ความเข้มเเข็งทางด้านภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่น เเละยกระดับชุมชนเป็นชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีบ้านวังยาว
ตั้งชื่อหมู่บ้านตามวังของแม่น้ำชีที่อยู่ในเขตของหมู่บ้าน และวังน้ำชีนี้มีระยะทางยาวมาก จึงกลายมาเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน
ความเข้มเเข็งทางด้านภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่น เเละยกระดับชุมชนเป็นชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีบ้านวังยาว
จากการสันนิษฐานว่าในช่วงก่อน พ.ศ. 2457 เดิมบริเวณพื้นที่ของชุมชนวังยาว เป็นพื้นที่ทำนาของผู้คนที่อยู่ในตัวเมืองมหาสารคาม จนกระทั่งได้มีกลุ่มคนจำนวน 3 ครอบครัว ออกมาเฝ้าที่นาของตนเอง คือครอบครัวของนายอำ กับ นางลา มาโชติ เคลื่อนย้ายออกมาจากคุ้มบ้านจานหรือคุ้มวัดอภิสิทธิ์ ครอบครัวของพ่อจารย์โงน อิสรภาพ เคลื่อนย้ายออกมาจากบ้านส่องยางใน เเละครอบครัวของนายไทร มาลี มาจากคุ้มบ้านโนนศรีสวัสดิ์ เมื่อ 3 ครอบครัวนี้มาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน ได้มีผู้คนทยอยเคลื่อนย้ายออกมาสร้างบ้านเรือน จนกลายมาเป็น ชุมชนวังยาว หลังจากก่อสร้างจนกลายมาเป็นชุมชนนั้น ได้มีการสร้างสถานที่สำคัญของชุมชนขึ้น เช่น พ.ศ. 2457 สร้างวัดบ้านวังยาว สร้างโรงเรียนขึ้น พ.ศ. 2509 สำหรับสิ่งที่เป็นความเชื่อที่ชุมชนนับถือ คือการนับถือผีปู่ตา เเละสันนิษฐานว่ามีศาลปู่ตาพร้อมกับการตั้งชุมชน เมื่อ พ.ศ. 2420 เรียกท่านว่า ปู่ตาขาว บ้างก็เรียกพ่อเมืองใต้ พ่อเมืองเหนือ การดำรงชีพของผู้คนต่างพึ่งพาอาศัยกันเเละกัน จนกระทั่งสิ่งที่ทำให้ชุมชนมีชื่อเสียงคือ การเป็นชุมชนนวัตวิถี ที่เป็นประตูเปิดให้ผู้คนจากภายนอกได้รับรู้ว่าชุมชนแห่งนี้มีทุนทางวัฒนธรรมทางด้านอาหารเเละสถานที่พักผ่อนของชาวเมืองมหาสารคามเเละจากพื้นที่ใกล้เคียง
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดกับ แม่น้ำชี
- ทิศใต้ ติดกับ เมืองมาสารคาม
- ทิศตะวันออก ติดกับ แม่น้ำชี
- ทิศตะวันตก ติดกับ แยกบ้านวังยาว
บ้านวังยาวมีจำนวนครัวเรือน 138 ครัวเรือน และมีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 370 คน แบ่งเป็นเพศชาย 196 คน หญิง 174 คน
ประชาชนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก รายได้ส่วนใหญ่ของหมู่บ้านมาจากการทำนา และเลี้ยงโค กระบือ หมู เป็ด ไก่ เป็นอาชีพเสริม รับจ้างทั่วไป เเละค้าขาย
ในรอบปีหมู่บ้านวังยาว มีการทำบุญหรือประเพณีต่าง ๆ โดยอาศัยหลักในการปฏิบัติคือ “ฮีตสิบสอง” ซึ่งหมายถึง ประเพณีการทำบุญและพิธีกรรมในรอบ 1 ปี หรือ 12 เดือน ปัจจุบันประเพณีบางอย่างได้เลิกปฏิบัติไปแล้วเนื่องจากขาดผู้นำในการปฏิบัติและบางประเพณีที่เปลี่ยนแปลงการปฏิบัติไปเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยประชาชนในหมู่บ้านมีการไปทำงานยังต่างถิ่นกันมาก ประเพณีที่หายไป เช่น ประเพณีสู่ขวัญข้าว, ลงแขกเกี่ยวข้าวบุญบั้งไฟ เป็นต้น แต่ประเพณีที่ยังถือปฏิบัติกันในรอบหนึ่งปีของหมู่บ้านมีอยู่มีดังนี้
- เดือนมกราคม ทำบุญขึ้นปีใหม่
- เดือนกุมภาพันธ์ บุญข้าวจี่
- เดือนมีนาคม บุญพระเวชสันดร และเทศน์มหาชาติ
- เดือนเมษายน เทศกาลสงกรานต์
- เดือนพฤษภาคม ประเพณีบุญบังไฟ
- เดือนมิถุนายน ประเพณีเลี้ยงดอนปู่ตา
- เดือนกรกฎาคม วันเข้าพรรษา
- เดือนสิงหาคม บุญข้าวประดับดิน
- เดือนกันยายน บุญข้าวสารท
- เดือนตุลาคม บุญตักบาตรเทโว และบุญออกพรรษา
- เดือนพฤศจิกายน บุญทอดกฐิน และประเพณีลอยกระทง
- เดือนธันวาคม บุญกุ้มข้าว
- แหล่งท่องเที่ยวภายในชุมชน กระทั่งพัฒนาเป็นชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีบ้านวังยาว
การใช้ภาษา คนในหมู่บ้านจะใช้ภาษาท้องถิ่นคือ ภาษาอีสาน ส่วนภาษากลางจะใช้ในกรณีที่ต้องติดต่อกับหน่วยงานทางราชการเป็นส่วนใหญ่
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. (2545). สารานุกรมประวัติหมู่บ้านเเละสถานที่ในจังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม :โครงการตำราคณะมนุษยศาสตร์เเละสังคมศาสตร์ เนื่องในวาระครบรอบ 35 ปี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม