Advance search

ชุมชนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ มีน้ำตกหมอแปง แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่สำคัญของชุมชน

หมู่ที่ 4
หมอแปง
แม่นาเติง
ปาย
แม่ฮ่องสอน
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
23 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
23 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
23 มิ.ย. 2024
บ้านหมอแปง

ตั้งตามชื่อของนายแปง ผู้นำคนแรกของหมู่บ้านซึ่งเป็นที่เคารพรักของคนในหมู่บ้านหมอแปง


ชุมชนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ มีน้ำตกหมอแปง แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่สำคัญของชุมชน

หมอแปง
หมู่ที่ 4
แม่นาเติง
ปาย
แม่ฮ่องสอน
58000
19.380591352836905
98.39662389760974
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเติง

ตามเรื่องเล่าที่เล่าสืบต่อกันมามีเรื่องราวว่าในอดีตกาลมีครอบครัวหนึ่งอพยพจากบ้านเก็งตองในรัฐฉาน เข้ามาตั้งบ้านเรือนในบ้านหมอแปงเป็นครอบครัวแรก สามีชื่อนายแปง เป็นพรานป่าล่าสัตว์และเป็นหมอสมุนไพร ภรรยาชื่อนางโบ๋ว์ เนื่องจากพื้นที่นี้มีทำเลอุดมสมบูรณ์ หลังจากนั้นมีชาวบ้านจำนวนหนึ่งย้ายมาจากบ้านห้วยชมปู เมืองเชียงตอง ประเทศเมียนมา ย้ายสมทบเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านด้วยกันจนตั้งเป็นหมู่บ้าน ซึ่งมีจำนวนประชากร 20 หลังคาเรือน และนายแปงถูกแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าหมู่บ้าน ต่อมาไม่นานนักนายแปงล้มป่วยและถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา ประกอบกับที่นายแปงหรือลุงแปงเป็นทีเคารพนับถือของชาวบ้าน ชาวบ้านจึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านหมอแปง” จนถึงปัจจุบัน บ้านหมอแปงมีหมู่บ้านบริวารคือหย่อมบ้านยะโป๋

บ้านยะโป๋

ภายหลังได้มีกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่แดงที่ย้ายมาจากหมู่บ้านมูเซอผาบาตรมาอยู่ด้วย โดยร่วมกันสร้างบ้านเรือนตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน มีผู้นำหมู่บ้านชาวลาหู่ชื่อนายยะโป๋ ซึ่งเป็นเศรษฐีจากบ้านแม่ยาน ตำบลทุ่งยาว ต่อมาไม่นานนายยะโป๋ได้ล้มป่วยและถึงแก่กรรมลงด้วยโรคชรา ชาวบ้านเลยตั้งชื่อหมู่บ้านบริวารนี้ว่าบ้านยะโป๋ มีบ้านเรือนจำนวน 50 หลังคาเรือน และจำนวนประชากรของหมู่บ้านบริวาร 191 คน แบ่งเป็นชาย 9 คน และหญิง 95 คน 

วัดหมอแปง

วัดหมอแปงเป็นสถาปัตยกรรมศิลปะไทใหญ่ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2480 โดยมีพ่อเฒ่าลูและแม่เฒ่าก่อเป็นชาวไทใหญ่ ซึ่งมีศรัทธาอย่างแรงกล้าในด้านการทำนุบำรุงศาสนสถาน ได้เป็นประธานในการสร้างวัดหมอแปงขึ้นมา วัดหมอแปงมี “พระเจ้าแสนแซ่” ประดิษฐานอยู่ มีอายุกว่า 500 ปี อีกทั้งยังมีศาลาการเปรียญที่มี ไม้ระแนงระวังภัย (เป็นพื้นที่ทำจากไม้ที่สามารถเปิดออกได้) ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ตกทอดจากคนรุ่นก่อน และเป็นรูปแบบเดียวกันกับที่ใช้ในวัฒนธรรมจีนและญี่ปุ่น

สภาพแวดล้อมของหมู่บ้านหมอแปงส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขา มีที่ทำการเกษตรเป็นที่ดอนสลับที่ราบ มีถนนคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นเส้นทางสัญจรภายในหมู่บ้าน พื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้านอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) 

อาณาเขตการติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านม่วงสร้อย หมู่่ที่ 3 ต.แม่นาเติง
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ เขตบ้านใหม่สหสัมพันธ์ หมู่ที่ 7 ต.เวียงใต้ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านแม่นาเติงใน หมู่ที่ 2 ต.แม่นาเติง
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เขตป่า

แหล่งน้ำ แหล่งน้ำที่สำคัญของชุมชน ได้แก่ น้ำห้วยหมอแปง น้ำห้วยนาป่าอ้อ และน้ำห้วยม่วงก๋อน

ประชากรในบ้านหมอแปงเป็นชาวไทใหญ่และคนเมือง สำหรับประชากรในบ้านยะโป๋เป็นชาวลาหู่แดง โดยหมู่บ้านทั้งสองแห่งมีจำนวนประชากรรวมทั้งหมด 468 คน (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2567 จากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข) 

ไทใหญ่, ลาหู่

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ปลูกกระเทียม ถั่วเหลือง ข้าวโพด ข้าว ฯลฯ นอกจากนี้ประกอบอาชีพค้าขาย และรับจ้างทั่วไป 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ปราชญ์ชุมชน คือ นางกนกพร คำซอนโยง

  • แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ คือ น้ำตกหมอแปง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของอำเภอปาย และบริเวณใกล้กับน้ำตกมีหมู่บ้านของชาวลาหู่แดง อยู่ห่างจากตัวอำเภอปาย ประมาณ 8-9 กิโลเมตร น้ำตกหมอแปงมีความสวยงามไม่แพ้น้ำตกสายอื่นในแม่ฮ่องสอน จัดเป็นน้ำตกขนาดกลางที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี แบ่งออกเป็น 3 ชั้น และมีความสูงโดยรวมประมาณ 5 เมตร กว้าง 10-15 เมตร ท่ามกลางป่ายางอันร่มรื่น หลายคนจึงนิยมมาปิกนิก เล่นน้ำ ในช่วงฤดูฝนน้ำตกสายนี้จะงดงามเป็นพิเศษนอกจากนี้
  • แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม คือ วัดหมอแปง ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทใหญ่ และหมู่บ้านชาวลาหู่ ที่ยังคงดำรงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมและเรียบง่าย พร้อมกับมีผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นจากฝีมือชาวลาหู่จำหน่าย 

ประชากรในหมู่บ้านหมอแปงสื่อสารกันด้วยภาษาไทใหญ่และภาษาไทยถิ่นเหนือ ส่วนประชากรในหมู่บ้านยะโป๋สื่อสารด้วยภาษาลาหู่

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). น้ำตกหมอแปงhttps://thai.tourismthailand.org/

องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเติง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (ม.ป.ป.). ประวัติความเป็นมาหมู่บ้านหมอแปง หมู่ 4https://maenatoeng.go.th/