Advance search

"จักจั่นเลิศรส ไข่มดสดอร่อย มีไม่น้อยดอกกระเจียว สีเขียวแหล่งผักหวาน แลตระการเห็ดโคนดิน อุดมถิ่นวัฒนธรรม" นอกจากนี้ บ้านบะหว้าเป็นชุมชนที่มีภาษาพูดเฉพาะถิ่น คือ ภาษาญ้อ

หมู่ที่ 2, 7, 9
บะหว้า
บะหว้า
อากาศอำนวย
สกลนคร
ทต.บะหว้า โทร. 0-4270-4934
วิษณุ ไชยชมภู
18 ม.ค. 2024
สุกิจ ศรีหาคลัง
28 ม.ค. 2024
ปริญญ์ รุจิรัชกุล
28 มิ.ย. 2024
บ้านบะหว้า

"บะ" เป็นคำท้องถิ่น ใช้เรียกแอ่งที่มีน้ำขัง ด้วยลักษณะพื้นที่ดังกล่าวที่มีต้นหว้าขึ้นอยู่รอบ ๆ บริเวณ ชาวบ้านจึงเรียกว่า "บ้านบะหว้า" หมายถึงแอ่งน้ำที่มีต้นหว้ารอบ ๆ บริเวณ


"จักจั่นเลิศรส ไข่มดสดอร่อย มีไม่น้อยดอกกระเจียว สีเขียวแหล่งผักหวาน แลตระการเห็ดโคนดิน อุดมถิ่นวัฒนธรรม" นอกจากนี้ บ้านบะหว้าเป็นชุมชนที่มีภาษาพูดเฉพาะถิ่น คือ ภาษาญ้อ

บะหว้า
หมู่ที่ 2, 7, 9
บะหว้า
อากาศอำนวย
สกลนคร
47170
17.486831
103.987758
เทศบาลตำบลบะหว้า

ญ้อ เป็นคำเฉพาะดั้งเดิมที่ยังไม่พบที่มาและให้คำจำกัดความไม่ได้ แต่มีการสันนิษฐานว่ามาจากคำว่า ญอ (ยอ) ซึ่งหมายถึงความหมายของภาษาญ้อ หมายถึง ยก (กริยา) คือทำให้สูงขึ้น หากเป็นจริงตามข้อสันนิษฐาน ชนเผ่าไทญ้อจึงหมายถึงชนเผ่าที่เจริญขึ้น สังเกตได้จากชุมชนไทญ้อ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนจะมีการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้สะอาด น่าอยู่น่าอาศัย ร่วมใจพัฒนาวัดวาอารามให้เจริญรุ่งเรือง

ชาวญ้อในบ้านบะหว้า อพยพมาจากชาวญ้อในบ้านนาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ในปี พ.ศ. 2115 พระเจ้าหงสาวดีได้ยกทัพมาปราบเมืองหนองหาร ได้ตีทะลุอาณาจักรล้านนาได้กวาดต้องผู้คนไปถึง 183,000 คน ชาวบ้านาหว้าก็ถูกกวาดต้อนไปด้วยโดยไปทางตอนใต้กรุงหงสาวดีเป็นเหตุให้ชาวบ้านนาหว้าร้างแต่นั้นมา พ.ศ. 2336 ชาวชนเผ่าญ้อจึงมาสร้างบ้านนาหว้าใหม่ซึ่งเป็นที่อยู่ปัจจุบัน 

ประมาณ พ.ศ. 2434 นายหวาด ดีวันไชยเป็นหัวหน้านำญาติพี่น้องอพยพมามาจากบ้านนาหว้า อำเภอนาหว้าจังหวัดนครพนมมาตั้งบ้านใหม่อยู่ที่บ้านบะหว้า เนื่องจากบ้านนาหว้าประชากรมีมากขึ้นและมีไร่นาอยู่ที่บ้านบะหว้าจึงอพยพย้ายถิ่นฐานมาทำมาหากินใหม่ ซึ่งไม่ไกลจากบ้านนาหว้าเท่าใดนัก

