Advance search

ดอยผีลูเป็นหมู่บ้านอยู่ในตำบลแม่นาเติง เป็นชุมชนที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย

หมู่ที่ 9
ดอยผีลู
แม่นาเติง
ปาย
แม่ฮ่องสอน
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
23 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
23 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
23 มิ.ย. 2024
บ้านดอยผีลู

มาจากน้ำที่ซึมออกจากใต้ดินหรือตาน้ำ ที่มีน้ำไหลอยู่ตลอด ใช้บริโภค อุปโภค และรักษาโรคได้ ประกอบกับชาวบ้านเชื่อว่าน้ำในบ่อน้ำเกิดจากผีบันดาล


ดอยผีลูเป็นหมู่บ้านอยู่ในตำบลแม่นาเติง เป็นชุมชนที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย

ดอยผีลู
หมู่ที่ 9
แม่นาเติง
ปาย
แม่ฮ่องสอน
58000
19.512573419765705
98.41754566769616
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเติง

บ้านดอยผีลูก่อตั้งขึ้นโดยชาวลีซู เดิมทีตั้งถิ่นฐานและอาศัยอยู่ห่างจากหมู่บ้านปัจจุบันไปประมาณ 1 กิโลเมตร ต่อมาที่อยู่เดิมขาดแคลนน้ำ ประกอบกับมีชาวบ้านไปเลี้ยงสัตว์และบังเอิญไปพบน้ำซึมออกจากใต้ดินหรือตาน้ำที่มีน้ำไหลอยู่ตลอด เป็นน้ำใสสะอาดสามารถดื่มกินได้ ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่าน้ำในบ่อน้ำเกิดจากผีบันดาล และช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยของคนในบ้าน จึงทำให้ชาวบ้านมาตั้งถิ่นฐานที่บริเวณนี้จนกลายเป็นหมู่บ้านดอยผีลูในปัจจุบัน 

บ้านดอยผีลูมีหมู่บ้านบริวาร 2 แห่ง คือ หย่อมบ้านน้ำปลามุง และหย่อมบ้านในของ

บ้านน้ำปลามุง

เมื่อประมาณ พ.ศ. 2490 มีชาวลีซูจากประเทศเมียนมาอพยพเข้ามาทำมาหากินและตั้งถิ่นฐานในเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และพาครอบครัวอื่น ๆ ลงมาทางทิศใต้ เพื่อมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านดอยสามหมื่น อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อมีผู้อพยพมาอยู่มากขึ้นทำให้พื้นที่ทำกินไม่เพียงพอ ชาวบ้านจึงอพยพลงไปทางใต้อีกครั้งซึ่งเป็นเขตของพื้นที่บ้านห้วยหก อำเภอปาย ต่อมามีประชากรเพิ่มขึ้นอีกจนหมู่บ้านมีขนาดใหญ่มากขึ้น จึงตั้งเป็นหมู่บ้านห้วยหกลีซอให้เป็นหย่อมบ้านที่ขึ้นกับบ้านดอยผีลู ผ่านไป 11 ปีก็มีประชากรเพิ่มขึ้นอีก ผู้นำหมู่บ้านจึงพาชาวบ้านอพยพไปหาที่ทำกินใหม่พร้อมกับมีชาวบ้านตามมาสมทบอีกเรื่อย ๆ จนรวมเป็นหมู่บ้านใหม่และเป็นหมู่บ้านบริวารของบ้านดอยผีลูในปัจจุบัน

บ้านในของ

บ้านในของเป็นหย่อมบ้านของบ้านดอยผีลู ไม่ทราบประวัติความเป็นมาที่แน่ชัด หย่อมบ้านนี้มีปู่ย่าตายายและพ่อแม่พี่น้องของนายจะก๊ะ มาแฮ ชาวลาหู่ อพยพมาอยู่ หลังจากนั้นก็มีชาวบ้านจากอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่อพยพเข้ามาอาศัยเพิ่ม ทำให้ชุมชนขยายตัวมากขึ้น และชาวลาหู่แดงที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกันก็อพยพเข้ามาอยู่เพิ่มเติม จนปัจจุบันได้ตั้งให้นายจ่าคะ มาแฮ เป็นผู้นำหมู่บ้าน

ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของหมู่บ้านเป็นภูเขา มีพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ แหล่งน้ำที่สำคัญคือห้วยน้ำของ ห้วยน้ำปลามุง ห้วยดอยผักกูด และระบบประปาของหมู่บ้าน

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ประเทศเมียนมา
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่บ้านไทรงาม
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ต.เวียงเหนือ อ.ปาย
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ต.ทุ่งยาว และ อ.ปางมะผ้า

ประชากรในหมู่บ้านดอยผีลูและหย่อมบ้านบริวารน้ำปลามุงเป็นชาวลีซู ส่วนหย่อมบ้านบริวารในของเป็นประชากรชาวลาหู่แดง ซึ่งในชุมชนมีประชากรรวมทั้งหมด 779 คน (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2567 จากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข)

ลาหู่, ลีซู

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ปลูกกระเทียม ถั่วเหลือง ข้าวโพด ข้าว พริก ไม้ยืนต้น เช่น ส้ม ลิ้นจี่ มะม่วง ฯลฯ นอกจากนี้ประกอบอาชีพรับราชการ ค้าขาย และรับจ้างทั่วไป 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ประชากรในชุมชนสื่อสารกันด้วยภาษาลีซูและภาษาลาหู่ มีบางส่วนที่สามารถสื่อสารภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาไทยกลาง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเติง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (ม.ป.ป.). ประวัติความเป็นมาหมู่บ้านดอยผีลู หมู่ 9. https://maenatoeng.go.th/