Advance search

หมู่บ้านชาวปกาเกอะญอที่อยู่ติดกับชายแดนประเทศเมียนมา มีมรดกธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นที่พักพิงสุดท้ายของทหารญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามและถอยทัพกลับจากเมียนมาเข้ามาในประเทศไทย ผู้เฒ่าผู้แก่ของชุมชนแห่งนี้จึงมีความทรงจำมากมายเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 2 

หมู่ที่ 4
ห้วยต้นนุ่น
แม่เงา
ขุนยวม
แม่ฮ่องสอน
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
15 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
15 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
15 มิ.ย. 2024
ห้วยต้นนุ่น

มาจากต้นนุ่นที่อยู่ในหมู่บ้านซึ่งมีลำต้นสูงใหญ่มาก และมาจากชื่อแม่น้ำสายสำคัญในหมู่บ้านชื่อว่าห้วยต้นนุ่น


หมู่บ้านชาวปกาเกอะญอที่อยู่ติดกับชายแดนประเทศเมียนมา มีมรดกธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นที่พักพิงสุดท้ายของทหารญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามและถอยทัพกลับจากเมียนมาเข้ามาในประเทศไทย ผู้เฒ่าผู้แก่ของชุมชนแห่งนี้จึงมีความทรงจำมากมายเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 2 

ห้วยต้นนุ่น
หมู่ที่ 4
แม่เงา
ขุนยวม
แม่ฮ่องสอน
58140
18.75827
97.82679
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เงา

บ้านห้วยต้นนุ่นตั้งอยู่ในอำเภอขุนยวม ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นสันเขาเชื่อมต่อระหว่างภูเขาสูงสลับซับซ้อน เหมาะสมต่อการเป็นเส้นทางเดินเท้าที่ติดต่อระหว่างหมู่บ้านต่าง ๆ รวมทั้งมีอาณาเขตทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกที่ติดต่อกับเมียนมา

บ้านห้วยต้นนุ่นนั้นเป็นเขตชายแดน ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม พ.ศ. 2486 กองทัพญี่ปุ่นจึงได้ก่อสร้างถนนสำหรับเดินทางเข้าไปยังเมียนมา กระทั่งปี พ.ศ. 2487 ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ต่อเมียนมาจึงใช้ถนนสายนี้เดินทางถอยทัพกลับมาในไทย โดยมีทั้งทหารที่บาดเจ็บและเสียชีวิตระหว่างทาง นอกจากนี้ในช่วงเวลานั้นทหารญี่ปุ่นได้สร้างค่ายที่พักที่บ้านห้วยต้นนุ่นด้วย ส่วนค่ายในหมู่บ้านอื่น ๆ ในอำเภอขุนยวม ได้แก่ ค่ายห้วยปลามุง ค่ายห้วยทรายขาว ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านต่อแพ ปัจจุบันค่ายทหารทุกแห่งในอำเภอขุนยวมไม่หลงเหลือร่องรอยใด ๆ แล้ว แต่จะมีแบบแผนของที่ตั้ง คือ ใกล้แหล่งน้ำ ทหารที่รอดชีวิตจะเข้ามาพักอาศัยต่อที่บริเวณวัดต่อแพ และเดินทางต่อไปยังตัวตำบลขุนยวมเพื่อเดินทางกลับบ้านเกิด

ที่บ้านห้วยต้นนุ่นมีแหล่งโบราณสถานสมัยล้านนา รูปทรงคล้ายกับเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบลานตะพักลำน้ำ ห่างจากตัวหมู่บ้านไม่ไกลมากนัก ประมาณ 2 กิโลเมตร นอกจากนี้บริเวณรอบ ๆ โบราณสถานพบชิ้นส่วนอิฐ และเนินโบราณสถานอีกหนึ่งแห่ง 

ปัจจุบันบ้านห้วยต้นนุ่นเป็นหนึ่งในจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนระหว่างไทย-เมียนมา (บ้านห้วยต้นนุ่น-บ้านน้ำมาง รัฐคะยา) ซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนสินค้าเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และไม่ผิดกฎหมาย  

หมู่บ้านตั้งอยู่บนที่ราบลานตะพักน้ำ สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปเป็นภูเขาสูงและเป็นแหล่งต้นน้ำ มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์และหลากหลาย แหล่งน้ำที่สำคัญของชุมชน คือ แม่น้ำยวม ซึ่งไหลผ่านมาตั้งแต่บ้านต่อแพ บ้านห้วยหลวง บ้านประตูเมือง และมาสิ้นสุดที่บ้านห้วยต้นนุ่นเป็นลำห้วย 2 สาย คือ ห้วยงูเห่าและห้วยต้นนุ่น จากนั้นจึงไหลไปบรรจบกับแม่น้ำเงา

ประชากรในหมู่บ้านห้วยต้นนุ่นเป็นชาวปกาเกอะญอ นับถือศาสนาคริสต์

ปกาเกอะญอ
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ประชากรในชุมชนสื่อสารด้วยภาษาปกาเกอะญอเป็นหลัก ภาษาอื่น ๆ เช่น ภาษาไทยกลาง 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
  • ต้นนุ่นเป็นต้นไม้ประจำหมู่บ้านห้วยต้นนุ่น
  • ในหมู่บ้านมีผึ้งป่ามาทำรังเป็นจำนวนมาก ดังนั้นในเดือนเมษายนชาวบ้านจะได้เก็บรังผึ้งป่าในช่วงเดือนเมษายนเพื่อจัดจำหน่าย ซึ่งน้ำผึ้งป่าเป็นสินค้าที่ขึ้นชื่อของหมู่บ้าน

รัศมี ชูทรงเดช และคณะ. (2556). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการสืบค้นและจัดการมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนในอำเภอปาย-ปางมะผ้า-ขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระยะที่ 3 (เล่มที่ 7: การเผยแพร่ความรู้และการใช้ประโยชน์งานวิจัยตามความต้องการของท้องถิ่น. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เงา ตำบลแม่เงา อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (ม.ป.ป.). สภาพและข้อมูลพื้นฐานhttps://maengao.go.th/