Advance search

ชุมชนชาวปกาเกอะญอและคนเมือง มีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้ผู้มาเรียนได้เรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชาวปกาเกอะญอ จากสโลแกนของชุมชนที่ว่า "ฮ่อมดอยจ้างงามตา สักการบูชาหลวงพ่อแม่ลิด พระธาตุหลวงพ่อโตศักดิ์สิทธิ์ แหล่งผลิตผ้าทอกะเหรี่ยงลูกเดือย"

หมู่ที่ 2
แม่คะตวน
สบเมย
สบเมย
แม่ฮ่องสอน
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
15 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
15 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
15 มิ.ย. 2024
แม่คะตวน


ชุมชนชาวปกาเกอะญอและคนเมือง มีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้ผู้มาเรียนได้เรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชาวปกาเกอะญอ จากสโลแกนของชุมชนที่ว่า "ฮ่อมดอยจ้างงามตา สักการบูชาหลวงพ่อแม่ลิด พระธาตุหลวงพ่อโตศักดิ์สิทธิ์ แหล่งผลิตผ้าทอกะเหรี่ยงลูกเดือย"

แม่คะตวน
หมู่ที่ 2
สบเมย
สบเมย
แม่ฮ่องสอน
58110
17.9570507
97.9275294
องค์การบริหารส่วนตำบลสบเมย

จากการสืบค้นประวัติศาสตร์ชุมชนของหมู่บ้านแม่คะตวนยังไม่พบข้อมูลที่ชัดเจน จึงสืบจากประวัติของอำเภอสบเมยเพื่อทำความเข้าใจถึงการตั้งถิ่นฐานของชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่ ทำให้ทราบว่าเดิมอำเภอสบเมยเป็นส่วนหนึ่งของตำบลกองก๋อย ตำบลแม่ยวม และตำบลแม่คะตวน อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปี พ.ศ. 2520 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลแม่ยวมและตั้งเป็นตำบลสบเมย

พ.ศ. 2526 ผู้คนในพื้นที่ได้ยื่นเรื่องราวต่อราชการ ขอให้ตั้งกิ่งอำเภอขึ้นที่ตำบลแม่คะตวน โดยกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่าชาวชุมชนทั้งสามตำบล ได้แก่ ตำบลแม่คะตวน ตำบลกองก๋อย และตำบลสบเมย เป็นตำบลที่อยู่ไกลท้องที่ทุรกันดาร และห่างไกลจากตัวอำเภอ เจ้าหน้าที่มีโอกาสตรวจเยี่ยมเยือนดูแลทุกข์สุขของราษฎรน้อยมาก เพราะทางคมนาคมไม่สะดวก ประกอบกับหมู่บ้านมีผู้คนอาศัยอยู่กันหนาแน่นมากและมีทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ รัฐจึงจัดตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอสบเมยขึ้นในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ซึ่งตั้งตามชื่อตำบลสบเมยและแม่น้ำที่บรรจบแม่น้ำสาละวินที่บ้านสบเมย โดยตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอสบเมยที่โรงเรียนชุมชนบ้านผาผ่า (หมู่ที่ 1 ตำบลแม่คะตวน) และได้ย้ายส่วนราชการมาที่ว่าการกิ่งอำเภอสบเมยแห่งใหม่ หมู่ที่ 1 ตำบลแม่สวด ในปี พ.ศ. 2528

ช่วงปลายของปี พ.ศ. 2527 ได้ตั้งตำบลแม่สวด โดยแยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลแม่คะตวน ในปี พ.ศ. 2527 ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 ได้มีการตั้งตำบลเพิ่มอีก 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลแม่สามแลบ โดยแยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลสบเมย และตั้งตำบลป่าโปง โดยแยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลกองก๋อย ภายในวันเดียวกัน เนื่องจากหลักเกณฑ์ต้องมีตำบลไม่น้อยกว่า 5 ตำบล

พ.ศ. 2532 ได้แก้ไขชื่อหมู่บ้านในตำบลแม่สามแลบ (ตั้งใหม่) ให้มีความถูกต้องก่อนที่จะยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอสบเมย โดยมีการปกครองทั้งหมด 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลแม่คะตวน ตำบลกองก๋อย ตำบลสบเมย ตำบลแม่สวด ตำบลป่าโปง และตำบลแม่สามแลบ

อย่างไรก็ดี สันนิษฐานว่าชุมชนบ้านแม่คะตวน น่าจะก่อตั้งขึ้นในช่วง พ.ศ. 2420 หรือก่อนหน้านั้น เนื่องจากวัดแม่คะตวนก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2420 (พ่อเฒ่านา แก้วสุวรรณ เป็นผู้ให้ข้อมูล) ภายในวัดแม่คะตวนมีแหล่งโบราณสถาน 3 แห่ง ได้แก่ วิหาร สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2521 กุฎิสงฆ์ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2542 และพระธาตุ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2544 โดยพบโบราณวัตถุ ได้แก่ พระพุทธรูปไม้แก่นจันทร์ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2398 ธรรมมาสน์ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2497 โดยที่วัดจัดกิจกรรมและประเพณีสำคัญ เช่น พิธีสรงน้ำพระธาตุ ตรงกับขึ้น 13 ค่ำ เดือน 8 เหนือ และเดือนสี่เป็ง ตรงกับเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ของทุกปี

สภาพแวดล้อมของบ้านแม่คะตวนส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้ ส่วนพื้นที่ที่ราบมีเพียงเล็กน้อยซึ่งตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันตกของชุมชน ติดกับริมน้ำแม่ยวม เป็นพื้นที่สำหรับทำเกษตรกรรม แหล่งน้ำที่สำคัญของชุมชนคือน้ำแม่ยวม นอกจากนี้ชุมชนมีระบบชลประทาน และอาศัยน้ำฝนเป็นแหล่งน้ำสำหรับทำการเกษตร 

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลเมืองยวมใต้ อำเภอแม่สะเรียง
  • ทิศใต้ ติดกับ ตำบลแม่สวด อำเภอสบเมย
  • ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลกองก๋อย อำเภอสบเมย และตำบลแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง
  • ทิศตะวันตก ติดกับตำบลสบเมย อำเภอสบเมย

ประชากรของบ้านแม่คะตวนประกอบด้วยชาวปกาเกอะญอและคนเมือง 

ปกาเกอะญอ

ประชากรส่วนใหญ่ของบ้านแม่คะตวนประกอบอาชีพเกษตรกรรม ค้าขาย รับจ้าง และรับราชการ ตามลำดับ 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของชุมชนแม่คะตวนมีทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ได้แก่ พระธาตุผาผ่าอนุสรณ์สถานครูบาผาผ่า พระธาตุคอนผึ้งบ่อน้ำทิพย์ เจดีย์หลวงพ่อโตสีขาว น้ำตกห้วยแม่ปานน้อย ดอยปุย ดอยฮ่อมจ้างสีเขียว 

ดอยฮ่อมจ้างสีเขียว เป็นพื้นที่ที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติในหมู่บ้านแม่คะตวน ดอยฮ่อมจ้างสีเขียวตั้งอยู่ในพื้นที่เชื่อมต่อกับฮ่อมน้ำยวมหรือลำน้ำยวม ซึ่งไหลผ่านระหว่างภูเขา 2 ลูกทับซ้อนกันขึ้นเป็นรูปช้างนอนหมอบอยู่ ชาวบ้านในชุมชนจึงเรียกว่า “ฮ่อมดอยจ้าง” นอกจากนี้ผู้นำชุมชนมีมาตรการป้องกันไม่ให้เข้าไปตัดไม้ทำลายป่า

เจดีย์หลวงพ่อโตสีขาว เป็นศาสนสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวแม่คะตวน ตั้งอยู่บนดอยห้วยโป่ง ซึ่งมีภูมิทัศน์ที่สวยงาม โดยชุมชนมีแผนที่จะพัฒนาให้กลายมาเป็นจุดชมวิวตามโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี นอกจากนี้มีองค์หลวงพ่อแม่ลิดที่ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดแม่คะตวนด้วย

คนในชุมชนสื่อสารกันด้วยภาษาปกาเกอะญอ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2520). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (60 ง): 2706–2708.

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งเป็นกิ่งอำเภอสบเมย. (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2527). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (57 ง): 1279.

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอสบเมย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (25 กันยายน พ.ศ. 2527). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (130 ง): 3372–3374.

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่สะเรียง กิ่งอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (21 ตุลาคม พ.ศ. 2531). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (171 ง): (ฉบับพิเศษ) 62-74.

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แก้ไขประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบล ในท้องที่อำเภอแม่สะเรียง และกิ่งอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (11 เมษายน พ.ศ. 2532). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (55 ง): 2575–2577. 

พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอลำทับ อำเภอร่องคำ อำเภอเวียงแหง อำเภอนาโยง อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอโนนแดง อำเภอบ้านหลวง อำเภอกะพ้อ อำเภอศรีบรรพต อำเภอแก่งกระจาน อำเภอหนองสูง อำเภอสบเมย อำเภอเมยวดี อำเภอโคกเจริญ อำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอผาขาว อำเภอวังหิน อำเภอดอนพุด อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอห้วยคต พ.ศ. 2536. (3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (พิเศษ 179 ง): 1–3.

ศูนย์ข้อมูลกลางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2012, March 14). วัดแม่คะตวน. http://www.m-culture.in.th/ 

องค์การบริหารส่วนตำบลแม่คะตวน. (ม.ป.ป.). ข้อมูลพื้นฐานของตำบลแม่คะตวน. สืบค้น 28 กรกฎาคม 2567. http://www.maekatoun.go.th/