Advance search

บ้านแม่เย็น ชุมชนที่มีพื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ กับการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการจัดการป่าชุมชนเพื่อความมั่นคงและยั่งยืนของทรัพยากร

หมู่ที่ 4
บ้านแม่เย็น
วังทอง
วังเหนือ
ลำปาง
องค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง โทร. 054-010801
วิไลวรรณ เดชดอนบม
10 มิ.ย. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
10 มิ.ย. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
10 มิ.ย. 2024
บ้านแม่เย็น

เดิมชื่อชุมชนคือ ดงเย็นเนื่องจากเป็นชื่อพื้นที่ป่าบริเวณที่ตั้งชุมชนที่เรียกกันมาตั้งแต่อดีต ต่อมาจึงมีการเปลี่ยนชื่อเป็น แม่เย็นเนื่องจากชื่อบ้านดงเย็นไปซ้ำกับชื่อของหมู่บ้านหนึ่งในเขตอำเภอเดียวกัน


ชุมชนชนบท

บ้านแม่เย็น ชุมชนที่มีพื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ กับการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการจัดการป่าชุมชนเพื่อความมั่นคงและยั่งยืนของทรัพยากร

บ้านแม่เย็น
หมู่ที่ 4
วังทอง
วังเหนือ
ลำปาง
52140
19.132356513983105
99.68066766858101
องค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง

พื้นที่บริเวณบ้านแม่เย็นเริ่มมีการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของผู้คนในที่แห่งนี้เมื่อใดไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด แต่ด้วยปัจจัยเชิงพื้นที่ที่มีลักษณะทางกายภาพที่เหมาะสม กอปรกับเป็นบริเวณที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะทรัพยากรป่าไม้ และมีสภาพแวดล้อมเหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน พื้นที่แห่งนี้จึงมีกลุ่มคนเข้ามาอาศัยและพัฒนาการกลายเป็นชุมชนจนถึงปัจจุบัน ในอดีตชาวบ้านเรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่า ดงเย็น เนื่องจากเป็นพื้นที่ป่าและทุ่งหญ้า เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลากหลายชนิด ครอบครัวแรกที่เข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่คือครอบครัวของพ่อเฒ่าหนานกุ๋มมาร แม่เฒ่าเขียว และครอบครัวของพ่อเฒ่าคำปิน โดยสันนิษฐานว่าเข้ามาในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2250-2300 โดยพื้นที่นี้มีลำน้ำไหลผ่านสองสาย คือ ลำน้ำท่าใหม่ ทางด้านทิศเหนือของชุมชน และลำน้ำแม่เย็น จึงเหมาะสำหรับทำเกษตรกรรม ต่อมาจึงมีการเปลี่ยนชื่อชุมชนจาก ดงเย็นเป็น แม่เย็นเนื่องจากชื่อบ้านดงเย็นไปซ้ำกับอีกชื่อของหมู่บ้านหนึ่งในเขตอำเภอเดียวกัน จึงใช้เป็นชื่อหมู่บ้านแม่เย็นแทนมาจนถึงปัจจุบัน

ด้วยเหตุที่พื้นที่ชุมชนมีป่าไม้ที่สมบูรณ์ล้อมรอบและปกคลุมอย่างหนาแน่น ชาวบ้านจึงมีการจัดการพื้นที่ป่าโดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นแกนนำมาตั้งแต่อดีตนานนับหลายสิบปี ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 ของชุมชนเป็นผู้ริเริ่มในการกำหนดเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เพื่อเป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ของชุมชน ซึ่งป่าอนุรักษ์ของชุมชนเป็นพื้นที่ที่มีพันธุ์ไม้หลากหลาย โดยเฉพาะไม้สักที่ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากทั่วบริเวณ ในช่วงวันสำคัญต่าง ๆ แกนนำชุมชนพร้อมชาวบ้านจะเข้าไปปรับปรุงระบบนิเวศเพื่อช่วยให้กล้าไม้ในป่าได้เติบโตอย่างสมบูรณ์ และมีการสั่งห้ามตัดไม้ในป่า โดยมีข้อกำหนดว่าหากใครตัดไม้จะต้องเสียค่าปรับและนำเงินมาใช้ในกองทุนพัฒนาป่าต่อไป นอกจากเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์แล้วยังมีพื้นที่ป่าใช้สอยชุมชน ซึ่งเป็นแหล่งหากินของชาวบ้าน ในการเข้าไปหาเก็บของป่าต่าง ๆ มาไว้สำหรับประกอบอาหารในครัวเรือน รวมไปถึงใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในป่าโดยทั่วไป ซึ่งเป็นวิถีปฏิบัติของชาวบ้านและผืนป่าที่มีความผูกพัน และพึ่งพาอาศัยกันมาร่วมนับร้อยปีจวบจนถึงปัจจุบัน

