Advance search

คะปีโหล, อาโจหรืออาโจ้, คะปีแอ

ชุมชนของชาวลาหู่แดงที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มแรก ๆ ที่อพยพเข้ามาในอำเภอปางมะผ้า และส่วนใหญ่ยังคงดำรงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม เนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลจากชุมชนใหญ่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เข้าถึงยาก

หมู่ที่ 3
ปางบอน
นาปู่ป้อม
ปางมะผ้า
แม่ฮ่องสอน
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
15 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
15 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
15 มิ.ย. 2024
ปางบอน
คะปีโหล, อาโจหรืออาโจ้, คะปีแอ

ชุมชนปางบอนมีการอพยพเคลื่อนย้ายหลายครั้ง ซึ่งหมู่บ้านปางบอนเก่า ได้แก่ บ้านคะปีโหล (อาโจ) บ้านคะปีแอ และบ้านปางบอนเก่าอีกสองแห่ง ซึ่งตั้งกระจายอยู่รอบหมู่บ้านปัจจุบัน สำหรับที่มาของชื่อชุมชน ทราบเฉพาะของบ้านอาโจ โดย "อาโจ" มาจากชื่อของพ่อเฒ่าอาโจ ซึ่งเป็นผู้นำของชุมชนในสมัยก่อน หรือชาวบ้านจะเรียกว่า "คะปีโหล" 


ชุมชนของชาวลาหู่แดงที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มแรก ๆ ที่อพยพเข้ามาในอำเภอปางมะผ้า และส่วนใหญ่ยังคงดำรงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม เนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลจากชุมชนใหญ่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เข้าถึงยาก

ปางบอน
หมู่ที่ 3
นาปู่ป้อม
ปางมะผ้า
แม่ฮ่องสอน
58150
19.686337663669978
98.13606405060452
องค์การบริหารส่วนตำบลนาปู่ป้อม

ปัจจุบันหมู่บ้านปางบอนมีอายุมาแล้วประมาณ 42 ปี ชาวบ้านส่วนใหญ่ย้ายมาจากหมู่บ้านคะปีโหล (อาโจ้) บ้านปางบอนมีกลุ่มประชากรที่อพยพเข้ามาหลัก ๆ ด้วยกัน 2 กลุ่ม โดยก่อนหน้านั้นมีการอพยพเคลื่อนย้ายไปในหมู่บ้านต่าง ๆ เนื่องจากพื้นที่ทำกินไม่พอและภัยสงคราม ต่อมาประชากรเหล่านี้ได้กลายมาเป็นเครือญาติกันและรวมกลุ่มกันเหนียวแน่นมากขึ้น ประวัติศาสตร์การอพยพของคนในชุมชนสรุปได้ดังนี้

ประชากรกลุ่มแรก ประชากรกลุ่มนี้อพยพมาจากบ้านแม่เลา และต่อมาย้ายไปอยู่ที่หมู่บ้านต่าง ๆ ได้แก่ บ้านดอยซาง อ.ปาย บ้านดอยจิ่งจ้อง (ดอยกิ่วลมที่อยู่ระหว่าง อ.ปางมะผ้า กับ อ.ปาย) บ้านหัวลาง พื้นที่บริเวณใกล้กับหมู่บ้านเก่าของชาวไทใหญ่ที่ปัจจุบันตั้งอยู่ในบ้านเมืองแพม บ้านหัวแม่ฮะ ต.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ บ้านห้วยเตาะ จ.เชียงใหม่ บ้านหมากหินตัด บ้านไคหลง และดอยเกงแสนในประเทศเมียนมา ตามลำดับ 

