จุดเด่นที่ทำให้ชุมชนลาวเวียงแห่งนี้มีความเข้มแข็งจากอัตลักษณ์ที่โดดเด่นและกระแสการท่องเที่ยวชุมชนที่กําลังเฟื่องฟูทั่วทุกหนแห่งรัฐได้เล็งเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในการสร้างรายได้ให้กับชุมชนและประเทศจึงนำวัฒนธรรมมาเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์ในการพัฒนาประเทศ ความเป็นชาติพันธุ์กกลายเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตในสังคม ภาครัฐจึงเข้ามาสนับสนุนการจัดประเพณีต่างๆ โดยมุ่งเน้นให้เป็นสินค้าทางวัฒนธรรม
จุดเด่นที่ทำให้ชุมชนลาวเวียงแห่งนี้มีความเข้มแข็งจากอัตลักษณ์ที่โดดเด่นและกระแสการท่องเที่ยวชุมชนที่กําลังเฟื่องฟูทั่วทุกหนแห่งรัฐได้เล็งเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในการสร้างรายได้ให้กับชุมชนและประเทศจึงนำวัฒนธรรมมาเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์ในการพัฒนาประเทศ ความเป็นชาติพันธุ์กกลายเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตในสังคม ภาครัฐจึงเข้ามาสนับสนุนการจัดประเพณีต่างๆ โดยมุ่งเน้นให้เป็นสินค้าทางวัฒนธรรม
จากหลักฐานเอกสารและคำบอกเล่า ชาวลาวเวียง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นคนที่อพยพมาจากเมืองเวียงจันทน์ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยคุณพ่อหงษ์-คุณแม่อ่ำ พร้อมชาวลาวเวียงจำนวนหนึ่งได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่บริเวณบ้านสมอลม อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ด้วยเห็นว่าภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์ใกล้ลำน้ำสุพรรณบุรี
ในสมัยรัชกาลที่ 3-5 มีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นเข้ามาอยู่ในพื้นที่ โดยเฉพาะชาวเขมรที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนทำกินอยู่บริเวณบ้านสมอลม ชาวลาวเวียงตัดสินใจอพยพผู้คนเดินทางมาทางตะวันตกจนถึงลำน้ำจระเข้สามพัน จนมาพบบริเวณโนนบ้านเก่า ซึ่งอยู่ถัดจากวัดดอนคาไปทางเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นที่เนิน มีพื้นที่เหมาะแก่การเพราะปลูกและอยู่อาศัย มีแหล่งน้ำหนองปล้องและลำลางคัดเค้าจึงได้บุกเบิกตั้งบ้านเรือน ในสมัยหลังรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา
เมื่อรัฐต้องการข้าวเพื่อใช้ในการส่งออกมากขึ้น ชุมชนบางส่วนขยับขยายลงมาตั้งบ้านเรือนในแถบดอนคา สำหรับชื่อดอนคาชาวลาวเวียงเล่าว่ามาจากพื้นที่เป็นที่ดินดอนที่มีหญ้าคาขึ้นปกคลุม หลังจากตั้งบ้านเรือนก็ได้สร้างวัดขึ้นแห่งหนึ่งชื่อวัดดอนคา วัดแห่งนี้ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมจิตใจ มีเจ้าอาวาสองค์แรกคือหลวงพ่อธรรม หลังวัดมีลำน้ำ ท่าน้ำ และตลาด และที่สำคัญคือมีหนองน้ำที่ช่วยกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้ตลอดทั้งปีคือหนองเบนและหนองโล่ง ลำน้ำที่ไหลผ่านชุมชนดอนคาจะไหลมาจากบ้านขามทางเหนือ ผู้คนสามารถสัญจรล่องเรือไปอำเภออู่ทองที่อยู่ทางใต้ได้สะดวก ชาวชุมชนในแถบนี้จะเดินทางถึงกันโดยทางบกและทางน้ำ หากจะสัญจรทางน้ำก็จะใช้ลำน้ำสายนี้ ในปี พ.