ชุมชนเก่าแก่ที่มีประชาชนเข้ามาอาศัยอยู่เป็นเวลานาน ประชากรส่วนใหญในชุมชนมีเชื้อสายลาวตี้ที่ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณพื้นที่นี้
ชุมชนสูงเนินเป็นชื่อที่ใช้เรียกชุมชนนี้ในภายหลัง เดิมชุมชนสูงเนินมีชื่อว่า "บะตาเถร" เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของนักบวชชีปะขาว ซึ่งเป็นบุคคลออกจากบ้านมาบําเพ็ญตบะด้วยการเจริญศีลภาวนา ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำเหมาะแก่การประพฤติพรตบําเพ็ญเพียรทางจิตของคนในสมัยนั้น ต่อมาชาวบ้านได้เปลี่ยนชื่อชุมชนใหม่โดยเห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้สูงจึงนํามาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านว่า "สูงเนิน"
ชุมชนเก่าแก่ที่มีประชาชนเข้ามาอาศัยอยู่เป็นเวลานาน ประชากรส่วนใหญในชุมชนมีเชื้อสายลาวตี้ที่ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณพื้นที่นี้
บ้านสูงเนินก่อตั้งมาประมาณปี พ.ศ. 2475 เริ่มต้นจากชาวบ้านหมู่บ้านนาสมอ จํานวน 5 คน ได้อพยพเข้ามาจับจองที่ทํากินอยู่ที่บริเวณชุมชนสูงเนิน จํานวน 2 คน และชุมชนหนองกง จํานวน 3 คน เมื่อ 5 ครอบครัวจับจองที่ทํากินได้ระยะหนึ่งแล้ว ได้มีชาวบ้านจากบ้านอ้อนางเขียว บ้านห้วยกระบอก ตําบลกรับใหญ่ อําเภอบ้านโป่ง และชาวบ้านจากตําบลเขาแร้ง อําเภอเมืองราชบุรี ได้อพยพตามเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงตําบลปากช่อง ซึ่งโดยมากจะเป็นชาวไทยเชื้อสายลาวตี้ และชาวบ้านนิยมสร้างที่อยู่อาศัยตามพื้นที่ทํากินของตนที่จับจองไว้เพื่อความสะดวกในการทํามาหากินทําให้ชุมชนบ้านสูงเนินตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ห่างกันเกิดเป็นชุมชน 4 กลุ่มในหมู่เดียวกัน คือ 1.ชุมชนหนอง ชะนาง 2.ชุมชนสูงเนิน 3.ชุมชนหนองกง และ 4.ชุมชนหนองตาโต
ชุนชนบ้านสูงเนิน หมู่ที่ 4 เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีประชาชนเข้ามาอาศัยอยู่เป็นเวลานาน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอําเภอจอมบึง และทางทิศตะวันออกของจังหวัดราชบุรี ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 28 กิโลเมตร ห่างจากที่ว่าการอําเภอจอมบึงประมาณ 12 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางถนนลาดยางสายจอมบึง-ราชบุรี (ทางหลวงหมายเลข 3087) แยกบริเวณเขาประทับช้างเลี้ยวซ้ายตรงไปถึงสี่แยกหนองชะนางเลี้ยวซ้ายเข้าชุมชน บ้านสูงเนินมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4,000 ไร่ เป็นพื้นที่การเกษตร 3,400 ไร่
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 6 บ้านเขาปิ่นทอง
- ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 1 บ้านเขาประทับช้าง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 12 บ้านเนินสมบูรณ์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 10 บ้านหนองตาเนิด และหมู่ที่ 11 บ้านแปดหลัง
กลุ่มชาติพันธุ์ในชุมชนบ้านสูงเนินประมาณ 162 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 94.19 สืบเชื้อสายมาจากลาวตี้ หรืออีกชื่อว่า ลาวเวียง อีกประมาณ 10 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 5.81 เป็นกลุ่มคนพื้นถิ่นราชบุรี และ คนไทยเชื้อสายจีน ซึ่งคนไทยเชื้อสายจีนในชุมชนจะถูกกลืนเป็นลาวตี้ทั้งหมด