เห็นว่าเป็นที่ราบลุ่มพอทำมาหากินได้ จึงชักชวนญาติพี่น้องออกมาอยู่ตามไร่นาของตัวเอง และตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้านบะหว้า สันนิษฐานว่าชื่อหมู่บ้านน่าจะ มาจากสภาพภูมิศาสตร์ล้อมรอบเป็นแอ่งหรือที่ราบลุ่ม และบริเวณนี้น่าจะมีต้นหว้าซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจำนวนมากจึงตั้งชื่อบ้านว่า บ้านบะหว้า ขึ้นกับตำบลโพนแพง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ต่อมาบ้านม่วงริมยาม ตำบลอากาศ ได้ยกฐานะเป็นอำเภออากาศอำนวย

ตำบลโพนแพงจึงมาขึ้นกับอำเภออากาศอำนวย และมีนายเกี้ยว ดาคำเป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ บ้านบะหว้า ต่อมานายเกี้ยว ดาคำถึงแก่กรรม นายสมพร ดวงสุภา ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้านแทนและในปี พ.ศ. 2524 ได้ขอจัดตั้งบ้านบะหว้าขึ้นเป็นตำบลบะหว้า

มีเขตการปกครอง หมู่บ้าน และต่อมาเมื่อมีประชากรมากขึ้นจึงขอแยกหมู่บ้านในเขตปกครองมากขึ้นเป็น หมู่บ้านในปัจจุบัน ซึ่งหมู่ที่ 2 หมู่ที่ หมู่ที่ แยกออกจากบ้านบะหว้าหมู่ที่ ทำให้ไทญ้อบะหว้ามีภูมิลำเนาใน 3 หมู่บ้านนี้ คือหมู่ที่ 2 หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 9 บ้านบะหว้า ตำบลบะหว้า อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนครในปัจจุบัน

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดกับ บ้านเม่นน้อย หมู่ที่  และบ้านสี่แยก หมู่ที่  ตำบลบะหว้า
  • ทิศใต้ ติดกับ บ้านกุดน้ำขุ่น ตำบลเชิงชุม อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร 
  • ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านสามแยก ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
  • ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านเชียงเพ็งตำบลหนองสนม อำเภอวานรนิวาส จังวัดสกลนคร

ปัจจุบันในหมู่บ้านมีเป็นอยู่แบบชุมชนเมืองมากขึ้น ไม่มีปัญหาเรื่องเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน

มีสถานศึกษาในชุมชนคือ โรงเรียนบ้านบะหว้า ซึ่งเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โรงเรียนอนุบาลสังกัดเทศบาลตำบล และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

มีศาสนสถาน 2 แห่ง และมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 1 แห่ง

การคมนาคม การเดินทางมายังหมู่บ้าน สามารถเดินทางได้ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคลและรถโดยสารประจำทางผ่าน ถนนภายในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กทุกเส้น สามารถไปมาหาสู่กันได้สะดวกสบายทั้งหมู่บ้าน และยังเป็นเส้นทางผ่านระหว่างอำเภออากาศอำนวยไปยังจังหวัดสกลนคร และเส้นทางจากหมู่บ้านไปยังอำเภอนาหว้าจังหวัดนครพนมอย่างสะดวกสบาย

สาธารณูปโภค มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรียนโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร มีไฟส่องสว่างบริเวณถนนภายในหมู่บ้านตลอดคืน มีระบบประปาหมู่บ้านดูแลโดยเทศบาลตำบลบะหว้าใช้ทุกหลังคาเรือน มีโรงผลิตน้ำดื่มเอกชนจำนวน แห่ง

ตารางแสดงข้อมูลประชากร พ.ศ.2566 ของหมู่บ้านบะหว้าหมู่ที่ 2, 7 และ 9

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ประชากรชาย ประชากรหญิง รวม ครัวเรือน ประชากรชาวญ้อ (ชาย) ประชากรชาวญ้อ (หญิง) รวม ร้อยละ
2 บะหว้า 572 644 1,216 327 541 596 1,137 93.50
7 บะหว้า 566 566 1,132 278 525 514 1,039 91.78
9 บะหว้า 558 553 1,111 257 522 528 1,050 94.50
ญ้อ

ลักษณะครอบครัวของชาวไทญ้อส่วนใหญ่เป็นลักษณะครอบครัวเดี่ยว ลักษณะเครือญาติไทญ้อมีลักษณะเด่นตรงที่ว่า พวกเขาแม้จะแยกครอบครัวไปแล้ว แต่ก็ยังไปมาหาสู่กันเสมอ ยามเจ็บไข้ได้ป่วยก็ช่วยเหลือเกื้อกูลกันอย่างเต็มความสามารถ ยามเทศกาลงานบุญต่าง ๆ ก็จะเดินทางไปช่วยเหลือกัน ชาวไทญ้อเชื่อกันว่าผู้จะทำหน้าที่แทนพ่อได้เป็นอย่างดี คือ ลูกชาย เพราะผู้ชายนั้นบึกบึนทรหดอดทน สามารถทำงานในอาชีพเกษตรกรได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นการสืบสายตระกูล และการรับมรดก ส่วนใหญ่จะตกอยู่กับผู้ชาย ภาระหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัวนั้น หน้าที่ในการหาเงินทองมาจับจ่ายใช้สอยภายในครอบครัว การคุ้มครองดูแลต่าง ๆ เป็นหน้าที่ของพ่อบ้าน แม่บ้านจะดูแลลูก ๆ ภาระหน้าที่ภายในบ้าน

ส่วนการรวมกลุ่มในหมู่บ้านทำกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย กลุ่มทอผ้าย้อมคราม กลุ่มอนุรักษ์ดนตรีพื้นเมือง กลุ่มอาสาสมัครป้องภัยฝ่ายพลเรือน (อป.พร.) กลุ่มพิทักษ์รักษาป่าชุมชน (ทสม.) กลุ่มชุดปฎิบัติการรักษาหมู่บ้าน (ชรบ.) ชุดปฏิบัติการกู้ภัยหลวงปู่ฮ้อย (รถฉุกเฉิน) ชมรมและกลุ่มสวัสดิการผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มฌาปณกิจสงเคราะห์คอยช่วยเหลือในเรื่องค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพของหมู่บ้าน

ในรอบปีชาวญ้อจะมีวิถีชีวิตทางวัฒนธรรม พิธีกรรม ประเพณีและความเชื่อต่าง ๆ รวมทั้งในเรื่องฮีตสิบสองครองสิบสี่เหมือนกับชาวอีสานทั่ว ๆ ไป

วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม

พิธีกรรมความเชื่อของพี่น้องไทญ้อบ้านบะหว้า ส่วนใหญ่สืบทอดมาจากไทญ้อนาหว้า ซึ่งมีความเชื่อศรัทธาในบวรพุทธศาสนาเป็นสำคัญ ขณะเดียวกันก็มีความเชื่อเคารพในสิ่งที่บรรพบุรุษปฏิบัติต่อ ๆ กันมาในเชิงไสยศาสตร์บวกกับคงความเชื่อแบบลัทธิพราหมณ์ฮินดู ซึ่งได้กลมกลืนเกือบเป็นอันเดียวกันกับคติเชื่อแบบพุทธ ปัจจุบันญ้อบะหว้าเมื่อมีพิธีกรรมทางพุทธศาสนาก็มักมีพิธีกรรมทางพราหมณ์มาร่วมด้วยเสมอ แต่ก็ไม่ทำให้เกิดความสับสนหรือเบี่ยงเบนจารีตธรรมเนียมแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามญ้อบะหว้าก็ดำเนินชีวิตตามขนบที่สืบทอดกันมาอย่างไม่กังขาใด ๆ ทำให้เกิดความสงบร่มเย็นสู่ชุมชนอย่างยาวนาน 

พิธีเลี้ยงปู่ตา ผีปู่ตาเป็นผีที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ บูชา จนเรียกว่าปู่ตา เสมือนเป็นญาติผู้ใหญ่ของตน ศาลสำหรับผีปู่ตามักปลูกไว้ที่ดอน จึงนิยมเรียกว่า ดอนปู่ตา หรือ ดอนตาปู่ 

ผีปู่ตาจัดเป็นผีประเภทบรรพบุรุษ ผู้เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ เคยอาศัยในสถานที่นั้น ๆ มาก่อนนาน ครั้นเมื่อตายไปแล้วดวงวิญญาณยังคงสิงสถิต คุ้มครองรักษาสถานที่นั้นอยู่ ผีปู่ตาเป็นผีระดับสูงมีอำนาจมากมีบารมีมากเหนือภูติผีและสัมภเวสีทั่วไป ดังนั้นชาวบ้านจึงมีความเชื่อว่าสามารถช่วยเหลือดูแล ปกปักรักษาคุ้มครองหมู่บ้านและคนในหมู่บ้านได้

ในแต่ละปีจะมีพิธีกราบไหว้ ขอขมาผีปู่ตาปีละครั้งตามแต่หมู่บ้านกำหนด ส่วนญ้อบ้านบะหว้าจะมีการเลี้ยงผีปู่ตาหรือเรียกว่าเลี้ยงบ้าน ในเดือน 6 ก่อนลงทำนา หรือเรียกว่าเลี้ยงบ้านลงนา และในเดือน 11 ที่มีการเลี้ยงเกี่ยวข้าว

นอกจากนี้ยังมีการบนเป็นครั้งคราว เมื่อประสบความสำเร็จก็จะมีการเลี้ยงปู่ตาแก้บน เช่น บนขอให้สอบบรรจุข้าราชครูผ่าน เมื่อสอบได้ก็จะมีการเลี้ยงแก้บนแล้วแต่ว่าผู้นั้นบนบานว่าจะเลี้ยงด้วยอะไร

การเลี้ยงผีตาแฮก ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นผีเฝ้าไร่นา เมื่อชาวบ้านเข้าถางพงเพื่อแปรสภาพที่ดินไปเป็นที่นา พวกเขาจะทำพิธีเชิญผีตาแฮกคนหนึ่งมาเป็นผู้เฝ้ารักษาที่นาและข้าวกล้า

แต่ละปีเจ้าของนาจะต้องทำพิธีเซ่นสังเวยก่อนลงไถนา และเมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วจะต้องแบ่งข้าวสี่เกวียนให้แก่ผีตาแฮกด้วย

การเลี้ยงผีตาแฮกจัดขึ้นประมาณเดือนเจ็ดหรือเดือนแปด วันประกอบพิธีต้องเป็นวันฟูหรือวันจันทร์หรือพฤหัสบดี หรือวันเกิดของเจ้านา แล้วแต่จะเลือกนับถือ ทำพิธีเวลาเช้า พ่อบ้านหรือแม่บ้านเป็นผู้กระทำเทพเจ้าที่อ้างถึงได้แก่ ผีตาแฮก หรือนางธรณีแล้วแต่ใครจะนับถือรูปใดก็บูชารูปนั้น สถานที่ที่ปลูกข้าวตาแฮกนั้นให้เลือกเอาบริเวณที่ใกล้ ๆ กับโพนนา (จอมปลวก) หรือใกล้ต้นไม้

ฮีตสิบสอง คนอีสานมีวัฒนธรรมประจำชาติและประจำท้องถิ่นมาแต่โบราณแล้วนับศตวรรษ จนถือเป็นฮีตเป็นคองต้องถือปฏิบัติสืบกันมาจนเป็นประเพณีที่รู้จักกันดีและพูดจนติดปากว่า “ฮีตสิบสอง คองสิบสี่” คำว่าฮีตมาจากภาษาบาลีที่ว่า จารีตตะ แปลว่า ธรรมเนียม แบบแผนความประพฤติที่ดีงามปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณี ฮีต นั้นมี 12 ประการเท่ากับ 12 เดือนใน 1 ปีตามระบบจันทรคติหรือพูดอีกนัยคือ การทำบุญ 12 เดือนนั่นเอง

วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ

ลักษณะนิสัยใจคอของไทยญ้อส่วนมากคือ ซื่อสัตย์ สุจริต รักสงบ มีความสามัคคี ไม่ว่าจะมีอะไร เช่น การทำบุญ การปลูกบ้าน ทำนาจะนาว่านหรือวานกัน (นาว่านคือ การลงแขก ทำนา ทำงาน) ชาวไทญ้อมีอาชีพด้านเกษตรเป็นหลัก โดยเฉพาะการทำนา และปลูกพืชเศรษฐกิจซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ข้าว กล้วย และพืชผักตามฤดูกาล รองลงมาได้แก่ อาชีพเลี้ยงสัตว์ และจับสัตว์น้ำในลำน้ำธรรมชาติ และการหาของป่าเช่น เห็ด ผักหวาน ดอกกระเจียว 

นอกจากนี้จะมีการทอผ้าย้อมครามเพื่อส่งจำหน่ายภายในจังหวัดหรือเครือข่ายนอกจังหวัดบ้า และในปัจจุบันมีบางครอบครัวมีการปลูกมะเขือเทศเพื่อเอาเมล็ดส่งบริษัทเอกชนในช่วงหลังฤดูเก็บเกี่ยว

1.นายอ้ม นาขะมิ้น

เป็นบุตรนายคำตัน และนางทุม นาขะมิ้น เป็นชาวบ้านนาหว้า และได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านบะหว้าในยุคแรก ๆ มีญาติทั้งหมด คนแต่งงานกับนางอ่อน นาขะมิ้น (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) มีบุตรด้วยกันทั้งหมด คน ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมด ส่วนญาติพี่น้องนายอ้ม นาขะมิ้น บางคนได้แต่งงานแยกย้ายกันไปสร้างครอบครัวทั้งในบ้านบะหว้า และต่างอำเภอต่างหมู่บ้าน นายอ้ม นาขะมิ้น ถือเป็นปราชญ์ชาวบ้านในเรื่องการเล่าความเป็นมาของหมู่บ้าน การใช้สมุนไพรรักษาโรค การจักสาน และเป็นที่เคารพนับถือของคนในหมู่บ้านบะหว้าทั้ง หมู่บ้าน

ชาวญ้อบ้านบะหว้า สภาพแวดล้อมเป็นทุ่งนา และป่าไม้ตามธรรมชาติ ซึ่งดั้งเดิมอพยพมาจากอำเภอนาหว้า ประเพณีวัฒนธรรมจึงคล้ายกับชาวญ้ออำเภอนาหว้า เอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือเป็นคนโอบอ้อมอารี ขยันหมั่นเพียร ช่วยเหลือกัน รักความสนุกสนานและกันจะเห็นได้จากการวมกลุ่มกันทำกิจกรรม ได้แก่ ดนตรีพื้นเมือง กลุ่มทอผ้าย้อมคราม กลุ่มฌาปณกิจสงเคราะห์ในหมู่บ้าน กลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นการรวมกลุ่มด้วยความสมัครใจที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

ภาษาชาวญ้อจัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาไท-กระได ชาวญ้อมีภาษาพูดโดยพื้นฐานเสียงแตกต่างไปจากภาษาไทยลาว (ภาษาไทยอีสาน) ตรงที่ฐานเสียงอักษรสูง และเสียงจัตวา จะเน้นหนักในลำคอ น้ำเสียงสูง อ่อนหวาน ฐานเสียงสระ เอือ ใอ ในภาษาไทยลาวจะตรงกับฐานเสียงสระ เอีย และ เออ ตามลำดับ เช่น เฮือ เป็น เฮีย ให้ เป็น เห้อ ประโยคว่า อยู่ทางใด เป็น อยู่ทางเลอ เจ้าสิไปไส เป็น เจ้านะไปกะเลอ เป็นต้น  

