Advance search

ชุมชนชาวญ้อ ผู้คนในชุมชนมีภาษาพูดของตนเองในการสื่อสารระหว่างกัน เรียกว่า ภาษาญ้อ มีวิถีชีวิตผูกพันกับธรรมชาติ มีวิถีวัฒนธรรมตามฮีตสิบสองคองสิบสี่ตามแบบชาวอีสาน

หมู่ที่ 1
โพนสวรรค์
โพนสวรรค์
โพนสวรรค์
นครพนม
อบต.โพนสวรรค์ โทร. 0-4259-5131
บุญเลิศ บุรีขันธ์
26 ม.ค. 2024
บุญเลิศ บุรีขันธ์
26 ม.ค. 2024
ปริญญ์ รุจิรัชกุล
30 มิ.ย. 2024
บ้านโพนสวรรค์

เดิมชื่อบ้านห้วยลึก แต่ได้เกิดอภินิหารขึ้นคือที่วัดห้วยลึกกล้วยต้นหนึ่งตกปลีเจ็ดลูก ทำให้ชาวบ้านแตกตื่นเพราะกลัวภัยพิบัติมาถึง จึงนำเรื่องไปแจ้งขุนศรีวรราษฎร์ ซึ่งดำรงตำแหน่งพ่อเมืองท่าอุเทน ท่านจึงแนะนำราษฎรให้ทำบุญตักบาตรเพื่อล้างภัยที่เกิดขึ้น พอเสร็จพิธีทำบุญเรียบร้อยแล้ว ขุนศรีวรราษฎร์จึงเรียกประชุม ชาวบ้านอยากให้การทำบุญครั้งนี้เป็นสิริมงคลยิ่งขึ้น จึงขอเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านจากบ้านห้วยลึกเป็นบ้านโพนสวรรค์ถึงปัจจุบัน


ชุมชนชาวญ้อ ผู้คนในชุมชนมีภาษาพูดของตนเองในการสื่อสารระหว่างกัน เรียกว่า ภาษาญ้อ มีวิถีชีวิตผูกพันกับธรรมชาติ มีวิถีวัฒนธรรมตามฮีตสิบสองคองสิบสี่ตามแบบชาวอีสาน

โพนสวรรค์
หมู่ที่ 1
โพนสวรรค์
โพนสวรรค์
นครพนม
48190
17.4512
104.4514
องค์การบริหารส่วนตำบลโพนสวรรค์

มีคำเล่ากันต่อมาว่าเมื่อประมาณ พ.ศ. 2376 มีกลุ่มชนหนึ่งซึ่งเรียกตนเองว่า ชาวญ้อ” ซึ่งมีประมาณ 5-6 ครอบครัว สันนิษฐานว่ากลุ่มคนดังกล่าวจะอพยพมาจากเมืองปุงลิง พร้อมกับชาวท่าอุเทนมาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่ใกล้บริเวณลำน้ำอิเพิ่ม ซึ่งเป็นลำน้ำที่มีความยาวคลุมพื้นที่บ้านเสาเล้าถึงบ้านท่าเรืออีก 8-10 ปี ต่อมากลุ่มชนที่เรียกตนเองว่า ชาวญ้อ นี้มีจำนวนมากขึ้นถึง 10 ครัวเรือนจึงตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้นเรียกว่าบ้านอิเพิ่ม

โดยเหตุที่พื้นที่ตั้งหมู่บ้านดังกล่าวเป็นป่าทึบ ประชาชนจึงเกิดเป็นไข้ป่าและล้มตายเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านเชื่อกันว่าการตายเป็นการกระทำของผีป่าจึงเกิดความกลัวและพยายามหาที่พักใหม่ โดยอพยพลงมาทางใต้ของห้วยอิเพิ่มห่างจากที่เดิมประมาณ กิโลเมตร และตั้งที่อยู่ใหม่เรียกว่าบ้านสร้างท่าแคนริมห้วยทวยบริเวณใกล้สะพานข้ามห้วยทวยเชื่อมหมู่บ้านโพนสวรรค์ถึงบ้านท่าเรือและย้ายไปตั้งหลักแหล่งที่ริมห้วยลึกอยู่ทางทิศใต้ของลำห้วยทวย ประมาณ 20 ครอบครัว มีผู้อพยพเข้ามาเรื่อยๆได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านห้วยลึก” และเริ่มจับจองที่ดินที่ทำมาหากินตั้งเริ่มแรกจากบ้านอิเพิ่ม

พระสงฆ์องค์หนึ่งชื่อ พระชาหุน ได้เป็นผู้นำท่านได้นำสมบัติมีค่าชิ้นหนึ่งคือกองเพลใบใหญ่ ซึ่งปัจจุบันเก็บไว้ที่บ้านหนองสะโน ราว พ.ศ. 2454 พระชาหุนมรณภาพ ชาวบ้านจึงได้ปลุกศาลพระภูมิอัญเชิญดวงวิญญาณของท่านได้ไปปกปักรักษาอาณาประชาราษฎร์ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของหมู่บ้านเรียกว่า ดอนหา ราว พ.ศ. 2459 ได้สร้างสำนักสงฆ์ตามกฎหมายและได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้นในปี พ.ศ. 2482 (ต่อมาได้สร้างเป็นโรงเรียนปริยัติธรรมในปัจจุบัน) ตั้งเป็นวิสุงคามสีมาและตั้งภัทรสีมา เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2492

เนื่องจากชาวญ้อกลุ่มนี้ มีวิวัฒนาการขนบธรรมเนียมประเพณี จากอำเภอท่าอุเทนจึงนำมาพัฒนาหมู่บ้านให้เจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว มีเชื้อเจ้าขุนมูลนายมาอยู่ด้วยทำให้คนหมู่นี้เป็นที่นับถือของหมู่บ้านใกล้เคียง และได้มีหัวหน้าการปกครองมีศักดิ์เป็นกำนันคนแรกคือ พ่อเก้ากล่อม สุวันคำ

ส่วนคนปัจจุบันคือ นายราชัน รามพันซะ เมื่อตั้งหมู่บ้านห้วยลึกได้ประมาณ 30 ปี ได้เกิดอภินิหารขึ้นคือที่วัดห้วยลึกมีต้นกล้วยต้นหนึ่งตกปลีถึงเจ็ดลูก ทำให้ชาวบ้านแตกตื่นเพราะกลัวภัยพิบัติมาถึง จึงนำเรื่องไปแจ้งขุนศรีวรราษฎร์ ซึ่งดำรงตำแหน่งพ่อเมืองท่าอุเทน

ท่านจึงแนะนำราษฎรให้ทำบุญตักบาตร เพื่อล้างภัยที่เกิดขึ้น พอเสร็จพิธีทำบุญเรียบร้อยแล้ว ขุนศรีวรราษฎร์จึงเรียกประชุม ชาวบ้านอยากให้การทำบุญครั้งนี้เป็นสิริมงคลยิ่งขึ้น จึงขอเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านจากบ้านห้วยลึก เป็นบ้านโพนสวรรค์ถึงปัจจุบัน

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดกับ ชุมชนลำห้วยทวย                           
  • ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านนาซอ
  • ทิศใต้ ติดกับ ป่าสงวนแห่งชาติ                               
  • ทิศตะวันออก ติดกับ หนองหญ้าปล้อง

หลังจากการยกระดับฐานะเป็นตำบลเมื่อ พ.ศ. 2456 และเป็นกิ่งอำเภอ พ.ศ. 2529 เป็นอำเภอ พ.ศ. 2535 ในปัจจุบันมีสภาพอาคารบ้านเรือนที่มั่นคงแข็งแรง มีที่ดินเอกสารสิทธิ์

มีสถานศึกษาในชุมชน มีศูนย์เด็กเล็กวัดศรีทอง โดยการสนับสนุนจากเทศบาลโพนสวรรค์ มีโรงเรียนบ้านโพนสวรรค์ เปิดสอนระดับอนุบาล 1 ถึง ป.6 และโรงเรียนโพนสวรรค์ราษฎร์พัฒนา ม.1 ถึง ม.6

การสัญจรไปมาสะดวกมีถนนลาดยางของทางหลวงแผ่นดินพระเลข 2028 และถนนคอนกรีตภายในชุมชน มีระบบไฟฟ้า ประปาสะดวกสบาย

หลังจากการอพยพมาตั้งถิ่นฐาน จนพัฒนามาเป็นบ้านเมืองขยับขยายมาเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็วจนถึงปี พ.ศ. 2456 ก็ได้ยกฐานะให้เป็นตำบลพร้อมกับอีก 10 ตำบล และในปีต่อมา ทางการได้ยุบเมืองไชยบุรี เป็นตำบล ให้ขึ้นตรงต่อเมืองท่าอุเทนตั้งตำบลเพิ่มอีก 13 ตำบล ใน พ.ศ. 2457 