ศ. 2450 หลวงพ่อคงเจ้าอาวาสองค์ที่ 2 ร่วมกับชาวชุมชนสร้างโบสถ์ใหม่ (โบสถ์วัดโภคารามในปัจจุบัน) หลังจากนั้นไม่นานปี พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำกองเสือป่าเสด็จผ่านมายังบริเวณบ้านดอนคา ในช่วงนี้มีการบูรณะวัดวาอารามหลายแห่งทั้งในเขตอำเภอเมืองและ อำเภออู่ทอง ในปี พ.ศ. 2471 หลวงพ่อเหมือนเจ้าอาวาสรูปที่ 3 ขนย้ายพระพุทธรูปหินทรายโบราณจากวัดร้างที่อยู่ไม่ไกล (วัดหัวตาหนู) นำขึ้นเกวียนเข็นมาที่วัดดอนคามาซ่อมแซมบูรณะ ชาวชุมชนเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่าหลวงพ่อพระใหญ่ เพราะขณะนั้นเป็นพระพุทธรูปที่มี
ขนาดใหญ่ที่สุดในแถบนี้ ปี พ.ศ. 2481 มีการฝังลูกนิมิตและก่อสร้างโบสถ์ให้แล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. 2521 ทำถนนลาดยางและต่อไฟฟ้าเข้ามาในตำบล ทำให้มีความเจริญด้านอื่น ๆ ตามมา (พระครูกิตติสุวรรณวัฒน์, 2558) ปัจจุบันลาวเวียงในตำบลดอนคากลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมมีวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
กลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง ในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ประวัติศาสตร์ของกลุ่มชุมชน ชาติพันธุ์ ชุมชนลาวเวียงบ้านดอนคา ตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นชุมชนขนาดใหญ่มีทั้งหมด 20 หมู่บ้าน ในจำนวนนี้มีชาวลาวเวียงแทรกตัวอยู่ถึง 7 หมู่บ้าน ประกอบด้วยหมู่ 1 บ้านดอนคาหัวตาล หมู่ 2 บ้านดอนคา หมู่ 6 บ้านโนนหอ (โนนหอ บ้านโนนหัวนา บ้านโนนก่าม) หมู่ 10 บ้านโนน หมู่ 17 บ้านหนองหมู-โนนแดง หมู่ 18 บ้านหนองทราย และหมู่ 19 บ้านห้วย (บ้านห้วย บ้านยาว)
โดยมีบ้านดอนคาเป็นหมู่บ้านดั้งเดิมที่บรรพบุรุษพาลูกหลานอพยพตั้งบ้านเรือนจนกลายเป็นชุมชนเช่นในปัจจุบัน นับตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน ชาวลาวเวียงบ้านดอนคาทำการเกษตรเป็นอาชีพหลักสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ผลผลิตที่ได้ส่วนใหญ่เป็นข้าวเจ้า ซึ่งมีพื้นที่เพาะปลูกอยู่ทางฝั่งตะวันออกของตำบลหรือรอบ ๆ ชุมชนบ้านดอนคาในปัจจุบัน ส่วนที่รองลงมา คือ อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด และพืชไร่อื่น ๆ นิยมปลูกกันมากในฝั่งตะวันตกของตำบลเนื่องจากเป็นที่สูงและมีภูเขา
ด้านอาหารการกิน ยังคงวัฒนธรรมลาวอย่างฝังแน่นและเป็นเอกลักษณ์ สังเกตได้จากวัตถุดิบหลักที่ทุกครัวเรือนต้องมี นั่นคือ ปลาร้า ชาวบ้านนิยมนำมาปรุงในอาหารเกือบทุกชนิด เพราะช่วยให้รสชาติกลมกล่อม มีน้ำพริกปลาร้าและผัก เป็นอาหารหลักประจำบ้าน และอาหารอื่น ๆ ที่ขึ้นชื่อ ได้แก่ แกงผำ
ด้านของหวานที่มีมาตั้งแต่โบราณ คือ ขนมก้นกระทะ ล้วนมีความผูกพันกับชาวลาวเวียงบ้านดอนคาเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชุมชนที่มีกลุ่มคนต่างเชื้อชาติอาศัยอยู่ร่วมกันทั้งชาวไทยและชาวจีน ก่อเกิดการผสมกลมกลืนและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางอาหาร เมื่อชาวลาวเวียงนำสูตรต้นตำรับแบบไทยมาประยุกต์ในรูปแบบของตนเอง เช่น นำแกงบอน แกงหอยขมซึ่งต้องใส่กะทิ มาเปลี่ยนเป็นน้ำปลาร้า กลายเป็นอาหารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตนซึ่งอร่อยอย่างลงตัว ปัจจุบันรูปแบบการดำเนินชีวิตของชาวลาวเวียงบ้านดอนคาปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ทั้งการแต่งกาย