Advance search

ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะปลูกกระเทียมและถั่วเหลือง ทั้งยังมีน้ำตกม่วงสร้อย น้ำตกสี่ชั้นไหลผ่านผาหิน เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ซึ่งจะงดงามที่สุดในช่วงฤดูฝน นอกจากนี้มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติในชุมชนบ้านป่ายางด้วย

หมู่ที่ 3
ม่วงสร้อย
แม่นาเติง
ปาย
แม่ฮ่องสอน
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
23 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
23 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
23 มิ.ย. 2024
บ้านม่วงสร้อย

สันนิษฐานว่าเดิมอาจชื่อบ้าน “ม่วงถ้อย” (แถว) เพราะมีต้นมะม่วงป่าขนาด 3 คนโอบหลายต้นเรียงเป็นแถวผ่านกลางหมู่บ้าน และต่อมาอาจเรียกเพี้ยนเป็น "ม่วงสร้อย" หรือจากคำบอกเล่าอีกเรื่องหนึ่งคือ บ้านม่วงสร้อย ไม่ได้เพี้ยนมาจากคำใด แต่ตั้งชื่อตามต้นมะม่วงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดตรงทางเข้าหมู่บ้าน ซึ่งมีความยาวรอบลำต้นประมาณ 7 เมตร และออกลูกมะม่วงออกมาพวงคล้ายกับสร้อย จึงตั้งชื่อว่า “บ้านม่วงสร้อย” ซึ่งมะม่วงต้นนี้มีลูกมีสีเหมือนใบตองและมีรสเปรี้ยว


ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะปลูกกระเทียมและถั่วเหลือง ทั้งยังมีน้ำตกม่วงสร้อย น้ำตกสี่ชั้นไหลผ่านผาหิน เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ซึ่งจะงดงามที่สุดในช่วงฤดูฝน นอกจากนี้มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติในชุมชนบ้านป่ายางด้วย

ม่วงสร้อย
หมู่ที่ 3
แม่นาเติง
ปาย
แม่ฮ่องสอน
58000
19.396499340245626
98.40415833227003
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเติง

จากหลักฐานโบราณสถานภายในวัดม่วงสร้อย (ซากวิหารเก่า) ทำให้ทราบว่าเดิมหมู่บ้านม่วงสร้อยเป็นหมู่บ้านร้าง และมีคนเข้ามาอาศัยเมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว สันนิษฐานว่าเป็นชาวลัวะ ภายหลังชาวลัวะอพยพหนีออกไปเพราะภัยสงคราม ประกอบกับจากคำบอกเล่าของชาวบ้านในชุมชนทำให้ทราบว่าในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณ พ.ศ. 2400 มีชาวไทใหญ่นำโดยนายจ่าก่ะอพยพเข้ามาอาศัยในหมู่บ้านม่วงสร้อย 

ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2463 นายจองต่อ กันใจวิน, นายจองลือ กันใจวิน และนายจองน้อย กันใจวิน ได้นำชาวบ้านไทใหญ่เข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในบ้านม่วงสร้อยเพิ่มเติม และทางอำเภอปายได้แต่งตั้งให้นายจองน้อย กันใจวิน เป็นผู้ใหญ่บ้านม่วงสร้อยคนแรก 

วัดม่วงสร้อย

วัดม่วงสร้อยเป็นวัดเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในหมู่บ้าน ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2500 สมัยก่อนยังมุงหลังคาด้วยใบตองตึง จากนั้นในปี พ.ศ. 2510 ชาวบ้านที่ศรัทธาวัดม่วงสร้อยได้พร้อมใจกันพัฒนาวัด ก่อสร้างมุงหลังคาด้วยสังกะสี ในตอนนั้นเจ้าอาวาสของวัดม่วงสร้อยคือพระคุณเจ้าอธิการ ส่วย ฌาณธัมโม ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2554 ชาวบ้านและท่านพระครู อนุกูล ปราโมทย์ เจ้าอาวาสในขณะนั้นได้สร้างวัดขึ้นอีกหนึ่งหลัง เป็นอาคารที่มีหลังคามุงด้วยกระเบื้อง 