ที่หมู่บ้านดอยเกงแสน มีญาติพี่น้องมาตั้งรกรากเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และอาศัยอยู่เป็นเวลานาน กระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 มีเครื่องบินรบบินเข้ามาในพื้นที่ใกล้เคียงกับหมู่บ้าน ทำให้ชาวบ้านหวาดกลัวและหนีเข้าไปอยู่ในป่า เมื่อสงครามสงบลงแล้วชาวบ้านจึงกลับเข้ามาอยู่ที่หมู่บ้านตามเดิม ต่อมาเกิดสงครามที่ชายแดนไทย-เมียนมา ซึ่งมีกองกำลังของชนกลุ่มน้อยเดินทางผ่านหมู่บ้านเพื่อไปสู้รบกับกองกำลังฝั่งตรงข้ามทางด้านทิศตะวันตก และมีโจรจีนฮ่อเข้ามาปล้นสะดมอยู่บ่อยครั้ง ชาวบ้านบางส่วนจึงอพยพหนีไปอยู่บริเวณหัวน้ำของพร้อมกับก่อตั้งหมู่บ้าน และต่อมาชาวบ้านอพยพไปตั้งหมู่บ้านที่อาโจ้ และแยกกลุ่มขยับขยายออกไปตั้งหมู่บ้านใหม่อีกหลายแห่ง กระทั่งย้ายมาอยู่ที่บ้านปางบอน ส่วนชาวบ้านอีกกลุ่มหนีสงครามมาอยู่ที่หมู่บ้านแสนคำลือที่หัวลาง ซึ่งมีผู้นำเดิมในหมู่บ้านแสนคำลืออยู่แล้ว ชาวบ้านบางส่วนในกลุ่มนี้อพยพไปอยู่กับญาติพี่น้องที่ลุ่มน้ำกึ๊ดสามสิบ (ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านของชาวลีซู) และหมู่บ้านอาโจ้

ประชากรกลุ่มที่สอง เป็นชาวบ้านที่อพยพมาจากดอยขี้เหล็ก (ในเขตแดนของประเทศเมียนมา) แล้วเคลื่อนย้ายไปอยู่ในหมู่บ้านต่าง ๆ ได้แก่ ดอยจะเตาะ เมืองจ๊อกในประเทศเมียนมา ห้วยปลาคี บ้านลอแฮ บ้านหนองอ้อ บ้านห้วยป้อง ดอยเกงแสน ตามลำดับ ชาวบ้านกลุ่มนี้ได้รวมกลุ่มกับประชากรกลุ่มแรกที่ดอยเกงแสน บางส่วนย้ายตามกันไป และบางส่วนแยกไปอยู่ที่บ้านแสนคำลือ บ้านกึ๊ดสามสิบ และบ้านน้ำบ่อสะเป่

หมู่บ้านปางบอนเป็นหมู่บ้านชายแดนไทย-เมียนมา สภาพพื้นที่โดยรอบเป็นเทือกเขาสูง สลับกับหุบเขาเล็ก ๆ ซึ่งเป็นต้นน้ำของลำน้ำสายต่าง ๆ ปางบอนอยู่ในเขตลุ่มน้ำสาขาห้วยโป่งแสนปิ๊ก ซึ่งเป็นลำน้ำที่ไหลลงสู่ลำน้ำของ แม่น้ำปาย และแม่น้ำสาละวินที่บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา ส่วนตัวหมู่บ้านตั้งอยู่บนช่วงกลางของสันเขา ซึ่งมีลักษณะเป็นที่ราบแอ่งกระทะระหว่างยอดเขาขนาดเล็ก 2 เนิน โดยสันเขานี้ใช้เป็นเส้นทางในการเดินทางติดต่อกับชุมชนอื่น ภายในหมู่บ้านมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นไม่มาก เนื่องจากชาวลาหู่แดงในอดีตเชื่อว่าหากปล่อยให้มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นภายในหมู่บ้านจะก่อให้เกิดเหตุร้าย เช่น หากมีพายุอาจทำให้ต้นไม้ล้มทับบ้านเรือน หรือเกิดไฟไหม้ในช่วงหน้าแล้ง ฯลฯ และจะต้องย้ายหมู่บ้านไปอยู่ที่อื่น ดังนั้นชาวลาหู่แดงจึงมีประเพณีตัดและถางต้นไม้ทุกชนิดในหมู่บ้าน อย่างไรก็ตาม เมื่อปี พ.ศ. 2536 โครงการพัฒนาที่สูงไทย-เยอรมัน ได้เข้ามาดำเนินงานและสนับสนุนให้ชุมชนปางบอนปลูกพืชสวน เช่น มะม่วง ลิ้นจี่ ฯลฯ และพืชเศรษฐกิจอย่างกาแฟ ชาวบ้านจึงหันมาปลูกต้นไม้ยืนต้นในหมู่บ้าน

ประชากรส่วนใหญ่ในหมู่บ้านเป็นชาวลาหู่แดงหรือมูเซอแดง ซึ่งนับถือผี-พุทธ และศาสนาคริสต์

ลาหู่
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาลาหู่เป็นหลัก ภาษาอื่น ๆ ที่คนในชุมชนบางส่วนสามารถสื่อสารได้ เช่น ภาษาไทยกลาง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล. (2550). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการโบราณคดีบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระยะที่สอง (เล่มที่ 6: การศึกษชาติพันธุ์วรรณาทางโบราณคดี)สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.