Advance search

บ้านน้ำบ่อฯ, น้ำบ่อสะเป่

ชุมชนชาวลีซูบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่นับถือศาสนาพุทธ-ผี และคริสต์ และยังคงสืบทอดวิถีการดำรงชีวิตแบบดั้งเดิม 

หมู่ที่ 3
บ้านไร่
สบป่อง
ปางมะผ้า
แม่ฮ่องสอน
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
14 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
14 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
14 มิ.ย. 2024
น้ำบ่อสะเป่
บ้านน้ำบ่อฯ, น้ำบ่อสะเป่

มาจากชื่อของบ่อน้ำหลักในหมู่บ้านชื่อบ่อน้ำสะเป่ 


ชุมชนชาวลีซูบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่นับถือศาสนาพุทธ-ผี และคริสต์ และยังคงสืบทอดวิถีการดำรงชีวิตแบบดั้งเดิม 

บ้านไร่
หมู่ที่ 3
สบป่อง
ปางมะผ้า
แม่ฮ่องสอน
58150
19.506381043430153
98.19251982886385
องค์การบริหารส่วนตำบลสบป่อง

บ้านน้ำบ่อสะเป่เป็นหมู่บ้านบริวารหรือหย่อมบ้านของหมู่บ้านไร่ เนื่องจากประชากรในหมู่บ้านไม่ได้มีสถานะเป็นคนไทย ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวลีซู 

ตามคำบอกเล่า ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านในช่วงแรกไม่ชัดเจนมากนัก โดยก่อนหน้าที่ชาวบ้านน้ำบ่อสะเป่รุ่นที่สองจะเข้ามาตั้งถิ่นฐานมีชาวลีซุจากบ้านกึ๊ดสามสิบและหมู่บ้านใกล้เคียงในอำเภอปางมะผ้าเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ก่อนแล้วประมาณ 7-8 หลังคาเรือน ภายหลังจากที่กลุ่มอพยพรุ่นแรก ๆ ย้ายออกไปตั้งถิ่นฐานที่บ้านหนองตองและหนองผาจ้ำในจังหวัดแม่ฮ่องสอนกันหมดแล้ว 

กลุ่มคนที่บุกเบิกกลุ่มแรก ๆ เช่น พ่อเฒ่าป่าง พ่อเฒ่าปละเยะ และพ่อเฒ่าสม อาจเข้ามาตั้งแต่ถิ่นฐานที่หมู่บ้านไร่ประมาณปี พ.ศ. 2515-2517 และชาวลีซูกลุ่มที่สองอาจเข้ามาอยู่ในบ้านน้ำบ่อสะเป่หลังจากนั้น ประมาณ พ.ศ. 2517-2521 

หลังจากนั้นก็มีชาวลีซูจากอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ บ้านดอยหลวงและบ้านดีหลวงอพยพเข้ามาอยู่เพิ่มเติมเรื่อยมา นอกจากนี้เคยมีชาวลีซอที่เคยอยู่บ้านห้วยเฮี้ยะและหมู่บ้านอื่น ๆ ในอำเภอปางมะผ้ามาก่อนแล้วย้ายมาอยู่น้ำบ่อสะเป่ เนื่องจากปัญหาเรื่องที่ทำกิน 

หมู่บ้านตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอปางมะผ้าอยู่ถัดจากตลาดสบป่อง (ทางไปอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน) และตั้งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านไร่ซึ่งเป็นหลุมยุบขนาดใหญ่ สภาพภูมิประเทศโดยรอบประกอบด้วยถ้ำ เพิงผา และหลุมยุบของภูเขาหินปูน หลุมยุบดังกล่าวเหมาะสำหรับทำเกษตรกรรมบนพื้นที่สูง บ้านน้ำบ่อสะเป่อยู่ในเขตรับน้ำบนพื้นที่สูง บริเวณรอบ ๆ หมู่บ้านขึงมีลำห้วยเล็ก ๆ ที่เป็นต้นน้ำ แต่แหล่งน้ำหลักของชุมชนคือบ่อน้ำที่ขุดโดยคนในชุมชน จำนวน 3 แห่ง คือ บ่อสะเป่ บ่อป๊อมี และบ่อหย่าลิมิ ป่าไม้ของชุมชนเป็นป่าเบญจพรรณ ป่าไ่ผ่ แต่มีสภาพที่ค่อนข้างเสื่อมโทรม 

ฤดูกาลของหมู่บ้านนี้มี 3 ฤดูเหมือนกับหมู่บ้านอื่น ๆ ในอำเภอปางมะผ้า คือ

  • ฤดูร้อน ตั้งแต่มีนาคม-กลางเดือนมิถุนายน อากาศร้อนจัดและแห้งแล้ง แต่ในเวลากลางคืนอากาศค่อนข้างเย็น
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กันยายน มีหมอกจัดในตอนเช้า และฝนตกตลอดทั้งวัน อากาศเย็น
  • ฤดูหนาว อยู่ในช่วงตุลาคม-กุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็นมาก เนื่องจากหมู่บ้านตั้งอยู่บนภูเขาสูงและยังมีป่าโอบล้อม รวมทั้งได้รับอิทธิพลจากลมบนยอดดอย 

ประชากรในหมู่บ้านเป็นชาวลีซู ระบบเครือญาติของคนลีซูจะแบ่งสายตระกูลกันอย่างชัดเจน แต่ละตระกูลมีชื่อเรียกและมีประเพณีบางอย่างที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ในตระกูลเดียวกันยังแตกเป็นตระกูลย่อยอีก ซึ่งจะมีชื่อเรียกเป็นสัญลักษณ์ เช่น ผึ้งใหญ่ ผึ้งเล็ก ผึ้งเห็น (แมวป่า) ฯลฯ ชาวลีซูจะแต่งงานเข้าบ้านฝ่ายชายและถือว่าผู้หญิงเมื่อแต่งงานแล้วก็กลายเป็นคนของตระกูลอื่น หลังจากแต่งงานมีลูกแล้วจะขอแยกครอบครัวออกมาอยู่เองได้ 

ลีซู

ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรม รับจ้างทั่วไป และค้าขาย

คนในชุมชนส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรม ทำไร่ ซึ่งเป็นการทำเกษตรบนพื้นที่สูง ในหน้าฝนจะเก็บของป่า เช่น หน่อไม้ เห็ด ยอดผัก ฯลฯ ไว้กินเองและนำไปขายในตลาด

ชาวลีซูส่วนใหญ่นับถือศาสนา 2 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธ-ผี หรือศาสนาคริสต์ ดังนั้นในหมู่บ้านจึงมีทั้งสำนักสงฆ์และโบสถ์คริสต์

ชาวลีซูมีงานปีใหม่เช่นเดียวกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ โดยจะจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมของทุกปี จะมีการไหว้ผี เฉลิมฉลอง และตอนกลางคืนจะเต้นรำที่ลานในหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีพิธีกินข้าวใหม่คล้ายกับชาวลาหู่ ซึ่งจะจัดในเดือนตุลาคม 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ภาษาลีซู

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล. (2550). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการโบราณคดีบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระยะที่สอง (เล่มที่ 6: การศึกษาชาติพันธุ์วรรณาทางโบราณคดี). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.