อาหารการกิน การเข้ารับการศึกษา รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เข้ามาในชุมชน ผู้คนจากสังคมชนบทกลายเป็นคนในสังคมเมือง เมื่อถนนสายหลักตัดผ่านตัวตำบล การเดินทางสะดวกสบาย เข้าถึงอำเภออู่ทองในระยะทางเพียง 12 กิโลเมตร เป็นเหตุให้บ้านดอนคาพัฒนาอย่างรวดเร็วตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม ชาวลาวเวียงบ้านดอนคายังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณี การดำรงชีวิต ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และไม่ลืมรากเหง้าของตนเอง ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ภายในชุมชน เช่น บุญบั้งไฟ บุญข้าวจี่ บุญเบิกบ้าน และพร้อมถ่ายทอดให้กับคนรุ่นใหม่ได้รู้จัก
เพื่อส่งต่อความภูมิใจที่มีต่อบรรพบุรุษและวางรากฐานขนบธรรมเนียมอันดีงามไว้ให้สืบสานความเป็นชาติพันธุ์ลาวเวียงไว้มิให้สูญหาย ชุมชนลาวเวียงบ้านดอนคา กำเนิดขึ้นเมื่อพ่อหงส์-แม่อ่ำ พาลูกหลานมาสร้างบ้านเรือนบริเวณทิศเหนือห่างจากหมู่บ้านปัจจุบันประมาณ 1 กิโลเมตร เรียกว่า "โนนบ้านเก่า” ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ดอนล้อมรอบด้วยพื้นที่ราบลุ่ม ชาวลาวเวียงแต่ละครอบครัวจึงเข้าไปจับจองที่ทำกิน ต่อมาพ่อหงษ์ พบพื้นที่เป็นเนินดินเหมาะแก่การปลูกบ้านสร้างเรือน เพื่อป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลากและใกล้แหล่งน้ำใช้ จึงพาลูกหลาน ย้ายจากโนนบ้านเก่า มาอยู่ในพื้นที่ชุมชนบ้านดอนคาและตั้งมั่นอยู่จนปัจจุบัน ชาวลาวเวียงมักสร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มในสายตระกูล แต่ละกลุ่มบ้านประกอบขึ้นรวมเป็นชุมชน การเชื่อมต่อระหว่างบ้านเรือนแต่ละหลังหรือแต่ละคุ้มเรือนค่อนข้างอิสระ นิยมปลูกเรือนและหันหลังคาเรือนใหญ่ไปในทิศทางเดียวกัน โดยไม่หันมุมบ้านเข้าหากัน เพราะเชื่อว่าจะทิ่มแทงกันในหมู่เครือญาติ ผู้คนในชุมชนรู้จักมักคุ้นกันอย่างดี การปิดกั้นขอบเขตด้วยรั้วจึงไม่ปรากฏชัดเจน หากมีการแบ่งอาณาเขตมักเป็นรั้วเตี้ย ๆ แนวต้นไม้หรือกองวัสดุต่าง ๆ แทนการก่อรั้วทึบ ทางสัญจรภายในหมู่บ้านมีลักษณะเป็นอิสระ ประกอบด้วยทางหลักและทางรองที่คดล้อมลัดเลาะไปตามกลุ่มบ้านต่าง ๆ ลักษณะคล้ายใยแมงมุมแบบหลวม ๆ อีกทั้งยังแบ่งแยกพื้นที่อยู่อาศัยและที่ทำกินออกจากกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อชุมชนเริ่มแออัด ชาวบ้านบางกลุ่มเริ่มขยับขยายที่อยู่อาศัยออกไปรอบนอก เช่นลักษณะของชุมชนลาวเวียงบ้านดอนคาในทุกวันนี้ นอกจากนี้ ในแต่ละหมู่บ้าน ยังมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่เพื่อประโยชน์ใช้สอยให้ตรงกับความต้องการของผู้คนที่แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เช่น เปลี่ยนสระน้ำจากที่เคยใช้ประโยชน์เพื่อการอุปโภคบริโภค กลายมาเป็นลานสาธารณะหรือสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ดังเช่น สระหนองเบน ถูกปรับบริบทของพื้นที่ โดยทำเป็นสระคอนกรีตมีแนวทางเดินโดยรอบให้ชาวดอนคาเข้าไปใช้เดิน วิ่งเพื่อออกกำลังกาย ใกล้ ๆ กันเป็นที่ตั้งของเครื่องออกกำลังกายและลานเต้นแอโรบิค สถานที่พักผ่อนหย่อนใจยอดฮิตของคนในชุมชน
