Advance search

กลุ่มผู้เลี้ยงโคขุน กลุ่มปลูกยาสูบ

หมู่ที่ 4
บ้านโคกกลาง
โนนภิบาล
แกดำ
มหาสารคาม
เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา
3 มิ.ย. 2024
ณัฐพล นาทันตอง
6 มิ.ย. 2024
เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา
28 มิ.ย. 2024
บ้านโคกกลาง

ลักษณะทางกายภาพที่ตั้งของชุมชน ภาษาอีสานเรียกว่า เนินกลางบ้าน ผู้คนในชุมชนจึงเรียกบริเวณดังกล่าวนี้ว่า "โคกกลางบ้าน"


กลุ่มผู้เลี้ยงโคขุน กลุ่มปลูกยาสูบ

บ้านโคกกลาง
หมู่ที่ 4
โนนภิบาล
แกดำ
มหาสารคาม
44190
16.03529611
103.4339015
องค์การบริหารส่วนตำบลโนนภิบาล

จากคำบอกเล่าของนายเถียร ยุทธไกร ผู้ใหญ่บ้านบ้านโคกกลาง ที่ได้ฟังเรื่องราวของประวัติการตั้งชุมชนที่ผู่เฒ่าผู้เเก่ เล่าต่อ ๆ กันมาว่า ชุมชนแห่งนี้ตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2440 เดิมทีบ้านโคกกลางเป็นเพียงคุ้มหนึ่งเล็ก ๆ ของชุมชนบ้านนาคูณหมู่ที่ 11 ตำบลหนองกุง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ภายหลังนายพลสงคราม นนทะนำ ได้พาผู้คนในคุ้มโคกกลางเคลื่อนย้ายออกมาจากที่เดิมเเละได้มาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน ณ บริเวณบ้านโนนภิบาล ซึ่งจำนวนผู้คนที่มากันในขณะนั้นมีอยู่ 5 หลังคาเรือน ประกอบด้วย บ้านของคุณตาพลสงคราม นนทะนำ บ้านของคุณตาขุน นนทะนำ บ้านของคุณตาขุนศรี วงหนองแวง บ้านคุณยายใส คิดไร และบ้านของคุณยายนวน เสระคร และต่อมาได้มีประชาชนอพยพตามมาบ้าง แยกครอบครัวในวงลูกหลานของคุณตาพลสงคราม นนทะนำ ต่อมาในช่วง พ.ศ.2514 ผู้คนมีจำนวนมากขึ้นจึงขอเเยกชุมชนออกมาเป็นบ้านโคกกลาง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ในส่วนของการดำรงชีพนั้นผู้คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการทำนาเเละเลี้ยงสัตว์ ส่วนในช่วงหลังจากการทำนาเเล้วนั้นจะปลูกใบยาสูบเพื่อเป็นรายได้เสริมในการหล่อเลี้ยงผู้คนในครอบครัว

ลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะสำหรับทำการเกษตร พิ้นที่ส่วนใหญ่ทำนา ทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ภายในชุมชนไม่มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ผู้ใหญ่บ้านจึงขอทุนจากอำเภอแกดำขุดบ่อบาดาลใช้ในชุมชน จำนวน 2 บ่อ และสระน้ำขนาดกลางทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านจำนวน 1 บ่อ เพื่อใช้ในการเกษตรเสริมจากการใช้น้ำฝน

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านนาคูณ หมู่ที่ 3 ตำบลโนนภิบาล
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านโคกลิ่น หมู่ที่ 9 ตำบลโนนภิบาล
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านโนนภิบาล หมู่ที่ 1 ตำบลโนนภิบาล
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านหนองแต้ ตำบลแกดำ

จากแผนพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2566 ของเทศบาลตำบลโนนภิบาล ได้ระบุจำนวนครัวเรือน และจำนวนประชากรเพศชาย/หญิง ไว้ดังนี้ จำนวนครัวเรือนมีจำนวนทั้งหมด 43 หลังคาเรือน จำนวนประชากรชาย 100 คน จำนวนประชากรหญิง 108 คน รวมทั้งสิ้น 208 คน

สภาพแวดล้อมชุมชนมีลักษณะเหมือนกับโครงสร้างทางสังคมในหมู่บ้านอื่น ๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยทั่วไป คือ การดำรงอยู่แบบเครือญาติ อยู่แบบพี่น้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เคารพผู้อาวุโส

ในส่วนของการดำรงชีพนั้นผู้คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการทำนาเเละเลี้ยงสัตว์ ส่วนในช่วงหลังจากการทำนาเเล้วนั้นจะปลูกใบยาสูบเพื่อเป็นรายได้เสริมในการหล่อเลี้ยงผู้คนในครอบครัว

มีการรวมตั้งจัดตั้งองค์กรทำกิจกรรมร่วมภายในชุมชน มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ขึ้นเพื่อเป็นรายได้เสริมจากฤดูทำนา เช่น กลุ่มอาชีพทอผ้า กลุ่มเลี้ยงโคขุน มีการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ และกองทุนร้านค้า

วิถีชีวิตชาวบ้านในชุมชนมีความเรียบง่าย วิถีชีวิตสัมพันธ์เกี่ยวกับธรรมชาติและการทำเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ หลังจากฤดูทำนา ชาวบ้านจับกลุ่มกันทอผ้า ส่วนผู้ชายจะเลี้ยงวัว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรของอำเภอแกดำ สนับสนุนการเลี้ยงโคขุน ภายในชุมชนได้มีการปฏิบัติยึดถือศาสนาพุทธเป็นหลัก จึงมีการยึดถือประเพณีประเพณีฮีตสิบสอง โดยมีการจัดงานตามความเชื่อในแต่ละเดือน ดังต่อไปนี้

  • เดือนมกราคม งานปีใหม่ บุญเข้ากรรม
  • เดือนกุมภาพันธ์ บุญกองข้าว
  • เดือนมีนาคม บุญพระเวส
  • เดือนเมษายน งานสงกรานต์
  • เดือนพฤษภาคม บุญบั้งไฟ
  • เดือนมิถุนายน บุญช้าระบ้าน
  • เดือนกรกฎาคม เข้าพรรษา
  • เดือนสิงหาคม บุญข้าวประดับดิน
  • เดือนกันยายน บุญข้าวสาก
  • เดือนตุลาคม บุญออกพรรษา
  • เดือนพฤษภาคม บุญกฐิน
  • เดือนธันวาคม บุญทอดผ้าป่า

นอกจากนี้ภายในชุมชนมีศาลหลักบ้าน ซึ่งชาวบ้านจะร่วมกันทำบุญเบิกบ้าน เพื่อเป็นสิริมงคลก่อนการทำนา ปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกจากหมู่บ้าน มักทำบุญในช่วงเดือนพฤษาคมของทุกปี

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ลักษณะภูมิประเทศของบ้านโคกกลางเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะสำหรับการเพาะปลูก หลังจากฤดูทำนา ชาวบ้านบางส่วนเริ่มเพาะปลูกพืชเศษฐกิจ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ยังมีการปลูกต้นยาเตอร์กิซ เป็นยาสูบ โดยชาวบ้านปลูกเป็นอาชีพเสริมหลังจากการทำนาและปลูกพืชเศรษฐกิจ การปลูกต้นยาเตอร์กิซเริ่มปลูกตั้งแต่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 โดยมีเจ้าหน้าที่ของโรงงานมาให้คำแนะนำในการปลูก การเก็บเกี่ยวผลผลิต 

ใช้ภาษาอีสานสื่อสารกันในชุมชน  


ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลเรื่องเงินทุนในการประกอบอาชีพต่าง ๆ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) ธนาคารออมสิน โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ชาวบ้านได้กู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพ เกิดภูมิปัญญา และมีการสร้างอาชีพใหม่ ๆ ขึ้นในชุมชน เป็นการสร้างอนาคตใหม่ให้กับชาวบ้าน การปลูกต้นยาเตอร์กิซ สร้างรายได้ให้ชาวบ้าน ปีล่ะ 40,000-60,000 บางครอบครัวมีพื้นที่เยอะสามารถสร้างรายได้จากการปลูกต้นเตอร์กิซ ปีละ 100,000 บาท 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

องค์การบริหารส่วนตำบลโนนภิบาล. (2566). แผนพัฒนาชุมชน บ้านโคกกลาง หมู่ 4องค์การบริหารส่วนตำบลโนนภิบาล

นายเถียร ยุทธไกร. ผู้ใหญ่บ้าน อายุ 51 ปี หมู่ที่ 4 บ้านโคกกกลาง ตำบลโนนภิบาล อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม, สัมภาษณ์