม่า ต่อมาย้ายมาอยู่บริเวณบ้านไม้ฮุง และย้ายกลับไปอยู่บริเวณบ้านแอโก๋ (โหลาง) ก่อนที่จะย้ายมาอยู่บริเวณบ้านยาป่าแหนในปัจจุบัน

ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นชาวมูเซอแดง เป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ พบในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มูเซอแดงจะเรียกตัวเองว่า "ลาหู่" (LAHU)

ลาหู่

ชาวบ้านส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก มีทั้งการเกษตรแบบไร่นาประจำที่จะทำในพื้นที่บริเวณใกล้ ๆ กับหมู่บ้าน และการเกษตรในพื้นที่ที่ห่างไกลจากหมู่บ้านออกไป มีการเพาะปลูก ได้แก่ ข้าว มีทั้งข้าวเหนียวและข้าวเจ้า ข้าวโพด ถั่ว งา และผักต่าง ๆ รวมทั้งฝิ่นด้วย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะปลูกพืชในช่วงต้นฤดูฝน ยกเว้นผักต่าง ๆ ที่ชอบอากาศหนาวจึงปลูกในช่วงต้นฤดูหนาว การทำการเกษตรในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่การเตรียมพื้นที่จนกระทั่งถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะมีการพึ่งพาอาศัยแรงงานกัน คือ ถ้าเพื่อนบ้านมาช่วยแรงงาน 1 วัน ก็ต้องไปช่วยแรงงานเพื่อนบ้านคืน 1 วัน เช่นกัน หรือหากไม่ต้องการใช้แรงงานคืน ผู้เป็นเจ้าของไร่อาจจะทำอาหารเลี้ยงเพื่อนบ้านที่มาช่วยงานในไร่แทน มีการเลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อบริโภค และใช้ประกอบพิธีกรรม ได้แก่ หมู และไก่ ส่วนสัตว์ที่เลี้ยงไว้ใช้งานก็คือ ม้า ล่อ นอกจากนี้ยังพบว่ามีการเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย ไว้เพื่อเสริมสร้างฐานะทางครอบครัว การเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่เป็นแบบปล่อยเป็นอิสระหากินเองตามธรรมชาติ อาหารที่ได้นอกเหนือจากการเพาะปลูกนั้นมาจากการล่าสัตว์ และเก็บของป่า คนในหมู่บ้านมีความสามารถในด้านการเป็นนักล่าสัตว์ เนื้อสัตว์ที่ได้มาก็จะนำมาแบ่งปันในเครือญาติและคนที่ไปล่าด้วยกัน ส่วนของป่าที่เก็บมาเป็นอาหารนั้น ได้แก่ หวาย เห็ด หน่อไม้ หัวมัน หัวเผือก ยอดไม้ และผลไม้

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

1.พ่อเฒ่ายาป่าแหน

ผู้นำอาวุโส ที่ชื่อถูกนำมาตั้งเป็นชื่อของหมู่บ้านและชื่อของโรงเรียน ได้รับตำแหน่งเป็น "อาดอ" ของหมู่บ้าน คือ ผู้ทำหน้าที่ปกครองดูแลความสงบสุขภายในหมู่บ้าน โดยพ่อเฒ่ายาป่าแหน มีพ่อชื่อว่า จ่าหา ซึ่งเป็นชาวเผ่าสีซอ มีแม่ชื่อว่า นาสอ ซึ่งเป็นชาวเผ่ามูเซอแดง พ่อเฒ่ายาป่าแหน มีพี่สาว 3 คน มีน้องสาว 1 คน และน้องชายคนเล็ก 1 คน พ่อของพ่อเฒ่ายาป่าแหนก็เป็นคนสำคัญ คือ เป็นผู้นำหมู่บ้านห้วยผึ้ง ตั้งอยู่ในเขตพม่า มีชาวลาหู่และชาวลีซูอาศัยปะปนอยู่ด้วยกัน แต่ประเพณีปฏิบัติส่วนใหญ่ใช้ของลีซู เนื่องจากจ่าหาเป็นผู้นำเป็นชาวลีซู

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ภาษามูเซอ จัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาจีน-ธิเบต (Sino-Tibetan)


การเปลี่ยนแปลงทางด้านศาสนาและความเชื่อ

แต่เดิมมูเซอแดงจะมีความเชื่อเรื่องของผี วิญญาณต่าง ๆ ที่นำความเจ็บป่วยมาให้ แต่เมื่อศาสนาคริสต์เข้ามาสู่ชุมชน จึงทำให้ชาวบ้านบางส่วนหันมานับถือคริสต์ศาสนาเห็นว่าเรื่องผีเป็นเรื่องไร้สาระ ความเจ็บป่วยที่ได้รับควรจะรักษาด้วยยาแผนปัจจุบันเท่านั้น มีการเปลี่ยนรูปแบบการแต่งงานจากการแต่งงานในตอนกลางคืนที่บ้านของฝ่ายหญิงมาเป็นการแต่งงานในตอนกลางวันและประกอบพิธีภายในโบสถ์ เรื่องการเปลี่ยนแปลงในแง่ของหลักธรรมคำสอนของศาสนานั้น ศาสนาดั้งเดิมจะถ่ายทอดหลักธรรมคำสอนด้วยวิธีการพูดต่อปากกัน ไม่มีตัวอักษรที่จะใช้ในการเผยแพร่ศาสนา แต่คำสอนของศาสนาคริสต์มีการเผยแพร่หลักธรรมคำสอนตามคัมภีร์ มีผู้ประกาศศาสนาอย่างชัดเจน คือ พระเยซู ความเปลี่ยนแปลงด้านผู้สืบทอด และความเปลี่ยนแปลงทางด้านศาสนสถาน คือ ศาสนาดั้งเดิมจะมีศาลาประเพณีประจำหมู่บ้าน ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ส่วนชาวคริสต์ ก็มีโบสถ์ไว้สำหรับเป็นศูนย์รวมเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงด้านเครื่องดนตรีที่ใช้ในการประกอบพิธีทางศาสนาจากเดิมเครื่องดนตรีประกอบจะใช้กลองยาว ฉาบ โหม่ง และแคนน้ำเต้า ซึ่งต่อมาพบว่ามีการใช้ กีตาร์ แตร ในการประกอบพิธีของมูเซอคริสต์

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

พิมุข ชาญธนะวัฒน์. (2538). คริสตศาสนากับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวมูเซอแดง : การศึกษาเปรียบเทียบเฉพาะกรณีระหว่างหมู่บ้านยาป่าแหน กับหมู่บ้านแสนคำลือ ในกิ่งอำเอภปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร.