Advance search

ห้วยปูลิง, บ้านป่าหมาก

ชุมชนบ้านห้วยปูลิงเป็นชุมชนปกาเกอะญอที่มีประวัติการตั้งถิ่นฐานมานานกว่า 167 ปี เป็นหมู่บ้านที่ล้อมรอบด้วยธรรมชาติป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีอากาศเย็นตลอดทั้งปี ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังทำไร่หมุนเวียนและเน้นทำการเกษตรอินทรีย์

หมู่ที่ 1
ห้วยปูลิง
ห้วยปูลิง
เมืองแม่ฮ่องสอน
แม่ฮ่องสอน
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
15 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
15 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
15 มิ.ย. 2024
ห้วยปูลิง
ห้วยปูลิง, บ้านป่าหมาก


ชุมชนบ้านห้วยปูลิงเป็นชุมชนปกาเกอะญอที่มีประวัติการตั้งถิ่นฐานมานานกว่า 167 ปี เป็นหมู่บ้านที่ล้อมรอบด้วยธรรมชาติป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีอากาศเย็นตลอดทั้งปี ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังทำไร่หมุนเวียนและเน้นทำการเกษตรอินทรีย์

ห้วยปูลิง
หมู่ที่ 1
ห้วยปูลิง
เมืองแม่ฮ่องสอน
แม่ฮ่องสอน
58000
19.18935644100001
98.14830945909954
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยปูลิง

ชุมชนบ้านห้วยปูลิงมีประวัติการตั้งถิ่นฐานในจังหวัดแม่ฮ่องสอนมานานกว่า 167 ปี โดยชาวปกาเกอะญอได้เข้ามาก่อตั้งบ้านเรือนในช่วงประมาณ พ.ศ. 2400

พ.ศ. 2524 พื้นที่ตำบลห้วยปูลิงถูกประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ ประกอบด้วยหมู่บ้าน 3 แห่ง คือ บ้านห้วยกุ้ง (หมู่ 2) บ้านห้วยฮี้ (หย่อมบ้านน้ำฮูหายใจ หมู่ 8) และบ้านหัวน้ำแม่ฮ่องสอน (หมู่ 4) ต่อมา พ.ศ. 2534 มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าในตำบลห้วยปูลิงเป็นป่าสงวนแห่งชาติแม่น้ำปายฝั่งซ้ายตอนล่าง ครอบคลุมพื้นที่ 8 หมู่บ้าน ทั้งหมดเป็นเขตป่าอนุรักษ์ชั้น 1A

พ.ศ. 2535-2537 โครงการพัฒนาที่สูงไทย-เยอรมนี เข้ามาพัฒนาตำบลห้วยปูลิง โดยร่วมกับผู้นำในชุมชนสำรวจพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลชุมชน ทั้งสภาพพื้นที่ อาชีพ วิถีชีวิต แล้วนำมาวิเคราะห์ เพื่อทำแผนชุมชนและแผนส่งเสริมอาชีพให้สอดคล้องกับวิถีของชุมชน และจัดโซนพื้นที่ไร่หมุนเวียน เกิดเป็นโครงการฟื้นฟูชีวิตและวัฒนธรรม โครงการไทย-เยอรมนี ตำบลห้วยปูลิงในปี พ.ศ. 2538

พ.ศ. 2542 จัดตั้งองค์กรภาคประชาชนภายใต้ชื่อ “เครือข่ายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำตำบลห้วยปูลิง” มีสมาชิกทั้งหมด 11 หมู่บ้าน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยปูลิงทั้งหมด เป็นการทำงานเชิงพื้นที่ลุ่มน้ำ มีกรรมการเป็นตัวแทนจากแต่ละหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 4 คน

หมู่บ้านอยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะทาง 75 กิโลเมตร และอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ และป่าสงวนแห่งชาติแม่น้ำปายฝั่งซ้ายตอนล่าง เช่นเดียวกับหมู่บ้านอีกหลายแห่งในตำบลห้วยปูลิง สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันและสลับซับซ้อน มีที่ราบเชิงเขาเล็กน้อย มีลำน้ำ ลำห้วยที่สำคัญหลายสายไหลผ่าน เช่น คลองปูลิง คลองตองก๊อ คลองหนองขาว ฯลฯ มีสภาพป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากหมู่บ้านมีพื้นที่เป็นราบเชิงเขาไม่มาก ชาวบ้านจึงทำนาขั้นบันได

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลผาบ่อง และตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ประชากรในชุมชนห้วยปูลิงเป็นชาวปกาเกอะญอ มีจำนวนประชากรทั้งหมด 3,145 คน หรือ 697 ครัวเรือน (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2566) 

ปกาเกอะญอ

ชาวบ้านในชุมชนห้วยปูลิงประกอบอาชีพทำไร่หมุนเวียนเป็นอาชีพหลัก นอกจากนี้มีการปลูกกาแฟ ทอผ้า ทำน้ำพริกคั่วถั่วลายเสือ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันทำในชุมชน ชาวบ้านมีการผลิตอาหารด้วยระบบ “ไร่หมุนเวียนคงที่” ไม่มีการขยายพื้นที่เพิ่ม แต่สามารถบริหารจัดการนาขั้นบันไดที่มีประสิทธิภาพ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ประชากรในชุมชนสื่อสารกันด้วยภาษาปกาเกอะญอเป็นหลัก ภาษาอื่น ๆ เช่น ภาษาไทยกลาง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชุมชนห้วยปูลิงเป็นหนึ่งในชุมชนเครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำตำบลห้วยปูลิง ที่ร่วมกันทำงานอนุรักษ์ในรูปแบบการกระจายอำนาจเพื่อจัดการตนเองอย่างมีส่วนร่วม ส่งผลให้เครือข่ายฯ มีการบริหารจัดการที่โดดเด่น เป็นแบบอย่างที่ดี และได้รับ “รางวัลลูกโลกสีเขียว” ในปี พ.ศ. 2557

การศึกษานอกโรงเรียนตำบลห้วยปูลิง. (ม.ป.ป.). ลักษณะทางภูมิศาสตร์https://dole.ac.th/KsnHuaipoling

เครือข่ายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำ 11 หมู่บ้านบนที่สูง. (2566). เครือข่ายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำตำบลห้วยปูลิง จังหวัดแม่ฮ่องสอนhttps://www.greenglobeinstitute.com

มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน. (ม.ป.ป.). แสงส่องสว่างที่บ้านห้วยปูลิงhttps://www.psffoundation.com