Advance search

ชุมชนชาวโย้ยที่อากาศอำนวยได้มีการจัด "วันไทโย้ย" ในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 เพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษ เป็นประจำทุกปี วันไทโย้ยจึงถือเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองชาติพันธุ์และเผยแพร่อัตลักษณ์ของชาวไทโย้ยต่อสาธารณชน ซึ่งนับว่าเป็นเทศกาลสำคัญที่ชาวไทโย้ยที่มีความโดดเด่นและปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจนในปัจจุบัน

อากาศ
อากาศ
อากาศอำนวย
สกลนคร
ทต.อากาศอำนวย โทร. 0-4279-9055
วีระพงษ์ แง่มสุราช
25 ต.ค. 2023
ประดิษฐ์ คิอินธิ
30 ต.ค. 2023
ศิวกร สุปรียสุนทร
1 ก.ค. 2024
บ้านอากาศ


ชุมชนชาวโย้ยที่อากาศอำนวยได้มีการจัด "วันไทโย้ย" ในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 เพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษ เป็นประจำทุกปี วันไทโย้ยจึงถือเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองชาติพันธุ์และเผยแพร่อัตลักษณ์ของชาวไทโย้ยต่อสาธารณชน ซึ่งนับว่าเป็นเทศกาลสำคัญที่ชาวไทโย้ยที่มีความโดดเด่นและปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจนในปัจจุบัน

อากาศ
อากาศ
อากาศอำนวย
สกลนคร
47170
17.59259370677192
103.97874400019646
เทศบาลตำบลอากาศอำนวย

แต่เดิมกลุ่มชาติพันธุ์ไทโย้ยตั้งบ้านเรือนอยู่ที่มณฑลไกวเจา กวางสี ประเทศจีน ชาวจีนจะเรียกโย้ยว่า "สร้อง" ส่วนในเวียดนามจะเรียกโย้ย ว่า "โด้ย" ตามตำนาน ระบุว่า กลุ่มโย้ยได้อพยพย้ายถิ่นฐานในช่วงที่เกิดศึกเจือง ซึ่งเป็นการทำสงครามระหว่างแคว้นซำเหนือกับไทหว่า ในการอพยพขณะนั้นมีพญาท้าวยี่หรือท้าวเจือง เป็นหัวหน้ากลุ่มในการอพยพ มาตั้งถิ่นฐานที่บริเวณบ้าน "ห้อมท้าวฮูเซ" หรือ "ฮ่อมท้าวฮูเซ" แขวงคำม่วน สปป.ลาว (พรรณอร อุชุภาพ, 2538 : 36) จากนั้นได้อพยพมาฝั่งขวาแม่น้ำโขงในช่วงสงครามระหว่างเวียงจันท์กับกรุงเทพฯ ที่เกิดจากกรณีของเจ้าอนุวงศ์หรือไชยราชาธิราชที่ 3 (พ.ศ. 2369-70) ได้กระด้างกระเดื่องต่อกรุงเทพฯ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อกองทัพกรุงเทพฯ ปราบกบฏแล้วเสร็จได้เกลี้ยกล่อมและกวาดต้อนผู้คนจากฝั่งซ้ายให้ข้ามมาอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขง รวมทั้งกลุ่มไทโย้ยซึ่งมีท้าวสีสุราช ท้าวจันทนาม ท้าวนามโคดเป็นผู้นำได้อพยพไพร่พล ประมาณ 2,339 คนเข้ามาอาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำศรีสงครามและแม่น้ำยามตามลําดับ จนกระทั่งได้ตั้งถิ่นฐานบริเวณ "บ้านม่วงริมยาม" ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ระหว่างเมืองไชยบุรี เมืองท่าอุเทน สปป.ลาว กับเมืองสกลนครซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับเมืองนครพนม ประเทศไทย (กองจดหมายเหตุแห่งชาติ, 2396 : เลขที่ 31)

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2503 : 430) ได้กล่าว ถึงผู้คนกลุ่มต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในท้องที่มณฑลอุดรและมณฑลอีสานเมื่อทรงประสบเจอคราวที่พระองค์ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย คราวเสด็จฯ ตรวจราชการหัวเมืองในปี พ.ศ. 2449 ซึ่งมีกลุ่มไทโย้ยด้วย โดยมีใจความสำคัญว่า "พวกโย้ยอยู่ที่เมืองอากาศอำนวยโดยขึ้นกับเมืองสกลนครถามไม่ได้ความว่ามาจากถิ่นแถวไหน" ในช่วงเวลาต่อมาได้มีงานศึกษาที่ระบุว่า "โย้ย" เป็นคนไทกลุ่มหนึ่งซึ่งอพยพมาจากทางซ้ายของแม่น้ำโขง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในภาคอีสานบริเวณอำเภอวานรนิวาสและอำเภออากาศอำนวย ไทโย้ยมีรูปร่างเหมือนกับคนไทย แตกต่างเพียงสำเนียงพูด ตามประวัติศาสตร์เล่าว่า ไทโย้ยได้อพยพมาจากทางซ้ายของแม่น้ำโขงเข้ามาในพื้นที่ประเทศไทยหลายระลอก โดยเฉพาะใน พ.ศ. 2321 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อครั้งที่ยกกองทัพเข้าตีเมืองเวียงจันทน์และหัวเมืองบริวารได้กวาดต้อนผู้คนจำนวนมากให้มาตั้งบ้านเรือนในเมืองต่าง ๆ เช่น กรุงธนบุรี (ลัดดา พนัสนอก, 2538)