อย่างไรก็ตาม ยังมีบางครัวเรือนนำน้ำไปใช้รดต้นไม้ นอกจากนี้ ยังพบว่าบริเวณสระหนองไผ่เดิมปัจจุบันได้ถมจนกลายเป็นลานกว้างสำหรับใช้ตากข้าวและพื้นที่สาธารณะเพื่อทำประโยชน์อื่น ๆ ให้แก่ชุมชน ส่วนนามสกุลที่ใช้ในตำบาลนั้น ตามตำนานเล่าขานกันมาว่า พ่อคุณปลัด ท่านเป็นผู้มี ความรู้ความสามารถท่าน จึงเป็นผู้ปกครองหมู่บ้านให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เดิมท่านเป็นหลาน ของเจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์ เนื่องจากท่านไม่ชอบทําสงคราม รบทัพจับศึกกับใครจึงแยกย้าย จากญาติพี่น้องมาหาความสงบ เนื่องจากเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการปกครองผู้คน เป็นผู้วางแผน พัฒนาหมู่บ้านให้เจริญรุ่งเรือง จนได้เป็นปลัดหมู่บ้านและปลัดแขวง ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระองค์ทรง กําหนดให้ชาวไทยทุกคนมีนามสกุลใช้กันทุกครอบครัว ลูกหลานของพ่อคุณปลัดจึงเป็นต้นกําเนิดของ นามสกุล "กุลวงศ์” และตระกูล "หงษ์เวียงจันทร์” สืบสายโลหิตมาจาก พ่อคุณหงษ์-แม่คุณอําที่มีเครือ ญาติ ลูกหลานสืบทอดวงศ์ตระกูลสืบต่อกันมา รวมทั้งครอบครัวของพ่อคุณผา-แม่คุณซา จะเป็น ตระกูลที่ใหญ่ที่สุดในหมู่บ้านดอนคา มีชื่อว่า "เหมเวียงจันทน์” สืบทอดมาจากครั้งที่อพยพมาจาก เวียงจันทน์เช่นกันเป็นตระกูลมั่งคั่ง เป็นนายฮ้อยที่ขาย ช้างม้า วัวควาย เป็นอาชีพ จึงเป็นผู้ที่มีฐานะดี เป็นผู้ที่มีคนนับหน้าถือตา ส่วนตระกูล "นนท์ช้าง” สืบเชื้อสายจากตระกูลหงส์เวียงจันทร์ที่สมรสกับ ตระกูลอื่น ลูกหลานเกิดมาได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดนนท์ช้าง จึงเป็นต้นตระกูล "นนท์ข้าง” สืบมา ส่วนตระกูลอื่นๆ เช่น ยศวิชัย, ตุ่มศรียา, ปลัดม้า, นนท์แก้ว และพันธ์จันทร์ล้วนเป็นตระกูล เก่าแก่ที่มีประวัติสืบทอดกันมาเป็นผู้ประกอบคุณงามความดี จนได้รับแต่งตั้งให้มียศมีตำแหน่ง ใน สมัยก่อนเมื่อทางการกําหนดให้มีนามสกุลใช้ลูกหลาน จึงดำรงตำแหน่งยศถาบรรดาศักดิ์ของบรรพบุรุษ มาตั้งเป็นอนุสรณ์และความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษของตน
สภาพพื้นที่แบ่งได้เป็น 2 เขต คือ เขตที่ราบสูงติดภูเขา อยู่ทางทิศตะวันตกของพื้นที่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบค่อนข้างสูง ซึ่งระบบชลประทานไม่สามารถเข้าถึงสภาพดินเป็นดินปนทราย และบางพื้นที่มีสภาพดินเป็นดินปนหินกรวดพรุน พื้นที่ในเขตนี้มีประมาณกึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมด และเขตที่ราบลุ่มอยู่ทางทิศตะวันออก และทิศตะวันตกบางส่วนของพื้นที่ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นการทำนาและระบบชลประทานเข้าได้ทั่วถึง สภาพดินเป็นดินร่วนและดินเหนียวเหมาะสมกับการเพาะปลูก เช่น การทำนา ทำสวน
การคมนาคม การขนส่งทางรถยนต์ปัจจุบันได้รับความสะดวกและรวดเร็วโดยการติดต่อกับอำเภอ ใช้เวลาการเดินทาง ประมาณ 10 นาที การติดต่อระหว่างหมู่บ้าน ก็สะดวกทุกหมู่บ้าน
ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ที่มีอยู่ในเขตพื้นที่ทางด้านตะวันตกของตำบล อยู่บริเวณพื้นที่ที่เป็นภูเขาและเป็นป่าชุมชนเล็ก ๆ
ชาวลาวเวียงบ้านดอนคา นิยมอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ เมื่อแต่งงาน คู่สามีภรรยาจะนิยมออกมาสร้างบ้านเรือนของตนเองใกล้บ้านของพ่อแม่ โดยมีลูกคนสุดท้องหรือลูกผู้หญิงอยู่ดูแลพ่อและแม่ที่เรือนเดิม ทำให้เรือนนั้นตกเป็นของลูกหลานคนสุดท้องสืบต่อกันเรื่อยไป ลำดับการเรียกคนในครอบครัวของชาวลาวเวียงจะแตกต่างจากการคนไทย ได้แก่ "โซ่น" ในภาษาลาวเวียงบ้านดอนคาคือ ทวด หากเป็นผู้ชายจะเรียกว่า "พ่อโซ่น" ผู้หญิงจะเรียกว่า "แม่โซ่น"
นอกจากนี้ยังใช้เป็นคำเรียกผู้เฒ่าผู้แก่ภายในชุมชนอีกด้วย คำว่า โซ่น ยังใช้เรียกตาและยาย โดยตาจะเรียกว่า "โซ่นใหญ่" และยายจะเรียกว่า "โซ่นน้อย" หรือเรียกว่า "คุณใหญ่คุณน้อย" ก็ได้เช่นกัน (คุณมาจากคำว่าพ่อคุณ แม่คุณ) น้าชายน้าหญิงจะเรียกว่า "น้าบ่าว" หรือ "บ่าว" แทนน้าผู้ชาย และ "น้าสาว" หรือ "สาว" อา(น้องของพ่อ) อาหญิงเรียกว่า "อา" ส่วนอาชายจะเรียกว่า "อาว” พี่เขยเรียกว่า "พี่อ้าย" พี่สะใภ้เรียกว่า "พี่นาง" พี่ชายของตนเองหากได้บวชเรียนมาแล้วจะเรียกว่า "อ้ายทิด" พี่ชายเรียกว่า "อ้าย" พี่สาวเรียกว่า "เอื้อย" ส่วนบุคคลอื่น ๆ
ก็เรียกเช่นเดียวกับลำดับญาติของไทย ลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งของระบบเครือญาติของชาวลาวเวียงบ้านดอนคา เนื่องด้วยการอาศัยอยู่ที่บ้านดอนคาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เรือนของลูกหลานจะนิยมตั้งเรือนใหม่ไม่ห่างจากเรือนดั้งเดิมที่เป็นเรือนของพ่อแม่ ชาวลาวเวียงจะถือเครือญาติมีความสำคัญมาก โดยการเรียกญาติก็จะมีวิธีการเรียกที่ต่างจากชุมชนอื่น ๆ โดยชาวลาวเวียงจะดูตั้งแต่บรรพบุรุษว่าเป็นพี่หรือเป็นน้อง หากเป็นพี่ลูกหลานรุ่นต่อมาก็จะถือเป็นเชื้อสายฝ่ายพี่ โดยฝ่ายพี่จะถูกเรียกจากญาติว่าเป็นลุงหรือป้า และหากเป็นเชื้อสายฝ่ายน้อง ก็จะถูกเรียกจากญาติว่า น้าบ่าว น้าสาว อาว อา จะสังเกตได้ว่า แม้ในบางครั้ง ญาติที่เกิดก่อนพ่อและแม่แต่เป็นลูกฝ่ายน้อง ปกติจะต้องเรียกแทนด้วยคำว่าป้าหรือลุง แต่ชาวลาวเวียงก็จะเรียกว่าน้าตามศักดิ์ฝ่ายน้อง โดยลักษณะดังกล่าวแสดงออกให้เห็นว่า ลูกหลานถือบรรพบุรุษเป็นใหญ่และให้ศักดิ์ความเป็นญาติตามบรรพบุรุษชาวลาวเวียงบ้านดอนคา นิยมอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่
เมื่อแต่งงาน คู่สามีภรรยาจะนิยมออกมาสร้างบ้านเรือนของตนเองใกล้บ้านของพ่อแม่ โดยมีลูกคนสุดท้องหรือลูกผู้หญิง อยู่ดูแลพ่อและแม่ที่เรือนเดิม ทำให้เรือนนั้นตกเป็นของลูกหลานคนสุดท้องสืบต่อกันเรื่อยไป ลำดับการเรียกคนในครอบครัวของชาวลาวเวียงจะแตกต่างจากการคนไทย ได้แก่ "โซ่น” ในภาษาลาวเวียงบ้านดอนคาคือ ทวด หากเป็นผู้ชายจะเรียกว่า "พ่อโซ่น” ผู้หญิงจะเรียกว่า "แม่โซ่น” นอกจากนี้ ยังใช้เป็นคำเรียกผู้เฒ่าผู้แก่ภายในชุมชนอีกด้วย คำว่า โซ่น ยังใช้เรียกตาและยาย โดยตาจะเรียกว่า "โซ่นใหญ่” และยายจะเรียกว่า "โซ่นน้อย” หรือเรียกว่า "คุณใหญ่คุณน้อย” ก็ได้เช่นกัน (คุณมาจากคำว่าพ่อคุณ แม่คุณ) น้าชายน้าหญิงจะเรียกว่า "น้าบ่าว” หรือ "บ่าว” แทนน้าผู้ชาย และ "น้าสาว” หรือ "สาว” อา(น้องของพ่อ) อาหญิงเรียกว่า "อา” ส่วนอาชายจะเรียกว่า "อาว” พี่เขยเรียกว่า "พี่อ้าย” พี่สะใภ้เรียกว่า "พี่นาง” พี่ชายของตนเองหากได้บวชเรียนมาแล้วจะเรียกว่า "อ้ายทิด” พี่ชายเรียกว่า "อ้าย” พี่สาวเรียกว่า "เอื้อย” ส่วนบุคคลอื่น ๆ ก็เรียกเช่นเดียวกับลำดับญาติของไทย ลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งของระบบเครือญาติของชาวลาวเวียงบ้านดอนคา
