หมู่บ้านชาวลีซูที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปชมวิถีชีวิตของชาวลีซู มีหัตถกรรมงานทอผ้าของชาวลีซูที่เป็นเอกลักษณ์ และแหล่งโบราณคดีประเภทถ้ำผีแมน
หมู่บ้านชาวลีซูที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปชมวิถีชีวิตของชาวลีซู มีหัตถกรรมงานทอผ้าของชาวลีซูที่เป็นเอกลักษณ์ และแหล่งโบราณคดีประเภทถ้ำผีแมน
ชุมชนบ้านน้ำรินพบหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงการมีผู้คนในพื้นที่มาตั้งแต่ประมาณ 2,120-1,250 ปีมาแล้ว เนื่องจากพบแหล่งโบราณคดีถ้ำน้ำริน เป็นแหล่งฝังศพของวัฒนธรรมโลงไม้ ปัจจุบันเป็นชุมชนของชาวลีซู ซึ่งเป็นชุมชนเล็ก ๆ และมีชาวไทใหญ่อาศัยร่วมอยู่ด้วย
แหล่งโบราณคดีถ้ำน้ำริน 1 เป็นถ้ำที่เป็นสุสานของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อ 2,120-1,250 ปีมาแล้ว พบโลงศพทำจากไม้สัก จำปาป่า และต้นรัก (หรือต้นยางรัก) สันนิษฐานว่าผู้คนในสมัยนั้นน่าจะวางศพบนเสาและคานไม้ด้วย แต่เป็นที่น่าเสียดายที่หลักฐานในถ้ำส่วนใหญ่มีสภาพเสียหายค่อนข้างมาก เนื่องจากถูกเผาไฟ นอกจากนี้พบเมล็ดพืช
บ้านลีซูน้ำรินเป็นชุมชนขนาดเล็กเพียง 183 ครัวเรือน อยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 12 กิโลเมตร หมู่บ้านตั้งอยู่ริมทางระหว่างอำเภอปาย-อำเภอปางมะผ้า สภาพแวดล้อมรอบ ๆ หมู่บ้านเป็นภูเขาสลับซับซ้อนและป่า ป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ ส่วนที่เหลือเป็นที่ราบระหว่างหุบเขา
แหล่งน้ำ แหล่งน้ำที่สำคัญของชุมชน คือ ลำห้วยแม่อูมอง มีต้นกำนิดจากเทือกเขาซึ่งอยู่เหนือบริเวณบ้านแม่อูมอง หมู่ที่ 5 ตำบลสบป่อง ขึ้นไปไหลผ่านบ้านน้ำริน บ้านสบป่อง จนกระทั่งมาบรรจบกับแม่น้ำลาง ที่บริเวณบ้านสบป่อง
ภูมิอากาศ บ้านลีซูน้ำรินมีสภาพภูมิอากาศที่แบ่งได้ 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ประมาณเดือนมีนาคม-พฤษภาคม มีอากาศร้อนจัด ฤดูฝน ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม-กันยายน มีอากาศเย็นและชื้น และฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-ปลายเดือนกุมภาพันธ์ มีอากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคมของทุกปี
ประชาชนในบ้านลีซูน้ำรินส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรและทำงานหัตกรรม ในชุมชนมีกลุ่มสตรีที่ผลิตกระเป๋าจากผ้าลีซูเป็นสินค้า OTOP
หมู่บ้านน้ำรินมีศูนย์วัฒนธรรมลีซูที่จำลองวิถีชีวิตของชาวลีซู ตั้งอยู่บริเวณกลางหมู่บ้าน นอกจากนี้ชุมชนมีกลุ่มสตรีตัดเย็บเสื้อผ้าลีซอบ้านริน (ผู้ดูแลคือนายอะสือมะ ยาเขต) และกลุ่มน้ำรินร่วมใจ ที่ทำงานฝีมือเย็บกระเป๋าจากผ้าของชาวลีซูเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ของหมู่บ้าน และมีการออกร้านและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนในงานของจังหวัดอยู่เป็นประจำ
ประชากรในชุมชนสื่อสารด้วยภาษาลีซูเป็นหลัก แต่บางคนสามารถสื่อสารด้วยภาษาไทยภาคกลางได้
นาฏสุดา ภูมิจำนงค์. (2550). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการโบราณคดีบนพื้นที่สูงในเขตอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระยะที่สอง (เล่มที่ 5: ด้านวงปีไม้และสิ่งแวดล้อมโบราณ). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
รัศมี ชูทรงเดช, จักรินรัฐ นิยมค้า, นุชนภางค์ ชุมชน, เชิดศักดิ์ ตรีรยาภิวัฒน์ และอุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล. (2543). แหล่งโบราณคดีและหลักฐานทางโบราณคดี. ใน รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ของโครงการสำรวจและจัดระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับถ้ำ จังหวัดแม่ฮ่องสอน (เล่มที่ 4: ด้านโบราณคดี). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน. (ม.ป.ป.). อำเภอปางมะผ้า. https://www.maehongson.go.th/new/pang-mapha/
องค์การบริหารส่วนตำบลสบป่อง. (ม.ป.ป.). สินค้า OTOP. สืบค้น 28 กรกฎาคม 2567, https://www.soppong.go.th/