พระพุทธรูปโบราณประจำชุมชนบ้านลาด
สันนิษฐานว่ามีที่จากสองแนวความคิด คือ หนึ่ง มาจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ของที่ตั้งชุมชนที่ตั้งอยู่ที่ลาด สอง มาจากชื่อของผู้นำ นายลาด ผู้ที่มาตั้งชุมชน
พระพุทธรูปโบราณประจำชุมชนบ้านลาด
บ้านลาดหมู่ที่ 1 ตั้งมาแล้วประมาณ 200 ปีเศษ ผู้ที่มาตั้งบ้านลาดครั้งแรกอพยพมาจากอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด อพยพครั้งแรกจำนวน 6 ครัวเรือน หลังจากชาวบ้านเมืองร้อยเอ็ดมาตั้งถิ่นฐาน 1 ปี ได้มีชาวบ้านแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ในปัจจุบันอพยพมาสมทบหลังจากที่ตั้งถิ่นฐานได้ 2 ปี มีจำนวนครัวเรือนเพิ่มขึ้นเป็น 11 ครัวเรือน เหตุผลที่อพยพมาอยู่เพราะได้เดินทางมาค้าขาย พบเห็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำการเกษตร ทำไร่ทำนา และตั้งชื่อหมู่บ้านครั้งแรกว่า บ้านลาดดงเค็ง เพราะด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้านมีป่าขนาดใหญ่หนาทึบ ซึ่งส่วนมากเป็นต้นเค็ง ซึ่งเรียกว่า "ป่าดงเค็ง" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า บ้านลาด ตัดคำว่า ดงเค็ง ออก เพราะป่าดงเค็งถูกตัดทำลายหมดเหลือเฉพาะที่ลาดสูง แต่ก่อนบ้านลาดได้ตั้งหัวหน้าหมู่บ้านปกครองกันเอง และด้านทิศเหนือหมู่บ้านได้ตั้งวัดสำนักสงฆ์ ต่อมามี พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ บ้านลาดจึงขึ้นกับตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2522 ได้แยกตำบลจากตำบลโคกพระ มาตั้งเป็นตำบลศรีสุข บ้านลาดจึงเป็นหมู่ที่ 1 ของตำบลศรีสุข
รายชื่อผู้ดำรงดำรงตำแหน่งผู้ปกครองหมู่บ้านลาดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีดังนี้
- หมื่นจำนง โสณโชติ
- หมื่นชม แก้วน้อย
- หลวงพล ขันแก้ว
- ขุนพินิจ พานพันธุ์
- นายสอ เหล่าทอง
- นายดี เหล่าชัย
- นายวันทา พละเดช
- นายเลี้ยงเหล่าวงมี
- นายหา สีละวัน
- นายวิชัย สุวรรณเพ็ง
- นายเหมียน เหล่าคะเนย์
- นายนิรันดร์ โพธิ์ศรีมา
- นายวิชิต เกษมาลา
- นายวิเชียร แก้วน้อย (ปัจจุบัน)
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดกับ บ้านนาดีใต้หมู่ที่ 3
- ทิศใต้ ติดกับ บ้านลาดเจริญหมู่ที่ 22
- ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านลาดบูรพาหมู่ที่ 17
- ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านดอนแดงหมู่ที่ 2
บ้านลาดมีบุญประเพณี ฮีต 12 คอง 14 คือ
- เดือนอ้าย บุญพระสงฆ์บุญเข้ากรรม
- เดือนยี่ บุญคุณลานบุญประทายข้าวเปลือก
- บุญเดือน 3 บุญข้าวจี่บุญกุ้มข้าวใหญ่
- บุญเดือน 4 บุญผะเหวดเทศน์มหาชาติ บุญขึ้นบ้านใหม่นิยมทำในเดือน มีนาคมถึงพฤษภาคม
- บุญเดือน 5 บุญสงกรานต์ตบประทาย เอาทรายใส่ถังภาชนะเล็ก ๆ แล้วไปคว่ำให้เป็นรูปทรงคล้ายเจดีย์มีความเชื่อว่าเป็นการบูชาแม่น้ำทำแล้วให้อยู่เย็นเป็นสุข
- บุญเดือน 6 บุญบั้งไฟ บุญบวชนาค บุญขึ้นบ้านใหม่
- บุญเดือน 7 บุญเบิกบ้าน บุญชำฮะ
- บุญเดือน 8 บุญเข้าพรรษา
- บุญเดือน 9 บุญข้าวประดับดิน
- บุญเดือน 10 บุญข้าวสาก เอาอาหารคาวอาหารหวานห่อใส่กระทงใบตองแล้วเอาไปไว้ธาตุช่วงเที่ยงถึงตอนบ่ายค่อยไปเก็บจากธาตุแล้วเอาไปไว้นาเชื่อว่าเป็นการทำบุญให้บรรพบุรุษปู่แฮกย่าแฮกอยู่ที่นาเจ้าที่เจ้าทาง
- บุญเดือน 11 บุญออกพรรษา บุญข้าวทิพย์ ตักบาตรเทโว
- บุญเดือน 12 บุญกฐิน ลอยกระทง
1.นายเคน ขันแก้ว ชำนาญด้านยาอบ
2.นายเสริม อินทรวุฒิ ชำนาญด้านยาสมุนไพรพื้นบ้าน
3.นายบุญสวน เหล่าชัย ชำนาญด้านหมอเป่า งูสวัด
4.นายหนูแดง ยุบลชู ชำนาญด้านหมอเป่า งูสวัด
การใช้ภาษา คนในหมู่บ้านจะใช้ภาษาท้องถิ่นคือภาษาอีสาน ส่วนภาษากลางจะใช้ในกรณีที่ต้องติดต่อกับหน่วยงานทางราชการเป็นส่วนใหญ่
องค์การบริหารส่วนตำบลลาดพัฒนา. (2566). แผนพัฒนาชุมชนบ้านลาด หมู่ 1 ประจำปี 2567-2570. องค์การบริหารส่วนตำบลลาดพัฒนา
นายวิเชียร แก้วน้อย. ผู้ใหญ่บ้านลาด. ผู้ให้สัมภาษณ์. นายธนวิทย์ สิงห์โสด. ผู้สัมภาษณ์, ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 1 ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม, 21 พฤษภาคม 2567