เนื่องด้วยการอาศัยอยู่ที่บ้านดอนคาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เรือนของลูกหลานจะนิยมตั้งเรือนใหม่ไม่ห่างจากเรือนดั้งเดิมที่เป็นเรือนของพ่อแม่ ชาวลาวเวียงจะถือเครือญาติมีความสำคัญมาก โดยการเรียกญาติก็จะมีวิธีการเรียกที่ต่างจากชุมชนอื่น ๆ โดยชาวลาวเวียงจะดูตั้งแต่บรรพบุรุษว่าเป็นพี่หรือเป็นน้อง หากเป็นพี่ลูกหลานรุ่นต่อมาก็จะถือเป็นเชื้อสายฝ่ายพี่ โดยฝ่ายพี่จะถูกเรียกจากญาติว่าเป็นลุงหรือป้า และหากเป็นเชื้อสายฝ่ายน้อง ก็จะถูกเรียกจากญาติว่า น้าบ่าว น้าสาว อาว อา จะสังเกตได้ว่า แม้ในบางครั้ง ญาติที่เกิดก่อนพ่อและแม่แต่เป็นลูกฝ่ายน้อง ปกติจะต้องเรียกแทนด้วยคำว่าป้าหรือลุง แต่ชาวลาวเวียงก็จะเรียกว่าน้าตามศักดิ์ฝ่ายน้อง โดยลักษณะดังกล่าวแสดงออกให้เห็นว่า ลูกหลานถือบรรพบุรุษเป็นใหญ่และให้ศักดิ์ความเป็นญาติตามบรรพบุรุษ
ลาวเวียงภูมิปัญญาลาวเวียงบ้านดอนคา โดดเด่นในเรื่องการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษผ่านการรู้จักทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่จะทำขึ้นจาก ไม้ไผ่ นำมาจักสานเป็นอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น กระบุง ตะกร้า ตะแกรง กระด้ง กระเซอ สำหรับใช้ในเรือน นอกจากนี้ยังมีการประดิษฐ์เป็นเครื่องมือทำมาหากิน เช่น สุ่มดักปลา คันเบ็ดตกปลา ไซ ค้อง อีโง่ (ลอกดักปลา) ตลอดจนอุปกรณ์ในการทอผ้า เช่น กวัก และ กี่ทอผ้า เป็นต้น สมัยก่อนจะมีหมอยาพื้นถิ่น
เพื่อรักษาอาการป่วยต่าง ๆ ปัจจุบันก็ยังคงมีอยู่บ้าง แต่จะนำมาใช้เป็นบางอย่าง เช่น การเป่าเพื่อรักษาโรคงูสวัด การกวาดคอ ส่วนการรักษาแบบเดิมจะมีอยู่ในแค่ตำรา ปัจจุบันชาวบ้านดอนคาหลายคนยังคงนำเอาไม้ไผ่มาใช้ประดิษฐ์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้และพัฒนากลายเป็นสินค้าของชุมชน เช่น ตะกร้า กระบุง กระจาด กระด้ง ซึ่งพ่อค้าแม่ขายจากต่างถิ่นจะเข้ามารับซื้อหน้าบ้าน
ชุมชนดอนคาจะมีประเพณีที่หลากหลาย ได้แก่ "ประเพณีบุญข้าวจี่" เดือน 3 ขึ้น 15 ค่ำ โดยจะมีการปั้นข้าวจี่ถวายพระ (ข้าวจี่ที่นี้จะทำเป็นก้อน แล้วเอาไปย่างจากนั้นจะชุบน้ำตาล และก็ไข่ จะทำเฉพาะมีประเพณี), "สารทลาว", "ตักบาตรเทโว", "บุญบั้งไฟ" เดือน ๖ ขึ้น 15 ค่ำ ของทุกปี แห่ก่อนงาน 15 ค่ำ 1 วัน เพื่อขอฝน มีการจุดบั้งไฟ และประกวดภายในงาน, "พิธีเบิกหอบ้าน" เดือน 6 วันพฤหัสแรก ก็จะทำการ ตักบาตร ทำบุญ นำต้นกล้วยมาทำเป็นรูปคน มีการแต่งตัวให้ แล้วเอาไปใส่กระทง เป็นการสะเดาะเคราะห์ถือเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ จะไปทำที่หอเจ้านาย (เป็นศาลบรรพบุรุษที่ก่อตั้งหมู่บ้าน), "ทำบุญสงกรานต์" โดยมีการทำบุญ 3 วัน พอทำบุญครบ 3 วันก็จะมาเป็น "ประเพณีแห่ดอกไม้" จะจัดขึ้นในวันที่ 17 ใช้เวลา 3 วัน ชาวลาวเวียงตำบลดอนคาจะไม่มีประเพณียกธงสงกรานต์ ชาวลาวเวียงส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต โดยทำหน้าที่เป็นกลไกในการกล่อมเกลาโน้มน้าวจิตใจ และสร้างจิตสำนึกในแง่ศีลธรรมจรรยาเพื่อให้เกิดความประพฤติที่ถูกต้องให้กับชาวบ้านมาตั้งแต่ในอดีต
