Advance search

หมู่บ้านที่ชาวลาหู่ดำกลุ่มบุกเบิกเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอำเภอปางมะผ้า เป็นหมู่บ้านที่มีอายุเก่าแก่ในอำเภอ และตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลจากศูนย์กลางของเมือง 

หมู่ที่ 8
ห้วยเฮี้ยะ
ปางมะผ้า
ปางมะผ้า
แม่ฮ่องสอน
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
15 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
15 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
15 มิ.ย. 2024
บ้านห้วยเฮี๊ยะ


หมู่บ้านที่ชาวลาหู่ดำกลุ่มบุกเบิกเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอำเภอปางมะผ้า เป็นหมู่บ้านที่มีอายุเก่าแก่ในอำเภอ และตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลจากศูนย์กลางของเมือง 

ห้วยเฮี้ยะ
หมู่ที่ 8
ปางมะผ้า
ปางมะผ้า
แม่ฮ่องสอน
58150
19.662189061605044
98.23779880102914
องค์การบริหารส่วนตำบลปางมะผ้า

จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ที่เล่าสืบต่อกันมากล่าวว่าบรรพบุรุษของคนในบ้านห้วยเฮี้ยะอพยพมาจากเมืองแสนหวีในเมียนมา และทยอยอพยพต่อมาที่เมืองหน่าต่อในเมียนมาไปอยู่ดอยสามหมื่น ซึ่งชาวลาหู่ดำตั้งรกรากอยู่กันเป็นชุมชนใหญ่ที่ดอยสามหมื่นเป็นระยะเวลานานจนลูกหลานย้ายออกไปตั้งถิ่นฐานในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคเหนือ 

ชาวลาหู่ดำอพยพย้ายจากดอยสามหมื่นหลายระลอกก่อนที่จะมาอยู่รวมกันที่หมู่บ้านห้วยเฮี้ยะ (ย้ายมาเมื่อเกือบ 80 กว่าปีมาแล้ว) แม้ว่าจะมาจากต่างหมู่บ้านกัน เช่น บ้านไคหลงในเมียนมา บ้านจาโบ่ บ้านแม่ละนา บ้านไม้ฮุง บ้านปางคามในอำเภอปางมะผ้า แต่ก็มีความคิดร่วมกันว่ามีบรรพบุรุษมาจากดอยสามหมื่น

หมู่บ้านตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของอำเภอปางมะผ้า มีอาณาเขตติดกับชายแดนไทย-เมียนมา ตรงบริเวณใกล้กับฐานกองกำลังทหารว้าแดงและไทใหญ่ การเดินทางเข้าสู่หมู่บ้านห้วยเฮี้ยจะต้องผ่านหมู่บ้านอื่น ๆ หลายหมู่บ้าน ได้แก่ บ้านจาโบ่ บ้านแม่ละนา บ้านไม้ฮุง บ้านผาแดง และบ้านผาเผือก ตามลำดับ สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของหมู่บ้านเป็นสันเขา มีพื้นที่ราบเพียงเล็กน้อย ชาวบ้านจะใช้ประโยชน์จากพื้นที่ราบระหว่างหุบเขาใกล้กับต้นน้ำและที่ราบแม่ละนาในการเพาะปลูก เนื่องจากที่ราบระหว่างหุบเขาที่ใกล้กับหมู่บ้านนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ ในหน้าฝนน้ำจะชะล้างหน้าดินนำแร่ธาตุและสารอาหารต่าง ๆ ลงไปยังที่ราบหุบเขาด้านล่าง 

ฤดูกาลของชุมชนนี้มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ตั้งแต่มีนาคม-กลางมิถุนายน อากาศร้อนจัดและแห้งแล้ง แต่ในเวลากลางคืนอากาศค่อนข้างเย็น ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กันยายน มีหมอกจัดในตอนเช้า และฝนตกตลอดทั้งวัน อากาศเย็น และฤดูหนาวอยู่ในช่วงตุลาคม-กุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็นมาก เนื่องจากหมู่บ้านตั้งอยู่บนภูเขาสูงและยังมีป่าโอบล้อม รวมทั้งได้รับอิทธิพลจากลมบนยอดดอย 

ประชากรในชุมชนบ้านห้วยเฮี้ยะส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ดำ ส่วนกลุ่มอื่น ๆ คือ ลาหู่แดง กะเหรี่ยงสะกอ และกะยัน โดยชาวกะเหรี่ยงมีจำนวนน้อยมาก (เทียบได้กับ 1% เท่านั้น) 

โดยส่วนใหญ่แล้วคนในชุมชนบ้านห้วยเฮี้ยะเป็นเครือญาติและมีความเกี่ยวพันกันกับหมู่บ้านอื่น ๆ ที่ย้ายมาหรือย้ายออกไป โดยที่ความสัมพันธ์ของแต่ละหมู่บ้านยังคงสานต่อจนถึงปัจจุบัน และจะมีงาน "กินวอ" หรือเทศกาลปีใหม่ของชาวลาหู่ เป็นสิ่งที่ทำให้ชาวบ้านกลับมารวมตัวพบปะกัน 

ครอบครัวของลาหู่ดำเป็นครอบครัวขยาย ส่วนมากฝ่ายชายจะแต่งงานเข้าบ้านฝ่ายหญิง โดยมีพ่อของฝ่ายหญิงเป็นหัวหน้าครอบครัว บางครัวเรือนมีสมาชิกมากถึง 20 คน ซึ่งอาจไม่ได้อาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน แต่กินอาหารด้วยกัน มีพื้นที่ทำการเกษตรร่วมกัน และมีระบบกองกลางคล้ายกับระบบกงสีของครอบครัวคนจีน

กะยัน, ปกาเกอะญอ, ลาหู่

มักประกอบอาชีพทำเกษตรกรรม รับจ้างทั่วไป และค้าขาย

คนในชุมชนส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรม ทำไร่ ซึ่งเป็นการทำเกษตรบนพื้นที่สูง ในหน้าฝนจะเก็บของป่า เช่น หน่อไม้ เห็ด ยอดผัก ฯลฯ ไว้กินเองและนำไปขายในตลาด ในหน้าหนาวเป็นช่วงเก็บเกี่ยว ชาวบ้านทั้งหมู่บ้านจะลงแรงช่วยกันเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ทันเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม ในช่วงเวลาว่างจะสานตะกร้าและทำงานฝีมือไว้ใช้เองในครัวเรือนและจำหน่าย ส่วนช่วงหน้าร้อนเป็นช่วงที่ชาวบ้านถนอมอาหารจากผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมาได้ เนื่องจากช่วงนี้หาอาหารป่ายาก และจะกลับสู่ฤดูกาลเพาะปลูกอีกครั้งในช่วงก่อนเข้าเดือนเมษายน นอกจากนี้ยังเป็นช่วงปีใหม่ ชาวบ้านจะเฉลิมฉลองกัน ตอนกลางวันรดน้ำดำหัวผู้อาวุโสในหมู่บ้านและต่างหมู่บ้าน และส่วนกลางคืนจะเต้นรำที่ "ลานจะคึ" ของหมู่บ้าน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ภาษาลาหู่และภาษากะเหรี่ยง 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล. (2550). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการโบราณคดีบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระยะที่สอง (เล่มที่ 6: การศึกษชาติพันธุ์วรรณาทางโบราณคดี). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.