การประกอบอาชีพประมงท้องถิ่น
บ้านนาดอกไม้ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2449 โดยขุนเจริญหรือเชียงอ้วน เป็นคนมาจากบ้านพังขว้าง ได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานเป็นคนแรก บ้านนาดอกไม้เป็นที่ดอน และมีดอกไม้มากมายหลายชนิด จึงนำจุดเด่นนี้มาตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านนาดอกไม้”
การประกอบอาชีพประมงท้องถิ่น
เมื่อประมาณ 90 กว่าปีมาแล้ว มีราษฎรจากบ้านพังขว้างใต้ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ได้แสวงหาที่ทำกินเนื่องจากอยู่ใต้แหล่งน้ำจืดธรรมชาติขนาดใหญ่ มีชื่อว่า “หนองหาร” ซึ่งยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด มีปลาชุกชุมมากมาย ป่าไม้ และสัตว์ป่า จึงได้พากันมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนขึ้น “บ้านโคกดอกไม้” และเปลี่ยนชื่อ “บ้านนาดอกไม้”
บุคคลแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่บ้านนาดอกไม้คือ ขุนเจริญ ฐานทองดี ในตอนแรกเป็นเพียงแค่การเข้ามาล่าสัตว์และจับสัตว์น้ำ และได้พิจารณาพื้นที่บริเวณรอบ ๆ ประกอบกับความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่จึงได้อพยพครอบครัวมาจากบ้านเดิมเข้ามาตั้งบ้านเรือนเป็นครอบครัวแรก
จากการบอกเล่าของชาวบ้านที่เล่าต่อ ๆ กันมาว่า พื้นที่นี้มีความอุดมสมบูรณ์มาก ทั้งยังไม่หากจากตัวเมืองมากนัก เป็นทำเลที่เหมาะกับการตั้งบ้านเรือนเพื่อทำมาหากินจนเป็นที่กล่าวขานของคนทั่วไป ทั้งในเมืองและหมู่บ้านใกล้เคียง
ต่อมาได้มี นายออ คำฤทธิ์ พร้อมครอบครัวและครอบครัวอื่น ๆ ได้ทยอยเข้ามาตั้งถิ่นฐานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยกระจายตัวอยู่รอบ ๆ บริเวณบ้านของ ขุนเจริญ ฐานทองดี ตระกูลที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานแรก ๆ ได้แก่
- ตระกูลฐานทองดี
- ตระกูลข่อยแก้ว
- ตระกูลจันทะพรม
- ตระกูลผาใต้
- ตระกูลโทษาธรรม
บ้านนาดอกไม้ เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ อยู่ไม่ห่างจากตัวเมืองสกลนครไม่มากนัก ได้จัดแบ่งเป็นคุ้ม ๆ ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งหนองหาร มีอาณาเขตติดต่อกับหมู่บ้านและสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดกับ ถนนสกลนคร - นครพนม
- ทิศตะวันออก ติดกับ หนองหาร
- ทิศใต้ ติดกับ บ้านดอนเสาธง
- ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านน้อยจอมศรีและบ้านคำชะโนด
