Advance search

แพทย์แผนไทย สมุนไพร หมอพื้นบ้าน การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น

หมู่ที่ 4
โนนเขวา
ขามเฒ่าพัฒนา
กันทรวิชัย
มหาสารคาม
เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา
20 มิ.ย. 2024
ณัฐพล นาทันตอง
27 มิ.ย. 2024
เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา
28 มิ.ย. 2024
บ้านโนนเขวา

พื้นที่ตั้งหมู่บ้านเป็นที่เนินและมีต้นเขวาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากชาวบ้านจึงพากันตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านโนนเขวา


ชุมชนชนบท

แพทย์แผนไทย สมุนไพร หมอพื้นบ้าน การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น

โนนเขวา
หมู่ที่ 4
ขามเฒ่าพัฒนา
กันทรวิชัย
มหาสารคาม
44150
16.2019614280806
103.301431238651
องค์การบริหารส่วนตำบลขามเฒ่าพัฒนา

บ้านโนนเขวา หมู่ที่ 4 ตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เมื่อปี พ.ศ. 2487 มีราษฎรได้ย้ายมาจากบ้านวังบัว ซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตร ย้ายมาปีแรก มีคุณพ่อสิงห์ คุณแม่เบ้า บุญวิจิตร คุณพ่อก้อน รัดสีสม คุณพ่อชาย อันสนั่น คุณพ่อโหง่น คุณแม่ใหม่ แก้วจุมพล ได้พาเพื่อนบ้านย้ายมา ประมาณ 10 ครั้ง ต่อมา ปี พ.ศ. 2488 ราษฎรบ้านวังบัวได้ย้ายออกมาเพิ่มอีก เรื่อย ๆ ทำให้หมู่บ้านมีจำนวนครัวเพิ่มขึ้นอีก จึงทำให้เป็นหมู่บ้านใหญ่ขึ้นและมีประชากรเพิ่มขึ้นอีกมากจึงได้แต่งตั้งและคัดเลือกผู้ใหญ่บ้านขึ้นมาเพื่อปกครองราษฎรในหมู่บ้านเป็นคนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2488 ชื่อนายก้อน รัดสีสม พื้นที่ตั้งหมู่บ้านเป็นที่เนินและมีต้นเขวาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงพากันตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านโนนเขวา หมู่ที่ 4 และมีผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จำนวน 6 คน คือ

  1. นายก้อน รัดสีสม ได้คำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านบ้านโนนเขวา หมู่ที่ 4 ปี พ.ศ. 2488-2510
  2. นายทวี รัดสีสม ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านบ้านโนนเขวา หมู่ที่ 4 ปี พ.ศ. 2510-2529
  3. นายสำรวย ภาษี ได้คำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านบ้านโนนเขวาหมู่ที่ 4 ปี พ.ศ. 2529-2553
  4. นายผลา ภูถวิล ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านบ้านโนนเขวา หมู่ที่ 4 ปี พ.ศ. 2558-2553
  5. นายสาคร สิงห์สุวรรณ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านบ้านโนนเขวา หมู่ที่ 4 ปี พ.ศ. 2553-2559
  6. นายชำนาญ อันทะนาม ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านบ้านโนนเขวา หมู่ที่ 4 ปี พ.ศ. 2559 ถึงปัจจุบัน

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านยาง ตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านวังบัว ตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านน้ำเที่ยง ตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านขามเฒ่าพัฒนา ตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

ตามทะเบียนราษฎร์บ้านโนนเขวามีจำนวนครัวเรือน 136 ครัวเรือน และมีจำนวนประชากรทั้งหมด 488 คน แยกเป็นเพศชาย 243 คน หญิง 245 คน

บ้านโนนเขวาประกอบด้วยกลุ่มอาชีพทำนา 84 ครัวเรือน รายได้เฉลี่ยต่อปี 39,263 บาท ค้าขาย 4 ครัวเรือน รายได้เฉลี่ยต่อปี 60,000-100,000 บาท รับจ้างทั่วไป 41 ครัวเรือน รายได้เฉลี่ยต่อปี 23,000 บาท/ปี รับราชการ 5 ครัวเรือน รายได้เฉลี่ย/ปี 80,000-360,000 บาท อัตราค่าจ้างแรงงานในหมู่บ้าน 300 บาท ประชากรมีรายได้เฉลี่ย 63,782 บาท/คน/ปี

ในรอบปีหมู่บ้านวังบัว หมู่ 4 มีการทำบุญหรือประเพณีต่าง ๆ โดยอาศัยหลักในการปฏิบัติคือ "ฮีตสิบสอง" ซึ่งหมายถึงประเพณีการทำบุญและพิธีกรรมในรอบ 1 ปีหรือ 12 เดือน ปัจจุบันประเพณีบางอย่างได้เลิกปฏิบัติไปแล้วเนื่องจากขาดผู้นำในการปฏิบัติและบางประเพณีที่เปลี่ยนแปลงการปฏิบัติไปเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่เอื้ออำนวย ประชาชนในหมู่บ้านมีการไปทำงานยังต่างถิ่นกันมาก ประเพณีที่หายไปก็ เช่น ประเพณีสู่ขวัญข้าว, ลงแขกเกี่ยวข้าวบุญบั้งไฟเป็นต้น แต่ประเพณีที่ยังถือปฏิบัติกันในรอบหนึ่งปีของหมู่บ้านมีอยู่มี ดังนี้

  • เดือนมกราคม ทำบุญขึ้นปีใหม่
  • เดือนกุมภาพันธ์ บุญข้าวจี่
  • เดือนมีนาคม บุญพระเวชสันดรและเทศน์มหาชาติ
  • เดือนเมษายน เทศกาลสงกรานต์
  • เดือนพฤษภาคม ประเพณีบุญบังไฟ
  • เดือนมิถุนายน ประเพณีเลี้ยงดอนปู่ตา
  • เดือนกรกฎาคม วันเข้าพรรษา
  • เดือนสิงหาคม บุญข้าวประดับดิน
  • เดือนกันยายน บุญข้าวสารท
  • เดือนตุลาคม บุญตักบาตรเทโวและบุญออกพรรษา
  • เดือนพฤศจิกายน บุญทอดกฐินและประเพณีลอยกระทง
  • เดือนธันวาคม บุญกุ้มข้าว

1.นายวิเชียร ป้องมาตย์ มีความสามารถด้านสมุนไพร

2.นายสาคร สิงห์สุวรรณ มีความสามารถด้านภูมิปัญญาหมอลำ

3.นายวิเชียร บัวพา มีความสามารถด้านภูมิปัญญาเรื่องการจักสาน งานไม้ต่าง ๆ

4.นางนงค์ หาญนาแชง มีความสามารถด้านการทำปลาส้มถอดก้าง

5.นางขวัญฤดี ศรีไสย์ มีความสามารถด้านภูมิปัญญาเรื่องการทำขนมถั่ว

รัฐบาลจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กองทุนละ 1 ล้านบาท สำหรับเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยรัฐบาลจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองกองทุนละ 1 ล้านบาท สำหรับเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและชุมชนเมืองใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้ท้องถิ่นมีขีดความสามารถในการจัดระบบและบริหารจัดการเงินกองทุนของตนเอง เพื่อสร้างศักยภาพในการสร้างเสริมความเข้มแข็ง ด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนเมืองสู่การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนตามนโยบาย "คิดเอง บริหารจัดการเอง โดยประชาชน เพื่อประชาชน ในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง"

การใช้ภาษา คนในหมู่บ้านจะใช้ภาษาท้องถิ่นคือ ภาษาอีสาน ส่วนภาษากลางจะใช้ในกรณีที่ต้องติดต่อกับหน่วยงานทางราชการเป็นส่วนใหญ่

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชำนาญ อันทะนาม. (2564). การประเมินผลการปฏิบัติงานหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2564