Advance search

บ้านอ่างภูเพ็ก

การผลิตผ้าย้อมครามธรรมชาติ

หมู่ที่ 12
ภูเพ็ก
นาหัวบ่อ
พรรณานิคม
สกลนคร
ทต.นาหัวบ่อ โทร. 0-4275-9055
เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา
20 พ.ค. 2024
ณัฐพล นาทันตอง
24 พ.ค. 2024
เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา
28 มิ.ย. 2024
บ้านภูเพ็ก
บ้านอ่างภูเพ็ก


การผลิตผ้าย้อมครามธรรมชาติ

ภูเพ็ก
หมู่ที่ 12
นาหัวบ่อ
พรรณานิคม
สกลนคร
47220
17.21754244
103.9546497
เทศบาลตำบลนาหัวบ่อ

บ้านภูเพ็ก ตั้งเป็นหมู่บ้านเมื่อ พ.ศ. 2488 สมัย ส.ส.เตียง ศิริขันธ์ อยู่ในการปกครองของผู้ใหญ่บ้านหนองดินดำ (เป็นหมู่บ้านฝาก) ในสมัยการเกิดหมู่บ้านแห่งนี้ ส.ส.เตียง ศิริขันธ์ ได้รับงบประมาณจากทางราชการมาก่อสร้างอ่างเก็บน้ำดานฮี (อ่างเก็บน้ำภูเพ็ก) เมื่อชาวบ้านได้เห็นการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำก็พากันทยอยเข้ามาปลูกสร้างบ้านเรือนรอบอ่างเพื่อยึดอาชีพจับปลามาเลี้ยงครอบครัว และตั้งเป็นหมู่บ้านเป็นต้นมา ต่อมาในช่วงทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา กลุ่มของผู้อพยพเข้ามาอยู่ก่อน คือ นายบุญไทย ศรีนุกูล นายคำลู คำเรืองศรี นายประสงค์ พงษ์พันธ์ และนายตาล ปิ่นกา และเริ่มมีชาวบ้านทยอยอพยพเข้ามาอย่างต่อเนื่องเพื่อตั้งที่อยู่อาศัยหาอยู่หากินกับความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ

บ้านภูเพ็กมีอาณาบริเวณกว้างขวางอยู่ตามแนวป่าและไหล่เขา มีโบราณสถานอยู่ใกล้ ๆ ได้แก่ พระธาตุภูเพ็ก มีอาณาเขตติดกับหมู่บ้านต่าง ๆ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดกับ บ้านหนองดินดำ
  • ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านประชาสุขสันต์
  • ทิศใต้ ติดกับ ห้วยวังกอไผ่และวัดพระธาตุภูเพ็ก
  • ทิศตะวันตก ติดกับ ภูเขาฆ้อง

ปัจจุบันบ้านโนนเรือมี 100 หลังคาเรือน มีจำนวนประชากร 421 คน เป็นชาย 200 คน หญิง 221 คน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทลาว 

ชาวบ้านภูเพ็กประกอบอาชีพหลัก คือ การทำนา เกษตรกรรม การจับสัตว์น้ำ การหาของป่า นอกจากนี้ภายในชุมชนมีกลุ่มย้อมครามธรรมชาติภายใต้ชื่อ "บ้านครามสวลี"

ชาวบ้านภูเพ็กเป็นสังคมเกษตรกรรมชนบท ชาวบ้านไม่เอารัดเอาเปรียบกัน มีความห่วงหาอาทรซึ่งกันและกัน มีการนับถือกันระหว่างเครือญาติ ยึดมั่นในฮีตสิบสองคองสิบสี่ มีผู้สูงอายุเป็นแบบอย่างที่ดี นอกจากนี้ชาวบ้านภูเพ็กมีความเชื่อเรื่องพุทธศาสนามากพอ ๆ กับความเชื่อเรื่องผีสาง เทวดา และผีบรรพบุรุษ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

บ้านภูเพ็กเป็นชุมชนที่มีจุดเด่นด้านการผลิตและการทอผ้าย้อมครามธรรมชาติ จึงเป็นภูมิปัญญาอันล้ำค่าของชาวบ้านที่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ไปยังคนรุ่นใหม่ และยังคงกรรมวิธีแบบโบราณ ทั้งการผลิตเส้นด้าย การทอผ้า และการย้อมสีจากใบคราม และเปลือกไม้ที่หาได้จากแหล่งธรรมชาติในชุมชน อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่เรียกว่า การผลิตผ้าย้อมครามจากธรรมชาติ ซึ่งมีหลากหลายลวดลาย

สำเนียงพูดของชาวบ้านภูเพ็ก เป็นสำเนียงคล้ายกับภาษาไทลาว 


การร่วมมือของคนในชุมชนในการจัดตั้งกลุ่มทอผ้าย้อมครามธรรมชาติ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ "มรดกทางวัฒนธรรม"

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

นางจินตนา ผ่านสุวรรณ. อายุ 55 ปี ผู้ใหญ่บ้าน, สัมภาษณ์

นางสิวลี จุลศิริ. ผู้ก่อตั้งบ้านครามสวลี, สัมภาษณ์

ทต.นาหัวบ่อ โทร. 0-4275-9055