ต่อมาใน พ.ศ. 2380 ท้าวสีสุราช ท้าวจันทนาม ท้าวนามโคตร พร้อมไพร่พลจำนวนประมาณสองพันคนได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาในประเทศไทยเพื่อหาที่ตั้งบ้านเรือน โดยเลือกแหล่งที่มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะแหล่งน้ำ จึงได้เลือกพื้นที่บริเวณลำน้ำยามซึ่งเป็นลำน้ำย่อยของแม่น้ำสงครามเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสำหรับการตั้งถิ่นฐาน และเรียกว่า "บ้านม่วงริมน้ำยาม" เนื่องจากเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่มีลำน้ำยามไหลผ่าน ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านม่วงริมยามเป็น "เมืองอากาศอำนวย" โดยแต่งตั้งท้าวสีสุราชเป็นผู้ครองเมือง มีฐานะเป็นเมืองขึ้นกับจังหวัดนครพนม (ลัดดา พนัสนอก, 2538) สอดคล้องกับงานศึกษาของกิตติรัช พงษ์สิทธิศักดิ์ (2540) ที่ระบุว่าว่า ไทโย้ยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มไท-ลาว มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่เมืองภูวา (ภูวดลสอางค์) ใกล้เมืองมหาชัยกองแก้วและเมืองห้อมท้าว ปัจจุบันอยู่ในแขวงคำม่วน สปป.ลาว เมื่อเกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ผู้คนหลายกลุ่มชาติพันธุ์ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง รวมทั้งไทโย้ยได้ถูกกวาดต้อนเข้ามาทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขงเป็นจำนวนมาก โดยเมืองสกลนครได้ตั้งให้ราชวงค์อิน ซึ่งมีความคุ้นเคยกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อาศัยบริเวณฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้มาอาศัยอยู่ที่สกลนคร โดยให้สัญญาว่าเมื่อพาไพร่พลจำนวนมากอพยพมาอยู่แล้ว จะได้รับที่ดินทำมาหากินตั้งเป็นบ้านเป็นเมือง จะมีการปูนบำเหน็จรางวัล และพระราชทานยศถาบรรดาศักดิ์ให้ตามสมควร ทำให้บรรดาอุปฮาดราชวงค์ ท้าวเพี้ย กรมการเมืองต่าง ๆ เกิดความต้องการ จึงได้ปรึกษาหารือกันและอพยพผู้คนมาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดสกลนครจำนวนมาก กลุ่มไทโย้ยที่อพยพเข้ามาในช่วงเวลานั้นแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ดังนี้

กลุ่มแรก เป็นชาวไทโย้ยที่อพยพมาจากเมืองห้อมท้าว มีท้าวติ้วซอยเป็นหัวหน้าพร้อมด้วยท้าวสีสุราช ท้าวจันทนาม และท้าวนามโคตร ได้พาผู้คนจำนวน 2,339 คน ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านม่วงริมห้วยยาม ต่อมาใน พ.ศ. 2380 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านม่วงริมยามขึ้นเป็นเมืองอากาศอำนวยขึ้นต่อเมืองนครพนม และแต่งตั้งให้ท้าวสีสุราชเป็นหลวงผลานุกูล ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองอากาศอำนวยคนแรก ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้โอนมาขึ้นต่อเมืองสกลนคร และลดฐานะเป็นอำเภออากาศอำนวยนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

กลุ่มที่สอง เป็นชาวไทโย้ยที่อพยพติดตามพระสุนทรราชวงศา มาตั้งถิ่นฐานอยู่เมืองยโสธร ใน พ.ศ. 2396 โดยมีท้าวจารย์โสมเป็นหัวหน้า ชาวไทโย้ยกลุ่มนี้ตั้งชุมชนอยู่ที่บ้านกุดลิงในท้องที่อำเภอเสลภูมิ ติดกับอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ต่อมาใน พ.ศ. 2404 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ยกบ้านกุดลิงขึ้นเป็นเมืองวานรนิวาสขึ้นต่อเมืองยโสธร พระราชบรรดาศักดิ์ท้าวจารย์โสมเป็นหลวงประชาราษฎร์รักษาตำแหน่งเจ้าเมือง ต่อมาไทโย้ยกลุ่มนี้ได้อพยพมาอยู่ที่บ้านกุดแฮ่ชุมภู ตำบลแร่ อำเภอพรรณนานิคมและได้ย้ายไปอยู่ที่ชุมแสงหัวนา ซึ่งเป็นที่ตั้งอำเภอวานรนิวาสในปัจจุบัน

กลุ่มที่สาม เป็นชาวไทโย้ยที่อพยพมาจากเมืองภูวาใกล้เมืองมหาชัยกองแก้ว มีท้าวเทพกัลยา เป็นหัวหน้า ได้รับอนุญาตจากเจ้าเมืองสกลนครให้ตั้งบ้านเรือนที่บ้านโพธิ์สว่างหาดยาวริมน้ำปลาหาง ใน พ.ศ. 2405 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท้าวเทพกัลยาเป็นพระสิทธิศักดิ์ประสิทธิ์ดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง และยกบ้านโพนสว่างหาดยาวริมน้ำปลาหางขึ้นเป็นเมืองสว่างแดนดินขึ้นกับเมืองสกลนคร ปัจจุบันคือ บ้านสว่างเก่า อำเภอพรรณนานิคม) ต่อมาได้ย้ายเมืองสว่างแดนดินมาตั้งที่บ้านเดื่อศรีคันไชยริมห้วยปลาหาง (ปัจจุบันคือ บ้านเดื่อศรีคันไชย อำเภอวานรนิวาส) จากนั้นใน พ.ศ. 2424 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ย้ายจากบ้านเดื่อศรีคันไชยไปอยู่ที่บ้านโคกสี (ปัจจุบันคือ ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน) ในเวลาต่อมาได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานที่บ้านหัน อำเภอสว่างแดนดิน (กิตติรัช พงษ์สิทธิศักดิ์, 2540 : 29-30)

นอกจากนี้ยังมีชุมชนชาวไทโย้ยขนาดเล็กที่กระจัดกระจายในพื้นที่อำเภออากาศอำนวย อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอวานรนิวาส และอำเภอพังโคน เช่น กลุ่มไทโย้ยที่ยังหลงเหลือที่บ้านเดื่อศรีคันไชย ซึ่งเดิมบ้านเดื่อศรีคันไชยนั้นมีครอบครัวอยู่ประมาณ 10 ครอบครัว ซึ่งอพยพมาจากบ้านสว่างเก่า (บ้านโพนสว่างหาดยาว) นำโดยปู่ฝ่าย และย่ารีย์ ต่อมาท้าวเทพกัลยาได้ย้ายเมืองสว่างแดนดินตามมาตั้งที่บ้านเดื่อศรีคันไชย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งมีลักษณะเป็นเนินดินขนาดใหญ่ มีน้ำปลาหางไหลผ่าน ทางทิศเหนือ มีที่ดินสำหรับเลี้ยงสัตว์เพราะเป็นป่าโคก มีพันธุ์ไม้หลายชนิดสามารถนำมาก่อสร้างเป็นบ้านเรือนได้ และใช้เป็นแหล่งอาหารผืนป่านั้นมีสัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์มาก ด้านทิศตะวันออกมีที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ มีห้วยไผ่ไหลผ่านเหมาะสำหรับการทำนาทำไร่ ส่วนด้านทิศใต้และทิศตะวันตกมีแม่น้ำปลาหางไหลผ่าน เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับทำสวนผัก ทำนาและเป็นแหล่งอาหาร และทำประมงเป็นอย่างดี ซึ่งบ้านเดื่อศรีคันไชยนั้นมีเจ้าเมืองปกครองคนแรก คือ ท้าวเทพกัลยา (พระเทพประสิทธิ์) และเจ้าเมืองปกครองติดต่อกันมาหลายคน ซึ่งที่มีชื่อเสียงคือขุนศรีคันไชย จึงได้เป็นที่มาของชื่อบ้านเดื่อศรีคันไชย เพราะทางเข้าหมู่บ้านมีต้นมะเดื่อต้นใหญ่มีใบปกคลุมหนาแน่นตลอดทั้งปี ส่วนคำว่า "ศรีคันไชย" มาจากชื่อดาบอาญาสิทธิ์ของเจ้าเมืองจึงนำมาต่อกันเป็นชื่อเมืองว่า "เดื่อศรีคันไชย" ส่วนปู่ฝ่ายและย่ารีย์ผู้บุกเบิกการตั้งบ้านเป็นกลุ่มแรกนั้น ได้เป็นต้นตระกูล "ฝ่ายรีย์" ซึ่งมีคนใช้นามสกุลนี้จำนวนมากในบ้านเดื่อศรีคันไชย ปัจจุบันบ้านเดื่อศรีคันไชยมีฐานะเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 60 กิโลเมตร บนถนนสายพังโคน-บึงกาฬและอยู่ห่างจากอำเภอวานรนิวาสประมาณ 28 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอพังโคน 6 กิโลเมตร โดยมีลำห้วยปลาหางเป็นเส้นกั้นเขตแดน (กิตติรัช พงษ์สิทธิศักดิ์, 2540: 31-32)

หรือในกรณีของชุมชนไทโย้ยที่บ้านโพน ตำบลหนองสนม อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เดิมอยู่ที่บ้านชาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่แยกออกจากบ้านวานรนิวาศตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของบ้านวานรนิวาส ประมาณ 1 กิโลเมตร สาเหตุที่ย้ายจากบ้านชาดเพราะเกิดโรคระบาด คือ โรคฝีดาษ บางส่วนย้ายกลับไปอยู่บ้านวานรนิวาส และบางส่วนอพยพไปอยู่ที่บ้านโพนแพง ซึ่งก่อตั้งขึ้นประมาณ พ.ศ. 2407 โดยกลุ่มคนรุ่นบุกเบิกได้ทำที่อยู่อาศัยในลักษณะ "ตูบ" หรือกระท่อมอยู่ริมน้ำยาม จึงได้เป็นที่มาของชื่อเรียกว่า "บ้านตูบหมู" เนื่องจากมีหมูป่าชุกชุม ปัจจุบันบ้านชาดได้กลายเป็นหมู่บ้านร้าง (สมศักดิ์ ศรีสันติสุข, 2540 : 33) จะเห็นว่า ชุมชนโย้ยล้วนมีพัฒนาการการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับบริบทและเงื่อนไขในแต่ละยุคสมัย โดยเฉพาะชุมชนไทโย้ยขนาดใหญ่ทั้งสามแห่ง คือ เมืองอากาศอำนวย เมืองวานรนิวาส และเมืองสว่างแดนดิน ซึ่งกรณีเมืองอากาศอำนวยนั้น หลังจากได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองใหม่ ต่อมาใน พ.ศ. 2457 รัฐเห็นว่าการคมนาคมและการติดต่อไปมาระหว่างอำเภออากาศอำนวยกับจังหวัดนครพนมมีความยากลำบากเพราะอยู่ห่างจากตัวจังหวัด จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองใหม่ โดยยุบอำเภออากาศอำนวยลงเป็นตำบลอากาศ แล้วให้ขึ้นต่อกับอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ก่อนจะย้ายให้มาขึ้นกับอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร แต่ยังปรากฏความพยายามที่จะตั้งเป็นอำเภอหรือกิ่งอำเภอขึ้นมาอีกครั้ง โดยการย้ายที่ตั้งตัวอำเภอและสถานที่ราชการอยู่หลายครั้ง

กระทั่งใน พ.ศ. 2506 จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ได้กลับไปยกฐานะบ้านอากาศขึ้นเป็นกิ่งอำเภออีกครั้ง โดยให้ขึ้นกับอำเภอวานรนิวาส ต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภออากาศอำนวยเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 จนถึงปัจจุบัน (ลัดดา พนัสนอก, 2538 : 12-13)

ปัจจุบันอำเภออากาศอำนวยนับว่าเป็นพื้นที่ที่มีชาวไทโย้ยอาศัยอยู่มากที่สุด โดยได้กระจุกตัวหนาแน่นแถบตำบลอากาศ ประกอบด้วย 18 หมู่บ้าน คือ บ้านอากาศ บ้านโพธิ์ไทรทอง บ้านดอนแดง บ้านนายอ บ้านหนองตาไก้ บ้านนายอใต้ รวมทั้งบ้านอากาศซึ่งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลอากาศอำนวย จำนวน 11 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 9, 10, 14, 15, 16,17 และ 18

ชุมชนโย้ยในหลายพื้นที่ทั้งชุมชนขนาดเล็กและชุมชนขนาดใหญ่ล้วนมีความพยายามในการธำรงรักษาอัตลักษณ์ด้วยการสืบสานและฟื้นฟูรากเหง้าทางประวัติศาสตร์และสร้างอัตลักษณ์ของตัวเองขึ้นมาใหม่ โดยมีการนำเสนอวัฒนธรรมผ่านวิธีการและรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการละเล่น ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรมต่างๆ ดังเช่น ชุมชนโย้ยที่อากาศอำนวยได้มีการจัด "วันไทโย้ย" ในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 เพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษ เป็นประจำทุกปีวันไทโย้ยจึงถือเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองชาติพันธุ์และเผยแพร่อัตลักษณ์ของชาวไทโย้ยต่อสาธารณชน ซึ่งนับว่าเป็นเทศกาลสำคัญที่ชาวไทโย้ยที่มีความโดดเด่นและปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจนในปัจจุบัน ภายในงานจะมีการแสดงรำบูชาถวายหอปู่ตา การแสดงแสง สี เสียง การเล่าเรื่องความเป็นมาของชาติพันธุ์ และขบวนแห่วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ของไทโย้ย รวมทั้งมีการประกวด แข่งขัน สาธิต การแสดงต่าง ๆ และการออกร้านจำหน่ายสินค้าอื่น ๆ เป็นต้น

อำเภออากาศอำนวยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 ตำบล 90 หมู่บ้าน มีเทศบาล 1 แห่ง คือ เทศบาลตำบลอากาศอำนวย ตำบลต่าง ๆ ในเขตปกครอง ได้แก่ ตำบลสามัคคีพัฒนา ตำบลบะหว้า ตำบลนาฮี ตำบลท่าก้อน ตำบลวาใหญ่ ตำบลโพนแพง ตำบลโพนงาม และตำบลอากาศ

ตำบลอากาศ เป็นตำบลหนึ่งในเขตการปกครองของอำเภออากาศอำนวย ประกอบด้วย หมู่บ้าน 12 หมู่บ้าน คือ บ้านดอนแดง, บ้านนายอ, บ้านเม่นใหญ่, บ้านนาเมืองใหญ่, บ้านหนองตาไก้, บ้านนาเมืองน้อย, บ้านนายอใต้, บ้านโพธิ์ไทรทอง และบ้านอากาศ อีก 4 หมู่บ้าน หมู่ 1, 10, 17, 18

ปัจจุบันอำเภออากาศอำนวยนับว่าเป็นพื้นที่ที่มีชาวไทโย้ยอาศัยอยู่มากที่สุด โดยได้กระจุกตัวหนาแน่นแถบตำบลอากาศ และเทศบาลตำบลอากาศอำนวย 

ชุมชนโย้ยในหลายพื้นที่ทั้งชุมชนขนาดเล็กและชุมชนขนาดใหญ่ล้วนมีความพยายามในการธำรงรักษาอัตลักษณ์ด้วยการสืบสานและฟื้นฟูรากเหง้าทางประวัติศาสตร์และสร้างอัตลักษณ์ของตัวเองขึ้นมาใหม่ โดยมีการนำเสนอวัฒนธรรมผ่านวิธีการและรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการละเล่น ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม

ไทโย้ย

ผู้คนในชุมชนชาวไทโย้ยมีการรวมตัวกันแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ประกอบด้วยกลุ่มต่าง ๆ เช่น กลุ่มสตรีสหกรณ์บ้านอากาศ กลุ่มสตรีทอผ้า กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมครามกลุ่มโรงเรียนผู้สูงอายุ/คนพิการ เพื่อส่งเสริมให้ครัวเรือนพัฒนาทักษะ ความรู้ความสามารถในด้านการผลิตการตลาดและการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อก้าวไปสู่การการเป็นผู้ประกอบการชุมชนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ประเพณีเทศกาลและพิธีกรรมสำคัญของชาวไทโย้ยมีลักษณะคล้ายคลึงกับชาวอีสานทั่วไป คือ การทำบุญฮีตสิบสองหรือประเพณีประจำเดือนซึ่งเป็นความเชื่อที่ผสมผสานระหว่างความเชื่อพุทธศาสนา ผีและวัฒนธรรมข้าว ฮีตสิบสอง มีดังนี้

  • เดือนอ้าย ทำบุญข้าวกรรม 
  • เดือนยี่ ทำบุญคูณลาน 
  • เดือนสาม บุญข้าวจี่ 
  • เดือนสี่ บุญพระเวส 
  • เดือนห้า บุญสงกรานต์ 
  • เดือนหก บุญบั้งไฟ 
  • เดือนเจ็ด บุญเลี้ยงอารักษ์หลักเมือง 
  • เดือนแปด บุญเข้าพรรษา 
  • เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน 
  • เดือนสิบ บุญข้าวสาก 
  • เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา
  • เดือนสิบสอง บุญกฐิน 

ทั้งนี้ฮีตหรือจารีตสิบสองเดือนที่ยังมีการสืบทอดกันอยู่จนกระทั่งปัจจุบัน มีดังนี้

  • บุญเข้ากรรม โดยจะทำในช่วงเดือนอ้าย ในเดือนนี้พระสงฆ์จะเข้ากรรม (ปริวาสกรรม) เพื่อให้พระสงฆ์ปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัย ไทโย้ยจะไปร่วมทำบุญที่วัดและทำบุญเลี้ยงผี "บุญคูณลาน" โดยทำในเดือนยี่จุดมุ่งหมายเพื่อความเป็นสิริมงคลกับข้าวใหม่ ในวันนี้จะมีการนิมนต์พระมาฉันอาหารเช้าที่นาและทำพิธีสู่ขวัญข้าว
  • บุญข้าวจี่ ทำในเดือนสาม พร้อมการทำบุญมาฆบูชา ช่วงเช้าจะนำข้าวเหนียวนึ่งมาปั้นใส่กับไม้แล้วจี่ไฟจนมีสีเหลือง ทาด้วยไข่ไก่หรือไข่เป็ดจนข้าวสุก พอสุกแล้วจะดึงไม้ที่ใช้จี่ออกจากปั้นข้าวแล้วนำน้ำอ้อยใส่เข้าไปในช่องว่างที่ดึงไม้ออก จากนั้นจึงนำไปทำบุญถวายพระที่วัดพร้อมด้วยอาหารคาวหวาน
  • บุญพระเวส (พระเหวด) ทำในเดือนสี่ โดยจะจัดให้มีการเทศน์มหาชาติ ถ่ายทอดประวัติของพระพุทธเจ้า เชื่อกันว่าถ้าใครได้ฟังเทศน์มหาชาติจนจบจะได้บุญกุศลมาก บุญพระเวสจะจัดขึ้นเป็นระยะเวลา 3 วัน คือ วันแรก (วันรวมหรือวันโฮม) เป็นวันจัดเตรียมงาน มีมหรสพสมโภช วันที่สอง วันแห่พระเวสสันดร นางมัทรี กัณหา ชาลี เข้าเมือง วันสุดท้าย วันฟังเทศน์มหาชาติและเทศน์แหล่ ในการเทศน์จะมี 13 กัณฑ์ (บท) ในแต่ละกัณฑ์จะมีโยมเจ้าภาพถวายกัณฑ์เทศน์เครื่องบริขารต่าง ๆ แก่พระสงฆ์ นอกจากนี้ยังอาจมีกัณฑ์หลอนซึ่งจัดทำขึ้นโดยไม่แจ้งล่วงหน้า
  • บุญสรงน้ำ ทำในเดือนห้า มีการสงฆ์น้ำพระจัดในวันขึ้น 15 ค่ำ ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ ในช่วงเวลา 16.00 น. พระจะตีกลองรวมหรือกลองโฮม เพื่อให้ชาวบ้านนำน้ำหอมมาที่วัด ทำพิธีสรงน้ำพระพุทธรูป วันต่อมาจะทำบุญเลี้ยงพระ และวันที่สามจัดให้มีการสรงน้ำพระ ในระหว่าง 3 วันนี้ไทยโย้ยจะเล่นน้ำอย่างสนุกสนาน
  • บุญวันวิสาขบูชา และ บุญบั้งไฟ ทั้งสองพิธีนี้จะทำในเดือนหก โดยบุญบั้งไฟทำขึ้นเพื่อขอฝน ส่วนบุญวันวิสาขบูชา ชาวบ้านจะไปทำบุญที่วัดและเวียนเทียนตอนกลางคืน
  • บุญซำฮะ (ชำระล้าง) บุญเดือนเจ็ด มีการทำบุญและเซ่นไหว้เทวดา หลักเมือง ผีปู่ตา และผีตาแฮก
  • บุญเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ชาวบ้านจะไปทำบุญตักบาตรและถวายผ้าอาบน้ำฝน ส่วนตอนกลางคืนจะทำพิธีเวียนเทียนที่วัด
  • บุญข้าวประดับดิน หรือ บุญเดือนเก้า ขึ้น 15 ค่ำเดือน 9 การทำบุญในวันนี้จะแบ่งอาหารออกเป็น 4 ส่วน คืออาหารถวายพระสงฆ์ อาหารไว้กินในบ้าน อาหารแบ่งให้ญาติ และอาหารอุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ในช่วงเช้ามืดจะนำอาหารที่อุทิศให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ได้แก่ ของหวาน 1 ห่อ ของคาว 1 ห่อ หมากพลูและบุหรี่ ไปวางไว้ตามบริเวณวัดและกรวดน้ำให้กับญาติที่เสียชีวิต จากนั้นจึงใส่บาตรพระและถวายอาหารเช้าแก่พระที่วัด
  • บุญข้าวสาก จัดเมื่อถึงวันเพ็ญเดือนสิบ โดยไทโย้ยจะทำบุญให้กับญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว และนำอาหารไปถวายพระที่วัด มีการกรวดน้ำอุทิศให้กับญาติที่เสียชีวิต เมื่อทำบุญแล้วจึงจะนำข้าวสากบางส่วนไปใส่ในนาเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดูแลนาและเพื่อความเป็นสิริมงคล ให้ข้าวเติบโตได้ผลผลิตงอกงาม ในวันนี้จะจัดแข่งขันเรือยาวกับไหลห้าน (ร้าน) บูชาไฟหรือ ไหลเรือไฟ ด้วย
  • บุญออกพรรษา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ภายหลังจากที่พระจำพรรษาครบ 3 เดือนแล้วในคืนนั้นจะการจัดงานจะปล่อยโคม จุดประทัด ส่วนพิธีทางศาสนา คือ ฟังพระเทศน์ เวียนเทียนที่วัด จะทำบุญติดต่อกันสามวันสามคืน
  • บุญทอดกฐิน ในปีหนึ่งจะทำเพียงหนึ่งครั้งเท่านั้น และในแต่ละวัดจะรับกฐินได้หนึ่งครั้งเท่านั้น
  • วันไทโย้ย ตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 จัดเป็นประจำทุกปีเพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษ โดยมีการนำเสนอวัฒนธรรมผ่านวิธีการและรูปแบบต่าง ๆ  ทั้งการละเล่น ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรมต่าง ๆ ดังเช่น การแสดงรำบวงสรวงถวายหอปู่ตา การแสดงแสง สี เสียง การเล่าเรื่องความเป็นมาของชาติพันธุ์ และขบวนแห่วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ของไทโย้ย (เริ่มจัดวันไทโย้ยในปี พ.ศ. 2557)

