ชุมชนชาวไทใหญ่ที่ยังคงดำรงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม เและเป็นชุมชนที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์
เนื่องจากหมู่บ้านตั้งอยู่ในพื้นที่ที่แม่น้ำแม่ฮ่องสอนและแม่น้ำปายไหลมาบรรจบกัน
ชุมชนชาวไทใหญ่ที่ยังคงดำรงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม เและเป็นชุมชนที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์
บ้านสบป่องในตำบลปางหมู อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2444 โดยมีชาวบ้านมาตั้งบ้านเรือน 2 หย่อมบ้าน
หย่อมที่ 1 บ้านกุงตึง มีจำนวน 3 หลังคาเรือน คำว่า “กุง” หมายถึงเนินเขา และ “ตึง” เป็นชื่อของไม้พลวง และหย่อมที่ 2 บ้านทุ่งมะม่วง มีจำนวน 6 หลังคาเรือน ทั้งสองหย่อมบ้านได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่รวมกันบริเวณปากลำน้ำแม่ฮ่องสอนและลำน้ำปายที่ไหลมาบรรจบรวมกัน ชาวบ้านได้ตั้งให้นายโสภา (ไม่มีนามสกุล) เป็นผู้นำของหมู่บ้านคนแรก ต่อมาจำนวนชาวบ้านเพิ่มจำนวนขึ้น
ประมาณปี พ.ศ. 2496 เกิดอุทกภัย น้ำท่วมบ้านเรือนได้รับความเสียหาย ชาวบ้านจึงย้ายบ้านเรือนไปทางทิศใต้ ห่างจากที่เดิมประมาณ 500 เมตร โดยบริเวณนี้เป็นที่นาของชาวบ้าน ชาวบ้านที่อพยพมาจึงช่วยกันจัดหาข้าวเปลือกเพื่อนำไปแลกผืนนาดังกล่าว โดยคิดราคาข้าวเปลือก 33 ถัง ต่อนา 1 แปลง (ประมาณ 3 งาน) และได้สร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยมาจนถึงปัจจุบันนี้
หมู่บ้านสบป่องตั้งอยู่ในลุ่มน้ำแม่ฮ่องสอน เป็นชุมชนปลายน้ำแม่ฮ่องสอน ซึ่งถือได้ว่ามีพื้นที่ราบและพื้นที่เชิงเขามากถึง 500 ไร่ มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้และดิน เนื่องจากเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำติดกับห้วยแม่ฮ่องสอนและแม่น้ำปายทางด้านทิศตะวันตก
พื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนเป็นที่ราบเหมาะสำหรับทำการเกษตร ลักษณะป่าไม้เป็นป่าไม้ผลัดใบ พันธุ์ไม้ที่พบส่วนใหญ่เป็นไม้สัก ไม้เต็งรัง ไม้ไผ่ พื้นที่ทำกินส่วนใหญ่เป็นของคนนอกพื้นที่และเป็นป่าชุมชนที่ทางหน่วยงานราชการให้ชุมชนจัดสรรและดูแลใช้สอยให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของธรรมชาติ
ประชากรในหมู่บ้านเป็นชาวไทใหญ่
ไทใหญ่ชาวบ้านในชุมชนส่วนมากประกอบอาชีพทำเกษตรกรรม โดยนิยมปลูกข้าวและถั่วเหลือง
ประชากรในหมู่บ้านสื่อสารกันด้วยภาษาไทใหญ่ ภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาไทยกลาง
ฐานข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับไทใหญ่ ศูนย์วิจัยวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน. (สืบค้น 23 มิถุนายน 2567). ชุมชนบ้านสบป่อง. http://www.taiyai.org/