กลุ่มชาติพันธุ์ประชากรบ้านนาดอกไม้ คือ เผ่าไทญ้อ ซึ่งเป็นประชากรจากหมู่บ้านอื่นที่เข้ามาอาศัยเพิ่มมากขึ้น ทำให้ปัจจุบันมีหลากหลายชาติพันธุ์ในหมู่บ้าน เช่น เผ่าญ้อ เผ่าภูไท และเผ่าอื่น ๆ ปัจจุบันบ้านนาดอกไม้ มี 134 หลังคาเรือน มีจำนวนประชากร 750 คน เป็นชาย 390 คน หญิง 360 คน ลักษณะความสัมพันธ์ด้านเครือญาติมีความรักใคร่กลมเกลียวสามัคคี
ญ้อ, ผู้ไทชาวบ้านนาดอกไม้ประกอบอาชีพหลัก คือ การทำนา เกษตรกรรม การจับสัตว์น้ำ การรับจ้าง การรับราชการ เนื่องจากหมู่บ้านไม่ห่างไกลจากตัวเมืองสกลนครมากนัก
ชาวบ้านนาดอกไม้เป็นสังคมเกษตรกรรมชนบทกึ่งชุมชนเมือง ชาวบ้านไม่เอารัดเอาเปรียบกัน มีความห่วงหาอาทรซึ่งกันและกัน มีการนับถือกันระหว่างเครือญาติ ยึดมั่นในฮีตสิบสองคองสิบสี่ มีผู้สูงอายุเป็นแบบอย่างที่ดี
การจับสัตว์น้ำบริเวณหนองหารของชาวบ้านนาดอกไม้ มีประชาชนประกอบอาชีพทำการประมงรวม 416 ราย มีปริมาณผลจับสัตว์น้ำเฉลี่ย 710 กิโลกรัมต่อวัน หรือมีค่าผลจับเฉลี่ย 4.8 กิโลกรัมต่อรายต่อวันทำการประมง พบเครื่องมือทำการประมงรวม 15 ชนิด ชนิดที่นิยมใช้มาก ได้แก่ ข่ายขึง ฉมวก และปีนฉมวก ชาวประมงออกทำการประมงเฉลี่ย 4.6 วันต่อสัปดาห์ มีประสบการณ์จับสัตว์น้ำมาแล้วเฉลี่ย 15.6 ปี สำหรับการศึกษาผลตอบแทนต่อการลงแรงทำการประมงพบมีค่าเฉลี่ย 625.3 กิโลกรัมต่อรายต่อปี และมีรายได้เฉลี่ยวันละประมาณ 1,073 บาทต่อครัวเรือน ชาวประมงในหนองหารพบว่าเป็นราษฎรที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่โดยรอบหนองหารทั้งสิ้น โดยมีอาชีพทำการประมงร้อยละ 61.5 และทำการประมงเพื่อยังชีพร้อยละ 38.5 ส่วนสภาวะการตลาดสินค้าสัตว์น้ำพบมีลักษณะเป็นการตลาดที่อิสระและมีการแข่งขันเสรี โดยพบปริมาณสัตว์น้ำที่ชาวประมงจับเพื่อจำหน่ายรวมร้อยละ 86.4 จำแนกเป็นสัตว์น้ำที่ชาวประมงจำหน่ายปลีกด้วยตนเองร้อยละ 28.7 ส่วนปริมาณที่เหลือร้อยละ 13.6 ใช้บริโภคในครัวเรือน จากผลการศึกษาเห็นได้ว่าหนองหารยังคงเป็นแหล่งน้ำที่มีศักยภาพทางการประมงสามารถอำนวยประโยชน์ให้ราษฎรที่อยู่โดยรอบและบริเวณใกล้เคียง จึงเห็นควรต้องช่วยกันดำรงรักษาเพื่อเป็นแหล่งทรัพยากรประมงที่ทรงคุณค่าสืบต่อไป
ชาติพันธุ์ประชากรบ้านนาดอกไม้ คือเผ่าไทญ้อ ซึ่งเป็นประชากรจากหมู่บ้านอื่นที่เข้ามาอาศัยเพิ่มมากขึ้น ทำให้ปัจจุบันมีหลากหลายชาติพันธุ์ในหมู่บ้าน เช่น เผ่าญ้อ เผ่าภูไท และเผ่าอื่น ๆ ปัจจุบันภาษาของชาวบ้านนาดอกไม้ คือ ภาษาญ้อ
หนองหารคือแหล่งน้ำที่เป็นสถานที่จับสัตว์น้ำของชาวประมงพื้นถิ่น รวมถึงเป็นแหล่งผลิตน้ำสำหรับอุปโภคเเละบริโภค ซึ่งขณะนี้น้ำในหนองหารมีสารพิษที่มาจากหลายชุมชนไหลลงไปที่แห่งนั้น จึงส่งผลให้ชาวประมงพื้นถิ่นต้องประสบปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพน้ำของหนองหาร
หนองหาร แหล่งน้ำที่เป็นสถานที่จับสัตว์น้ำของชาวประมงพื้นถิ่น