Advance search

ชุมชนอีสานดั้งเดิมที่รักษาขนบทำเนียมประเพณีอย่างเหนียวแน่น

โหรา
โหรา
อาจสามารถ
ร้อยเอ็ด
วุฒิกร กะตะสีลา
28 พ.ค. 2024
ณัฐพล นาทันตอง
20 มิ.ย. 2024
วุฒิกร กะตะสีลา
1 ก.ค. 2024
บ้านโหรา

ชื่อชุมชนมาจากหนองน้ำสำคัญในชุมชนคือ หนองฮาหรือหนองโหรา


ชุมชนชนบท

ชุมชนอีสานดั้งเดิมที่รักษาขนบทำเนียมประเพณีอย่างเหนียวแน่น

โหรา
โหรา
อาจสามารถ
ร้อยเอ็ด
45160
15.83460154
103.7893988
องค์การบริหารส่วนตำบลโหรา

ชุมชนบ้านโหราตั้งขึ้นมาเมื่อใดนั้นไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด คาดว่าเริ่มก่อตั้งชุมชนเมื่อประมาณ พ.ศ. 2455 เมื่อนายขุนปากดี (นายขุน โหรานิคม) อพยพมาจากบ้านแคนจับจองที่ดินและหักร้างถางพงบริเวณด้านทิศเหนือของหนองฮา (หนองโหรา) เป็นที่ทำกินและจับจองบริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหนองโหราเป็นที่ตั้งบ้านเรือนต่อมาจึงชวนเพื่อนบ้านอพยพเข้ามาในพื้นที่ด้วย เห็นว่าพื้นที่บริเวณดังกล่าวเหมาะในการตั้งถิ่นฐานเนื่องจากเป็นที่ดอนอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ สะดวกในการหาอาหาร พื้นที่บางแห่งเป็นบริเวณที่ลุ่มน้ำท่วมขังสามารถใช้เป็นแหล่งน้ำทำนาปลูกข้าวได้ จึงเริ่มมีการอพยพมาอยู่ร่วมกันกับนายขุนปากดี ประมาณ 7 ครอบครัว ได้แก่ ครอบครัวของนายเกต นายหลวงลอยอ นายเบ้า นายจารย์คำ นางทุมมา นายวัดและนายทำ ต่างเข้ามาถางป่าและจับจองที่ทำกิน ต่อมามีการตั้ง นายขุนปากดีเป็นผู้ใหญ่บ้าน (สุริยน จันทรนคร, 2537 : 44-45)

ชุมชนบ้านโหรา ตั้งอยู่บนสันดอนของลูกคลื่นลูกระนาดด้านทิศตะวันออกของแหล่งน้ำขนาดใหญ่ถัดจากดอนปู่ตา มีการแบ่งคุ้มทั้งหมด 3 คุ้มคือ คุ้มกลาง คุ้มโนนตูมและคุ้มหนองเรือ

อาณาเขตของชุมชน

  • ทิศเหนือ ติดกับ ดอนข่อยและชุมชนบ้านหนองหว้า
  • ทิศใต้ ติดกับ ห้วยใส้ไก่
  • ทิศตะวันออก ติดกับ ทุ่งหนองขี้หมาและชุมชนบ้านแคน
  • ทิศตะวันตก ติดกับ ร่องน้ำห้วยไส้ไก่และชุมชนบ้านหนองหมู

ประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนในวัฒนธรรมลาว (อีสาน)

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชุมชนรักษาฮีตคองตามรูปแบบของคนอีสานคือ มีประเพณีตามฮีตสิบสอง

  • เดือนมกราคม การทำบุญสู่ขวัญข้าว การทำบุญปีใหม่
  • เดือนกุมภาพันธ์ ข้าวจี่
  • เดือนมีนาคม ประเพณีบุญผะเหวด
  • เดือนเมษายน เทศกาลสงกรานต์
  • เดือนพฤษภาคม บุญบั้งไฟ
  • เดือนมิถุนายน บุญเลี้ยงบ้าน
  • เดือนกรกฎาคม วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา
  • เดือนสิงหาคม บุญข้าวประดับดิน
  • เดือนกันยายน บุญข้าวสาก
  • เดือนตุลาคม บุญออกพรรษา
  • เดือนพฤศจิกายน  บุญกฐิน บุญลอยกระทง
  • เดือนธันวาคม เทศกาลปีใหม่  

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

พิพิธภัณฑ์เกวียนโบราณบ้านโหรา พิพิธภัณฑ์เกวียนโบราณบ้านโหราตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดบ้านโหราบ้าน เลขที่ 69 หมู่ 2 ต.โหรา อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด พิพิธภัณฑ์นี้เกิดขึ้นจาก พระครูโอภาส บุญญาภรณ์ มีแนวความคิดที่จะอนุรักษ์เกวียนในแต่ละยุคสมัยไว้เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชนและผู้ที่สนใจ ดังนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2546 ท่านพระครูเดินทางไปตามจังหวัดต่าง ๆ หรือหมู่บ้านต่าง ๆ ตามกิจนิมนต์ของชาวบ้าน เมื่อพบเกวียนที่ชาวบ้านจอดทิ้งไว้หรือกองรวมกันไว้ท่านพระครูจึงเข้าไปสอบถามและขอบริจาค บางครั้งก็ได้มาจากการซื้อด้วยเงินส่วนตัว รวมไปถึงเงินที่ชาวบ้านโหราร่วมกันบริจาคเพื่อเป็นทุนสนับสนุนให้ท่านพระครูนำไปจัดซื้อเกวียนเข้ามาตั้งไว้ในวัด

สภาพของพิพิธภัณฑ์ในระยะแรกนั้น มีเกวียนทั้งหมดที่ประกอบเป็นรูปเป็นร่างสมบูรณ์แบบ จำนวน 16  เล่มเกวียน เป็นเกวียนประเภทต่าง ๆ เช่น เกวียนของชาวบ้านที่ใช้ในการบรรทุกสิ่งของหรือเดินทาง เกวียนของเจ้านายหรือขุนนางที่ใช้ในการเดินทางไปมาหาสู่กันระหว่างเมือง เป็นต้น พิพิธภัณฑ์เกวียนโบราณ เป็นแหล่งรวบรวมของใช้ในสมัยโบราณในท้องถิ่น ไม่ได้เก็บรวบรวมเฉพาะเกวียนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงของใช้โบราณอื่น ๆ  อีก เช่น ไถ แอก ตะเกียง ถ้วย ชาม ไห เป็นต้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นสืบทอดความเป็นอยู่ให้ลูกหลานได้เรียนรู้

คนในชุมชนบ้านโหราใช้ภาษาอีสานในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

สุริยน จันทรนคร. (2537)บทบาทของบวร (บ้าน วัด โรงเรียน) ในการพัฒนาชุมชน ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านโหรา อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยามหาบัณฑิตภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย