Advance search

ชุมชนชาวปกาเกอะญอที่มีอายุเก่าแก่มา 200 กว่าปี เป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านในจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ และในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หมู่บ้านเป็นทางผ่านของทหารญี่ปุ่น

หมู่ที่ 10
หนองเขียว
ห้วยโป่ง
เมืองแม่ฮ่องสอน
แม่ฮ่องสอน
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
15 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
15 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
15 มิ.ย. 2024
หนองเขียว

เดิมหมู่บ้านมีชื่อว่า "โหน่พะโด่" (เป็นภาษากะเหรี่ยง) แปลว่า หนองใหญ่ (เชื่อว่าอาจเกิดจากภูเขาไฟระเบิด) เพราะในหมู่บ้านมีหนองน้ำอยู่บนดอย ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "บ้านหนองเขียว" ซึ่งผู้นำเชื่อว่าจะสร้างความสงบสุขและความร่มเย็นให้กับหมู่บ้าน


ชุมชนชาวปกาเกอะญอที่มีอายุเก่าแก่มา 200 กว่าปี เป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านในจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ และในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หมู่บ้านเป็นทางผ่านของทหารญี่ปุ่น

หนองเขียว
หมู่ที่ 10
ห้วยโป่ง
เมืองแม่ฮ่องสอน
แม่ฮ่องสอน
58000
19.018073646889317
98.06583321855875
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง

บ้านหนองเขียวเป็นหมู่บ้านที่ก่อตั้งมาประมาณ 200 กว่าปีแล้ว เดิมชื่อ "โหน่พะโด่" เพราะในหมู่บ้านมีหนองน้ำอยู่บนดอย และมีสัตว์ชนิดต่าง ๆ อาศัยอยู่มากมาย เช่น กวาง ฯลฯ หนองน้ำถูกปกคลุมไปด้วยหญ้า ส่วนรอบหนองน้ำมีต้นไม้ใหญ่

ต่อมา "หวาโข่" หรือ "ปู่หวาโข่" เข้ามาตั้งถิ่นฐาน และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "โน่พะโด่" ซึ่งขณะนั้นมีบ้านเพียง 2-3 หลังเท่านั้น เนื่องจากเป็นบ้านของลูกหลานของปู่หวาโข่ เวลาผ่านไปเริ่มมีคนเข้ามาอยู่กันมากขึ้น แล้วได้ตั้งให้ปู่หวาโข่เป็นผู้นำหมู่บ้าน

ในตอนนั้นคนในหมู่บ้านยังนับถือผีและเรื่องไสยศาสตร์ เพราะเชื่อว่าจะช่วยปกป้องดูแลคนในหมู่บ้าน รวมทั้งใช้ไสยศาสตร์ในการรักษาโรคต่าง ๆ ประกอบกับในช่วงเวลานั้นอยู่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หมู่บ้านหนองเขียวเป็นทางผ่านและที่พักพิงของทหารญี่ปุ่น คนในหมู่บ้านให้ความดูแลพร้อมกับนำอาหารให้กับทหารญี่ปุ่นเพื่อเป็นเสบียงในการเดินทางกลับญี่ปุ่น แต่มีทหารหนึ่งคนไม่สามารถกลับได้ เนื่องจากเป็นไข้ป่าตายและถูกฝังบนดอยแม่สะมาดในปัจจุบัน ก่อนที่ทหารญี่ปุ่นจะกลับญี่ปุ่น ได้ให้คนในหมู่บ้านพาไปส่งข้ามแม่น้ำแม่สะมาด พร้อมกับมอบของที่ระลึกให้กับชาวบ้านเป็นหมวกและเสื้อ

หลังจากปู่หวาโขเสียชีวิต คนในหมู่บ้านได้แต่งตั้งให้ "ตุมะล่ะ" เป็นผู้นำหมู่บ้านคนต่อไป ซึ่งตุมะล่ะเป็นลูกเขยของปู่หวาโข่ 

ในปี พ.ศ. 2510 ศาสนาคริสต์เริ่มเผยแพร่เข้ามา คนในหมู่บ้านจึงหันมานับถือศาสนาคริสต์ ส่วนตุมะล่ะได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานที่บ้านหัวฮะ ต่อมาคนในหมู่บ้านตั้งให้ "นายพาเจ๊ะ เวฒิกานันท์" เป็นผู้นำหมู่บ้าน เพราะเป็นญาติของตุมะล่ะ และถือว่าเป็นผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์คนแรกของหมู่บ้าน จากนั้นคนในหมู่บ้านก็เริ่มนับถือคริสต์ตามจนถึงปัจจุบัน 