ความเชื่อจากอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ การบายศรีสู่ขวัญ เป็นพิธีกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ ในสังคมไทยพบร่องรอยว่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา คำว่า "บาย" เป็นภาษาเขมรแปลว่า "ข้าว" ข้าวที่เป็นศรีหรือเป็นสิริมงคลเพื่อเป็นเครื่องสังเวยให้กับเทพ ข้าวจึงเป็นส่วนประกอบในพิธีบายศรีสู่ขวัญตามความเชื่อของพราหมณ์ ขวัญเป็นคำโบราณที่ใช้มานานและยังเป็นความเชื่อของกลุ่มคนในภูมิภาคเอเชีย ชาวลาวเรียกขวัญว่า "ขวน" โดยเชื่อว่าร่างกายประกอบด้วยสิ่งที่มองเห็นเป็นรูปร่าง และสิ่งที่มองไม่เห็น คล้าย ๆ กับวิญญาณแต่ไม่ใช่วิญญาณ เป็นสิ่งสำคัญที่คน สัตว์ หรือแม้กระทั่งสิ่งของบางชนิดต้องมีขวัญ โดยคนคนหนึ่งจะมีเพียงหนึ่งขวัญ ถ้าหากเวลาใดขวัญออกห่างจากร่างกาย จะส่งผลให้คนนั้นมีอาการอ่อนแอ เจ็บป่วยและอาจเสียชีวิตไปในที่สุด โดยเชื่อกันว่าการที่ร่างย้ายจากสถานะหนึ่งหรือย้ายจากที่หนึ่งไปอยู่อีกที่หนึ่งอย่างกะทันหัน เช่น การไปทำงานต่างถิ่น การไปเที่ยวสนุกสนานจนลืมตัว อาจทำให้ขวัญเหินห่างจากร่างได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ขวัญออกจากร่างกาย หรือให้ขวัญกลับเข้าสู่ร่างเดิม จึงมีพิธีเรียกขวัญ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรับขวัญ บำรุงขวัญให้กำลังใจ และถือเป็นการอวยพรให้ประสบความสุขความเจริญ
ความเชื่อเรื่องขวัญก่อให้เกิดพิธีสู่ขวัญ โดยชาวลาวเวียงนิยมบายศรีสู่ขวัญทุกช่วงเวลาของชีวิต เช่น การสู่ขวัญนาค เพื่อเป็นสิริมงคล โดยมุ่งการสอนให้ยึดมั่นในพุทธศาสนา การปฏิบัติตนเมื่อเป็นพระภิกษุ และระลึกถึงคุณบิดามารดา
การสู่ขวัญแต่งงาน เพื่อให้เกิดความสุขสวัสดิ์โชคดีแก่คู่บ่าวสาว มีความมุ่งหมายเพื่อสอนเกี่ยวกับการครองเรือน แต่เดิมพิธีการสู่ขวัญจะจัดให้เฉพาะคู่บ่าวสาวที่ปฏิบัติตนตามธรรมเนียมไม่ชิงสุกก่อนห่ามเท่านั้น แต่ปัจจุบันปรับเปลี่ยนไป โดยสามารถทำพิธีสู่ขวัญให้กับคู่บ่าวสาวในทุกกรณี
การสู่ขวัญขึ้นบ้านใหม่ จัดขึ้นเมื่อมีการย้ายไปอยู่บ้านหลังใหม่ จัดขึ้นเพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลให้กับเจ้าของเรือน ตามความเชื่อดั้งเดิมที่ว่า ที่ดินและไม้ที่นำมาสร้างบ้านมักมีเจ้าของรักษาอยู่ เมื่อจะเข้าพักอาศัยหรือประกอบกิจกรรมใด ๆ จึงต้องประกอบพิธีที่เป็นสิริมงคลเพื่อปัดเป่าสิ่งไม่ดีทั้งปวง
การสู่ขวัญโชคชัย เป็นพิธีสู่ขวัญเพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่มาเยือนหรือจากไปตามวาระโอกาสต่าง ๆ เช่น การสู่ขวัญเมื่อมีญาติผู้ใหญ่เดินทางมาจากจังหวัดอื่นเข้ามาเยี่ยมเยียน เป็นต้น สำหรับคนลาวเวียง ผีคือวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้วหรือที่มีอยู่แล้วโดยไม่ทราบว่ามีมาแต่เมื่อใดหรือมีมาอย่างไร ผีเหล่านี้ประกอบด้วยผีประเภทต่าง ๆ เช่น ผีนา ผีป่า ผีเขา ผีบ้านผีหมู่บ้าน ผีปู่ย่าตายาย ผีฟ้า ผีแถน และผีอื่น ๆ หรือแม้กระทั่งผีที่เกิดจากการกระทำของบุคคล เช่น ผีปอบ ความเชื่อเรื่องผีอันเป็นความเชื่อที่มีมาแต่เดิม ผสมผสานกับความเชื่อในพระพุทธศาสนาจนแทบจะแยกกันไม่ออกว่าพิธีกรรมใดเกิดจากความเชื่อในพระพุทธศาสนาหรือพิธีกรรมใดเกิดจากความเชื่อเรื่องผี ดังเช่น พิธีกรรมเกี่ยวกับผีบรรพบุรุษของชาวลาวเวียง ที่สะท้อนผ่าน "พิธีเบิกหอบ้าน" ซึ่งเป็นประเพณีที่จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีเพื่อแสดงความเคารพสักการะผีบรรพบุรุษ โดยจะทำพิธีหอผีบรรพบุรุษประจำชุมชน เป็นสื่อสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่าชาวลาวเวียงในพื้นที่นั้น ๆ สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน ชาวลาวเวียงเชื่อว่าผีบรรพบุรุษจะเป็นผีที่ให้ความคุ้มครองชาวบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข ทั้งชาวบ้านที่อยู่ในชุมชนและชาวบ้านที่เดินทางออกไปทำงานนอกชุมชน แต่เดิมนั้นเป็นเพียงพิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษโดยเฉพาะแต่เมื่อได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธ ชาวลาวเวียงจึงได้นำเอาพิธีทางศาสนาเข้ามาผสมผสาน โดยมีการนิมนต์พระมาสวดมนต์ในพิธี สะท้อนการผสมผสานระหว่าง ผีและพุทธในคราวเดียวกัน
พิธีเบิกหอบ้าน จะจัดขึ้นในเดือนเจ็ดของทุกปี เมื่อกำหนดวันที่จะทำพิธีได้แล้วจะนำพระสงฆ์มาสวดมนต์เย็น ณ บริเวณลานหน้าหอบ้าน ชาวลาวเวียงจะมาพร้อมกันในบริเวณลานพิธี ที่จัดที่มีการจัดเตรียม โดยมีขันน้ำสำหรับทำน้ำมนต์และฝ้ายมงคลสำหรับเข้าร่วมพิธีด้วย เพื่อรับการสวดให้เกิดความเป็นสิริมงคลและชาวบ้านจะนำไปไว้บริเวณบ้านเรือนของตน ต่อมาในช่วงเช้า ชาวลาวเวียงทุกหลังคาเรือนจำทำกระทงกล้วยสามเหลี่ยมที่เรียกว่า "กระทงหน้าวัว" พร้อมแต่งเครื่องสักการะบูชาเป็นต้นว่า ข้าวดำ ข้าวแดง แกงส้ม แกงหวาน เมี่ยง หมาก พริกเกลือ ปั้นรูปคนรูปสัตว์ในครัวเรือนของตนใส่ในกระทงนั้นด้วย เพื่อถวายบูชาแก่ท้าวมหาราชทั้งสี่ที่รักษาประจำทิศ เพื่อให้หายทุกข์โศกโรคภัยไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน ให้อยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีอุปสรรคในการดำเนินชีวิต ตามความเชื่อของชาวลาวเวียงที่ว่า ท้าวทั้งสี่จะนำความอัปมงคลออกไปจากครัวเรือน ความเชื่อเรื่องผีใจความสำคัญอาจจะไม่อยู่ที่ผีแต่อยู่ที่ "จิตสำนึกของมนุษย์" ก็เป็นได้
ในปัจจุบันยังพบว่า แม้ชาวลาวเวียงในตำบลดอนคาหันมานับถือศาสนาพุทธ แต่ชาวบ้านในชุมชนก็ยังเชื่อถือเรื่องของโชคลาภ ดวงชะตา ปีชง จึงทำให้มีการทำสะเดาะเคราะห์ แก้กรรม และเสริมดวงชะตา มีอยู่และนิยมกันในชุมชน โดยจะมีการทำบุญควบครูรวมด้วยซึ่งจะจัดกิจกรรมต่าง ๆ ภายในวัด และในเทศกาลงานบุญ ประเพณีต่าง ๆ
ชาวลาวเวียงบ้านดอนคา เป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมเป็นทุนเดิม และมีลักษณะเป็นสังคมเกษตรกรรม ใช้ชีวิตแบบพอเพียง รู้จักพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ชาวตำบลทับดอนคา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ซึ่งมีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในตำบล ทำให้ชาวลาวเวียงบ้านดอนคา อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
ชาวลาวเวียงบ้านดอนคา ยังคงใช้ภาษาลาวเวียงเป็นภาษาหลักในการสื่อสาร
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2567). รายงานโครงการสำรวจและจัดการข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง ปีงบประมาณ 2567. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี. (ม.ป.ป.). บ้านดอนคา. https://suphanburi.m-culture.go.th/th
องค์การบริหารส่วนตำบลดอนคา. (ม.ป.ป.). ข้อมูลและรายละเอียดชุมชน. https://donka.go.th/