ข้อมูลประชากรจากที่ว่าการอำเภอโพนสวรรค์ พ.ศ. 2566 บ้านโพนสวรรค์ได้แบ่งการปกครองออกเป็น 5 หมู่บ้าน ม.1 มีประชากร 374 ม.5 บ้านโพธ์ศรีมีประชากร 834 คน ม.11 มีประชากร 534 คน ม.12 มีประชากร 912 ม.14 มีประชากร 700 คน รวม 3354 คน และรวมไทญ้อทั้งอำเภอโพนสวรรค์ ทั้งหมด 50 หมู่บ้าน รวมประชากรทั้งหมด 30765 คน

ญ้อ

ผู้คนในชุมชนโพนสวรรค์ มีการรวมกลุ่มกันแบบเป็นทางการ ประกอบด้วย กลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน กลุ่มปลูกเห็ดขอนขาว กลุ่มแม่บ้านทำขนมไทย กลุ่มอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้าน กลุ่ม อ.ส.ม และกลุ่มแบบไม่เป็นทางการอีกหลายกลุ่ม กลุ่มพิธีกรรมต่าง ๆ ตามประเพณีพื้นบ้าน กลุ่มอนุรักษ์ป่าบุ่งป่าทามหนองนาแซง เช่น พิธีสู่ขวัญข้าว สรงน้ำพระพุทธรูป พิธีอัญเชิญพระเวสสันดร พิธีไหลเรือไฟ พิธีเลี้ยงปู่ตา

 วิถีทางวัฒนธรรม ฮีตสิบสองคองสิบสี่ ฮีตยี่คองเจียง

ปราชญ์ชาวบ้านทางด้านจักสาน

นายคำหยาด ใยสุวงศ์

เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2493 อาศัยอยู่ ม.1 ต.โพนสวรรค์ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม เป็นบุตรของ นายม้าว ใยสุวงศ์ นางจำปา ใยสุวงศ์ สมรสกับนางจำปา ออทอสี

ปราชญ์ชาวบ้านด้านพิธีกรรมและความเชื่อ

นายมานิตย์ กุลยะ

เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2492 อาศัยอยู่ ม.11 ต.โพนสวรรค์ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม เป็นบุตรของ นายสุภา และนางทิพย์ กุลยะ สมรสกับนางอุดม กุลยะ

ไทญ้อที่มีทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ทั้งวิถีชีวิตประเพณีและความเชื่อโดยยึดหลักของธรรมชาติและเหนือธรรมชาติ และการประกอบพิธีศพ ประเพณีแต่งงาน ประเพณีบุญพระเวสสันดร สงกรานต์ ไหลเรือไฟและประเพณีต่าง ๆ ตามฮีตสิบสองคองสิบสี่ไว้ได้อย่างเหนียวแน่น

ชาวโพนสวรรค์ และชาวไทญ้อ ยังใช้ภาษาถิ่นเป็นภาษาพูดในติดต่อสื่อสารกันระหว่างกลุ่มไทญ้อด้วยกันและกับกลุ่มอื่นบุคคลภายนอก ที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัวที่เรียกว่า ภาษาญ้อ


จากการเปลี่ยนรูปแบบเศรษฐกิจแบบหาเลี้ยงชีพเป็นการรูปแบบเศรษฐกิจเพื่อการค้าโดยนำผลผลิตที่ทำเพื่อบริโภคจากดั้งเดิม เป็นการค้าและพึ่งพาปัจจัยภายนอกมากขึ้น จึงสุ่มเสี่ยงต่อการดำรงอยู่ของวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม


ปัจจุบันมีการพัฒนาของระบบการศึกษาที่เน้นไปทางด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไปจึงอาจทำให้ไม่สามารถควบคุมถึงแนวทางในการศึกษาศักยภาพชองชุมชนและพิธีกรรมต่าง ๆ เริ่มเปลี่ยนแปลงไป เช่น ทางด้านภาษา ด้านวัฒนธรรมของวิถีดังเดิมทั้งภาษาพูดการดำเนินชีวิตจึงส่งผลต่อการสูญหาย


การประกอบพิธีกรรม ประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ กลุ่มเสี่ยงที่จะถูกกลืนกลายพอสมควร สืบเนื่องมาจากความเจริญทั้งด้านเทคโนโลยีและวิวัฒนาการของโลกทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเปิดเผยมากขึ้น ทุกคนเข้าถึงสื่อได้หมด ถ้ารู้จักเท่าทันวิวัฒนาการเหล่านี้ก็จะเป็นประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์ตัวเอง แต่ถ้ารีบเอาโดยไม่แยกแยะและเอาไปใช้ในทางที่ผิดก็จะทำให้เกิดผลเสียต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2567). รายงานโครงการสำรวจและจัดการข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ไทญ้อ ปีงบประมาณ 2567. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

อบต.โพนสวรรค์ โทร. 0-4259-5131