1.นายวีระพงษ์ แง่มสุราช

เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2500 อาศัยอยู่ หมู่ 1 ตำบลอากาศ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

พ.ศ. 2523 เป็นลูกจ้างหน่วยงานเจาะน้ำบาดาล กรมโยธาธิการ (ตำแหน่งคนงาน)

พ.ศ. 2536 ได้ลาออก เพื่อกลับมาอยู่บ้านเกิด 

พ.ศ. 2536 ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2536 เป็นลูกจ้างสุขาภิบาลฯ และได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลอากาศอำนวย ในปี พ.ศ.  2541 และได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพนักงานขับรถเครื่องจักรกลขนาดกลาง มีหน้าที่ขับรถยนต์ดับเพลิงของงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลอากาศอำนวย และได้ไปแสดงศิลปวัฒนธรรมการแสดงพร้อมคณะโย้ยสามวัย

พ.ศ. 2560 เกษียณตามวาระ

พ.ศ. 2560 ในเดือนตุลาคม ได้มาเป็นปราชญ์ชาวบ้านทางด้านศิลปวัฒนธรรมการแสดงดนตรี ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน เทศบาลตำบลอากาศอำนวย จนถึงปัจจุบัน และได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาวัฒนธรรมเทศบาลตำบลอากาศอำนวย

ทุนทางกายภาพ

คนโย้ยในสมัยนั้นเป็นสังคมเกษตร มีอาชีพทำนาเป็นหลัก การค้าขายนั้นมีน้อย ส่วนมากมีการแลกเปลี่ยนสินค้าทางการเกษตร และนำสินค้าไปขายต่างถิ่น ทำไร่ก็เป็นไร่ฝ้าย มีการทำสวนครามและสวนผักตามลำน้ำยาม (ปลูกผักสวนครัว) ส่วนการทำไร่ฝ้ายและการทำนามักจะทำตลอดปี 

บรรพบุรุษชาวโย้ยมักหาปลาตามลำน้ำยามเป็นหลัก รองลงมา คือ ห้วยหนอง คลอง บึง ซึ่งปัจจุบันนี้ยังมีการเรียกชื่อแหล่งน้ำบางแห่งอยู่ เช่น บ่ออ้อ สบห้วย น้ำจั้น บ่อลุบ หนองผักกูด หนองดินดำ วังดินดำ หนองปลาซวาย หนองผักแว่น หนองหวาย หนองลาดควาย เป็นต้น

ทุนวัฒนธรรม

ในส่วนของเครื่องมือในการจับปลาที่ยังกล่าวขานกันก็มี อาทิ ซวาง ส่อน ไซ จั่น ตุ้ม โทง ขา ลอบ เสือนอนกิน ผีน้อย ลัน แห มอง  แหลมสอด เบ็ดโก่ง เบ็ดคัน เบ็ดเผียก เบ็ดสะโน สุ่ม จะดุ้ง เป็นต้น

โดยมีการศึกษาว่า จะดักปลาชนิดใด ต้องใช้เครื่องมือชนิดใด เช่น ปลาไหล ต้องใช้ลันไปดัก ปลาค่าวต้องใส่ซวาง หรือ เบ็ดโก่ง เป็นต้น

1.ระบบเขียนภาษาโย้ย อักษรไทยจะไม่ใช้อักษรสูง เนื่องจากมีความซับซ้อนในการผันวรรณยุกต์

2.ระบบเสียงวรรณยุกต์ มี 4 เสียง ได้แก่ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา มีความแตกต่างจากภาษาไทยเล็กน้อย เนื่องจากเสียงตรีมีเสียงเอื้อนยาว และเสียงเอกมีเสียงหยักในลำคอ

3.พยัญชนะต้นเสียง "ญ" มีเสียงขึ้นจมูก มีความแตกต่างจากภาษาไทย

4.พยัญชนะต้นเสียง "ฮ" มีเสียงขึ้นจมูกเล็กน้อย

5.พยัญชนะต้นที่ไม่ออกเสียงในภาษาโย้ย ได้แก่ พยัญชนะ "ร" และ "ฟ"

6.สระที่มีความพิเศษและแตกต่างจากภาษาไทยในภาษาโย้ย ได้แก่ –า -ือ

คำควบกล้ำที่มีความแตกต่างจากภาษาไทย ได้แก่ กว  คว  งว  จว  ซว  ญว  ดว  ตว  ทว  ลว  ฮว

แบบช่วยจำ 21 คำสระพิเศษภาษาโย้ย 

โพ่ะญา-อื่อนุ้งเซื่อมา-อื่อ  ต่ากเพื๊อมคา-อื่อ  ตา-อื้อฮา-อื้อดา-อื๋อ 

ไป๋ซา-อื๋อมื๊อจั่งคา-อื้อ  ญ้อนเอ๋าบา-อื๋อจ่ะคา-อื๊อ  ม๊าซา-อื่อต้มตา-อื๋อ 

นา-อื๊อจา-อื๋อฮา-อื่อซา-อื้อพา-อื้อ  พา-อื๋อมา-อื๋อกา-อื้อ  บ่อแล่ลา-อื๋อ 

คำแปล  

พ่อใหญ่ใส่เสื้อใหม่ ตากพึ่งแห้ง ใต้แปลงนาใด 

ไปไหนมือถึงบวม ด้วยเพราะเอาใบหัวตะไคร้ มาใส่ต้มไต

ในใจอยากใช้ลูกสะใภ้ ใครใกล้จะปรับไหม ไม่ให้ตกใจเสียขวัญ

ตัวอย่างคำผูกแขนภาษาโย้ย

พิธีกรรมที่มีอยู่คู่กับภาษาโย้ย อำเภออากาศอำนวย มาตั้งแต่บรรพบุรุษ และสืบต่อกันมานานจนชั่วลูกชั่วหลาน เป็นพิธีกรรมสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้ที่ได้รับการผูกแขนในพิธีสู่ขวัญ และผูกแขนอวยพร ฉะนั้นจึงเป็นพิธีการสำคัญอย่างหนึ่งของชาวโย้ย  คำอวยพรหรือข้อความที่ให้พรกับผู้ที่รับการผูกแขนทุกคำจึงเป็นสิริมงคล ดังตัวอย่างคำผูกแขนดังนี้

