
ชุมชนบ้านใหม่สามัคคี มีประเพณีที่สำคัญของชาวลาหู่ ที่สืบทอดมากันอย่างยาวนาน ทำให้ชาวลาหู่เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุที่มียังคงมีประเพณี และวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมมาจนถึงปัจจุบัน
"ห้วยลาด" เป็นการตั้งตามชื่อลำห้วยที่ไหลผ่านชุมชน ในช่วงที่มีการอพยพออกจากที่อยู่อาศัยเดิมของชาวบ้านในขณะนั้น
ชุมชนบ้านใหม่สามัคคี มีประเพณีที่สำคัญของชาวลาหู่ ที่สืบทอดมากันอย่างยาวนาน ทำให้ชาวลาหู่เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุที่มียังคงมีประเพณี และวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมมาจนถึงปัจจุบัน
เดิมทีบ้านใหม่สามัคคี มีชื่อเรียกว่า "บ้านห้วยวาด" (ส่วนชื่อเดิมที่เรียกันว่าบ้านห้วยลาดนั้น มีที่มาจากการตั้งตามลำห้วยที่ไหลผ่านหมู่บ้านของพี่น้องชาวลาหู่ที่อพยพไปตั้งชุมชนบริเวณที่ใหม่) เป็นหมู่บ้านที่มีชาวลาหู่หรือมูเซอ อาศัยอยู่ภายในชุมชนที่ประกอบไปด้วย 4 หย่อมบ้าน คือ บ้านแม่เม่า บ้านห้วยริน บ้านแม่ต๋าง และบ้านแม่ป่อย โดยอาศัยอยู่ตามรอยต่อระหว่างอำเภอแจ้ห่มและอำเภองาว แต่เนื่องด้วยปัญหาทางด้านพื้นที่ และความต้องการที่จะแก้ไขปัญหายาเสพติด ส่งผลให้ชาวบ้านทั้ง 4 หมู่บ้าน จำเป็นต้องย้ายออกไปในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 และได้มีการย้ายกลับเข้ามาเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2562 โดยใช้ใหม่ว่า "บ้านใหม่สามัคคี"
ทุนวัฒนธรรม
พิธีทำบุญเรียกขวัญ
เป็นพิธีทำบุญด้วยการสร้างสะพานเล็ก (บริเวณทางเข้าออกหมู่บ้าน) และจะมีหมอผีคอยเป็นผู้นำในการทำพิธีกรรม เชื่อกันว่าเป็นการขอพรจากเทพเจ้าเพื่อให้คนในหมู่บ้านอยู่ดีมีสุข ปราศจากโรคร้าย โดยจะต้องทำการเชือดหมูเพื่อเป็นเครื่องเซ่น และมีการผูกข้อมือ
พิธีกินข้าวใหม่
เป็นความเชื่อที่ว่าด้วยการนำผลผลิตต่าง ๆ ในไร่มาบริโภค โดยชาวลาหู่เชื่อกันว่าการที่ผลผลิตจะมากหรือน้อยนั้นล้วนอยู่แต่กับเทพเจ้า จึงส่งผลให้ชาวบ้านต้องจัดพิธีกินข้าวใหม่เพื่อเป็นการบวงสรวงแก่เทพเจ้า ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการขออนุญาตในการนำผลผลิตมาบริโภค
กลุ่มส่งเสริมกิจการการศึกษาและเครือข่าย กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.). บ้านห้วยวาด. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2567. ระบบฐานข้อมูลศูนย์การเรียนรู้ชุมชนไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง". https://www.ศศช.com