Advance search

ชุมชนชาวปกาเกอะญอที่มีอายุมากว่า 200 ปี มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่สมบูรณ์และสวยงาม

หมู่ที่ 3
ห้วยหมากหนุน
ท่าผาปุ้ม
แม่ลาน้อย
แม่ฮ่องสอน
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
15 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
15 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
15 มิ.ย. 2024
ห้วยหมากหนุน

สมัยก่อนหมู่บ้านแห่งนี้มีต้นหมากและต้นขนุนเป็นจำนวนมาก จึงนำสองคำนี้มารวมกันเป็นชื่อว่า "บ้านห้วยหมากหนุน"


ชุมชนชาวปกาเกอะญอที่มีอายุมากว่า 200 ปี มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่สมบูรณ์และสวยงาม

ห้วยหมากหนุน
หมู่ที่ 3
ท่าผาปุ้ม
แม่ลาน้อย
แม่ฮ่องสอน
58120
18.339166900735595
97.99520869585236
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าผาปุ้ม

บ้านห้วยหมากหนุนสร้างมาเป็นเวลา 200 กว่าปีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 คนในชุมชนของบ้านห้วยหมากหนุนอพยพมาจากบ้านแม่อุมลอง ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่สะเรียง โดยมีนายดิโบวาเป็นผู้ก่อตั้งหมู่บ้าน

ชื่อเดิมของหมู่บ้านคือ "ดูสะเปอพาคี" ต่อมานายจอลอ ซึ่งเป็นลูกนายดิโบวาและผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน ได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็นภาษาไทยว่า "ห้วยหมากหนุน" เนื่องจากในหมู่บ้านมีต้นหมากและต้นขนุนเป็นจำนวนมาก ซึ่งชื่อนี้ถูกใช้จนถึงปัจจุบัน 

เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนที่ราบระหว่างหุบเขา ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของหมู่บ้านเป็นภูเขาสลับซับซ้อนและอยู่ในเขตพื้นที่สงวน บริเวณบ้านจะเป็นพื้นที่เลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์เลี้ยง เช่น หมูดำ ไก่ สุนัข ฯลฯ และปลูกพืชคลุมดินเพื่อป้องกันดินถล่ม รวมทั้งปลูกพืชที่เป็นอาหาร แหล่งน้ำที่สำคัญคือแม่น้ำยวมและลำห้วยซึ่งไหลผ่านหมู่บ้านตลอดทั้งปี และระบบประปาของหมู่บ้าน ป่าไม้ของหมู่บ้านเป็นป่าเบญจพรรณ นอกจากนี้คนในชุมชนทำนาข้าวขั้นบันไดในพื้นที่ที่ใกล้กับลำห้วย และปลูกข้าวไร่บนภูเขา

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านแม่สะกั๊ว
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านแม่กวางเหนือ
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลห้วยห้อม
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลแม่ลาน้อย

ภูมิอากาศ ของบ้านห้วยหมากหนุนแบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล ดังนี้

  • ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน
  • ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน
  • ฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์

ประชากรในชุมชนห้วยหมากหนุนเป็นชาวปกาเกอะญอ โดยในชุมชนมีจำนวนประชากรทั้งหมด 445 คน และจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 107 ครัวเรือน (ข้อมูลจากเว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลท่าผาปุ้ม พ.ศ. 2567)

ปกาเกอะญอ

คนในชุมชนส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรม ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจ เช่น ถั่วเหลือง ถั่งลิสง กระเทียม ฯลฯ  โดยการทำเกษตรกรรมจะเป็นการทำไร่หมุนเวียน ต้องรอทุก 6-7 ปี ถึงจะกลับมาปลูกพืชชนิดเดิมได้

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

บ้านห้วยหมากหนุนมีจุดชมวิวห้วยหมากหนุน ซึ่งจะเห็นไร่ถั่วเหลืองทั้งหุบเขา ในช่วงปลายหน้าฝน-ต้นหน้าหนาวจะมีทิวทัศน์ที่สวยเป็นพิเศษ เพราะต้นไม้จะขึ้นเขียวขจี การเดินทางไปจุดชมวิว คือ จากตัวอำเภอแม่ลาน้อย ใช้ทางหลวงหมายเลข 1266 ตรงขึ้นเขามาจนถึงหลักกิโลเมตรที่ 9 จะพบจุดชมวิวนี้อยู่ริมถนนทางขวามือ 

ธิดารัตน์ พูลเอม. (2560). พฤติกรรมในการจัดการขยะครัวเรือนบ้านห้วยหมากหนุน ตำบลท่าผาปุ้ม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. การศึกษาเฉพาะเรื่องตามหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาบัณฑิตอาสาสมัคร วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน. (ม.ป.ป.). อำเภอแม่ลาน้อย. https://www.maehongson.go.th/new/mae-la-noi/

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน. (2564). กลุ่มชาติพันธุ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าผาปุ้ม. (ม.ป.ป.). ประวัติความเป็นมาตำบลท่าผาปุ้ม. http://thaphapum.go.th/content/history