ฮ้ายกว่าดนี๋ ฮ้ายกว่าดนี๋ ดี๋กว่าดเค่า ดี๋กว่าดเค่า ควั๋นเจ้าม๊าโฮ๊ม น๊อนลั๊บ ฮา-อื่อเจ้าได้เงิ๊นพั๊น น๊อนพั๋น ฮา-อื่อได้เงิ๊นมื่น น๊อนตื่น ฮา-อื่อได้เงิ๊นแซ๋น แบ๋นมื๊อม๊า ฮา-อื่อได้แก้วม่ะนี๊โซ๊ด โท่ดฮ้ายย่าม๊าพ๊าน ม๊านฮ้ายย่าม๊าเบี่ยด พี๋เบี่ยด ฮา-อื่อพี๋ต๋าย ค๊นเบี่ยด ฮา-อื่อค๊นต๋าย ม๊าม๊า ควั๋นเอย ฮา-อื่อเจ้าม๊ายู่ มั่นคื๊อด่านเค๋ากว๋าง ฮา-อื่อเจ้าม๊ายู่มั่นคื๊อค๊างมู๋เทื่อน เค่าะย่าได้เฮ๋น เค๋นย่าได้พ้อ ฮา-อื่อเจ้า ฮ๋ายพ่ะญ๊าดโล๊ค๊า ฮา-อื่อเจ้ามี๊ซั่กด๋านุ่พ่าบ ฮา-อื่อมี๊อ๋าญุ่ วั๊นน่ะ ซุ่ค่ะ พ่ะล๊ะ มั่นญื๊น มั่นญื๊น ซ๊าทุ่ พั๊งพื้นไท๊โย้ย พื้นเลื้องท้าวก๋ำพ้า

นา-อื๊อมู่บ้านนึ้ง มี๊ท้าวก๋ำพ้าโพ่ะเบ่ะต๋ายเบิ๊ด ยู่พู่เดี๋ยวนา-อื๋อตู่บน้อย เฮ๊ดไฮ้เฮ๊ดน๊าแล้วก่ะไป๋ ซา-อื่อลี่ ซา-อื่อไซ๊ ญ๊ามมื้อเซ่าก่ะไป๋ย๋ามคู่มื้อ แต่ซ๋องซ๋ามมื้อก่อนพ๊อไป๋ย๋ามไซ๊ก่ะคื๊อมี๊ค๊นม๊าลั่กย๋ามก่อนเล๊ยม๊าท่าจ่อบเบิ่ง ก่ะเฮ๋นเป๋นพี๋ก่องก่อยม๊าลั่กย๋ามกิ๋นป๋า นา-อื๊อไซ๊จ๋นเบิ๊ด จั่งแล้นอ่อกไป๋ไล่พี๋ก่องก่อย ฮา-อื่อนี๋ไป๋ พี๋ก่องก่อยบ่อนี๋แล้นเค่าม๊ากุ๋มป้ำเอ๋าท้าวก๋ำพ้าไป๋เป๋นพั๋วยู่ นา-อื๋อท่ำค๋องโต๋พู้เจ้า ญ๊ามน๊างพี๋ก่องก่อยอ่อกไป๋ฮ๋ากิ๋นแล้วเอ๋าม๊าต้อนท้าวก๋ำพ้าน๊ำ ท้าวก๋ำพ้ายู่กั๊บน๊างพี๋ก่องก่อยยู่ล๋ายเดื๋อน จั่งฮ๋าท๊างนี๋อ่อกแต่ท่ำแล้วแล้นนี๋ย่างไว๊ พ๊อน๊างพี๋ก่องก่อยล๊บม๊าแต่ฮ๋ากิ๋น บ่อเฮ๋นท้าวก๋ำพ้า จั่งแล้นน๊ำลั๋ง ม๊าทั๊นยู่ก๋างป่าเค่าเพื๋อมซ้อง ท้าวก๋ำพ้าพ๊อเฮ๋นน๊างพี๋ก่องก่อยแล้นน๊ำม๊าทั๊น ก่ะท๊ำท้าล้มล๊งน๊อนเฮ๊ดคื๊อต๋าย ด่อกเค่าล่นคุ๊ล๊ง ซา-อื่อก่ะโต๋จ๋นเต๋มไป๋เบิ๊ด พ๊อน๊างพี๋ก่องก่อยแล้นม๊าทั๊นก่ะเฮ๋นท้าวก๊ำพ้าน๊อนยู่ คึ๊ดว่าญั๊งบ่อต๋ายก่ะแล๊กซ่วงจ๊กเบิ่งก้น ท๊าวก๋ำพ้าก่ะบ่อตี๋ง ย้านน๊างพี๋ก่องก่อยค่าเล๊ยกั้น จา-อื๋อเฮ๊ดคื๊อต๋าย น๊างพี๋ก่องก่อยเฮ๋นด่อกเค่าคุ๊ยู่เต๋มก่ะโต๋ท้าวก๋ำพ้า คึ๊ดว่าเป๋นคี่จ่ะค๋างแม๊งวันเคี๋ยวคี่ ซา-อื่อน๊างพี๋ก่องก่อยแพ๊งคึ่ดฮ้อดท๋าวก๋ำพ้าพู่เป๋นพั๋ว จั่งบ่อกกั๊บซ๊บท้าวก๋ำพ้าว้าท่ายู่นี่เด้อค่อยน๊ะเมื๊อเอ๋าไฮ๋เงิ๊น ไฮ๋ค๊ำม๊า ฮา-อื่อเด้อ ว้าแล้วน๊างพี๋ก่องก่อยก่ะล๊บคื๊นไป๋เอ๋าไฮ๋เงิ๊นไฮ๋ค๊ำยู่ท่ำม๊า ฮา-อื่อท้าวก๋ำพ้า พ๊อน๊างพี๋ก่องก่อยนี๋ไป๋แล้วท้าวก๋ำพ้าก่ะฮ่าบเอ๋าไฮ๋เงิ๊นไฮ๋ค๊ำล๊บเมื๊อเฮื๊อนพู่เจ้าฮั้งมี๊สี๊สุ๊ก

