หมู่บ้านเล็ก ๆ ของชาวปกาเกอะญอที่มีประชากรเพียงไม่กี่หลังคาเรือน และยังคงดำรงวิถีชีวิตอย่างเรียบง่าย มีมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่สวยงาม
ชาวปกาเกอะญอเรียกหมู่บ้านห้วยกุ้ง "สะมะโกล๊ะ" ตามชื่อของลำน้ำสะมาดที่ไหลผ่านหมู่บ้าน คำว่า "สะมะ" เป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่ง ที่เจริญเติบโตใกล้กับลำห้วยดังกล่าว ผลมีลักษณะกับลูกพลับ แต่มีขนาดเล็กกว่า ตอนดิบมีสีเขียว พอสุกมีสีแดง และเป็นอาหารของคน และสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น กระรอก เก้ง กวาง ฯลฯ
หมู่บ้านเล็ก ๆ ของชาวปกาเกอะญอที่มีประชากรเพียงไม่กี่หลังคาเรือน และยังคงดำรงวิถีชีวิตอย่างเรียบง่าย มีมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่สวยงาม
บ้านห้วยกุ้งก่อตั้งเมื่อประมาณ พ.ศ. 2538 ชาวบ้านอพยพมาจากบ้านห้วยกุ้งเก่า (ปอ เดาะ โกล๊ะ) มาอยู่ที่บ้านห้วยกุ้งในปัจจุบันได้ประมาณเกือบ 30 ปี เดิมทีบ้านห้วยกุ้งตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 4 ในบ้านห้วยปูลิง ตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นหมู่บ้านบริวารของบ้านห้วยปูลิง อยู่ใกล้กับบ้านห้วยฮี้ แต่มีภูเขาเป็นเขตกั้นกลาง ต่อมาชาวบ้านย้ายมาอยู่ใกล้ลำห้วยหนองขาวและลำห้วยไม้ดำ เริ่มแรกมีประชากรในหมู่บ้านประมาณ 40 ครัวเรือน หลังจากนั้นคนในหมู่บ้านมีจำนวนมากขึ้น ทางจังหวัดแม่ฮ่องสอนจึงได้พิจารณาจัดตั้งหมู่บ้านเพิ่มขึ้น
พ.ศ. 2526 นายต่ากุ๊ เมืองแม่ และนายจอรอโบ ไพรชนานันท์ ได้นำชาวบ้านอพยพย้ายมาทำนาที่ริมฝั่งแม่น้ำสะมาด (บางครั้งเรียกว่าห้วยเก่า) บ้านห้วยกุ้งใหม่จึงตั้งอยู่ใกล้บ้านผาบ่องจนถึงปัจจุบัน
สภาพโดยทั่วไปของชุมชนตั้งอยู่ริมฝั่งลำห้วย รอบ ๆ หมู่บ้านเป็นภูเขาและป่าไม้ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าอนุรักษ์ นอกจากนี้มีพื้นที่ป่าบวชด้วย
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านห้วยฮี้
- ทิศใต้ ติดต่อกับ แม่น้ำสะมาด
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านห้วยปูลิง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านผาบ่อง
เป็นชาวกะเหรี่ยง จำนวนประชากรทั้งหมด 76 คน และครัวเรือนทั้งหมด 12 ครัวเรือน (ข้อมูลจากปี พ.ศ. 2551) นับถือศาสนาพุทธ ต่อมาประชากรมีจำนวนลดลง
ปกาเกอะญอประชากรในชุมชนส่วนใหญประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา
มีการปฏิบัติตามประเพณีดั้งเดิมของชาวปกาเกอะญอ เช่น ประเพณีมัดมือ ประเพณีเรียกขวัญ ประเพณีเลี้ยงผี ฯลฯ
ประชากรในชุมชนสื่อสารกันด้วยภาษาไทใหญ่ ภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาไทยกลาง
- ชาวบ้านจะหยุดทำงานในวันศีล หรือวันพระ จะถือว่าเป็นวันพักผ่อน และจะไม่ยอมออกนอกบ้านถ้าไม่จำเป็น
- น้ำตกบ้านห้วยกุ้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของชุมชนห้วยกุ้ง
อาศรี ฉีโย และคณะ. (2551). รายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยรูปแบบการจัดการการตลาดที่เหมาะสม โดยเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน ต.ห้วยปูลิง กรณีศึกษา จอโกะ อีโคเทรค. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)