Advance search

ชุมชนชาวไทใหญ่ที่มีความเก่าแก่เกือบ 200 ปี และเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ในสมัยอยุธยา เนื่องจากเป็นเส้นทางผ่านของกองทัพเมียนมาที่เดินทางเข้ามาสู้รบกับกรุงศรีอยุธยาและหัวเมืองฝ่ายเหนือในช่วงเวลานั้น

หมู่ที่ 1
หมอกจำแป่
หมอกจำแป่
เมืองแม่ฮ่องสอน
แม่ฮ่องสอน
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
15 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
15 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
15 มิ.ย. 2024
หมอกจำแป่

"หมอกจำแป่" เป็นภาษาไทใหญ่ คำว่า "หมอก" แปลว่า ดอก ส่วนคำว่า "จำแป่" แปลว่า ดอกลั่นทม หรือดอกลีลาวดี ขุนพันยาซึ่งเป็นผู้นำคนแรกของหมู่บ้านได้นำมาตั้งเป็นชื่อของชุมชนและวัด เนื่องจากในพื้นที่มีต้นจำแป่ขึ้นหนาแน่น


ชุมชนชาวไทใหญ่ที่มีความเก่าแก่เกือบ 200 ปี และเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ในสมัยอยุธยา เนื่องจากเป็นเส้นทางผ่านของกองทัพเมียนมาที่เดินทางเข้ามาสู้รบกับกรุงศรีอยุธยาและหัวเมืองฝ่ายเหนือในช่วงเวลานั้น

หมอกจำแป่
หมู่ที่ 1
หมอกจำแป่
เมืองแม่ฮ่องสอน
แม่ฮ่องสอน
58000
19.43242089951866
97.96429665418285
องค์การบริหารส่วนตำบลหมอกจำแป่

หมู่บ้านหมอกจำแป่

ชุมชนบ้านหมอกจำแป่ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2400 ในอดีตพื้นที่บ้านหมอกจำแป่เป็นป่าทึบ มีชาวไทใหญ่จากชายแดนประเทศเมียนมาเข้ามาทำมาหากินเป็นบางฤดูกาล และพื้นที่ดังกล่าวเป็นทางผ่านของกองทัพเมียนนมาที่เดินทางไปตีกรุงศรีอยุธยาและหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทย ต่อมาชาวไทใหญ่จากเมียนมาเห็นว่าที่นี่เป็นทำเลที่ดี มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับทำการเกษตร เนื่องจากมีแม่น้ำ 2 สายไหลผ่าน คือ แม่น้ำแม่สะงี และแม่น้ำแม่สะงา จึงได้อพยพเข้ามาสร้างบ้านเรือนอย่างถาวร และขยายเป็นชุมชนบ้านหมอกจำแป่ในปัจจุบัน ดังนั้นหมู่บ้านหมอกจำแป่จึงมีอายุอย่างน้อย 167 ปีมาแล้ว

อย่างไรก็ตาม จากคำบอกเล่าของชาวบ้าน เช่น นายวิโรจน์ ลืนคำ กำนันตำบลหมอกจำแป่ กล่าวว่าบ้านหมอกจำแป่ตั้งมานานหลายชั่วอายุคน น่าจะตั้งมาไม่ต่ำกว่า 200 ปีมาแล้ว ซึ่งเห็นตรงกับบิดาที่ชื่อนายส่วย ลืนคำ ในการจัดตั้งหมู่บ้านครั้งแรกนั้น มีขุนพันยาเป็นผู้นำหมู่บ้านคนแรกและให้ชื่อว่าบ้านหมอกจำแป่

วัดหมอกจำแป่ 

วัดหมอกจำแป่เป็นวัดประจำหมู่บ้าน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2394 เดิมทีวัดแห่งนี้มีเพียงอาคารไม้ พื้นและฝาผนังที่ปูด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงด้วยใบตองตึง (ใบพลวง) พอที่จะประกอบพิธีศาสนาได้ ต่อมาประชาชนได้ร่วมกันก่อสร้างขึ้นใหม่ โดยเปลี่ยนจากไม้ไผ่เป็นไม้เนื้อแข็ง หลังคามุงสังกะสี และได้ก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ภายในวัดเพิ่มขึ้น และ พ.ศ. 2540 ได้ดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ขึ้น เป็นอาคารไม้เนื้อแข็ง ศิลปะไทใหญ่ และสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2543 ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 ได้ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ เป็นอุโบสถทำด้วยไม้ศิลปะไทใหญ่ประยุกต์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นอุโบสถที่มีความงดงามมาก

