Advance search

ในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร มีการมีการเพาะปลูกเห็ดเป็นรายได้เสริม

หมู่ที่ 7
น้ำใส
ขามเฒ่าพัฒนา
กันทรวิชัย
มหาสารคาม
เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา
26 มิ.ย. 2024
ณัฐพล นาทันตอง
28 มิ.ย. 2024
เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา
28 มิ.ย. 2024
บ้านน้ำใส

ตั้งตามชื่อหนองน้ำอันอุดมสมบูรณ์

ชุมชนชนบท

ในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร มีการมีการเพาะปลูกเห็ดเป็นรายได้เสริม

น้ำใส
หมู่ที่ 7
ขามเฒ่าพัฒนา
กันทรวิชัย
มหาสารคาม
44150
16.2916095386706
103.340139538049
องค์การบริหารส่วนตำบลขามเฒ่าพัฒนา

บ้านน้ำใส หมู่ที่ 7 ตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ตามตำนานเล่าขาน กันมาว่า ชนภาคอีสานของไทยและชาวเวียงจันทน์ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวล้วนแต่มีกำเนิดมาด้วยกัน และอยู่ภายใต้ร่มโพธิสมภารของประเทศไทยเช่นกัน เช่น พูดลาวแบบสกลนคร นครพนม เรียกว่า ภาษาญ้อ แบบกาฬสินธุ์ นครพนมบางส่วน ของสกลนคร เรียกว่า ญ้อภูไท แบบอุบล ร้อยเอ็ด มหาสารคาม เรียกว่า ลาว หรือ ไทยอีสาน บ้านน้ำใสเป็นส่วนหนึ่งของลาวมหาสารคาม ที่อพยพจากเวียงจันทน์สู่นครพนม สกลนคร ในกลุ่มไทญ้อ ตามตำนานเล่าขานกันมาในปัจจุบัน ซึ่งเคยเป็นเมืองหนึ่งที่ไทยเคยครอบครองในราวรัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 5 ในช่วงนั้นไทญ้อกลุ่มนี้ยังนับถือผีสาง เทวดาแบบเผ่าผ้าขาวลาวเวียงจันทน์ แต่ละปีมีการฆ่าคนและสัตว์เซ่นไหว้เทวดา เพื่อแลกกับชีวิตคนส่วนมากให้อยู่รอดเจริญรุ่งเรืองตามแบบอย่างสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ ผู้ใดละเมิดไม่ทำตามถือว่าผิดผีบ่อเงินบ่อทอง ชาวบ้านจะพากันสาปแช่งนินทาหรือปองร้ายอยู่ร่วมกับคนในเผ่าไม่ได้ อีก 3 วันต่อมา จะเป็นคิวของตาหลานครอบครัวหนึ่งจะถูกฆ่าเซ่นผี ตากับหลานเฝ้าครุ่นคิดร้องไห้จนกินไม่ได้นอนไม่หลับต้องตายเซ่นผีตามลัทธิแน่นอน ในที่สุดตากับหลานจึงคิดหลบหนีในคืนก่อนถึงวันตาย โดยมีครอบครัวญาติ ๆ ใกล้ชิดติดตามไปด้วย 4-5 ครอบครัว ลัดป่าฝ่าเขาว่ายน้ำข้ามลำน้ำโขงหวังไปตายเอาดาบหน้า เข้าในเขตประเทศไทยปัจจุบัน มาอาศัยหลบ ๆ ซ่อน ๆ ตามป่าตามเขา

ต่อมารัชกาลที่ 1 ของราชวงศ์จักรีกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ยกทัพไปปราบนครเวียงจันทน์ของลาวและได้กวาดต้อนผู้คนชาวนครเวียงจันทน์มาอยู่ในประเทศไทยด้วย พวกของตากับหลานและผู้ร่วมเดินทางมา จึงได้ย้ายครอบครัวลึกเข้ามาในไทยอีก มาตั้งหลักฐานแถบลุ่มแม่น้ำชี บริเวณท่าขอนยางในปัจจุบันมีลูกมีหลานและมีจำนวนครอบครัวมากขึ้น แต่บริเวณดังกล่าวการทำมาหากินต้องเสี่ยงกับภัยธรรมชาติ น้ำชีไหล ล้นท่วมที่นาที่สวนเป็นประจำทุกปี การทำมาหากินอดอยาก ข้าวยากหมากแพงทั้งแล้งทั้งท่วม ในราว ร.ศ. 5-6 (พ.ศ. 2330-2331) พ่อตาเสนา (มหาเสนา) เห็นว่าการอยู่ใกล้ชิดลำชีบริเวณบ้านท่าขอนยางมันลำบาก ต้องต่อสู้กับภัยธรรมชาติทุกปี และทางทิศเหนือของลำน้ำชีมีถิ่นอุดมสมบูรณ์อยู่หลายแห่งจึงชักชวนลูกหลานอพยพหนีน้ำชีขึ้นมาหาที่อยู่ใหม่ มีลูกหลานเห็นด้วย 4-5 ครอบครัวอพยพตามมา ส่วนอีกพวกหนึ่งอพยพขึ้นไปทางเหนือในเขตเมืองคันธารราษฎร์ไปตั้งหลักฐานบริเวณบ้านโนน บ้านหนองขอน ปัจจุบัน

ส่วนลูกหลานที่ใกล้ชิดของพ่อตาเสนา ได้อพยพไปทางตะวันออกของเมือง คันธารราษฎร์ ผ่านบ้านยางขี้นก (มีนกคอก๊ากอาศัยพักนอนอยู่ตามต้นยางนาเป็นจำนวนมาก) มี 2-3 ครอบครัวทำมาหากินอยู่ที่นั่น ส่วนพ่อตาเสนากับหลาน ๆ อีก 2 ครอบครัว อพยพขึ้นไปอีก มาพบดอนมีหนองน้ำเย็นฉ่ำน้ำใสปกคลุมรอบ ๆ ด้วย ป่ารก พอใจในความสวยงามอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ จึงพร้อมด้วยหลาน ๆ ตั้งหลักแหล่งอาศัยอยู่ที่นั่นเรียกบ้านนั้นว่า "บ้านโนนทองหลาง" อยู่ที่นั่นปีเศษจึงเคลื่อนมาสร้างบ้านอยู่ทางทิศตะวันออกและทิศใต้ของดอนเปลี่ยนชื่อบ้านใหม่เป็น "บ้านหนองน้ำใส" ตามชื่อหนองน้ำอันอุดมสมบูรณ์บ้านหนองน้ำใสได้ขยายครอบครัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งที่มาอยู่ร่วมใหม่และที่อยู่เดิม ชาวบ้าน 99% เป็นชาวพุทธ นับถือพุทธศาสนา ต้องปฏิบัติศาสนกิจทุก ๆ วัน จึงพร้อมใจกันสร้างวัดเพื่อใช้เป็นที่ทำบุญขึ้นทางทิศใต้ของบ้านในราว พ.ศ. 2336 เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้นำหมู่บ้านจึงใส่ชื่อวัดว่า "วัดเสนานิคม" บ้านน้ำใสได้เจริญขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากการมีผู้นำที่โอบอ้อมอารี ชาวบ้านมีความสามัคคี มีความรักในชาติตระกูลตามเอกลักษณ์ของชาวญ้อ ต่อมาในรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการประกาศตั้งหมู่บ้านอย่างเป็นทางการว่า บ้านน้ำใส หมู่ที่ 12 ตำบลคันธารราษฎร์ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำดังนี้

  1. ท้าวอินทิบาน แก้ววังวร ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2425-2436
  2. ท้าวลุน (พรหมเทพ) ลาสุวรรณ ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2436-2483
  3. นายเพียร รัดถา ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2483-2486
  4. นายทา เหล่าสีนาท ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2486-2495
  5. นายเพ็ง อรรคเศรษฐัง ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2495-2516
  6. นายน้อย วงศิลา ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2516-2534
  7. นายถม กองสำลี ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2534-2547

เมื่อปี พ.ศ. 2521 มีการแยกตำบลคันธารราษฎร์ออกเป็นตำบลขามเฒ่าพัฒนา บ้านน้ำใสจึงเปลี่ยนหมู่บ้านจากหมู่บ้านที่ 12 เป็นหมู่ 7 ตำบลขามเฆ่าพัฒนาวันที่ 9 สิงหาคม 2539 บ้านน้ำใสแยกออกเป็น 2 หมู่บ้าน คือบ้านน้ำใสหมู่ที่ 7 เดิมนายถม กองสำลี เป็นผู้ใหญ่บ้าน และบ้านน้ำใสหมู่ที่ 16 นายอำพล ไชยอาลา เป็นผู้ใหญ่บ้าน ต่อมามีพระราชบัญญัติการปกครองท้องถิ่น ยกฐานะตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต. ได้มีการจัดตั้ง อบต. หมู่บ้านละ 2 คน เป็นตัวแทน นางจันทร์เพ็ญ ศรีมุงคุณ กับ นางนุชรา ไชย สินธุ์ ได้รับเลือกเป็น อบต. หมู่ 7 ทั้ง 2 สมัย ส่วนหมู่ 16 นายสมศักดิ์ เหล่าประทุมกับ นายบุญมี แพงไข่สอน เป็น อบต.ในปี พ.ศ. 2547 อบต. เดิมหมดวาระจึงมีการเลือกตั้ง อบต.ใหม่ทั้งชุด นายถม กองสำลี ได้ลาออกจากผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 ลงสมัคร อบต. หมู่ 7 และได้รับเลือกตั้ง จึงมีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7แทน นายทองหล่อ เหล่าชาตรี ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ อยู่มาไม่นานนายทองหล่อ เหล่าชาตรี ได้ลาออกจากผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 และมีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านแทน ปรากฏว่า นายอุทัย เหล่าพร ได้รับเลือกตั้งดำรงตำแหน่ง จากนั้นปี พ.ศ. 2555 ผู้ใหญ่บ้านคนเก่าหมดวาระจึงมีการเลือกผู้ใหญ่บ้านคนใหม่นายไชยรัตน์ สมภูมิ ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน และถูกเลือกมาจนถึงปัจจุบัน

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ บ้านน้ำใส หมู่ 16 ตำบลขามเฒ่าพัฒนา
  • ทิศใต้ บ้านยาง ตำบลขามเฒ่าพัฒนา
  • ทิศตะวันออก บ้านม่วง ตำบลกุดใส้จ่อ
  • ทิศตะวันตก บ้านเปลือยดง ตำบลขามเฒ่าพัฒนา

บ้านน้ำใสประกอบด้วยจำนวนหลังคาเรือน 105 ครัวเรือน อยู่จริง 95 ครัวเรือน มีจำนวนประชากร 364 คน แบ่งเป็นเพศชายจำนวน 154 คน และเพศหญิงจำนวน 212 คน

สภาพโดยรวมชุมชนบ้านน้ำใสเป็นชุมชนหนึ่งในเขตอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร เช่น การทำนาปี นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงสัตว์ เช่น ตั๊กแตน ไว้สำหรับขายทั้งตัวและไข่ หากว่างจากงานหลักก็จะทำงานรอง เช่น รับจ้างทั่วไป

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
การใช้ภาษาคนในหมู่บ้านจะใช้ภาษาท้องถิ่นคือ ภาษาอีสาน ส่วนภาษากลางจะใช้ในกรณีที่ต้องติดต่อกับหน่วยงานทางราชการเป็นส่วนใหญ่
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ปริณดา ทิพยะวัฒน์สายสวรรค์ พิบูลย์สังข์ และวาสิตา ธรรมศรี. (2566). รายงานการศึกษาชุมชน บ้านน้ำใส หมู่ที่ 7 ตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม