Advance search

เกี๊ยะ

ประชามีสุข พัฒนายั่งยืน ฟื้นฟูธรรมชาติ

หมู่ที่ 6
บ้านปีแยะ
บือมัง
รามัน
ยะลา
อบต.บือมัง โทร. 0-7320-1031
อับดุลเลาะ รือสะ
17 ก.พ. 2023
นิรัชรา ลิลละฮ์กุล
23 มี.ค. 2023
อับดุลเลาะ รือสะ
26 เม.ย. 2023
บ้านปีแยะ
เกี๊ยะ

"เกี๊ยะ" ในภาษาไทย คือจีบหมาก ที่คนเฒ่าคนแก่ ชอบจีบในเวลานั่งเล่น หมากที่จีบแล้วจะแยกออกมาเป็นสองข้าง หรืออีกความหมายหนึ่ง คือ สภาพพื้นที่ของหมู่บ้านปีแยะเป็นพื้นที่คับแคบ จะเรียกว่า "ปีแยะ"


ชุมชนชนบท

ประชามีสุข พัฒนายั่งยืน ฟื้นฟูธรรมชาติ

บ้านปีแยะ
หมู่ที่ 6
บือมัง
รามัน
ยะลา
95140
6.413140958
101.3498761
เทศบาลตำบลบือมัง

บ้านปีแยะ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา บ้านปีแยะ มาจากหมู่บ้านเล็ก ๆ ซึ่งคำว่า "เกี๊ยะ" ในภาษาไทย คือจีบหมาก ที่คนเฒ่าคนแก่ ชอบจีบในเวลานั่งเล่น หมากที่จีบแล้วจะแยกออกมาเป็นสองข้าง หรืออีกความหมายหนึ่ง คือ สภาพพื้นที่ของหมู่บ้านปีแยะเป็นพื้นที่คับแคบ จะเรียกว่า "ปีแยะ" ซึ่งผู้คนอาศัยอยู่น้อยนักในหมู่บ้านนี้มีประมาณ 400 คน ในปัจจุบันมีการตั้งถิ่นฐานที่มากขึ้นทำให้คนอาศัยมากกว่าอดีต 2 เท่า 

บ้านปีแยะห่างออกจากเทศบาลตำบลโกตาบารูประมาณ 6 กิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวเมืองยะลา ประมาณ 20 กิโลเมตร การเดินทางสามารถเดินด้วยรถส่วนบุคคล รถโดยสารประจำทางได้

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านบือมัง หมู่ที่ 2 ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
  • ทิศใต้ ติตต่อกับ บ้านบ้านมาแฮ หมู่ที่4 ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านยะต๊ะ ตำบลยะต๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา

สภาพพื้นที่ทางกายภาพ

บ้านปีแยะเป็นที่ราบสูง มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ด้วยต้นไม้ ลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มีปริมาณน้ำฝนวัดได้ เฉลี่ย 2967.2 มม. ปริมาณฝนตกสูงสุดวัดได้ในช่วงเดือนธันวาคม 790 มิลลิเมตร และปริมาณน้ำฝนต่ำสุดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ วัดได้เฉลี่ย 85 มิลลิเมตร แต่โดยปกติบ้านปีแยะจะมีฝนตกตลอดปี 

จากข้อมูลที่สำรวจโดยบัณฑิตอาสาหมู่บ้าน ระบุจำนวนครัวเรือนมีทั้งหมด 206 ครัวเรือน (ข้อมูลปี 2565) จำนวนประชากร 867 คน (ข้อมูลปี 2565) ชาย 408 คน หญิง 459 คน ทั้งหมดเป็นอิสลามคนในชุมชนส่วนใหญ่อยู่กับแบบครอบครัว ในละแวกใกล้เคียง มีความหลากหลายในช่วงวัย คนในสังคมมีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติทำให้คนในสังคมมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ระหว่างกัน ลักษณะความเป็นอยู่จะเป็นครอบครัวใหญ่ 

มลายู

อาชีพหลัก ทำเกษตรกรรมมีการปลูกพืชเศรษฐกิจ ทำนา เลี้ยงไก่ และและแปลงเกษตรผักส่วนครัว

อาชีพเสริม การเลี้ยงโค เลี้ยงแพะ เลี้ยงเป็ด และเย็บผ้า และทำสวนผสม ซึ่งเป็นสวนผลไม้ ซึ่งประกอบด้วยทุเรียน ลองกอง สะตอ เป็นต้น รวมทั้งการทำสวนยางพารา

การซื้อขายแลกเปลี่ยนภายในชุมชน ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร เครื่องปรุง เนื้อสัตว์ ผักสด ของใช้ในครัวเรือน ผ่านร้านขายของชำในชุมชน โดยนำสินค้าจากในพื้นที่และภายนอกมาจำหน่าย

การซื้อขายแลกเปลี่ยนกับคนภายนอก ส่วนใหญ่เป็นพืชเศรษฐกิจที่ได้จากการทำเกษตรกรรม เช่น ทุเรียน ลองกอง มังคุด หรือ ซื้อสินค้าจากรถกับข้าว (รถพุ่มพวง) ที่เข้ามาในชุมชนหรือตลาดนัดภายในชุมชนในช่วงเย็นและพื้นที่ตลาดนัดรอบนอก และเป็นส่วนกลางการรับซื้อผลไม้ตามฤดูกาลส่งออกไปยังต่างจังหวัด โดยจะมีพ่อค้าคนกลางเป็นคนในพื้นที่และนอกพื้นที่

การออกไปทำงานนอกชุมชน การออกไปทำงานนอกชุมชน คิดเป็น 30% ของคนในชุมชน และที่ออกไปทำงานต่างประเทศมีอยู่ 2% ออกไปรับจ้างทำงานด้านอุตสาหกรรม พนักงานบริษัททั่วไป แต่ยังกลับมาอาศัยอยู่ในพื้นที่

ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกชุมชน สมาชิกชุมชนส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการช่วยเหลือกันในชุมชน ในกิจกรรมของชุมชน เช่น งานเมาลิด งานมัสยิด งานแต่งงาน การเกี่ยวข้าว เป็นต้น เป็นชุมชนที่มีพื้นว่างจากการปลูกสร้างที่พักอาศัยน้อยมาก เนื่องจากเป็นชุมชนที่มีพื้นที่แคบ ทำให้การอาศัยอยู่เป็นกลุ่มหรือละแวกใกล้เคียงกับที่อยู่อาศัย ทำให้คนในชุมชนสามารถเข้ากันได้ทุกกลุ่ม โดยส่วนใหญ่จะเป็นเครือญาติที่ตามมาอยู่ในชุมชน

โครงสร้างอำนาจภายในชุมชน ตามโครงสร้างการปกครอง มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ทำงานร่วมกับหน่วยงานปกครองท้องถิ่น ส่วนภายในชุมชนมีการทำโครงการต่าง ๆ จากภายนอกและงานขับเคลื่อนชุมชน โดยมี นายมาหายุดิน ดอละ เป็นแกนนำชุมชน

การรวมกลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นการรวมกลุ่มกันตามครอบครัวและกลุ่มที่สนิทกันหรือมีช่วงวัยเดียวกัน เช่น กลุ่มแกนนำชุมชนที่ทำงานชุมชนด้านต่าง ๆ กลุ่มเด็กและเยาวชน รวมตัวกันเพื่อจัดกิจกรรมทางศาสนา และทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชน 

วัฒนธรรม ประเพณี ชาวบ้านปิแยะ นับถือศาสนาอิสลามหนึ่งร้อยเปอร์เซนต์ มีการประกอบศาสนกิจรวมกันทุกคืน ทำให้เกิดผลดีในด้านการปฏิบัติศาสนกิจแล้วยังเกิดผลดี คือการสร้างความสามัคคีและการแลกเปลี่ยนทัศนคติ ข่าวสาร กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา ทำให้เกิดผลดีในด้านการปฏิบัติศาสนกิจแล้วยังเกิดผลดีต่อการสร้างความสามัคคีและการแลกเปลี่ยนทัศนคติ ข่าวสาร กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา มีดังนี้