บ้านแม่เย็น ตำบลวังทอง อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ชุมชนโดยทั่วไปตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบเชิงเขาสลับกับพื้นที่สูง มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งป่าไม้ และพื้นที่ป่าต้นน้ำ ส่งผลให้ชุมชนมีลักษณะภูมิอากาศที่ค่อนข้างเย็นสบายตลอดทั้งปี โดยมี 3 ฤดูกาล ดังนี้ ฤดูฝน อยู่ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม ฤดูหนาวอยู่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ อากาศค่อนข้างหนาวจัด ช่วงเช้าและเย็นจะมีหมอกหนา อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 13-17 องศาเซลเซียส ฤดูร้อนอยู่ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม พื้นที่บ้านแม่เย็นมีอาณาเขตติดต่อโดยรอบชุมชนเป็นพื้นที่ป่า และแหล่งเพาะปลูกทางการเกษตร ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ เขตพื้นที่ป่าต้นน้ำชุมชน
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ พื้นที่ทางการเกษตรของชุมชน
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เขตพื้นที่ป่าใช้สอยชุมชน
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ พื้นที่ทางการเกษตรของชุมชน

สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน) สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง รายงานจำนวนประชากรหมู่ที่ 4 บ้านแม่เย็น ตำบลวังทอง อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 580 คน โดยแยกเป็นประชากรชาย 313 คน ประชากรหญิง 267 คน จำนวนหลังคาเรือนทั้งสิ้น 204 หลังคาเรือน (ข้อมูลเดือนธันวาคม 2566)

ชาวบ้านแม่เย็น ตำบลวังทอง อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการทำเกษตรกรรม โดยในช่วงฤดูแล้งชาวบ้านจะเตรียมพื้นที่สำหรับทำการเพาะปลูก โดยการถางไร่ ตัดหญ้า ต้นไม้ กิ่งไม้ต่าง ๆ เพื่อทำความสะอาดพื้นที่ เมื่อหญ้าและวัสดุแห้งแล้วก็จะทำการเผากำจัด แต่หากมีการบุกเบิกพื้นที่ใหม่ หรือขยายพื้นที่ทำการเกษตรก็อาจจะต้องมีการตัดต้นไม้ขนาดใหญ่ ซึ่งชาวบ้านก็จะนำกิ่งไม้ไปทำประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ จากนั้นจึงทำการไถไร่เพื่อปรับพื้นที่และหน้าดิน เมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนจึงจะเริ่มทำการเพาะปลูก โดยพื้นที่ชาวบ้านนิยมปลูก ได้แก่ การทำนาข้าว มะเขือ ฟักทอง ข้าวโพด และยังมีการปลูกดอกดาวเรืองเพื่อส่งขายในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมอีกด้วย

นอกจากนี้ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน เพื่อเว้นว่างจากการเพาะปลูกชาวบ้านก็จะเข้าไปหาเก็บของป่าในพื้นที่ป่าของชุมชนซึ่งมีอยู่โดยรอบบริเวณ ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายนเป็นช่วงกลางฤดูฝน พืชผัก ของป่าต่าง ๆ ก็จะเริ่มออกผลผลิตในป่าเป็นจำนวนมาก เช่น เห็ดหลากหลายชนิด และหน่อไม้ เป็นต้น โดยชาวบ้านจะนำมาเพื่อประกอบอาหารภายในครัวเรือนเป็นหลัก แต่หากหามาได้ในปริมาณที่เยอะมากก็จะมีการแบ่งขายเพื่อเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง

ชาวบ้านแม่เย็น ตำบลวังทอง อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง เป็นชุมชนชาวพุทธ ชาวบ้านนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ มีวิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณีวัฒนธรรมที่เกี่ยวโยงกับพุทธศาสนา ในวันสำคัญทางศาสนาชาวบ้านก็จะไปรวมตัวกันเพื่อทำบุญที่วัดและสืบทอดประเพณีท้องถิ่นอยู่เป็นประจำ โดยมีวัดแม่เย็น วัดประจำชุมชนที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประเพณีสำคัญ เช่น ประเพณีสงกรานต์ล้านนา วันเน่า วันสังขารล่อง วันพญาวัน วันส่งเคราะห์บ้าน เป็นต้น