บ้านป่ายาง

บ้านม่วงสร้อยมีหย่อมบ้านชื่อบ้านป่ายาง เป็นหมู่บ้านของชาวลาหู่แดง ซึ่งเดิมเคยอาศัยอยู่ที่บ้านหลุกตอง หมู่ที่ 3 ต.แม่นาเติง ห่างจากที่ตั้งหมู่บ้านป่ายางปัจจุบันไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 5 กิโลเมตร มีบ้านเรือนอยู่ประมาณ 20 หลังคาเรือน ต่อมาผู้ใหญ่บ้านม่วงสร้อยได้ชักชวนชาวลาหู่แดงอพยพมาอยู่ในที่ตั้งปัจจุบันในปี พ.ศ. 2512 โดยมีชาวบ้านบางกลุ่มไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่หย่อมบ้านยะโป๋ และอีกกลุ่มไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่หย่อมบ้านป่ายาง หมู่บ้านป่ายางนี้มีต้นยางนาขนาดใหญ่เจริญเติบโตหลายต้น ซึ่งมีที่เดียวในอำเภอปาย

พื้นที่ของหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขา รอบ ๆ หมู่บ้านเป็นภูเขาสลับซับซ้อน

อาณาเขตของหมู่บ้าน

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านปางแปก
  • ทิศใต้ ติดต่อกับหมู่บ้านหมอแปง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านแม่นาเติงใน
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านหมอแปง

แหล่งน้ำ ชุมชนมีแหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ห้วยม่วงสร้อย ห้วยน้ำเติง ระบบน้ำประปาหมู่บ้าน น้ำบาดาล และฝายเก็บน้ำ

ประชากรในหมู่บ้านม่วงสร้อยเป็นชาวไทใหญ่และคนเมือง ส่วนประชากรในหย่อมบ้านป่ายางเป็นชาวลาหู่แดง โดยทั้งสองชุมชนมีจำนวนประชากรรวมทั้งหมด 724 คน (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2567 จากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข) 

ไทใหญ่, ลาหู่

ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะปลูกกระเทียมและถั่วเหลือง 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
  • แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ คือ น้ำตกม่วงสร้อย เป็นน้ำตก 4 ชั้นไหลผ่านผาหิน มีความสูงประมาณ 40 เมตร มีน้ำไหลตลอดปี แต่สวยงามที่สุดในช่วงฤดูฝน บริเวณรอบ ๆ น้ำตกมีป่าต้นยางให้ความร่มรื่น และใกล้กับน้ำตกม่วงสร้อยมีน้ำตกหมอแปง นอกจากนี้มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติในชุมชนบ้านป่ายางด้วย
  • แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม คือ วัดม่วงสร้อย พระพุทธบาทบ้านป่ายาง และหมู่บ้านป่ายางที่เป็นหมู่บ้านของกลุ่มชาติพันธ์ลาหู่แดงที่ยังคงดำรงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมและเรียบง่าย

ประชากรในชุมชนบ้านม่วงสร้อยสื่อสารกันด้วยภาษาไทใหญ่ ภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาไทยกลาง ส่วนหย่อมบ้านป่าแดงสื่อสารกันด้วยภาษาลาหู่ และมีชาวบ้านบางส่วนที่สามารถสื่อสารภาษาไทยกลางได้

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

บ้านม่วงสร้อยมีชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี บ้านม่วงสร้อย ซึ่งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ จำหน่ายพืชผักปลอดสารพิษ เช่น ต้นอ่อนทานตะวัน ผักสลัด ฯลฯ ผลิตภัณฑ์แปรรูป เช่น กล้วยกรอบบ้านม่วงสร้อย ข้าวตอกปั้นบ้านม่วงสร้อย ฯลฯ และงานหัตถกรรม เช่น เสื้อผ้าและย่ามชาวลาหู่แดง ฯลฯ 

องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเติง. (ม.ป.ป.). ประวัติความเป็นมาหมู่บ้านม่วงสร้อย หมู่ 3. https://maenatoeng.go.th/