ชาวบ้านมีการปรับตัวได้ดีเมื่อเกิดภัยทางธรรมชาติเพราะด้วยอยู่ติดกับลำน้ำชีเมื่อฝนตกหนักน้ำมักจะท่วมหมู่บ้าน จึงทำให้ชาวบ้านปรับตัวได้เมื่อเกิดอุทกภัย
การตั้งชื่อหมู่บ้านและตั้งตามสภาพทางภูมิศาสตร์คือ บริเวณนี้เป็นที่เนินสูงและ มีต้นมะตูมขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น จึงเรียกว่า "บ้านโนนป่าตูม" ปัจจุบันได้เพี้ยนไปเป็น "บ้านโนนตูม"
ชาวบ้านมีการปรับตัวได้ดีเมื่อเกิดภัยทางธรรมชาติเพราะด้วยอยู่ติดกับลำน้ำชีเมื่อฝนตกหนักน้ำมักจะท่วมหมู่บ้าน จึงทำให้ชาวบ้านปรับตัวได้เมื่อเกิดอุทกภัย
เดิมเป็นป่าทึบมีต้นไม้มากมายหลายชนิดโดยเฉพาะต้นมะตูม นอกจากนี้ยังมีต้นยางใหญ่ ต้นไผ่ ฯลฯ ต้นยางแต่ละต้นจะมีผึ้งหลวงอาศัยอยู่ต้นละ 20-30 รัง ในป่ามีสัตร์ป่าหลายชนิด เช่น สุนัขจิ้งจอก งูพิษ อีเห็น กระต่ายป่า ลิง แร้ง เป็นต้น ตอนกลางคืนสุนัขจิ้งจอกจะเห่าหอน และเชื่อว่าบริเวณนี้จะมีภูตผีสำแดงตนอยู่เสมอ เนื่องจากบริเวณนี้เป็นป่าทึบ มีสัตว์ร้ายนานาชนิด และมีภูตผีสำแดงตนดังที่กล่าวไปแล้ว จึงไม่มีผู้ใดกล้าย่างกายเข้ามาอาศัยอยู่เลย จนกระทั่งครอบครัวของพ่อใหญ่พาสี อุตศรี ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นผีปอบ ได้อพยพมาจากร้อยเอ็ด เข้ามาหักล้างถางป่าจับจองที่นา ทำสวน ทำไร่ อยู่ในบริเวณนี้ และเรียกบริเวณนี้ว่า "โนนป่าตูม" ต่อมาจึงเป็นชื่อของหมู่บ้าน เรียกว่า "บ้านโนนป่าตูม ต้นมะตูมขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น จึงเรียกว่า "บ้านโนนป่าตูม"
พ่อใหญ่พาสี อยู่ที่นี้เป็นเวลานาน ที่ชาวบ้านเคยเชื่อว่าเป็นปอบได้หายไป ชาวบ้านที่อยู่โก้เดียงคือชาวบ้านดินดำ ซึ่งนำโดยพ่อใหญ่หลมราช เหล่าจุมพลพาครอบครัวอื่น ๆ จึงได้อพยพเข้ามาอยู่อีก นอกจากนี้ยังมีครอบครัวของชาวคุ้มวัดข้าวห้าว (วัดหนองป่า) ในอำเภอของมหาสารคาม เห็นว่าบ้านในป่าตูมอุดมสมบูรณ์ จึงอพยพเข้ามาอยู่ จากนั้นขุนฤทธิ์ อุตศาสตร์ จากศรีสะเกษ หลวงอารี พ่อใหญ่มนตรี มะหังสา พ่อใหญ่แสนรักษา มะบุญ ชาวบ้านดานหัก จังหวัดร้อยเอ็ด ได้อพยพเข้ามาอยู่อีก ระยะแรกมีบ้านเรือนอยู่เพียง 12 หลังคาเรือน พ่อใหญ่หลมราช เหล่าจุมพล เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ชื่อบ้าน "โนนป่าตูม" ปัจจุบันได้เพี้ยนไปเป็น "บ้านโนนตูม"
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดกับ ลำน้ำชี
- ทิศใต้ ติดกับ กุดสุ่ม
- ทิศตะวันออก ติดกับ กุดแดง
- ทิศตะวันตก ติดกับ แม่น้ำชี
ประกอบด้วยจำนวนครัวเรือน 150 ครัวเรือน มีจำนวนประชากรรวม 490 คน แบ่งเป็นเพศชาย 242 คน และเพศหญิง 248 คน
ประชาชนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านมีอาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพหลักรายได้ส่วนใหญ่ของหมู่บ้าน มาจากการทำนา และเลี้ยงโค-กระบือ หมู เป็ด ไก่ เป็นอาชีพเสริม และรับจ้างทั่วไป
ในรอบปีหมู่บ้านโนนตูม มีการทำบุญหรือประเพณีต่าง ๆ โดยอาศัยหลักในการปฏิบัติคือ "ฮีตสิบสอง" ซึ่งหมายถึงประเพณีการทำบุญและพิธีกรรมในรอบ 1 ปีหรือ 12 เดือน ปัจจุบันประเพณีบางอย่างได้เลิกปฏิบัติไปแล้วเนื่องจากขาดผู้นำในการปฏิบัติ และบางประเพณีที่เปลี่ยนแปลงการปฏิบัติไปเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยประชาชนในหมู่บ้านมีการไปทำงานยังต่างถิ่นกันมาก ประเพณีที่หายไป เช่น ประเพณีสู่ขวัญข้าว, ลงแขกเกี่ยวข้าวบุญบั้งไฟ เป็นต้น ส่วนประเพณีที่ยังถือปฏิบัติกันในรอบหนึ่งปีของหมู่บ้านมีอยู่มี ดังนี้
- เดือนมกราคม ทำบุญขึ้นปีใหม่
- เดือนกุมภาพันธ์ บุญข้าวจี่
- เดือนมีนาคม บุญพระเวชสันดรและเทศน์มหาชาติ
- เดือนเมษายน เทศกาลสงกรานต์
- เดือนพฤษภาคม ประเพณีบุญบังไฟ
- เดือนมิถุนายน ประเพณีเลี้ยงดอนปู่ตา
- เดือนกรกฎาคม วันเข้าพรรษา
- เดือนสิงหาคม บุญข้าวประดับดิน
- เดือนกันยายน บุญข้าวสารท
- เดือนตุลาคม บุญตักบาตรเทโวและบุญออกพรรษา
- เดือนพฤศจิกายน บุญทอดกฐินและประเพณีลอยกระทง
- เดือนธันวาคม บุญกุ้มข้าว
การใช้ภาษา คนในหมู่บ้านจะใช้ภาษาท้องถิ่นคือ ภาษาอีสาน ส่วนภาษากลางจะใช้ในกรณีที่ต้องติดต่อกับหน่วยงานทางราชการเป็นส่วนใหญ่
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2545). สารานุกรมประวัติหมู่บ้านและสถาที่ในอำเภอเมืองมหาสารคาม. ภาควิชาประวัติสาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยลัยมหาสารคาม