Advance search

หมู่บ้านแพมบกอยู่ไม่ไกลจากสะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย มีการรวมกลุ่มของชุมชนเพื่อพัฒนาหมู่บ้านให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจภายในชุมชน แต่ยังคงไว้ซึ่งวิถีชีวิตเรียบง่ายและพอเพียง ที่นี่มี "โขกู้โส่" สะพานบุญที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจระหว่างชาวบ้านและพระภิกษุสามเณรของชุมชน นับเป็นสะพานไม้ไผ่ที่มีความสวยงามและยาวมากอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดแม่ฮ่องสอน

หมู่ที่ 6
แพมบก
ทุ่งยาว
ปาย
แม่ฮ่องสอน
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
15 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
15 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
15 มิ.ย. 2024
แพมบก


หมู่บ้านแพมบกอยู่ไม่ไกลจากสะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย มีการรวมกลุ่มของชุมชนเพื่อพัฒนาหมู่บ้านให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจภายในชุมชน แต่ยังคงไว้ซึ่งวิถีชีวิตเรียบง่ายและพอเพียง ที่นี่มี "โขกู้โส่" สะพานบุญที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจระหว่างชาวบ้านและพระภิกษุสามเณรของชุมชน นับเป็นสะพานไม้ไผ่ที่มีความสวยงามและยาวมากอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดแม่ฮ่องสอน

แพมบก
หมู่ที่ 6
ทุ่งยาว
ปาย
แม่ฮ่องสอน
58130
19.322877611672848
98.39442066877861
องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งยาว

หมู่บ้านแพมบกตั้งอยู่ในตำบลทุ่งยาว อำเภอปาย ห่างจากสะพานประวัติศาสตร์ท่าปายไปราวสิบเอ็ดกิโลเมตร  แต่เดิมเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่มีวิถีชีวิตเรียบง่าย ต่อมาได้มีการรวมกลุ่มของชาวบ้านภายในชุมชนเพื่อพัฒนาพื้นที่ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจภายในชุมชน แต่ยังคงไว้ซึ่งวิถีชีวิตเรียบง่ายและพอเพียง 

ประวัติศาสตร์ของชุมชนบ้านแพมบก ยังสืบค้นได้ไม่มากนัก แต่จากคำบอกเล่าของพระอธิการณ์อัษฎาวุธอินธวรรณโณ ทำให้ทราบถึงประวัติความเป็นมาและการอพยพของผู้คนในพื้นที่ตำบลทุ่งยาวว่า ช่วงก่อน พ.ศ. 2412 หมู่บ้านนี้เป็นบ้านกะเหรี่ยง ซึ่งมีการอพยพเคลื่อนย้ายถิ่นอยู่อีกหลายรอบ ได้แก่ บ้านแม่ปิง บ้านทุ่งโป่ง (บ้านแม่ปิงและบ้านทุ่งโป่งปัจจุบันอยู่ในตำบลทุ่งยาว) และบ้านทุ่งวัวแดง เจ้าฟ้าโกหล่านนําคนไทใหญ่จากเมืองนายเข้ามาอยู่ จึงไล่กะเหรี่ยงออกไปจากที่นี่ และนําชาวไทใหญ่มาสร้างบ้านสร้างเมือง แต่ตัวของเจ้าฟ้าโกหล่านอยู่ที่เวียงใต้และนําชาวบ้านมาอยู่ในหมู่บ้านรอบ ๆ แวดล้อม เช่น บ้านทรายขาว บ้านนํ้าฮู บ้านทุ่งโป่ง บ้านกุงแกง บ้านแพมกลาง และบ้านม่วงสร้อย นอกจากนี้ทำให้ทราบว่าบ้านทุ่งยาวใต้ในตอนนั้นมีประชากรไม่มาก ไม่กี่หลังคาเรือน คนในบ้านร้องแหยงเป็นคนไทใหญ่ ที่อพยพมาจากทางเชียงราย ส่วนไทใหญ่จากบ้านทุ่งโป่งอพยพมาจากทางรัฐฉาน

"โขกู่โส้" สะพานบุญแห่งบ้านแพมบก

โขกู้โส่ มาจากคำว่า "โข" (ขัว) แปลว่า “สะพาน” รวมกับคำว่า "กู้โส่" แปลว่า “กุศลหรือบุญ” โขกู้โส่จึงหมายถึง “สะพานบุญ” เป็นสะพานไม้ไผ่ที่ทอดตัวเหนือทุ่งนาข้าวและมีฉากหลังเป็นภูเขา สร้างขึ้นในเดือนเมษายน-กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เกิดจากความคิดริเริ่มของพระอาจารย์สาคร จารุธัมโม ผู้ดูแลสำนักสงฆ์คายคีรี ในการสร้างสะพานเชื่อมระหว่างสำนักสงฆ์กับหมู่บ้านแพมบก และได้รับแรงบันดาลใจมาจากสะพานซูตองเป้ ประกอบกับจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชุมชนชาวไทใหญ่บ้านแพมบก โดยชาวบ้านได้บริจาคที่ริมคันนาและทุนทรัพย์เพื่อสร้างสะพานให้พระสงฆ์จากพุทธอุทยานห้วยคายคีรีเดินมาบิณฑบาตในหมู่บ้านสะดวกกว่าเส้นทางดั้งเดิม ที่ต้องเดินข้ามลำธารถึงสองช่วง เมื่อถึงฤดูน้ำหลากต้องเดินอ้อมไปอีกเส้นทางซึ่งไกลพอสมควร สะพานมีขนาดกว้าง 1.50 เมตร ยาว 815 เมตร มีการเพิ่มฐานรากด้วยเสาปูนและใช้โครงสร้างเหล็ก ส่วนพื้นเป็นไม้ไผ่สาน

สภาพแวดล้อมของบ้านแพมบกส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีพื้นที่ราบระหว่างภูเขาไว้สำหรับทำการเกษตร ทำไร่ ทำสวน และใช้เป็นที่อยู่อาศัย แหล่งน้ำที่สำคัญของชุมชน คือ แม่น้ำแพม ระบบน้ำประปา หมู่บ้าน และฝาย

บ้านแพมบกมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น โดยในฤดูร้อนมีอากาศร้อนจัด อากาศหนาวจัดในฤดูหนาว และฝนตกชุกในฤดูฝน นอกจากนี้มีหมอกปกคลุมตลอดทั้งปี เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศที่เป็นหุบเขาสูง อยู่บนที่สูงเหนือระดับน้ำทะเล ทำให้มีอุณหภูมิสูงในตอนกลางวันเนื่องจากถูกแสงแดด ส่วนในตอนกลางคืนจะได้รับอิทธิพลจากลมภูเขา ทำให้อากาศเย็นลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อความร้อนในตอนกลางวันลอยตัวขึ้นปะทะกับความชื้นของอากาศ จึงทำให้เกิดหมอกปกคลุม โดยทั่วไปในตอนกลางคืนสภาพภูมิอากาศจะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน 

ภูมิอากาศของบ้านแพมบกแบ่งออกเป็น 3 ฤดู ดังนี้

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคม
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้อากาศชุ่มชื้นฝนจะตกชุกมาก ซึ่งจะมีปริมาณมากที่สุดในเดือนสิงหาคม
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม ถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และความกดอากาศสูงจากประเทศจีน อากาศจะหนาวเย็นมาก

ประชากรในบ้านแพมบกเป็นชาวไทใหญ่และคนเมือง

ไทใหญ่

ชาวบ้านบ้านแพมบกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำเกษตรกรรม ได้แก่ ปลูกกระเทียม ข้าวไร่ และฟักทอง และอาชีพอื่น ๆ เช่น ทำถั่วเน่า ไม้กวาดปุ๋มเป้ง ฯลฯ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ที่หมู่บ้านแพมบก นอกจากนักท่องเที่ยวจะได้เดินชมวิวทุ่งนาบนสะพาน และน้ำตกแพมบกแล้ว ยังมีคาเฟ่ ร้านกาแฟ และมีโฮมสเตย์ไว้บริการนักท่องเที่ยว รวมถึงผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น ข้าวเกรียบสมุนไพร น้ำพริกถั่วเน่า น้ำพริกคั่วทราย และงานหัตถกรรมต่าง ๆ เช่น ไม้กวาดปุ๋มเป้ง ซึ่งทำจากใบของพืชตระกูลปาล์ม ฯลฯ

ประชากรในชุมชนสื่อสารกันด้วยภาษาไทใหญ่ ภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาไทยกลาง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). สะพานบุญโขกู้สุ่ย. https://thai.tourismthailand.org

นุชนภางค์ ชุมดี. (2556). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการการสืบค้นและจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนในอำเภอปาย-ปางมะผ้า-ขุนยวม ระยะที่ 3 (เล่มที่ 5: ประวัติศาสตร์). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สัญญา สะสอง, ชุติมันท์ สะสอง, และบุศรา นิยมเวช. (2563). การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมผ่านการมีส่วนร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ หมู่บ้านแพมบก อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 3(1), 35-46.

องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งยาว. (ม.ป.ป.). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของตำบลทุ่งยาวhttps://www.thoongyaopai.go.th/