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทรัพยากรธรรมชาติ

ป่าต้นน้ำ หรือป่าขุนน้ำ อยู่บริเวณด้านทิศเหนือของหมู่บ้าน มีเนื้อที่จำนวน 600 ไร่ มีสภาพเป็นป่าสมบูรณ์ เนื่องจากเป็นป่าที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยหลวง พื้นที่เป็นภูเขาสูงชันอยู่ห่างจากชุมรนประมาณ 4 กิโลเมตร และเชื่อมต่อกับผืนป่าอื่นๆ มีพืชจำพวกไผ่บงขึ้นอยู่ชายเขาและริมหัวย และประดู่ ตะแบก สัก ชิงชัน ตะเคียนทอง ฯลฯ ซึ่งบริเวณยอดเซามีแหล่งน้ำซับ คือขุนน้ำแม่เย็น ซึ่งมีความสำคัญต่อการเกษตร

ป่าใช้สอยทั่วไป อยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกกับทิศตะวันตกของหมู่บ้าน เป็นพื้นที่ป่าตามเขาสูงชันและริมห้วย บริเวณลำหัวยมีไผ่บงขึ้นเป็นหย่อมๆ ตะแบก เหียง ไม้แคง ไม้ยาง ชิงชัน ฯลฯ ชาวบ้านจะใช้ปะโยชน์จากป่าบริเวณนี้เป็นแหล่งหาอาาหาร สมุนไพร ไม้ฟัน และบางครั้งนำไม้เพื่อการสร้างบ้าน

ป่าพิธีกรรม ป่าประเภทนี้จะตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้านมากกว่าป่าต้นน้ำ โดยอยู่ทางด้านทิศใต้ เป็นป่าพิธีกรรมที่มีสภาพอุดมสมบูรณ์เพราะชาวบ้านจะไม่เข้าไปรบกวน เนื่องจากชาวบ้านเชื่อว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำอยู่ในป่าบริเวณที่เป็นวัดร้าง และป่าด้านทิศใต้ที่เกิดจากการที่ชาวบ้านได้ทำพิธีบวชป่า เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2547

ป่าช้า เป็นพื้นที่ป่าซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน มีเนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นป่าที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมเสียศพ ( เผาศพ ) ของชาวบ้าน มีสภาพเป็นป่าโปร่งมีไม้ยืนต้นจำพวก เหียง ตะแบก สัก ฯลฯ

พื้นที่ทำกิน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ พื้นที่ราบลุ่มจะมีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขา ใช้ในการเพาะปลูกข้าว และพืชล้มลุก ส่วนบริเวณพื้นที่ทำไร่ชาวบ้านจะใช้ในการปลุกข้าวโพด มีสภาพเป็นเนินเขาสูงต่ำสลับกัน มักอยู่ตามริมห้วยและอยู่ใกล้กับพื้นที่ป่าใช้สอย

แหล่งน้ำตามธรรมชาติ ในบริเวณป่าชุมซนบ้านแม่เย็น คือ บริเวณพื้นที่ป่าต้นน้ำ ที่น้ำจากบริเวณนี้ไหลมาตามลำห้วยแม่เย็นเข้าสู่พื้นที่เป็นบริเวณหมู่บ้าน เป็นแหล่งน้ำให้ชาวบ้านใช้บริโภคและเพาะปลูก อย่างไรก็ดีชาวบ้านในหมู่บ้านมีการบริโภคน้ำอีกแหล่งคือลำเหมืองแม่เย็นที่ชาวบ้านสร้างขึ้นด้านบนภูเขา ลำเหมืองนี้จะไหลผ่านแยกจากลำห้วยแม่เย็นบริเวณหน้าโรงเรียนบ้านแม่เย็น และไหลมาเรื่อยๆ ผ่านหมู่บ้านและบริเวณที่ทำการเกษตร การกระจายน้ำโดยทำเป็นร่องน้ำสายเล็กๆ ให้ไหลไปถึงที่นาของชาวบ้านทั่วถึง นอกจากนี้ยังมีลำห้วยท่าบ้านใหม่ ที่ไหลมาจากบ้านป่าลัน ผ่านพื้นที่ทางการเกษตรของหมู่บ้าน

ภาษาพูด : ภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษากลาง

ภาษาเขียน : ไทย

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

พรศิริ คดบุญ. (2546). การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการจัดการป่าชุมชน กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านแม่เย็น หมู่ 4 ตำบลวังทอง อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง. สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัดแม่เย็น ตำบลวังทอง. (2565). สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2567, จาก https://www.facebook.com/wat.maeyen/?locale=th_TH

องค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง โทร. 054-010801