มี๊เซี่ยวพู่นึ้งม๊าย๋ามท้าวก๋ำพ้าแล้วท๋ามว้าเฮ๊ดแน๊ว ดา-อื่อจั่งฮั้งจั่งมี๊ ท้าวก๋ำพ้าก่ะเว้า ฮา-อื่อพั๊งต๋าม คว๊ามเป๋นอี่ลี๋ พ๊อเซี่ยวได้พั๊งแล้วก่ะไป๋เฮ๊ดคื๊อท้าวก๋ำพ้าคู้อั๋นคู้แน๊ว แต่บั่ดน๊างพี๋ก่องก่อยว้าน๊ะไป๋เอ๋าไฮ๋เงิ๊นไฮ๋ค๊ำม๊า ฮา-อื่อญ้อนคว๊ามโล้บโม๊โท๊ซั๋น จั่งเอ่ยป่ากบ่อกน๊างพี๋ก่องก่อยว้าเอ๋าม๊า ฮา-อื่อล๋ายล๋ายเด้อ พ๊อน๊างพี๋ก่องก่อยได้ญิ๊นแน๊วนั้นแล้วก่ะฮู้จั๊กว้าญั๊งบ่อต๋ายเล๊ยม๊าฮั๊กค๊อต๋ายซ้ำ แท๊นที้น๊ะได้ล๋ายต๋ายเพ๊าะคว๊ามโล้บตัวอย่างบทกลอนกล่อมลูก


ดั้งเดิมเป็นสังคมผลิตเพื่อการยังชีพ ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงมาผลิตเพื่อจำหน่ายตามสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน เช่น การทำนา การหาปลา การจักสาน การทอผ้า เป็นต้น


ด้านระบบความเชื่อ ชาวไทโย้ยยังมีความเชื่อและนับถือผี สิ่งลี้ลับนำมาเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวีต อาชีพ สภาพสังคมความเป็นอยู่จึงต้องเคารพบูชา พ่อจ้ำหรือกวานจ้ำจึงมีบทบาทมากในการติดต่อวิญญาณผีที่ชาวไทโย้ยให้ความเคารพและยึดมั่นว่าช่วยคุ้มครองป้องกันเหตุร้ายต่าง ๆ ได้ คือ ศาลเจ้าปู่ หรือหอปู่ตา ผีตาแฮกหรือผีไร่ผีนา เป็นต้น 

สิ่งลี้ลับนี้เหล่านี้จึงทำให้สังคมของชาวไทโย้ยมีประเพณี กฎเกณฑ์ของสังคมอย่างชัดเจนในพิธีกรรมต่าง ๆ สำหรับความศรัทธาในพระพุทธศาสนามีบทบาทมากเพราะในสังคมชาวไทโย้ยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ความศรัทธาที่ต่อศาสนาจึงมีวัดมากมายอยู่ละแวกใกล้เคียงกัน ประเพณีต่าง ๆ เช่น การละเล่นกลองเลง เป็นชาติพันธุ์เดียวเท่านั้นที่มีการละเล่นกลองเลง เพื่อจรรโลงค้ำจุนพระพุทธศาสนามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นับว่าเป็นความศรัทธาและสืบทอดได้เป็นอย่างดี ความสนุกสนานช่วยสร้างความสามัคคีอันเดียวกันได้และได้สืบทอดพระพุทธศาสนาไปด้วยถือว่าเป็นสิ่งที่ดี

นอกจากนี้ยังมีประเพณีผสมผสานระหว่างพุทธศาสนาและความเชื่อในภูตผี เชื่อว่าการกระทำการไหลเรือไฟทำให้เกิดความร่มเย็นสงบสุขและนำสิ่งดี ๆ มาสู่สังคมได้ เป็นการบูชารอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า เป็นการแสดงความเคารพต่อพระแม่คงคาที่ได้ใช้น้ำทั้งบริโภคและอุปโภค ตลอดจนยังเป็นการขอขมาแม่น้ำที่ทำให้สกปรก นอกจากนี้ยังเป็นการส่งผีน้ำหรือผีเงือกให้ไปสู่ยังที่อยู่คือ แม่น้ำโขงต่อไปความคิดความเชื่อดังกล่าวนี้จะผสมผสานจนกลายเป็นประเพณีไหลเรือไฟ นับว่าเป็นประเพณีที่รักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมมีผลต่อความศรัทธาในสิ่งเคารพต่าง ๆ แล้วผลที่สะท้อนออกมาในรูปธรรม จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าความสามัคคีน้ำหนึ่งใจเดียวกันของชาวไทโย้ยต่อประเพณีการไหลเรือไฟมีมากมายนับตั้งแต่การสร้างเรือการประดับตกแต่ง การแสดงบนเรือเป็นภาพที่หาดูได้ยากมากในสังคมเมือง แต่ในสังคมชนบทความรักความสามัคคีความช่วยเหลือกันทำให้เห็นความร่วมมือความสามัคคีทุกคน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานโครงการสำรวจและจัดการข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ไทโย้ย ปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

ทต.อากาศอำนวย โทร. 0-4279-9055