เมาลิดินนบี เป็นวันคล้ายวันประสูติของศาสดามูฮัมหมัด (ซล.) ศาสดาแห่งมนุษยชาติ ผู้ศรัทธาในศาสนาอิสลาม จะมีการรำลึกถึงคุณงามความดี หรือประวัติของท่านในอดีตกาล ในบรรยากาศแห่งความรัก และรำลึกถึงท่านอย่างแท้จริง ซึ่งจัดในเดือน เราะบีอุลเอาวัล ซึ่งเป็นเดือนที่ 3 ในปฏิทินอิสลาม

วันตรุษอิดิลฟิตรี หรือที่นิยมเรียกว่า วันรายอปอซอเพราะหลังจากที่มุสลิมได้ถือศีลอดมาตลอดในเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นเดือนที่ 9 ของศาสนาอิสลาม ก็จะถึงวันออกบวช ตอนเช้าจะมีการละหมาดร่วมกัน ทุกคนแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สะอาด สวยงาม และมีการจ่าย ซะกาตฟิตเราะฮ์

วันตรุษอิดิลอัฏฮา หรือวันรายอฮัจยี เนื่องจากมุสลิมทั่วโลกเริ่มประกอบพีธีฮัจญ์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย มีการทำกุรบานหรือการเชือดสัตว์เพื่อเป็นอาหารแก่เพื่อนบ้านและคนยากจน เพื่อขัดเกลาจิตใจให้เป็นผู้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ ตรงกับเดือน ซุลฮิจยะห์ ซึ่งเป็นเดือนที่ 12 ในปฏิทินของศาสนาอิสลาม

การถือศีลอด เป็นหลักปฎิบัติที่มุสลิมจำเป็นต้องถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ตลอดระยะเวลา 1 เดือน มุสลิมที่มีอายุเข้าเกณฑ์ศาสนบัญญัติจะต้องงด การกิน ดื่ม การร่วมประเวณีตลอดจนทุกอย่าง ที่เป็นสิ่งต้องห้าม ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนกระทั่งตกดิน ทุกคนต้องสำรวมกาย วาจา ใจ เพราะเดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่มีประเสริฐยิ่งของศาสนาอิสลาม ซึ่งในเดือนนี้ชาวมุสลิมจะไปละหมาดที่มัสยิด ซึ่งเป็นการละหมาดที่ปฏิบัติภายในเดือนรอมฎอนเท่านั้น เรียกว่า ละหมาดตะรอเวียะห์

การละหมาด เป็นการแสดงความจงรักภักดีต่ออัลลอฮ ซึ่งเป็นที่ศรัทธาของชาวมุสลิม ทุกคนต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยถือว่าเป็นการเข้าเฝ้าผู้ทรงสร้างที่ยิ่งใหญ่ การแต่งกายต้องสะอาด เรียบร้อย มีความสำรวม พระองค์กำหนดเวลาละหมาดไว้วันละ 5 เวลา

การทำฮัจญ์ อัลลอฮห์ทรงบังคับ ให้มุสลิมที่มีความสามารถด้านกำลังกาย กำลังทรัพย์ ต้องไปทำฮัจญ์ ณ นครเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีขึ้นปีละครั้ง ชาวมุสลิมทั่วโลกจะเดินทางมารวมกัน เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่ออัลลอฮห์ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใคร มีฐานะทางสังคมอย่างไร ต้องมาอยู่ที่เดียวกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน ทุกคนมีฐานะเป็นบ่าวของอัลลอฮอย่างเท่าเทียมกัน การทำฮัจญ์จะจัดขี้นในเดือน ซุลฮิจณะฮ์ซึ่งเป็นเดือน 12 ของอิสลาม

การเข้าสุนัต เป็นพิธีกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวมุสลิม ถือกันว่ามุสลิมที่แท้จริงควรเข้าสุนัต ถ้าไม่ทำถือว่าเป็นมุสลิมที่ไม่สมบูรณ์ ไม่บริสุทธิ์ การเข้าสุนัต คือการขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศของผู้ชายออก เพื่อสะดวกในการรักษาความสะอาด การเข้าสุนัตจะนิยมขลิบในช่วงเดือนเมษายนเนื่องจากเป็นช่วงปิดภาคการเรียนการสอนของเด็กในพื้นที่ กิจกรรมจะมีการขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศ และมีการเตรียมอาหารเป็นข้าวเหนียวสีต่าง ๆ บางพื้นที่จะมีการขลิบเป็นหมู่คณะ โดยมีเด็กในชุมชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

ประเพณีการกวนอาซูรอ เป็นการรำลึกถึงความยากลำบากของศาสดา นบีนูฮ โดยเชื่อว่าในสมัยของท่านมีเหตการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ น้ำท่วมโลกเป็นระยะเวลานาน ศาสดานบีนูฮ ซึ่งล่องลอยเรืออยู่เป็นเวลานาน ทำให้อาหารที่เตรียมไว้ร่อยหรอลง จึงได้นำส่วนที่พอจะมีเหลือเอามารวมกันแล้วกวนกิน จึงกลายเป็นตำนานที่มาของขนมอาซูรอ

คำว่า "อาซูรอ" คือคำในภาษาอาหรับ แปลว่า การผสม ในที่นี้หมายถึงการนำของที่รับประทานได้ทั้งของคาวและของหวานจำนวน 10 อย่าง มากวนรวมกัน ประเพณีจะจัดในวันที่ 10 ของเดือนมูฮัรรอม ซึ่งเป็นเดือนแรกของฮิจเราะห์ศักราชตามปฏิทินอิสลาม เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาปีใหม่ของมุสลิม ลักษณะกิจกรรมจะมีการรวมตัวของชาวบ้านโดยที่ชาวบ้านจะนำวัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเผือก มัน ฟักทอง กล้วย ข้าวสาร ถั่ว เครื่องปรุง ข่าตะไคร้ หอมกระเทียม เมล็ดผักชี ยี่หร่า เกลือ น้ำตาล กะทิ โดยวัตถุดิบทั้งหมดจะถูกกวนในกระทะเหล็กใช้เวลาเกือบ 6-7 ชั่วโมง โดยต้องกวนตลอด จนกระทั่งสุกแห้ง เมื่อเสร็จเรียบร้อยมีการแจกจ่ายแบ่งปันให้แก่ชาวบ้าน ภาพที่เกิดขึ้นสะท้อนถึงความสัมพันธ์และสามัคคีของคนในชุมชน

ประเพณีการกินนาซิบารู คำว่า "นาซิบารู" หมายถึง ข้าวสารใหม่ที่ได้ผ่านกรรมวิธีจากการลงแขกเก็บเกี่ยวข้าวในช่วงฤดูทำนา เมื่อเสร็จการทำนา ข้าวเปลือกที่ได้จะนำไปโรงสีข้าวเพื่อเปลี่ยนมาเป็นข้าวสาร หลังจากนั้นชาวบ้านจะเชิญผู้รู้ทางศาสนาและคนในชุมชนมาร่วมรับประทานอาหารที่บ้านเพื่อเป็นการขอบคุณพระผู้เป็นเจ้าที่ได้ทำนาสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี 

1. นางสาวอีซะ  โซะ  มีความชำนาญการทำเกษตรผสมผสาน ได้รับความรู้จากการอบรมของเจ้าหน้าที่มาให้ความรู้ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่

การเกษตร  การทำการเกษตรด้วยกรรมวิธีทางธรรมชาติ โดยพื้นที่ที่ทำเกษตรนั้น ต้องไม่มีสารพิษ หรือสารเคมีตกค้างและหลีกเลี่ยงจากการปนเปื้อนของสารเคมีทั้งทางดิน ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อความสมบูรณ์ทางชีวภาพในระบบนิเวศน์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามสมดุลของธรรมชาติให้มากที่สุด โดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ หรือสิ่งที่ได้มาจากการตัดต่อพันธุกรรม และมุ่งเน้นการใช้ปัจจัยการผลิตที่มีแผนการจัดการอย่างเป็นระบบในการผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ให้ได้ผลผลิตสูง อุดมด้วยคุณค่าทางอาหารและปลอดสารพิษ ทั้งยังช่วยลดต้นทุนการผลิต และสามารถประยุกต์ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติเพื่อคุณภาพชีวิต และสนับสนุนแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งทางชุมชนได้มีการจัดตั้งกองทุนเกษตรในพื้นที่ ทำให้คนในชุมชนมีรายได้เสริมจากการปลูกผักสวนครัว พืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวโพด ถั่ว ผักบุ้ง นำมาจำหน่ายในพื้นที่

สถานการณ์การใช้ภาษาของผู้คนในชุมชนส่วนมากใช้ภาษามลายูท้องถิ่นและบางส่วนใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร

ภาษาที่ใช้พูด : ภาษามลายูท้องถิ่น

ภาษาที่ใช้เขียน : ภาษาไทยกลาง


แนวโน้มด้านการเมืองมีลักษณะสำคัญ ประชาชนมีส่วนร่วมทางการการเมืองการปกครองมากขึ้น ระบบการตรวจสอบการทำงานของข้าราชการและนักการเมืองมีประสิทธิภาพ ประชาชนเข้าใจสิทธิเสรีภาพ รู้จักใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองและส่วนรวมมากขึ้น


ประชากรบ้านปีแยะส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ได้แก่ ทำสวนยางพารา การทำนา และสวนผลไม้ เป็นสวนผสม การเลี้ยงสัตว์พื้นบ้าน เช่น วัว แพะ เป็ด และไก่ รายได้เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท/คน/ปี ผลผลิตที่จำหน่ายสู่ตลาดภายในชุมชนได้แก่ ผลไม้ ข้าวเปลือก และยางพารา ผลผลิตแปรรูปการทำหมากแห้ง


มีการเปลี่ยนแปลงค่านิยมเรื่องของสิทธิสตรี สตรีจะมีบทบาทในสังคมไทยมากขึ้น แนวโน้มครอบครัวมีขนาดเล็กลง ความสัมพันธ์ในครอบครัวระบบเครือญาติลดลง หน้าที่การอบรมเลี้ยงดูบุตรหรือการขัดเกลาทางสังคมลดลง สถาบันการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงไปในทางการผลิตบุคคลเข้าสู่อาชีพ และตลาดแรงงานที่ขาดแคลนมากขึ้น มุ่งเน้นการสร้างครอบครัวให้เข้มแข็ง ชุมชนและสังคมได้รับการพัฒนาแบบยั่งยืนมากขึ้น

การเปลี่ยนอีกอย่างที่เห็นได้ชัดเรื่องกัญชา เสรี ทำให้ต้องเฝ้าระวังบุตรหลานมากยิ่งขึ้น กับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในในปัจจุบัน เด็กและเยาวชนหันมาพึ่งยาเสพติดเป็นจำนวนมาก ทั้งการค้า การเสพ มีกรณีเกิดขึ้นกับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี อีกทั้งชุมชนยังขาดการให้ความรู้ ความเสี่ยงในการใช้ยาเสพติด


ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือนและมีเส้นทางการคมนาคมขนส่งที่สะดวกสบาย มีน้ำประปาใช้ทุกครัวเรือน มีร้านค้าชุมชน

ในชุมชนบ้านปีแยะ  เป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก มีเทือกเขาล้อมรอบ มีสถานที่ท่องเที่ยวในตำบลได้แก่ น้ำตกตะวันรัศมี

ไซนับ โมงสะอะ. (10 กุมภาพันธ์ 2566). ข้อมูลชุมชนบ้านปีแยะ. (โซเฟีย ลือแบปัตตานี, ผู้สัมภาษณ์)

อีซะ โซะ. (10 กุมภาพันธ์ 2566). ภูมิปัญญาปราชญ์ชุมชน. (โซเฟีย ลือแบปัตตานี, ผู้สัมภาษณ์)

ซูไรดา ลามอซีเตาะ. (10 กุมภาพันธ์ 2566). สภาพแวดล้อมประชากร. (โซเฟีย ลือแบปัตตานี, ผู้สัมภาษณ์)

มาหายุดิน ดอละ. (10 กุมภาพันธ์ 2566). สถานการณ์ในพื้นที่. (โซเฟีย ลือแบปัตตานี, ผู้สัมภาษณ์)

อบต.บือมัง โทร. 0-7320-1031