ชาวไทญ้อไม่มีภาษาเขียนไม่มีตัวอักษรของตนเอง ในอดีตเคยใช้อักษรธรรม หรืออักษรไทยน้อย เช่นเดียวกับชาวอีสาน ปัจจุบันใช้อักษรไทยทั้งสิ้น และมักมีคำสร้อยด้วยคำว่า นิบั๋ว เช่น ผมเป็นคนบ้านบะหว้านิบั๋ว  

ตารางแสดงตัวอย่างคำศัพท์ญ้อ

ไทยกลาง ญ้อ
หัวใจ หัวเจ๋อ
พริก หมากเผ็ด
กินข้าวเช้า กินข้างาย
ตะไคร้ หัวสีเคอ
ไปไหน ไปกะเลอ
ไปอะไร ไปเต๋อ
ไปทำอะไร ไปเอ็ดเต๋อ
ใช่ไหม แม่นอยู่อะ
ใช่ แม่นบั๋ว
อะไร แม่นเต๋อ
จิ้งจก ขี้กะแจ๊ม

ลักษณะครอบครัวของชาวไทญ้อส่วนใหญ่เป็นลักษณะครอบครัวเดี่ยว ลักษณะเครือญาติไทญ้อมีลักษณะเด่น คือ พวกเขาแม้จะแยกครอบครัวไปแล้ว แต่ก็ยังไปมาหาสู่กันเสมอ ยามเจ็บไข้ได้ป่วยก็ช่วยเหลือเกื้อกูลกันอย่างเต็มความสามารถ ยามเทศกาลงานบุญต่าง ๆ ก็จะเดินทางไปช่วยเหลือกัน ชาวไทญ้อเชื่อกันว่าผู้จะทำหน้าที่ี่แทนพ่อได้เป็นอย่างดี คือ ลูกชาย เพราะผู้ชายนั้นบึกบึนทรหดอดทน สามารถทำงานในอาชีพเกษตรกรได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นการสืบสายตระกูล และการรับมรดก ส่วนใหญ่จะตกอยู่กับผู้ชาย ภาระหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัวนั้น หน้าที่ในการหาเงินทองมาจับจ่ายใช้สอยภายในครอบครัว การคุ้มครองดูแลต่าง ๆ เป็นหน้าที่ของพ่อบ้าน แม่บ้านจะดูแลลูก ๆ ภาระหน้าที่ภายในบ้าน

ปัจจุบันมีความเป็นอยู่แบบสังคมเมืองมากขึ้นโดยบุตรหลานออกไปทำงานต่างจังหวัดมีทั้งมีครอบครัวแยกย้ายไปและมีครอบครัวแล้วให้พ่อแม่ หรือปู่ย่าตายายเลี้ยงบุตรหลานเพียงแต่บุตรหลานที่ไปทำงานส่งเงินมาเลี้ยงดูบุตรตัวเองจะกลับมาเยี่ยมพ่อแม่ และลูกของตัวเองช่วงเทศกาลเช่น ปีใหม่ สงกรานต์ รวมถึงการทำมาหากินของคนในชุมชนเปลี่ยนแปลงไปโดยอาศัยซื้อจากร้านค้าในหมู่บ้าน การไปหาอาหารเช่นหาปลา หว่านแห มีน้อยลงรวมถึงแหล่งน้ำต่าง ๆ ในหมู่บ้านมีน้ำน้อยตื้นเขิน และปูปลาอาหารในห้วยหนองหายากขึ้น ต้องขุดสระเลี้ยงกินเอง การแบ่งปันน้อยลงมีการซื้อขายกันมากขึ้น


ภาษา ภาษาของญ้อไม่มีภาษาเขียนมีเพียงภาษพูดคนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านใช้ภาษาญ้อเป็นหลักในการสื่อสาร แต่ปัจจุบันคนรุ่นใหม่ที่ออกไปทำงานต่างจังหวัด หรือออกไปเรียนหนังสือในเมืองเวลากลับบ้านมาทำให้ภาษาญ้อมีความแปลกไปจากภาษาญ้อดั้งเดิมบ้าง และจะมีบางครอบครัวจะสอนบุตรหลานที่เกิดใหม่พูดภาษาไทย (ภาษากลาง) ทำให้เด็กพูดภาษาญ้อบางคนพูดภาษาญ้อเดิมสำเนียงแปลกไป

ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ ชาวไทญ้อบ้านบะหว้านั้นมีประเพณีเลี้ยงผีปู่ตาโดยชาวญ้อถือว่าผีปู่ตา คือ ผีบรรพบุรุษที่ตายไปแล้วแต่ยังมีความห่วงใยในความเป็นอยู่ของลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ให้อยู่อย่างมีความสุขแคล้วคลาดปลอดภัย (อยู่ดีมีแฮง) สำหรับที่ตั้งของผีปู่ตาจะอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ และจะมีการเลี้ยงปู่ตาทุกปีปีละ 1 ครั้งในช่วงเดือนมกราคม นอกจากจากนี้ยังมีความเชื่อในการบนบานศาลกล่าวปู่ตาให้บุตรหลานและผู้ที่จะเดินทางไปทำงานให้ปลอดภัย และประสบความสำเร็จในการงานต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีสืบทอดต่อกันมา และรวมทั้งฮีตสิบสองก็ยังคงมีให้เห็น

ศิลปะการแสดงของไทญ้อบะหว้า มีการแสดงดนตรีพื้นเมือง และมีการฟ้อนพื้นเมืองตามลายพิณลานแคน เช่น ฟ้อนลายสวาหยิกแม่ ต้อนวัวขึ้นภู การฟ้อนญ้อ เวิ้งบั้งไฟ ฯลฯ โดยจะพบในช่วงเทศกาลที่สำคัญๆ เท่านั้น และการร่วมแสดงเผยพร่วัฒนธรรม 

การแต่งกายของชาวไทญ้อ

ชาย เดิมสวมเสื้อคอพวงมาลัยสีเขียวสด ใช้สไบไหมสีน้ำเงินพับครึ่งกลาง พาดไหล่ซ้ายและขวา ปล่อยชายสองข้างไปด้านหลังให้ชายเท่ากัน นุ่งผ้าโจงกระเบนสีน้ำเงินเข้ม ใช้สไบไหมสีแดงคาดเอว ปล่อยชายข้างซ้ายด้านหน้า เครื่องประดับสร้อยเงิน ห้อยพระ ใบหูทัดดอก ดาวเรืองด้านซ้าย ปัจจุบันประยุกต์เป็นเสื้อผ้าย้อมครามแขนสั้นหรือแขนยาว กางเกงขาก๊วย โจงกระเบน จากผ้าย้อมคราม มีผ้าสไบจากผ้าขาวม้าพับครึ่งพาดไหล่ ซ้ายขวาปล่อบชายด้านหลังให้เท่ากันอาจมีผ้าขาวม้าพาดเอวด้วยก็ได้

หญิง สวมเสื้อแขนกระบอกสีชมพู (สีบานเย็น) คอกลมขลิบดำ หรือน้ำเงินเข้ม นุ่งผ้าถุงไหมสีน้ำเงินมีเชิง (ตีนจก) เข็มขัดลายชิดคาดเอว ใช้สไบไหมสีน้ำเงินพาดไหล่ด้านซ้ายแบบเฉียง ปล่อยชายยาวทั้งด้านหน้าและด้านหลังให้ชายเท่ากัน เครื่องประดับสร้อยคอ ตุ้มหู สร้อยข้อมือเครื่องเงิน ผมเกล้ามวยประดับดอกไม้สด หรือดอกไม้ประดิษฐ์ ปัจจุบันประยุกต์เป็นเสื้อผ้าย้อมครามแขนยาว หรือแขน 3 ส่วน ผ้าถุงตีนจกลายหมี่จากผ้าย้อมครามยาวครึ่งแข้ง มีผ้าสไบจากผ้าขาวม้าพาดไหล่ซ้าย เครื่องประดับเงินหรืออื่น ๆ เพื่อความสวยงาม

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2567). รายงานโครงการสำรวจและจัดการข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ไทญ้อ ปีงบประมาณ 2567. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

ทต.บะหว้า โทร. 0-4270-4934