ในปี พ.ศ. 2527 กระทรวงมหาดไทยได้ตั้งหมู่บ้านอย่างเป็นทางการ คือ หมู่ที่ 10 บ้านหนองเขียว ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แล้วได้แต่งตั้งให้ นายดิระแห เลิศสัมฤทธิ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ซึ่งในอดีตบ้านหนองเขียวขึ้นอยู่กับหมู่ที่ 4 บ้านห้วยหมาก-ลาง ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

หมู่บ้านตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์และพื้นที่เขตป่าสงวนป่าแม่ปายฝั่งซ้าย ซึ่งมีความสูงเฉลี่ยระหว่าง 1,200-1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีพื้นที่ราบระหว่างหุบเขา อยู่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำ แม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่าน เช่น แม่น้ำปาย แม่น้ำแม่สะมาด ฯลฯ ชุมชนมีพื้นที่หมู่บ้าน 19,950.96 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 2,500 กว่าไร่ นอกจากเป็นพื้นที่ป่าธรรมชาติ ป่าต้นน้ำ และป่าใช้สอย

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลผาบ่อง และตำบลห้วยปูลิง
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอขุนยวม
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ประเทศเมียนมา
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

ภูมิอากาศ โดยทั่วไปมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ในฤดูร้อนจะมีอากาศร้อนจัด ในฤดูฝนฝนจะตกชุก ในฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวจัด และมีหมอกปกคลุมตลอดทั้งปี เนื่องจากมีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นหุบเขาสูง ตั้งอยู่บนที่สูงเหนือระดับน้ำทะเล ทำให้มีอุณหภูมิสูงในตอนกลางวันเนื่องจากถูกแสงแดด ส่วนในตอนกลางคืนจะได้รับอิทธิพลจากลมภูเขาทำให้อากาศเย็นลงอย่างรวดเร็ว เมื่อความร้อนในตอนกลางวันลอยตัวขึ้นปะทะกับความชื้นของอากาศจึงทำให้เกิดหมอกปกคลุม โดยภูมิอากาศของบ้านป่าปุ๊แบ่งเป็น 3 ฤดู ดังนี้ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่ช่วงระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม-กลางเดือนกุมภาพันธ์

ประชากรในชุมชนเป็นชาวปกาเกอะญอ นับถือศาสนาคริสต์

ปกาเกอะญอ

ประชาชนส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม โดยปลูกพืชไร่และทำไร่หมุนเวียนเป็นหลัก นอกจากนี้ชุมชนได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐในการปลูกพืชในโรงเรือน เช่น กาแฟ อโวคาโด ผักโครงการหลวง ฯลฯ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

บ้านหนองเขียวมีทุนชุมชนทั้งในด้านธรรมชาติและวัฒนธรรม ดังนี้

  • หนองเขียว หรือ "โหน่พะโด" หนองน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ใจกลางหมู่บ้าน
  • ภูมิปัญญาการย้อมผ้าและทอผ้า "พอหลื่อ-ทาต่า"
  • ภูมิปัญญาการย้อมผ้าสีธรรมชาติ "พอหลื่อ"
  • ภูมิปัญญาการตีมีด "ต่อดอ" "ต่อแคว๊ะ"
  • การเก็บผัก ปรุงอาหารพื้นบ้าน ตำข้าว
  • ศูนย์ขยายผลโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ และศึกษาธรรมชาติรอบหนองเขียว
  • งานประเพณี ได้แก่ งานปีใหม่ "หนี่ถ่อซอ" ในเดือนมกราคม ประเพณีสงกรานต์ในเดือนเมษายน รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ชื่อว่าประเพณี "มาบุตะ" และทำ "เมตอ" (ข้าวต้มมัด) ในช่วงคริสต์มาส 

ภาษาปกาเกอะญอ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

เกรียงไกร คีรีสามสิบ. (ม.ป.ป.) ประวัติบ้านหนองเขียวhttps://keereesamsib.wordpress.com/

ททท.สำนักงานแม่ฮ่องสอน TAT. Maehongson. (2567, กุมภาพันธ์ 19). บ้านหนองเขียวฯ. Facebook : https://www.facebook.com/TATHGN/posts/

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). (2566, มีนาคม 2). “แก้ที่ปาก ได้ที่ป่า” บ้านหนองเขียวโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนพื้นที่เฉพาะบ้านหนองเขียว ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน. https://www.hrdi.or.th/Activities/detail/501

องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง. (ม.ป.ป.). ประวัติ/สภาพทั่วไปhttps://www.huaypongsao.go.th/tambon/general