ประชากรของชุมชนบ้านสูงเนิน มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจทําให้ประชาชนต้องเคลื่อนย้ายถิ่นฐานออกไป ประกอบอาชีพภายนอกชุมชน เช่น กรุงเทพมหานคร ตามหัวเมืองสําคัญอื่น ๆ เมื่อถึงเทศกาลสําคัญประชาชนก็จะเดินทางกลับคืนมายังถิ่นฐาน โดยมากประชากรในวัยทํางานคือวัยรุ่นหนุ่มสาว บางส่วนจะออกไปทํางานรับจ้างก่อสร้างหรือทํางานในโรงงานบริเวณใกล้เคียง เช่น ในตัวเมือง ราชบุรี และอําเภอบ้านโป่ง เป็นต้น ซึ่งชาวบ้านสูงเนินจะนิยมไปทํางานกันเป็นกลุ่ม ประชาชนอีก ส่วนหนึ่งมีการศึกษาสูงก็จะทํางานตามบริษัท จึงทําให้จํานวนสมาชิกของครอบครัวในภาวะปกติดูลดลง
จีน, ลาวเวียงความเชื่อและประเพณีในชุมชนบ้านสูงเนิน
1.ชาวบ้านในชุมชนนับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก ชาวบ้านส่วนใหญ่เชื่อในเรื่องบุญบาป การเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งส่งผลให้เกิดเป็นวัฒนธรรมประเพณีในชุมชน เช่น วันมาฆบูชา วิสาขบูชา ออกพรรษา กฐินผ้าป่า
2.ความเชื่องผีบรรพบุรุษ การทรงเจ้า ชาวบ้านจัจัดพิธีเซ่นไหว้บวงสรวงบูชาเป็นประจำทุกปี และประเพณีพิธีกรรมอีกอย่างหนึ่งที่ชาวบ้านจะต้องทำทุกปี คือ การทำบุญกลางบ้าน ซึ่งชาวบ้านจะร่วมกันทำบุญระหว่างเดือน 3-4 เพื่ออุทิสส่วนบุญส่วนกุศลให้กับเทวดาที่ปกป้องคุ้มครองชุมชน
วัดสูงเนิน
ชุมชนบ้านสูงเนิน มีวัดในพระพุทธศาสนา 1 แห่ง ตั้งอยู่ในชุมชนสูงเนิน โดยในอดีตบริเวณที่ตั้งวัดสูงเนินเป็นสถานที่หยุดพักของคนเดินทางแม้แต่พระภิกษุสามเณรที่เดินธุดงค์ผ่านมาก็หยุดพักปฏิบัติธรรมบริเวณนี้เป็นเวลาหลายวัน ซึ่งสถานที่บริเวณนี้เดิมเรียกว่า "บะตาเถร" เพราะมีสภาพเป็นพื้นที่ราบลาดหญ้ามีป่าไม้เบญจพรรณขึ้นเป็นจํานวนมาก เหมาะแก่การเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพระภิกษุสามเณรและเป็นที่พักสําหรับคนเดินทาง
ต่อมาปี พ.ศ. 2514 มีพระสงฆ์เข้ามาปฏิบัติธรรมป่าบริเวณนี้ คือ พระทองใบ ฐิตเตโช (ปานเรือง) ท่านมองเห็นว่าบริเวณบะตาเถรแห่งนี้เป็นสถานที่เหมาะแก่การสร้างวัดประจําหมู่บ้าน จึงได้ปรารภเรื่องการสร้างที่พักสงฆ์กับชาวบ้านสูงเนินและได้พักอยู่จําพรรษาในสถานที่แห่งนี้ แต่ก็ถูกทางการปกครองคณะสงฆ์ในพื้นที่ห้ามมิให้ท่านอยู่จําพรรษา ชาวบ้านสูงเนินจึงได้ไปเข้าพบกับเจ้าคณะจังหวัดราชบุรี เพื่อขออนุญาตให้พระทองใบอยู่จําพรรษาในสถานที่แห่งนี้ตามเดิม เมื่อเจ้าคณะจังหวัดราชบุรีพิจารณาแล้วมองเห็นว่าพระพุทธศาสนามีความสําคัญต่อชาวลาวตี้ชุมชนบ้านสูงเนินเป็นอย่างยิ่งจึงอนุญาตให้อยู่จําพรรษา พระทองใบพร้อมด้วยชาวบ้านสูงเนินจึงได้ร่วมกันสร้างกุฎิสงฆ์ขึ้นเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณร
ต่อมามีการสร้างศาลาการเปรียญตามลําดับ ซึ่งท่านได้จัดระบบเสนาสนะภายในวัดอย่างเหมาะสมบนพื้นที่ 16 ไร่ 1 งาน 70 ตารางวาจะเห็นได้ว่าพระทองใบ เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีความสําคัญต่อชุมชนบ้านสูงเนินเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นผู้มีบทบาทสําคัญในการพัฒนาความเจริญมาสู่ชุมชน ตลอดระยะเวลา 6 ปี ที่ ลจําพรรษาอยู่ในวัดสูงเนิน ท่านได้เป็นแกนกลางในการสร้างวัดและโรงเรียนไปพร้อม ๆ กัน โดยการพัฒนาทั้งศาสนวัตถุและศาสนบุคคลให้มีคุณธรรมจริยธรรมในตนเองภายในชุมชน จนกระทั่งพระทองใบได้สละสมณะเพศ ในปี พ.ศ. 2520 เมื่อตําแหน่งหัวหน้าคณะสงฆ์ว่างลงพระอินทร์ ชะนะอินทร์ จึงได้เป็นหัวหน้าคณะสงฆ์รูปต่อมาอีก 3 ปี จึงได้ย้ายไปจําพรรษาที่วัดอื่น ในปี พ.ศ. 2523 เมื่อตําแหน่งหัวหน้าคณะสงฆ์ว่างลงอีกครั้ง นายแสน สุธาพจน์ และ นายกล้วย พิมพา จึงได้ไปนิมนต์พระกึ่งยติกโร (แซ่เล้า) ณ วัดเขาวังสดึงษ์ ตําบลเขาแร้ง อําเภอ เมืองราชบุรี มาอยู่จําพรรษาเป็นหัวหน้าคณะสงฆ์รูปที่ 3 ท่านได้ดําเนินการก่อสร้างต่อและทําเรื่องขออนุญาตสร้างวัดให้ถูกต้องตามกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2524 ได้รับอนุญาตให้เป็นวัดในปี พ.ศ. 2525 โดยตั้งชื่อวัดว่า "วัดสูงเนิน" เพราะตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนสูงเนิน จึงนําชื่อของชุมชนมาตั้งเป็นชื่อวัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในปี พ.ศ. 2526 ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 วัดได้ซื้อที่ดินเพื่อขยายเพิ่ม อีก 11 ไร่ 2 งาน รวมที่ดินของวัดทั้งหมดจํานวน 27 ไร่ 3 งาน 70 ตารางวา
ชุมชนบ้านสูงเนินใช้ภาษาลาวตี้สำหรับสื่อสารกับกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันทั้งภายในและภายนอกชุมชน
ในอดีตเศรษฐกิจของชุมชนเป็นการผลิตเพื่อยังชีพบริโภคภายในครัวเรือน การประกอบอาชีพของชาวบ้านในอดีตคือ การปลูกข้าว ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชุมชน ต่อมารัฐได้นำมาพัฒนามาสู่ชุมชนตั้งแต่ พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา วิถีชีวิตของคนในชุมชนจึงเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจของประเทศ จากปลูกข้าวมาเป็นพืชอย่างอื่นแทน เช่น อ้อย มันสำปะหลัง เห็ด ปอ การ ขณะเดียวกันเมื่อเทคโนโลยีเข้ามาในชุมชน อุปกรณ์การเกษตรจึงถูกเปลี่ยนผ่านทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เช่น รถไถ เครื่องสูบน้ำ เครื่องสีข้าวโพด เครื่องอบเชื้อเห็ด
ส่วนอาชีพอื่น ๆ นอกภาคเกษตรกรรมในชุมชน ชาวบ้านบางรายเปิดร้านค้าขายของชำ และบางรายมีอาชีพรับราชการ
การรักษาพยาบาลในชุมชนแบ่งได้ 2 แบบ คือ
การรักษาแบบแพทย์แผนโบราณหรือหมอพื้นบ้าน การรักษาแบบนี้ใช้สมุนไพรเป็นตัวยารักษาคนเจ็บป่วย ซึ่งในอดีตสามารถหาได้ในชุมชน ปัจจุบันสมุนไพรหาได้ยาก จึงต้องซื้อหาจากต่างจังหวัดหรือต่างอำเภอ นอกจากนี้ยังมีการรักษาด้วยเวทมนตร์คาถาหรือเสกเป่าบริเวณที่เจ็บป่วย เช่น เมื่อถูกงูกัด หมอพื้นบ้านที่มีวิชาก็จะทำพิธีเสกเป่าด้วยน้ำมนต์ให้ผู้หายเป็นปกติ วิชาเหล่านี้ในปัจจุบันไม่ปรากฎแล้ว เนื่องจากไม่มีผู้สืบทอด
ส่วนการรักษาแบบแผนปัจจุบัน ชาวบ้านจะเข้ารักษาที่สถานีอนามัยประจำตำบลบ้านเขาปิ่น ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากชุมชนมากนัก ถ้าหากมีอาการหนักก็จะไปรักษาที่โรงพยาบาลประจำอำเภอจอมบึง
สรณา อนุสรณ์ทรางกูร. (2550). การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวตี้ กรณีศึกษาชุมชนบ้านสูงเนิน ตำบลปากช่อง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาชนบทศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.