วัดหมอกจำแป่สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2514 และครั้งที่สองเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2553 และมีเจ้าอาวาสคือพระครูสนธิธรรมกิจ (เจ้าคณะตำบลหมอกจำแป่)

หมู่บ้านประสบภัยน้ำท่วม

วันที่ 9 กันยายน 2566 หมู่บ้านหมอกจำแป่ประสบเหตุอุทกภัยน้ำป่าไหลหลาก เช่นเดียวกับตำบลอื่น ๆ ในอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน โดยหน่วยงานราชการ องค์การบริหารส่วนตำบลหมอกจำแป่ได้เข้ามาดูแลและช่วยเหลือชาวบ้าน

ชุมชนบ้านหมอกจำแป่ตั้งอยู่บนที่ราบในลุ่มน้ำแม่สะงา โดยอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน มีภูเขาล้อมรอบและน้ำอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี โดยมีแม่น้ำไหลผ่าน 2 สาย คือ ลำน้ำแม่สะงาและลำน้ำแม่สะงี มีสภาพอากาศแบบร้อนชื้นในฤดูร้อน และมีอากาศหนาวในช่วงปลายปี

อาณาเขตติดต่อ 

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านยอด หมู่ 9 ต.หมอกจำแป่ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านแม่สะงา หมู่ 2 ต.หมอกจำแป่ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านห้วยผา หมู่ 1 ต.ห้วยผา อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านห้วยโป่งอ่อน หมู่ 7 ต.หมอกจำแป่ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน

แหล่งน้ำ ชุมชนมีแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ ลำน้ำแม่สะงา และลำน้ำแม่สะงี และมีระบบประปาหมู่บ้าน

มีจำนวนประชากรรวม 705 คน (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2567 จากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข)

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
  • วัดหมอกจำแป่ มีวิหารไม้สักทองที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • วิถีชีวิตชาวไทใหญ่ที่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของบรรพบุรุษเอาไว้ เช่น ประเพณีต่างซอมต่อหลวง หรือถวายข้าวมธุปายาส ซึ่งเป็นประเพณีที่สำคัญของชาติพันธุ์ไทใหญ่ มีอัตลักษณ์อันทรงคุณค่าและเสน่ห์ที่โดดเด่น เอื้อต่อการพัฒนาและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับพื้นที่ได้

ประชากรใช้ภาษาไทใหญ่เป็นหลัก และภาษาอื่น ๆ เช่น ภาษาไทยถิ่นเหนือและภาษาไทยกลาง 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอนและชุมชนหมอกจำแป่ได้ร่วมมือกันที่จะสร้างสรรค์ให้ชุมชนเป็นดินแดนแห่ง "ดอกลั่นทม" (ดอกลีลาวดี) ตามชื่อของหมู่บ้าน "หมอกจำแป่" เพื่อให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย และสนับสนุนส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวของชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงที่จะสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนเพิ่มมากขึ้น

กรมประชาสัมพันธ์. (2564). เปิดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนชาวไทใหญ่ บ้านหมอกจำแป่ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวเมื่อสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย. https://www.prd.go.th/

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2567). รายงานข้อมูลตำบลหมอกจำแป่. https://3doctor.hss.moph.go.th/

ฐานข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับไทใหญ่ ศูนย์วิจัยวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน. (ม.ป.ป.). ชุมชนบ้านหมอกจำแป่. http://www.taiyai.org/taiyaidata/

ฐานข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับไทใหญ่ ศูนย์วิจัยวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน. (ม.ป.ป.). วัดหมอกจำแป่. http://www.taiyai.org/taiyaidata/

องค์การบริหารส่วนตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (2566). อบต.หมอกจำแป่ลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย. https://www.mokjumpae.go.th/